การใช้ห้องน้ำ-ห้องส้วมอย่างถูกวิธี

           เป็นภูมิปัญญาไทย ที่สืบเนื่องกันมานาน โดยใช้มะกรูดในการดับกลิ่นคาวต่าง ๆ และกลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์จึงเกิดความคิดในแง่มุมต่าง ๆ ในการนำมะกรูดมาดัดแปลง ในรูปแบบต่าง ๆ และทดลองใช้ และมีผู้สนใจ จึงผลิตจำหน่าย และได้เข้าคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ไทยในปี ประจำปี 2546 ได้รับการคัดสรรระดับ 3 ดาวมะกรูดปลอดสารพิษ มีกลิ่นหอม ปลูกตามธรรมชาติไม่มีสารตกค้าง ทำให้ได้กลิ่นที่น่าพอใจสูง และได้คุณภาพที่ดีมากต่อสุขภาพ และของใช้เป็นผลผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้พัฒนาการปรับปรุงสูตรยาให้กับผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง

องค์กรนานาชาติต่างๆ ได้ออกมาแสดงความห่วงใยเกี่ยวกับการใช้ห้องน้ำสาธารณะ รวมถึงสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นที่ได้เผยแพร่งานวิจัยในประเทศจีนที่ได้ระบุว่า การกดชักโครกในห้องน้ำอาจทำให้เกิดฝอยละอองและแพร่กระจายเชื้อโรค 

ในฐานะเราเป็นพ่อแม่ ความห่วงใยต่อชีวิตลูกรักก็จะยิ่งเพิ่มเป็นทวีคูณ ดังนั้นวิธีสอนลูกใช้ห้องน้ำสาธารณะแบบวิถีใหม่จึงเป็นปราการด่านสำคัญที่จะปกป้องลูกจากเชื้อโรคต่างๆ ได้

5 สิ่งสำคัญนำสอนลูกใช้ห้องน้ำสาธารณะ

ก่อนจะสอนลูกใช้ห้องน้ำสาธารณะ ควรสอนการใช้ห้องน้ำในบ้านตัวเองให้ถูกสุขลักษณะเสียก่อน ได้แก่ วิธีล้างมือ การเลี่ยงจุดสัมผัสและการรักษาระยะห่าง

ต่อจากนั้นชวนเด็กมาเล่นบทบาทสมมติควรใช้ห้องน้ำโรงเรียนหรือห้องน้ำสาธารณะอย่างไร การเล่นสมมติถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เด็กเข้าสู่สังคมได้ดี สามารถเล่นได้กับพ่อแม่ เพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันหรือเพื่อนในจิตนาการ 

ตามคำเตือนของกรมอนามัยเกี่ยวกับการใช้ห้องน้ำสาธารณะให้ปลอดภัยจากเชื้อโรค มีดังนี้ 

  • ลดและเลี่ยงการสัมผัสพื้นผิวและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ลูกบิดประตู ชักโครก ฝารองนั่ง ที่กดชักโครก สายฉีดชำระ ก๊อกน้ำ พื้นห้องน้ำ เหล่านี้คือจุดเสี่ยงที่จะสัมผัสเชื้อได้มากที่สุด

  • ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ ป้องกันการฟุ้งกระจายของเศษละอองของเสียและเชื้อโรคในโถส้วม

  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดมือ ให้ใช้กระดาษทิชชูแทน

  • ใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเข้าห้องน้ำสาธารณะเสมอ เพราะห้องน้ำสาธารณะมักอยู่ในพื้นที่ที่ค่อยข้างอับ การระบายอากาศอาจไม่เพียงพอ หรืออาจมีเชื้อโรคล่องลอยอยู่ในอากาศ

  • ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้ง เพิ่มเวลาการฟอกมือจาก 20 วินาทีเป็น 30-40 วินาที และล้างมือสม่ำเสมอทุกครั้งที่สัมผัสจุดเสี่ยงในห้องน้ำสาธารณะ 

นอกจากนี้ ควรสอนลูกให้เข้าใจว่าห้องน้ำสาธารณะมักคับแคบ ทำให้ผู้ใช้บริการไม่สามารถรักษาระยะห่างได้ ควรรอคิวอยู่ข้างนอกดีกว่าเข้าไปรอคิวด้านในห้องน้ำ นอกจากนี้ห้องน้ำมักไม่มีหน้าต่าง ทำให้ระบบถ่ายเทอากาศในห้องน้ำไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ

ดูดูให้ดี มีอะไรให้ดู!

คุณพ่อคุณแม่ควรทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง และทบทวนคำสอนด้วยการพูดจูงใจแบบใช้น้ำเย็นเข้าลูบ เชื้อโรคมีอยู่ทุกที่ทุกทางในห้องน้ำสาธารณะ แต่เราก็มีเกราะป้องป้องกันเชื้อโรคที่ลูกทำเองได้ง่ายๆ เช่น หากไปเดินช้อปปิ้งด้วยกัน อาจพูดว่า “ลูกจ๋า ไหนเราไปเลือกห้องน้ำที่ไม่ค่อยมีคนใช้บริการกันดีไหมเอ่ย”  แล้วก็พาลูกไปเข้าห้องน้ำที่ไม่ได้อยู่ในแหล่งพลุกพล่านมากนัก หรือชวนลูก “มาทำความสะอาดฝาชักโครกก่อนนั่งนะคะ/ครับ มาใช้ทิชชูเปียก (ชนิดฆ่าเชื้อ) ที่เตรียมมากันเถิด” 

คุณพ่อคุณแม่ควรเช็กให้ดีว่าคุณลูกก่อนว่าคุณลูกต้องการห้องน้ำเร่งด่วนแค่ไหน เพราะถ้าด่วนมาก สมองของลูกคงจดจ่อที่จะไปห้องน้ำมากกว่าฟังคำสอนลูกใช้ห้องน้ำสาธารณะของคุณเป็นแน่

หากมีกระดาษรองนั่งไว้ปูบนฝาชักโครกก็ต้องอย่าให้แผ่นรองเปียกน้ำเพราะเชื้อโรคอาจแทรกซึมมากับน้ำได้ อีกทั้งเวลานั่งชักโครก ก็ควรระวังเสื้อผ้าไม่ให้ไปโดนชักโครก หรือควรทำความสะอาดพื้นผิวก่อน

อะอะ อย่าทำ! 9 สิ่งไม่ควรทำในห้องน้ำสาธารณะ

ต้องสอนลูกให้ชัดเจนว่าห้องน้ำสาธารณะคือพื้นที่เสี่ยงติดโรค ดังนั้นควรใช้เวลาในห้องน้ำให้น้อยที่สุด เมื่อเสร็จธุระก็รีบออกมา

  • เวลาเข้าห้องนอน ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือ อ่านไลน์ อ่านหนังสือ หรือเล่นของเล่น 

  • แทนที่เราจะใช้มือจับก๊อกน้ำล้างมือ ก็ควรนำกระดาษทิชชูเช็ดมือมาใช้จับก๊อกน้ำแทนการสัมผัสด้วยมือเปล่า แล้วนำไปทิ้งขยะที่มีฝาปิด แต่ถ้าหาไม่ได้จริงๆ ก็อาจกำมือแล้วใช้หลังมือดันก๊อกแทน ถ้าเจอประตูห้องน้ำสาธารณะ ก็อาจใช้ไหล่ผลักแทนที่จะใช้มือ 

  • หลังล้างมือเสร็จ ควรเช็ดมือให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือ ไม่ควรใช้เครื่องเป่าลมร้อนเพราะเครื่องนี้สามารถกระจายเชื้อไวรัสได้ถึง 3 เมตร (ตามข้อมูลในวารสาร Journal of Applied Microbiology ปีค.ศ. 2015) 

  • ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดมือสาธารณะที่แขวนอยู่ตรงอ่างล้างมือ ผ้าเช็ดมือมักมีความชื้นสะสมอยู่ตลอดเวลาและเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ควรเลือกใช้กระดาษชำระหรือกระดาษเช็ดมือที่มีกล่องปิดมิดชิด

  • ไม่เหยียบโถส้วมหรือใส่รองเท้าขึ้นไปนั่งบนฝารองนั่ง เพราะคิดว่าจะไม่สัมผัสเชื้อโรค แต่ในระหว่างขับถ่ายอาจมีการกระเด็นของน้ำในโถ ซึ่งเป็นที่รวมเชื้อโรคเปื้อนได้มากกว่าการนั่งแบบปกติเสียอีก

  • เวลานั่งชักโครก ก็ควรระวังเสื้อผ้าไม่ให้ไปโดนชักโครก หรือควรทำความสะอาดพื้นผิวก่อน

  • หากมีกระดาษรองนั่งไว้ปูบนฝาชักโครกก็ต้องอย่าให้แผ่นรองเปียกน้ำเพราะเชื้อโรคอาจแทรกซึมมากับน้ำได้ 

  • เลี่ยงการใช้สายฉีดชำระ เปลี่ยนมาใช้ทิชชูแทน หรือรองนำจากก๊อกน้ำโดยตรงแทนที่จะตักน้ำที่อยู่ในถัง เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจสะสมอยู่ในถังน้ำ

  • หลีกเลี่ยงการใช้ห้องน้ำแบบนั่งยองหรือแบบหลุม เพราะไม่มีฝาปิด ทำให้การปนเปื้อนเชื้อโรคมีมากขึ้น ถ้าจำเป็นต้องใช้ ขอแนะนำให้ยืนห่างๆ ก่อนค่อยๆ ราดน้ำทำความสะอาด เพราะถ้าราดแรงๆ เชื้อโรคอาจกระเด็นมาโดนตัวเราได้

เลี่ยงดีกว่า! อย่าฝากชีวิตไว้กับห้องน้ำสาธารณะ

พึงระลึกไว้เสมอว่าห้องน้ำสาธารณะเป็นสถานที่หนึ่งที่มีเชื้อโรคอยู่มาก ต้องใช้ร่วมกับผู้คนจำนวนมาก นอกจากนี้ผนังที่กั้นห้องน้ำแต่ละห้องอาจไม่ได้ออกแบบให้ปิดมิดชิด แต่จะเว้นช่องว่างที่พื้นและที่เพดานเอาไว้เพื่อการระบายอากาศ ทำให้เศษละอองของเสียที่กระจายออกมาขณะที่กดชักโครกกระจายไปยังห้องน้ำห้องข้างๆ ได้ด้วย 

รู้อย่างนี้แล้ว ก่อนออกจากบ้านก็ชวนลูกเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยดีกว่าไปฝากชีวิตไว้ข้างหน้า 

2 ภัยร้ายซ่อนเร้น! กระดาษทิชชูแบบเปิดและเครื่องเป่าลมร้อน

กระดาษทิชชูแบบเปิด

ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ออกมาเตือนว่า กล่องกระดาษชำระในห้องน้ำสาธารณะมักเป็นกล่องแบบคว่ำลงมีช่องด้านล่างไว้ให้หยิบหรือเรียกกันว่ากล่องกระดาษชำระแบบเปิด ที่มักติดอยู่ตรงผนังข้างชักโครก ซึ่งอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค เมื่อกดชักโครกแบคทีเรียและจุลินทรีย์ก็จะลอยไปยังกระดาษชำระซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้ได้ใช้กระดาษชำระที่ปนเปื้อนเชื้อโรคได้

อีกทั้งผู้ใช้บริการห้องน้ำสาธารณะอาจหาปลายกระดาษชำระไม่เจอ ต้องแตะกระดาษชำระทั้งม้วนและอาจต้องหมุนไปหลายๆ ครั้งกว่าจะเจอปลายกระดาษ จุดสัมผัสนี้ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

เครื่องเป่าลมร้อน

มหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษได้ผลวิจัยเมื่อเดือนเมษายน ปีพ.ศ. 2563 ชี้ว่าการใช้กระดาษทิชชูเช็ดมือให้แห้งแล้วทิ้งให้เป็นที่เป็นทางเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันเชื้อโควิด เมื่อเทียบกับการใช้เครื่องเป่าลมร้อนที่ทิ้งร่องรอยการปนเปื้อนเชื้อโรคที่มีค่าเฉลี่ยสูงถึง 10 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ใช้กระดาษเช็ดมือแบบใช้แล้วทิ้ง 

นอกจากนี้เมื่อปี 2561 มหาวิทยาลัยคอนเนตทิคัตในสหรัฐอเมริกาได้ออกมาระบุว่า เครื่องเป่าลมร้อนไม่เป็นผลดีต่อสุขอนามัย เพราะเครื่องนี้จะดูดอากาศที่ปนเปื้อนเชื้อโรคสารพัดชนิดในห้องน้ำสาธารณะเข้าไป และเป่าเชื้อโรคลงมาบนมือของผู้ใช้โดยตรง

พ่อแม่เลี้ยงบวกควรทำอย่างไร

การใช้ห้องน้ำสาธารณะไม่ใช่เรื่องยากหรือน่ากลัวจนเกินไป แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นก็คือ การที่เด็กๆ ลืมตัวและไม่ทำตามคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิดในระหว่างที่วิกฤตินี้ยังไม่คลี่คลายลง 

พ่อแม่เลี้ยงบวกควรวางขอบเขตกติกาหรือข้อตกลงที่ชัดเจน และชื่นชมลูกในพฤติกรรมดีๆ เช่น “พ่อแม่ภูมิใจที่ลูกรู้จักวิธีล้างมือที่ถูกต้อง ลูกเก่งมากๆ” 

มารยาทในการใช้ห้องน้ำห้องส้วมมีอะไรบ้าง

1. มารยาทในการใช้ห้องน้ำ ห้องส้วมมีอะไรบ้าง 1) ช่วยกันรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งกระดาษชำระเรี่ยราด ควรทิ้งในถังขยะที่จัดเตรียมไว้ 2) เมื่อทำธุระส่วนตัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องราดน้ำทำความสะอาดโถส้วม หรือกดชักโครก เพื่อทำความสะอาดทุกครั้ง 3) ไม่ขีดเขียนฝาผนัง เพราะจะทำให้สกปรกไม่น่าดู

การใช้ห้องน้ำห้องส้วมไม่ถูกวิธีจะเกิดผลอย่างไร

ตามหลักฮวงจุ้ยแล้ว ห้องน้ำ/ห้องส้วม เป็นห้องไม่พึงปรารถนา เพราะเป็นที่รวบรวมสิ่งสกปรก ของเสีย การขับถ่าย เป็นที่ปมเพาะเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งตำราหลายเล่มได้กล่าวไว้ว่าหากจัดตำแหน่งไม่ถูกต้องนั้นจะส่งผลเสียต่อเรื่องสุขภาพสำหรับลักษณะที่ดีและไม่ดี มีดังนี้ค่ะ

ชักโครกไฟฟ้าใช้ยังไง

วิธีการใช้งาน กดปุ่ม “ทวารหนัก (おしり)” เมื่อน้ำอุ่นออกมาให้ปรับแรงดันน้ำตามที่ต้องการ กดปุ่น “เคลื่อน (ムーブ)” เพื่อล้างบริเวรรอบๆ ทวารหนักได้ตามต้องการ หากใช้งานประมาณ 10 วินาทีแล้ว ให้หยุด เพราะถ้าใช้งานนานเกินไปอาจส่งผลเสียต่อผิว แปะกระดาษชำระเบาๆ เพื่อซับน้ำออก อย่าถูแรงเกินความจำเป็น

เข้าห้องน้ำสาธารณะยังไง

1. เลือกห้องน้ำที่ไม่ค่อยมีคนใช้ เป็นห้องน้ำที่ไม่ได้อยู่ในแหล่งพลุกพล่าน เช่น ห้องน้ำในออฟฟิศชั้นที่มีพนักงานน้อย ๆ เป็นต้น 2. อย่าสัมผัสโดยตรง ทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำสาธารณะ ควรสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ในห้องน้ำน้อยที่สุด เช่น เมื่อเปิดประตูเข้าไป อาจจะใช้ทิชชูวางบนลูกบิดแล้วหมุนเข้าไป เป็นต้น