คุณสมบัติ เจ้าหน้าที่ ฝ่ายจัดซื้อ

Location
Thailand - Samutprakarn

Salary
THB17,000 - 20,000

Job Number
SDG-54745

Industry
industrial

Languages
English Level:Conversational;Japanese Level:None;

<path class="cls-1"d="M28,8H21V6a2,2,0,0,0-2-2H13a2,2,0,0,0-2,2V8H4a2,2,0,0,0-2,2V26a2,2,0,0,0,2,2H28a2,2,0,0,0,2-2V10A2,2,0,0,0,28,8ZM13,6h6V8H13Zm15,4v9H4V10ZM4,26V21H28v5Z"></path> Job Category
Logistics/ Trading/ Procurement/ Store Development

Posted 2022/07/26

Job Description

Purchasing Staff @ Samuthprakarn (17K-20K) (SDG-54745)
เจ้าหน้าที่จัดซื้อ
<Job Responsibilities>
- Follow up purchase order confirmation from vendor, issue purchase order and keep track of delivery
- Check and update material storage
- Work on matter related to BOI clearance for oversea supplier
- Negotiate with suppliers on pricing, terms of agreement, etc.
- Enter order details (e.g. vendors, quantities, prices) into databases
- Create related reports and documents

<Necessary Skill / Experience >
- Thai nationality , Female, age 24-28 years old
- Bachelor's Degree
- At least 1-2 years of experience in Purchasing/Procurement in Manufacturing of Electronics, Electrical Parts/Appliances
- Excellent Excel skills (Vlookup, Pivot table) and other MS Office
- Good command of English both spoken and written
- Able to work in Bangplee, Samutprakarn

<Preferable Skill / Experience>
- None

Languages skills
English: Conversational Level
Japanese: None

Workplace Area: Bangplee Samuthprakarn
Working Hour: 8:00-17:30(Mon-Fri)

About the Benefits
Salary: 17,000–20,000THB

About the company
Products: Manufacture and sales of printed circuit board assembly products
Business Type: eneral Appliances / Electrical Equipment;Home Electronics / Audio-Visual Equipment / Communication Equipment;Semiconductors / Electronics / Electronic Components



พนักงานจัดซื้อ @ Samuthprakarn (17K-20K) (SDG-54745)
<หน้าที่ความรับผิดชอบ>
- ติดตามการยืนยันใบสั่งซื้อจากผู้ขายออกใบสั่งซื้อและติดตามการจัดส่ง
- ตรวจสอบและอัปเดตการจัดเก็บวัสดุ
- ดำเนินงานในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาต BOI สำหรับซัพพลายเออร์ในต่างประเทศ
- เจรจากับซัพพลายเออร์ในเรื่องราคาเงื่อนไขข้อตกลง ฯลฯ
- ป้อนรายละเอียดการสั่งซื้อ (เช่นผู้ขายปริมาณราคา) ลงในฐานข้อมูล
- สร้างรายงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

<ทักษะ / ประสบการณ์ที่จำเป็น>
- สัญชาติไทยเพศหญิงอายุ 24-28 ปี
-ปริญญาตรี
- มีประสบการณ์อย่างน้อย 1-2 ปีในการจัดซื้อ / จัดจ้างในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นส่วน / เครื่องใช้ไฟฟ้า
- ทักษะ Excel ที่ยอดเยี่ยม (Vlookup, Pivot table) และ MS Office อื่น ๆ
- สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีทั้งพูดและเขียน
- สามารถทำงานในบางพลีสมุทรปราการ

<ทักษะ / ประสบการณ์ที่ต้องการ>
-ไม่มี

ทักษะภาษา
ภาษาอังกฤษ: ระดับการสนทนา
ญี่ปุ่น: ไม่มี

สถานที่ทำงาน: บางพลีสมุทรปราการ
เวลาทำการ: 8: 00-17: 30 น. (จันทร์ - ศุกร์)

เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์
เงินเดือน: 17,000–20,000 บาท

เกี่ยวกับ บริษัท
ผลิตภัณฑ์: ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกอบแผงวงจรพิมพ์
ประเภทธุรกิจ: เครื่องใช้ไฟฟ้า / อุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน / อุปกรณ์ภาพและเสียง / อุปกรณ์สื่อสารเซมิคอนดักเตอร์ / อิเล็กทรอนิกส์ / ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์

The position has been closed.

sending...

※Our mail will be sent by [email protected].
In case of being recognized as junk mail, please kindly check your junk mail box or contact us for information.

ฝ่ายจัดซื้อ (Procurement) จัดว่าเป็นหน่วยงานหลักที่สำคัญทั้งในงานธุรกิจการผลิตและบริการ เพราะหากมีการบริหารงานฝ่ายจัดซื้อให้มีประสิทธิภาพดี จะทำให้บริษัทเกิดความสามารถทางการแข่งขันในทางธุรกิจได้ ในเรื่องของการลดต้นทุน การสร้างความแตกต่าง และการตอบสนองความต้องการลูกค้าหรือผู้บริโภค ดังนั้นในงานโลจิสติกส์และชัพพลายเชนจึงมองงานจัดซื้อว่ามีความสำคัญ โดยจะได้รับการจัดแบ่งให้เป็น 1 ใน 6 กลุ่มงานหลักในระบบ SCOR เป็นส่วนหนึ่งภายใต้กลุ่มของทรัพยากร (Source) 

จากตัวอย่างจะเห็นว่าในสถาณการณ์ธุรกิจเดิม ค่าใช้จ่ายด้านอื่นอาจลดได้ยากเพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกเช่น 

ผลกำไร (Profit) กำไรเกิดจากยอดขายสินค้ากับผลกำไรต่อสินค้า ซึ่งที่ยากจะเพิ่มยอดขายหรือราคาสินค้า ในยุคที่มีการแข่งขันสูง และมีสินค้าคู่แข่งที่มาก

ต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ (Cost ETC) ที่ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดการที่ยากเพราะมีปัจจัยภายนอกที่กำหนดไว้เช่น ค่าแรงคนงาน ค่าบริหารจัดการ ค่าขนส่ง เป็นต้น 

ต้นทุนวัตถุในการผลิต (Input Supply) ในส่วนนี้จะทำได้ง่ายหากเริ่มจากการวางแผนจัดซื้อที่ดี เพียงสามารถปรับลดราคามูลค่าในการจัดซื้อลงได้ ก็สามารถเพิ่มยอดกำไรให้แก่องค์กรได้ในทันที

คุณสมบัติ เจ้าหน้าที่ ฝ่ายจัดซื้อ

จากความสัมพันธ์ที่กล่าวมา ผู้บริหารควรที่จะต้องมีการดูแลให้ความสำคัญในงานจัดซื้อให้ดี เพราะสามารถช่วยในการทำกำไรให้แก้องค์กรได้ นอกจากนั้นการจัดซื้อช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อเนื่องได้สมบูรณ์ เพราะหากซัพพลายเออร์ที่มีปัญหาเพียงรายเดียว อาจสร้างปัญหากระทบทั้งระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนทั้งองค์กรได้ แนวคิดการดำเนินการของฝ่ายจัดซื้อในปัจจุบันควรมี 10 เรื่องดังนี้

1. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องสามารถประสานสัมพันธ์ทั้งภายใน (หน่วยงานแผนกในองค์กร) และภายนอกบริษัท (คู่ค้า/ลูกค้า) เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของฝ่ายจัดซื้อจัดหาที่ดี พยายามให้เกิดขึ้นอย่างสมดุลและสามารถประสานงานได้ทุกส่วน ปรับลดบทบาทมาเป็นที่ปรึกษาและช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดหา มากกว่าการเป็นผู้ควบคุมกฎกติกาหรือบังคับใช้การจัดหาทรัพยากร

2. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องหาวิธีในการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านวัตถุดิบหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม ไม่เน้นใช้วิธีกดลดต้นทุนจากซัพพลายเออร์อย่างเดียว ควรคำนึงถึงในด้านของซัพพลายเออร์โดยใช้ประสิทธิภาพในการจัดส่งมาประกอบเพิ่มเติม ไม่ควรเน้นการบีบลดราคากับชัพพลายเออร์จนเกิดความไม่เป็นธรรม 

3. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องมีมุมมองและวิธีคิดในด้านประสิทธิภาพซัพพลายเออร์มากขึ้น โดยอาจใช้การประเมินในเรื่อง ต้องทำได้ดีกว่า (Better) ต้นทุนถูกกว่า (Cheaper) ซื้อได้เร็วกว่า (Faster) และมีความเชื่อถือไว้วางใจได้มากกว่า (More Reliability)

4. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องทราบถึงปัญหาจากพฤติกรรมการสั่งซื้อของตนที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเช่น การสั่งซื้อแบบเร่งด่วน การไม่มีแผนงานระยะยาวในการสั่งซื้อ หรือการปรับเปลี่ยนเวลาในการจัดส่ง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นให้ส่ง เร็วหรือช้าล้วนแล้วแต่เป็นต้นทุนทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อซัพพลายเออร์เกิดค่าใช้จ่ายสุดท้ายค่าใช้จ่ายเหล่านั้นก็จะถูกผลักมาที่ผู้ซื้อ

5. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องกำหนดวิธีเลือกซัพพลายเออร์ อาจใช้หลัก Supply Positioning Model ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์แยกแยะสินค้าและบริการ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการจัดซื้อเพื่อใช้วางแผนการทำงานทั้งภายในบริษัทและในซัพพลายเชนให้มีความต่อเนื่อง  หาดูว่าการดำเนินงานของเราเอง เป็นต้นเหตุที่ทำให้ซัพพลายเออร์มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยฝ่ายจัดซื้อ ต้องพิจารณาตนเองให้ได้ว่า ในมุมมองของซัพพลายเออร์มีมุมมองต่อเราอย่างไรอาจใช้หลัก Supplier Preferencing Model มามองกลับหาความสัมพันธ์ที่มีซึ่งทำให้ฝ่ายจัดซื้อรู้ว่าซัพพลายเออร์คิดหรือมองฝ่ายจัดซื้ออย่างไรเช่น เราเป็นบริษัทที่น่าสนใจหรือน่าคบเพียงไหนอย่างไร ควรพิจารณาในหลายด้านไม่ว่าจะเป็น ชื่อเสียง ขนาดของบริษัท ยอดการสั่งซื้อ ความถี่ในการติดต่อสม่ำเสมอเพียงใด การเงินมีระบบการชำระเงินอย่างไร อัธยาศัยไมตรีที่มีในการติดต่อ เป็นต้น

6.  ฝ่ายจัดซื้อ ต้องนำแนวคิดทางการตลาดมาใช้ช่วยให้มากขึ้น เพื่อให้ฝ่ายจัดซื้อสามารถพิจารณาและบริหารจัดการทางการตลาดได้ดีกว่าคู่แข่งขัน อาจใช้เครื่องมือ Market Management Matrix ที่ช่วยจัดซื้อรู้ว่าควรต้องทำอะไรอย่างไรกับใครเช่น ต้องสร้างพันธมิตรธุรกิจกับซัพพลายเออร์รายใดในระดับใด จะต้องเพิ่มธุรกิจให้ชัพพลายเออรรายใดให้มีความสามารถอยู่ได้เพื่อเป็นทางเลือก ควรต้องเพิ่มความระมัดระวังในการสั่งสินค้าตัวใด ควรต้องเปลี่ยนซัพพลายเออร์รายใดเมื่อใด ควรประเมินประสิทธิภาพชัพพลายเออร์เพื่อจัดแบ่งกลุ่ม และหาวิธีจัดการซัพพลายเออร์แต่ละรายให้เหมาะสม

7. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องเข้าไปสังเกตการณ์และการให้ความช่วยเหลือซัพพลายเออร์ในบางเรื่องเช่น การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน ควรอธิบายให้ซัพพลายเออร์เข้าใจถึงปัญหาและความจำเป็นที่จะต้องมีการทำราคาให้ต่ำลง (Cost Down) โดยเข้าใจในหลักที่ว่าหากมีคู่แข่งขันที่สามารถทำต้นทุนได้ถูกกว่าซัพพลายเออร์เดิม ทางฝ่ายจัดซื้อบริษัทก็จะต้องปรับการสั่งซื้อจากแหล่งที่มีราคาถูกกว่า เพื่อให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทฝ่ายจัดซื้อมีมูลค่าที่ต่ำและสามารถแข่งขันได้ในตลาดต่อไป อาจมีการเข้าไปสังเกตการณ์บริษัทซัพพลายเออร์ วิเคราะห์กระบวนการไปถึงวิธีการผลิต การใช้เทคโนโลยี วิธีการทำงาน เป็นต้น เพื่อช่วยหาวิธีที่จะลดต้นทุน บางครั้งในฐานะคนนอกเมื่อเข้าไปดูก็จะมองเห็นปัญหาของต้นทุนที่เกิดขึ้นดีกว่าฝ่ายที่ทำมาต่อเนื่องจนคุ้นชิน และทำการให้ข้อแนะนำและเสนอแนวทางปรับปรุงลดต้นทุนต่อไป

8. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องเริ่มนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานกระบวนการจัดซื้อเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้น การใช้ระบบดังกล่าวเช่น ระบบบริหารความต้องการทรัพยากร (MRP), ระบบบริหารความต้องการในการผลิต (MRP II) หรือระบบบริหารทรัพยากรในองค์กร (ERP) เป็นต้น เพื่อจะทำให้องค์กรมีข้อมูลในการประมวลผลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และความน่าเชื่อถือ เพื่อให้การติดตามความต้องการขององค์กรทั้งในเรื่อง วัตถุดิบ เครื่องมือ อุปกรณ์ วัตถุสำเร็จรูป รวมถึงเรื่องการเงิน โดยนำข้อมูลที่เก็บไว้มาทำการวางกลยุทธ์ในการจัดซื้อในทุกระดับเช่น ระดับปฏิบัติการ ระดับบริหาร และระดับองค์กรธุรกิจ ใช้วิเคราะห์กระบวนการทำงานและประเมินผลในการทำงาน ใช้ประกอบการตัดสินใจปรับปรุงการทำงานในครั้งต่อไป 

9. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องมีการทำวิจัยวัดประสิทธิภาพการจัดซื้ออย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากที่มีการทำงานจัดซื้อไปสักระยะหนึ่ง แนวคิดและรูปแบบระบบการทำงานอาจไม่สามารถสนับสนุนหรือสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันหรือสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นควรต้องมีการกำหนดแผนวิจัยในเรื่องการจัดซื้อเพื่อให้สามารถสะท้อนการทำงานในองค์กร ให้เห็นถึงสภาพปัญหาการจัดซื้อเพื่อสร้างแบบจำลองในการจัดซื้อที่เหมาะสมกับการทำงานต่อไป

10.  ฝ่ายจัดซื้อ ต้องมีนโยบายที่เกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันกระแสสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่มักถูกนำมากล่าวถึง ดังนั้นฝ่ายจัดซื้อควรต้องนำเรื่องนี้มาประกอบการพิจารณา ควรให้ความสำคัญกับซัพพลายเออร์ที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility: CSR) ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ อาจดูจากมาตรฐานที่มีประกอบเช่น ISO เป็นต้น ซึ่งการเลือกซัพพลายเออร์ที่มี CSR ดี ก้จะเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมสร้างภาพต่อเนื่องที่ดีให้กับสินค้าและบริการของเรา

จะเห็นว่าจากการนำเอาภาระกิจงานทั้ง 10 เรื่อง จะช่วยให้เราสามารถทำการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรที่ดี มีความสามารถในการสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขันขององค์กรได้

ฝ่ายจัดซื้อ ต้องเรียนอะไร

สำหรับน้อง ๆ นักศึกษาจบใหม่ที่สนใจงานด้านการจัดซื้อ อาจจะกำลังสงสัยว่า ต้องเรียนจบด้านใดมา จึงจะสามารถสมัครงานจัดซื้อได้ เนื่องจากงานด้านนี้แบ่งเป็นหลายประเภท นายจ้างจะมองหาผู้หางานที่จบมาทางด้านการตลาด (Marketing) การบริหารธุรกิจ (Business Administration) การจัดการ (Business Management) และสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ...

เจ้าหน้าที่จัดซื้อ คืออะไร

หน้าที่และความรับผิดชอบ – วางแผนการทำงานและตรวจสอบใบขอซื้อจากแผนกต่างๆ – ดูแลจัดการออกใบสั่งซื้อ และประสานงานระหว่างซัพพลายเออร์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง – ประสานงานกับซัพพลายเออร์จนสิ้นสุดกระบวนการสั่งซื้อจัดทำข้อมูลรายงานและวิเคราะห์ข้อมูลอื่นๆ ของส่วนงานจัดซื้อตามที่ได้รับมอบหมาย

ฝ่ายจัดซื้อต้องทำอะไรบ้าง

คือ การจัดหาสินค้าและวัตถุดิบให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการใช้ในการดำเนินงาน ในราคาที่เหมาะสม ยุติธรรมและคุ้มค่าที่สุด ตลอดจนการสรรหาผู้ขายที่ดี มีประสิทธิภาพและความสามารถในการจัดส่งสินค้าให้ได้ตามตรงตามความต้องการ และมีบริการที่ดี ปรึกษากับผู้ขายหรือซัพพลายเออร์เพื่อที่จะหาวิธีที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

เจ้าหน้าที่ธุรการจัดซื้อ ทําอะไรบ้าง

รายละเอียดงาน.
จัดทำเอกสารเกี่ยวกับงานจัดซื้อ.
ติดต่อประสานงานภายในหน่วยงาน และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง.
ประสานงาน จัดทำเอกสาร และบันทึกข้อมูล.
จัดทำเอกสารรายงานต่างๆ ของแผนก.
ดูแล จัดการเอกสาร สัญญาต่าง ๆ ในระหว่างจัดซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
คีย์ข้อมูลรายการสินค้า.
อื่นๆที่ได้รับมอบหมาย.