เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา

อุตสาหกรรมการผลิตนั้น ปัญหาด้านคุณภาพที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิต หรือเกิดขึ้นที่กระบวนการผลิตของลูกค้า เครื่องมือ Why-Why Analysis จึงเป็นเครื่องมือด้านคุณภาพที่ถูกนำมาใช้ในการวิเคาระห์เพื่อหาสาเหตุในการแก้ไขปัญหา และเป็นเครื่องมือที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการบริหารงาน บริหารองค์ แก้ไขปัญหาในกระบวนการผลิต แก้ปัญหาในองค์กร สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้แม่นยำตรงจุดมากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการที่เป็นระบบ เพื่อป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้เข้าใจหลักการวิเคราะห์ปัญหาด้านคุณภาพโดยใช้หลักการ  Why-Why Analysis
  2. สามารถวางแผนป้องกันและลดปัญหาที่เกิดซ้ำได้ สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าได้
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเพิ่มขีดความสามารถมีทักษะการคิดและตรรกในการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

หัวข้อการฝึกอบรม

  1. การควบคุมคุณภาพระหว่างกระบวนการผลิต
  2. ความเข้าใจเรื่องของปัญหาและความผิดปกติที่เกิดจากกระบวนการผลิต
  3. ความรู้เบื้องต้นของระบบการดำเนินการแก้ไขปัญหา (Corrective Action Process)
  4. แนวคิดการวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหา (วิเคราะห์เชิงลึกตาม Step OEM)
  5.  การหาสาเหตุที่แท้จริง (Root Cause Failure Analysis) RCFA
  6. เทคนิคการประยุกต์ใช้ Why-Why Analysis และเครื่องมือ QC 7 Tools , 5GEN
  7. เทคนิคการนำ QC 7 Tools  มาประยุกต์ใช้งานในการวิเคราะห์ปัญหา
  8. เทคนิคการใช้เครื่องมือวิเคราะห์  Why-Why Analysis
  9. การใช้เครื่องมือ CE (Cause and Effect Diagrams)
  10. การใช้เครื่องมือ FMEA (Failure Mode Effect Analysis)
  11. การใช้เครื่องมือ PM (Phenomena Mechanism)
  12. สรุปการเรียนรู้

รูปแบบการอบรม

  • การบรรยาย
  • ประกอบกับการฝึกปฏิบัติ
  • พร้อมมีการจัดกิจกรรม
  • ตลอดจนมีการ Feed Back จากผู้เข้าอบรม
  • การถาม-ตอบ ตลอดทั้งหลักสูตร

ระยะเวลาการอบรม

1 วัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ
Tel : 095-853-5513, 091-738-7838, 02-061-3276 

E-mail :  

เมื่อคุณทดสอบผลิตภัณฑ์ออกใหม่ที่สำคัญ บางครั้งคุณอาจประหลาดใจกับข้อผิดพลาดใหม่ๆ ในสภาพแวดล้อมที่ใช้งาน เพราะเหตุใด เกิดปัญหาอะไรขึ้น สภาพแวดล้อมในการทดสอบอาจไม่ใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมในการผลิตจริงอย่างที่คุณคิด การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานสามารถเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมได้โดยไม่มีระบุมาเป็นเอกสาร ทำให้สภาพแวดล้อมค่อยๆ เริ่มแตกต่างออกไป

การแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องใช้เวลานานมาก การเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาให้เร็วขึ้นถือเป็นหนึ่งในการลงทุนที่ดีที่สุดที่คุณทำได้ในฐานะนักพัฒนาซอฟต์แวร์

การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาคืออะไร

การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (RCA) คือเทคนิคพิเศษที่คุณนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะ เทคนิคนี้ช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่พบเจอได้โดยใช้ขั้นตอนที่กำหนดมาโดยเฉพาะต่างๆ เพื่อค้นหาสาเหตุหลักของปัญหา RCA ยึดหลักการว่า การสนใจแต่ปลายเหตุโดยเพิกเฉยต่อสาเหตุของปัญหานั้นไม่มีประโยชน์

การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหามีประโยชน์อย่างไร

การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (RCA) คือเทคนิคพิเศษที่คุณนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะ เทคนิคนี้ช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่พบเจอได้โดยใช้ขั้นตอนที่กำหนดมาโดยเฉพาะต่างๆ เพื่อค้นหาสาเหตุหลักของปัญหา RCA ยึดหลักการว่า การสนใจแต่ปลายเหตุโดยเพิกเฉยต่อสาเหตุของปัญหานั้นไม่มีประโยชน์

ฉันจะเริ่มต้นทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้อย่างไร

อธิบายปัญหา

ใช้ การอธิบายปัญหาอย่างง่ายๆ ให้กับน้องเป็ดยาง(Rubber-Duck Debugging) ในการอธิบายอะไรก็ตาม คุณถูกบังคับให้ต้องเรียงลำดับความคิดของคุณ Jeff Atwood ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ถามตอบยอดนิยมอย่าง Stack Overflow เล่าให้ฟังว่ากี่ครั้งแล้วที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์บอกเขาเกี่ยวกับการเขียนคำถามใหม่ไปยังเว็บไซต์ การค้นหาคำตอบด้วยตนเอง แต่ไม่เคยส่งคำถามจริงๆ

ลองใช้วิธีต่อไปนี้เพื่อช่วยให้คุณระบุปัญหาได้ง่ายๆ

  1. เขียนคำถามลงใน Stack Overflow แม้ว่าคุณจะไม่เคยทำก็ตาม
  2. บันทึกรายงานข้อบกพร่องโดยละเอียดเอาไว้
  3. อธิบายให้เพื่อนร่วมงานฟัง

รวบรวมข้อมูลบันทึก (และค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ)

ลำดับต่อไปคือรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาและหาข้อมูลเชิงลึก การบันทึกและการติดตามตรวจสอบอาจช่วยได้ ไม่ว่าจะเป็นบันทึกการทำงานล้มเหลว บันทึกแอปพลิเคชันและเซิร์ฟเวอร์ และอื่นๆ คุณต้องรวบรวมหลักฐานว่าปัญหาเกิดขึ้นจริง และหากเป็นไปได้ ให้หาด้วยว่าปัญหาเกิดขึ้นนานแค่ไหนแล้วและเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน

ภายในข้อมูลทั้งหมดนั้น คุณต้องค้นหาจุดข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงอย่างรวดเร็ว เครื่องมือสามารถช่วยคุณค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลบันทึกที่คุณได้รวบรวม และเปลี่ยนเป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ใช้เทคนิค 5 Why

ต่อไปก็ระบุปัจจัยเชิงสาเหตุ หรือสาเหตุโดยตรงของปัญหาที่เผชิญอยู่ ไม่ควรระบุปัจจัยเชิงสาเหตุแค่ประการเดียวแล้วก็จบ คุณต้องทำต่อด้วยการใช้เทคนิค 5 Why ถาม “ทำไม” ซ้ำๆ จนกว่าจะถึงต้นตอของปัญหา ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของคุณแสดงข้อผิดพลาด 500

  1. เพราะเหตุใด เพราะองค์ประกอบการกำหนดเส้นทางของเฟรมเวิร์กเว็บไซต์ทำงานผิดพลาด
  2. เพราะเหตุใด เพราะองค์ประกอบดังกล่าวต้องใช้อีกองค์ประกอบร่วมด้วย ซึ่งก็ทำงานผิดพลาดเช่นกัน
  3. เพราะเหตุใด เพราะองค์ประกอบของเฟรมเวิร์กเว็บไซต์นี้ต้องใช้ส่วนขยาย intl ซึ่งไม่ทำงาน
  4. เพราะเหตุใด เพราะส่วนขยายนี้ถูกปิดโดยไม่ได้ตั้งใจหลังจากอัปเดตซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์

แน่นอน คุณอาจจะเจอสาเหตุของปัญหาได้เร็วกว่านั้น หรือบางทีคุณก็อาจต้องถามเพิ่ม

ให้ผู้อื่นช่วย

เช่นเดียวกับการตรวจสอบโค้ด ให้คนอื่นที่เป็นกลางช่วยดูโค้ดของคุณ เมื่อเวลาผ่านไป ความคาดหมายจากการตรวจสอบจะช่วยคุณปรับแต่งกระบวนการของคุณ หรือยิ่งดีไปกว่านั้น จับคู่ปัญหากับการแก้ไขปัญหา

AWS นำเสนออะไรสำหรับการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับราคาของ Amazon OpenSearch Service

ไปที่หน้าราคา

AWS จะสิ้นสุดการรองรับ Internet Explorer ในวันที่ 07/31/2022 เบราว์เซอร์ที่รองรับ ได้แก่ Chrome, Firefox, Edge และ Safari เรียนรู้เพิ่มเติม »