ผลกระทบของการดื่มสุราด้านจิตใจ

แพทย์จะซักประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ ชนิด ปริมาณ รูปแบบการดื่ม รวมถึงโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วมกับตรวจร่างกายเพื่อดูการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ รีเฟล็กซ์ การทรงตัว รวมถึงระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การควบคุมระดับความดันโลหิต อุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ ทำการทดสอบเกี่ยวกับความจำของผู้ป่วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจระดับโปรตีนแอลบูมินในเลือด ค่าการทำงานของตับ ระดับวิตามินบี ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด รวมถึงภาพวินิจฉัยทางสมอง แล้วรวบรวมข้อมูลประเมินระดับความเสียหายที่เกิดขึ้น

บางครั้งผู้ป่วยที่ภาวะสมองเสียหายจากสุรา มักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นอาการของโรคอัลไซเมอร์ แต่ภาวะสมองเสียหายจากสุรา เป็นภาวะที่รักษาให้ดีขึ้นและยับยั้งความเสียหายเพิ่มเติมได้ การตรวจเพิ่มเติมที่เหมาะสมจะช่วยให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็ว

บทคัดย่อ
ผลกระทบของการดื่มแอลกอฮอล์ต่อผู้อื่น (Alcohol’s Harm to Others) เป็นมิติหนึ่งในผลกระทบทั้งหมดที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ โดยให้ความสนใจผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่นนอกจากผู้ดื่ม ซึ่งมักมีลักษณะตามรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดื่มกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่น กรณีผู้ดื่มเป็นสมาชิกในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือคนแปลกหน้า ผลกระทบมีหลากหลายระดับ ครอบคลุมตั้งแต่ความรุนแรงในระดับเล็กน้อย เช่น การรู้สึกรำคาญใจ จนถึงผลกระทบที่รุนแรงมาก เช่น การถูกทำร้ายเสียชีวิต ข้อมูลสถานการณ์ผลกระทบของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อผู้อื่นของประเทศไทย มีการศึกษาและรวบรวมอยู่ใน ๓ ลักษณะ ได้แก่ การสำรวจผลกระทบในประชากร การรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาต้นทุนทางสังคม อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวยังมีข้อจำกัดอยู่มากทั้งในประเด็นขอบเขตของปัญหาและวิธีการศึกษา โดยมีเฉพาะบางประเด็นที่เป็นเหตุการณ์รุนแรง เช่น อุบัติเหตุจราจร ความรุนแรงในครอบครัว หรือการนำเสนอเป็นสัดส่วนของเหตุการณ์ที่มีแอลกอฮอล์เกี่ยวข้อง จึงยังไม่สามารถสะท้อนสถานการณ์ของผลกระทบของการดื่มต่อผู้อื่นในภาพรวมอย่างแท้จริง แต่มีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจศึกษาต่ออีกหลายประเด็น เช่น ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตร่างกายและจิตใจ หรือทรัพย์สินที่เสียหายของคนรอบข้างผู้ดื่ม ผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนจากการดื่มของคนในครอบครัว ผลกระทบในสถานที่ทำงานต่อเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านาย ข้อมูลเชิงประจักษ์ของสถานการณ์และความรุนแรงของผลกระทบเชิงลบของแอลกอฮอล์ที่เกิดต่อสาธารณะนี้ถือว่ามีความสำคัญและประโยชน์ในการสนับสนุนการพัฒนานโยบายควบคุมแอลกอฮอล์ การติดตามผล รวมถึงการสร้างตระหนักต่อสังคมของประเทศได้


บทคัดย่อ
Study on Alcohol’s Harm to Others (HTO) is an innovative paradigm for revisiting the whole range of alcohol-related problems. It comprehensively focuses on the negative consequences of alcohol drinking to non-drinkers. Patterns of relationship between drinker and non-drinkers play a major role for this harm. Problems emerged from drinking by family member, relative, friend, colleague or stranger in society can be vastly different in terms of magnitude and pattern. The range of HTO covers from the less severe such as mere annoyance to the most severe such as assault and death. HTO-related national data were only available from social cost study, population survey and data of service system such as the hospital, the police and court cases. But due to methodological or conceptual constraints, the data might not best reflect the real situation. While Thai society may recognize alcohol-related traffic accident and domestic violence as HTO, other problems have been largely ignored. Other HTO issues have not been covered such as quality of life, impact on physical, mental health and belonging of people surrounding drinker, impact to children and youth from parents and caretakers as well as impact on co-workers in workplace. Comprehensive HTO data could demonstrate panoramic magnitude and severity of negative impacts to the public, support alcohol policy development, and raise public awareness.

ในปัจจุบันปัญหาที่ร้ายแรง และแผ่ขยายไปทั่วในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วยก็คือผลของการดื่มเหล้าหรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ไม่ว่าจะเป็นวิสกี้ บรั่นดี เบียร์หรือไวน์ก็ตาม ผู้ที่ดื่มในปริมาณไม่มากแต่ดื่มอย่างสม่ำเสมอจะมีแนวโน้มที่คอจะแข็งมากขึ้นเรื่อย ๆ ดื่มในปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกวัน แม้ว่าบุคคลผู้นั้นจะไม่เคยเมาเลยก็ตามแต่ยิ่งจำนวนแอลกอฮอล์มากขึ้นผลที่ตามมาก็คือการทำร้ายสุขภาพไม่ว่าจะเป็นหัวใจ สมอง ระบบประสาท กระเพาะอาหารและตับก็ตามล้วนได้รับผลภัยจากแอลกอฮอล์ได้ทั้งสิ้นรวมทั้งโอกาสนี้จะเกิดมะเร็งในช่องปาก ลำคอกล่องเสียงและหลอดอาหารมีได้สูงกว่าเช่นเดียวกัน

เพื่อให้ท่านที่สนใจหัวข้อเรื่องนี้ทราบว่า อวัยวะต่าง ๆของร่างกายได้รับผลกระทบอย่างไรจากการดื่มเหล้า เบียร์ หรือไวน์ทางศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ขอชี้แจงให้ท่านได้ทราบดังนี้

1. ผลต่อหัวใจ พบว่าการดื่มในปริมาณที่มากจะทำให้มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรง เกิดหัวใจวายได้ง่าย
2. ผลต่อตับ พบว่าการดื่มจะทำให้เกิดโรคตับแข็งได้ตับที่ถูกทำลายโดยแอลกอฮอล์จะไม่สามารถทำหน้าที่ที่จำเป็นได้ไม่ว่าจะเป็นกรรมวิธีในการย่อยสลายสารอาหารต่าง ๆหรือการเปลี่ยนแปลงของยาที่รับประทานเข้าไป บางรายอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง มักอาเจียนเป็นเลือด
3. ผลต่อผิวหน้า แอลกอฮอล์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ผิวหน้าจะเห็นเป็นสีแดงเรื่อ ๆมีผลทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนออกไปบางส่วนจากทางผิวหน้าจนบางครั้งอาจเกิดอาการหนาวจนสั่น หรือเกิดโรคปอดบวมได้ง่ายในฤดูหนาว
4. ผลต่อสมอง บางคนเชื่อว่าทานเหล้านิดหน่อยจะช่วยกระตุ้นสมองให้กระฉับกระเฉงแต่ข้อเท็จจริงไม่ใช่เช่นนั้น แอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์กดการทำงานของสมองถ้าดื่มมาก ๆ เข้า จะทำให้ความจำเสื่อม การตัดสินใจไม่เหมาะสม สมาธิเสียไปโกรธง่ายการพูดจะช้าลง สายตาพร่ามัวและการทรงตัวเสียไป
5. ผลต่อกระเพาะอาหาร มีผลทำให้กระเพาะอาหารอักเสบอย่างฉับไวทันทีภายหลังดื่มในปริมาณมากซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดเลือดออกในกระเพาะอาหารได้
6. ผลต่อระบบสืบพันธุ์ ในเพศชายอาจเกิดการเลื่อมสมรรถภาพทางเพศ ในผู้หญิงตั้งครรภ์จะมีผลร้ายต่อทารกทั้งทางร่างกายและทางจิตใจสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ศูนย์ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ รพ.กรุงเทพพัทยา หรือโทร.1719


ที่มา : ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

การดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อสมองอย่างไร

4. ผลต่อสมอง บางคนเชื่อว่าทานเหล้านิดหน่อยจะช่วยกระตุ้นสมองให้กระฉับกระเฉงแต่ข้อเท็จจริงไม่ใช่เช่นนั้น แอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์กดการทำงานของสมองถ้าดื่มมาก ๆ เข้า จะทำให้ความจำเสื่อม การตัดสินใจไม่เหมาะสม สมาธิเสียไปโกรธง่ายการพูดจะช้าลง สายตาพร่ามัวและการทรงตัวเสียไป

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อหัวใจอย่างไร

การดื่มสุราปริมาณมากมักจะมีผลกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือด เช่น การทำงานของหัวใจเสื่อมลง เกิดภาวะความดันเลือดสูง หัวใจเต้นผิดปกติอันเนื่องมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตโดยเฉียบพลัน

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อระบบประสาทอย่างไร

ส่วนสาเหตุด้านอื่นๆ เช่น ก่อโรคทางระบบประสาท จะทำให้นอนไม่หลับ กระบวนการรับรู้ความเข้าใจบกพร่อง ขาดสติ จิตหลอน ประสาทหลอน การทำหน้าที่ของสมองผิดปกติ ส่งผลถึงการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย อาจทำให้กล้ามเนื้อส่วนปลายแขน ขาอ่อนแรง ปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นอาการของเหน็บชา

นักเรียนคิดว่าการดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลต่ออนาคตอย่างไร

ผลต่อหัวใจและหลอดเลือด ผู้ที่ดื่มสุราจะมีความดันโลหิตสูงกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาติดสุราจะมีโอกาส เกิดโรคหัวใจได้มากกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม 2-3 เท่า มะเร็ง ตัวแอลกอฮอล์ไม่ได้เป็นสารก่อมะเร็งแต่จะส่งเสริมให้เกิดมะเร็งจากสารอื่นได้ง่าย เช่น บุหรี่ หากใช้ร่วมกันจะเกิดโรคมะเร็งในปาก กล่องเสียงและหลอดอาหารได้มาก