รหัสไปรษณีย์ ไทรน้อย นนทบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

"ไทรน้อย" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ เทศบาลตำบลไทรน้อย

อำเภอไทรน้อย

อำเภอ

การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Sai Noi
รหัสไปรษณีย์ ไทรน้อย นนทบุรี

นาข้าวในอำเภอไทรน้อย

คำขวัญ: 

หลวงพ่อทองคำล้ำค่า ไร่นาสวนผสม รื่นรมย์ตลาดน้ำ อารามดูงามงด สวยสดสวนกล้วยไม้ ระบือไกลงานประเพณี

รหัสไปรษณีย์ ไทรน้อย นนทบุรี

แผนที่จังหวัดนนทบุรี เน้นอำเภอไทรน้อย

พิกัด: 13°58′44″N 100°18′49″E / 13.97889°N 100.31361°E
ประเทศ
รหัสไปรษณีย์ ไทรน้อย นนทบุรี
 
ไทย
จังหวัดนนทบุรี
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด186.017 ตร.กม. (71.822 ตร.ไมล์)
ประชากร

 (2564)

 • ทั้งหมด72,822 คน
 • ความหนาแน่น391.48 คน/ตร.กม. (1,013.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 11150
รหัสภูมิศาสตร์1205
ที่ตั้งที่ว่าการเลขที่ 85 หมู่ที่ 1 ถนนเทศบาล 2 ตำบลคลองขวาง อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 11150

รหัสไปรษณีย์ ไทรน้อย นนทบุรี
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ไทรน้อย เป็นอำเภอที่จัดตั้งขึ้นล่าสุด รวมทั้งมีพื้นที่มากที่สุดและมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในจังหวัดนนทบุรี สภาพพื้นที่ทั่วไปยังคงสภาพชนบทไว้ เช่น ท้องนา ท้องไร่ บ้านเรือนแบบเรียบง่าย แต่มีระบบสาธารณูปโภคชั้นสูง เช่น โรงไฟฟ้า บ่อขยะ คลองชลประทาน และยังพบวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวนนทบุรีอีกด้วย อำเภอไทรน้อยเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญระหว่างจังหวัดนนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอไทรน้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด โดยอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเป็นระยะทาง 29.01 กิโลเมตร[2] และมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลาดบัวหลวง (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอลาดหลุมแก้ว (จังหวัดปทุมธานี) และอำเภอบางบัวทอง มีคลองลากค้อน คลองลัดยายเป้า คลองตาคล้าย คลองลากค้อน คลองพระพิมล และคลองตาชมเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางใหญ่
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพุทธมณฑลและอำเภอบางเลน (จังหวัดนครปฐม) มีคลองนราภิรมย์ คลองทวีวัฒนา คลองสิบศอก คลองสถาพรพัฒนา คลองพระพิมล คลองรางกระทุ่ม คลองสองด้วน คลองบางภาษี และคลองสองเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติศาสตร์[แก้]

ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นที่ตอนในระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำท่าจีนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระนครยังคงเป็นป่าขนาดใหญ่ มีอาณาบริเวณครอบคลุมรอยต่อระหว่างอำเภอไทรน้อยของจังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้วของจังหวัดปทุมธานี อำเภอลาดบัวหลวงของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอบางเลนของจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน สภาพพื้นที่ของป่าเป็นที่ราบลุ่ม บางแห่งเป็นหนองน้ำ และมีสัตว์ป่า เช่น ช้าง เสือ กวาง อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก[3] ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่ขึ้นปกคลุมพื้นที่แห่งนี้นอกจากจะมีต้นไทร ต้นยาง และต้นประดู่แล้ว ยังมีต้นกระทุ่มที่ขึ้นกันแน่นทึบจนแสงสว่างลอดผ่านลงพื้นดินได้น้อย ผืนป่าแห่งนี้จึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ป่ากระทุ่มมืด[4]

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองทวีวัฒนาและคลองนราภิรมย์ระหว่าง พ.ศ. 2420–2423 จึงเริ่มมีชาวเมืองนนทบุรีและชาวบ้านจากถิ่นอื่นเข้าไปจับจองที่ดินชายป่ากระทุ่มมืดด้านใต้ตามสองฝั่งคลองนั้น[5] จากนั้นพระราชาภิมณฑ์ (เพ็ง) ได้ขุดคลองพระราชาภิมณฑ์ (ปัจจุบันเรียกว่าคลองพระพิมล) จากคลองบางบัวทองตอนปลายตรงเข้าไปในป่ากระทุ่มมืด ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2433–2442[6] ระหว่างนั้นยังคงมีราษฎรเข้าไปตั้งหลักแหล่งและบุกเบิกแผ้วถางป่าอย่างไม่ขาดสาย ป่ากระทุ่มมืดที่กว้างใหญ่ค่อย ๆ เปลี่ยนสภาพเป็นผืนนาและเกิดชุมชนชาวนากระจายอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีผลให้อาณาเขตของเมืองนนทบุรีขยายลึกเข้าไปในแขวงเมืองประทุมธานี เมืองนครปฐม และกรุงเก่าเดิมอีกด้วย[7]

เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ให้เป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล แนวป่าและทุ่งกระทุ่มมืดในแขวงเมืองนนทบุรีได้กลายเป็นท้องที่หนึ่งของ "อำเภอบ้านแหลมใหญ่และเกาะศาลากุน"[8] ไม่นานนักอำเภอดังกล่าวก็ถูกยุบเลิกไปเมื่อมีการจัดตั้งอำเภอบางบัวทองและอำเภอปากเกร็ดขึ้นแทนที่เมื่อราว พ.ศ. 2443–2444[8] นับแต่นั้นชุมชนต่าง ๆ ในหนองเพรางายและทุ่งกระทุ่มมืดซึ่งได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นตำบลหนองเพรางาย ตำบลไทรใหญ่ และตำบลหนองไทร (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นไทรน้อยเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อวัดไทรใหญ่และตำบลไทรใหญ่)[9] ก็ขึ้นอยู่กับอำเภอบางบัวทองเรื่อยมา เมื่อถึง พ.ศ. 2483 ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองหมู่ที่ 1–6, 11–13, 18 ของตำบลไทรใหญ่ รวมกับหมู่ที่ 6–8 ตำบลละหาร จัดตั้งเป็นตำบลราษฎร์นิยม[10]

ครั้นในปี พ.ศ. 2486 ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนักเพราะได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สภาผู้แทนราษฎรในสมัยนั้นมีมติให้ออกพระราชบัญญัติยุบจังหวัดนนทบุรีลงเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณราชการ ทำให้ท้องที่อำเภอบางบัวทองซึ่งครอบคลุมถึงบริเวณทุ่งกระทุ่มมืดไทรน้อยถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดธนบุรี[11] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2489 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดนนทบุรีขึ้นมาอีกครั้ง[12] บริเวณทุ่งกระทุ่มมืดไทรน้อยจึงกลับมาอยู่ในการปกครองของทางจังหวัดนนทบุรีจนถึงทุกวันนี้

ต่อมาทางราชการพิจารณาเห็นว่าอำเภอบางบัวทองมีพื้นที่กว้างขวางและมีจำนวนราษฎรเพิ่มขึ้น หน่วยงานราชการดูแลทุกข์สุขได้ไม่ทั่วถึง ประกอบกับคลองพระพิมลซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในสมัยนั้นยังเป็นคลองขนาดเล็ก ในฤดูแล้งน้ำจะแห้งขอดคลอง ราษฎรเดินทางมาติดต่อราชการไม่สะดวก[13] โดยเฉพาะราษฎรจากท้องที่ตำบลไทรน้อย ตำบลไทรใหญ่ ตำบลราษฎร์นิยม และตำบลหนองเพรางายที่ตั้งอยู่ไกลจากตัวอำเภอมากที่สุด กระทรวงมหาดไทยจึงแบ่งท้องที่ตำบลทั้งสี่ออกมาจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอไทรน้อย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2490[14] เมื่อกิ่งอำเภอไทรน้อยมีประชากรหนาแน่นและมีความเจริญเพิ่มมากขึ้นจนมีสภาพเหมาะสมที่จะยกฐานะเป็นอำเภอได้ ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2499 จึงมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกิ่งอำเภอไทรน้อยเป็น อำเภอไทรน้อย[15]

จากนั้นใน พ.ศ. 2502 ทางอำเภอได้รับโอนเอาตำบลขุนศรีจากอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มาอยู่ในเขตการปกครองด้วย เพื่อความสะดวกในการติดต่อราชการของประชาชนและเพื่อประโยชน์ต่อการปกครอง[16] และต่อมาใน พ.ศ. 2522 จังหวัดนนทบุรีได้แบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของตำบลราษฎร์นิยมจัดตั้งเป็นตำบลคลองขวาง[17] และใน พ.ศ. 2523 ก็แบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของตำบลไทรน้อยจัดตั้งเป็นตำบลทวีวัฒนา[18] ทำให้อำเภอไทรน้อยมีเขตการปกครองย่อยรวม 7 ตำบลมาจนถึงปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอไทรน้อยแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 7 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวมทั้งหมด 68 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ไทรน้อย (Sai Noi) 11 หมู่บ้าน 5. ขุนศรี (Khun Si) 08 หมู่บ้าน
2. ราษฎร์นิยม (Rat Niyom) 08 หมู่บ้าน 6. คลองขวาง (Khlong Khwang) 10 หมู่บ้าน
3. หนองเพรางาย (Nong Phrao Ngai) 12 หมู่บ้าน 7. ทวีวัฒนา (Thawi Watthana) 08 หมู่บ้าน
4. ไทรใหญ่ (Sai Yai) 11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

รหัสไปรษณีย์ ไทรน้อย นนทบุรี

สำนักงานเทศบาลตำบลไทรน้อย

ท้องที่อำเภอไทรน้อยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลไทรน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรน้อย (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 5) และตำบลคลองขวาง (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรน้อย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลไทรน้อย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลราษฎร์นิยม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลราษฎร์นิยมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเพรางาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเพรางายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไทรใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขุนศรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขุนศรีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองขวาง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลไทรน้อย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทวีวัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทวีวัฒนาทั้งตำบล

การคมนาคม[แก้]

ถนนสายหลักจะเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างจังหวัดนนทบุรีกับจังหวัดข้างเคียง คือ จังหวัดนครปฐม จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสุพรรณบุรี ถนนสายสำคัญของอำเภอไทรน้อยจึงมักจะเป็นถนนสายสำคัญของจังหวัดนนทบุรีด้วย ได้แก่

  • ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340)
  • ถนนปทุมธานี-บางเลน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346)
  • ถนนบางกรวย-ไทรน้อย (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3215)
  • ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย (ทางหลวงชนบท นบ.1013)
  • ถนนฤชุพันธุ์ (ทางหลวงชนบท นบ.3003)
  • ถนนบางไผ่-หนองเพรางาย (ถนนวัดลาดปลาดุก; ทางหลวงชนบท นบ.1002)

อ้างอิง[แก้]

  1. รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 59.
  2. กรมทางหลวง. "สอบถามระยะทางระหว่างจังหวัดหรืออำเภอ. เก็บถาวร 2014-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
  3. พิศาล บุญผูก. ภูมินามอำเภอไทรน้อย. นนทบุรี: โครงการการจัดการสารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษาเพื่อส่งเสริมบริการห้องสมุดสู่ชุมชน สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552, หน้า 11.
  4. พิศาล บุญผูก. ภูมินามอำเภอไทรน้อย. นนทบุรี: โครงการการจัดการสารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษาเพื่อส่งเสริมบริการห้องสมุดสู่ชุมชน สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552, หน้า 10.
  5. พิศาล บุญผูก. ภูมินามอำเภอไทรน้อย. นนทบุรี: โครงการการจัดการสารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษาเพื่อส่งเสริมบริการห้องสมุดสู่ชุมชน สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552, หน้า 311.
  6. พิศาล บุญผูก. ภูมินามอำเภอไทรน้อย. นนทบุรี: โครงการการจัดการสารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษาเพื่อส่งเสริมบริการห้องสมุดสู่ชุมชน สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552, หน้า 21.
  7. จังหวัดนนทบุรี. ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดนนทบุรี 2525. นนทบุรี: โรงพิมพ์สถานสงเคราะห์หญิงบ้านปากเกร็ด, 2526.
  8. ↑ 8.0 8.1 พิศาล บุญผูก. ภูมินามอำเภอบางบัวทอง. นนทบุรี: โครงการบริการวิชาการแก่สังคม สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554, หน้า 28.
  9. พิศาล บุญผูก. ภูมินามอำเภอไทรน้อย. นนทบุรี: โครงการการจัดการสารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษาเพื่อส่งเสริมบริการห้องสมุดสู่ชุมชน สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552, หน้า 205.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตต์ตำบลในจังหวัดนนทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57: 1871. 1 ตุลาคม 2483.
  11. "พระราชบัญญัติยุบและรวมการปกครองบางจังหวัด พุทธสักราช 2485" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 59 (77): 2447–2449. 10 ธันวาคม 2485.
  12. "พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช ๒๔๘๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (29 ก): 315–317. 9 พฤษภาคม 2489.
  13. สำนักงานเกษตรอำเภอไทรน้อย. "ข้อมูลทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://sainoi.nonthaburi.doae.go.th/sainoi/nok.html เก็บถาวร 2009-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 14 กันยายน 2555.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (60 ง): 3188–3193. 9 ธันวาคม 2490.
  15. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคำชะอี อำเภอย่านตาขาว อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอหนองบัว อำเภอวัฒนานคร อำเภอแสวงหา อำเภอท่าชนะ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอโนนสัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอคีรีมาศ อำเภอชนแดน อำเภอแม่แจ่ม อำเภอไทรน้อย และอำเภอบ้านแพง พ.ศ. ๒๔๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (46 ก): 657–661. 5 มิถุนายน 2499.
  16. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนครปฐมและจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (49 ก พิเศษ): 1–3. 1 พฤษภาคม 2502.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (135 ง พิเศษ): 11–14. 8 สิงหาคม 2522.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (104 ง): 2166–2169. 8 กรกฎาคม 2523.

บรรณานุกรม[แก้]

  • คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543.
  • พิศาล บุญผูก. ภูมินามอำเภอไทรน้อย. นนทบุรี: โครงการการจัดการสารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษาเพื่อส่งเสริมบริการห้องสมุดสู่ชุมชน สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552.
  • พิศาล บุญผูก. ภูมินามอำเภอบางบัวทอง. นนทบุรี: โครงการบริการวิชาการแก่สังคม สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554.
  • รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • เว็บไซต์เทศบาลตำบลไทรน้อย

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°58′44″N 100°18′49″E / 13.97889°N 100.31361°E

  • แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ อำเภอไทรน้อย
    • แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
    • ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
    • ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย