เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ในตะกร้า

กุ้งก้ามกรามมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 ฟุต น้ำหนักราว 1 กิโลกรัม เป็นกุ้งที่ถูกใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ เผา หรือทอด เป็นต้น เพราะเนื้อมีมาก เนื้อแน่น มัน อร่อย ทำให้มีราคาที่ขายสูง ปัจจุบันยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงามด้วย มีเปลือกสีเขียวอมสีฟ้าหรือม่วง ก้ามยาวมีสีครามหรือม่วงเข้ม ตลอดทั้งก้ามมีปุ่มตะปุ่มตะป่ำ โดยธรรมชาติจะอยู่ในแม่น้ำลำคลอง ในประเทศไทยพบแทบทุกจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ โดยพบทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย วางไข่ในน้ำกร่อยที่เค็มจัด อาหารได้แก่ ไส้เดือน, ตัวอ่อนของลูกน้ำ, ลูกไร, ลูกปลาขนาดเล็ก, ซากของสัตว์ต่าง ๆ และในบางโอกาสก็กินพวกเดียวกันเอง พบชุกชุมทำให้จับง่าย โดยเฉพาะในฤดูหนาว ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้ปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่าง ๆ แถบภาคกลางของไทย เช่น สุพรรณบุรี, นครปฐม, ฉะเชิงเทรา เป็นต้น

วิธีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในรูปแบบต่าง ๆ 

เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ในตะกร้า

การเลี้ยงกุ้งแม่น้ำในบ่อปูนซีเมนต์

การเลี้ยงกุ้งแม่น้ำในบ่อปูนขนาดใหญ่นั้น เป็นการเลี้ยงกุ้งที่ได้รับความนิยมมากกว่าบ่อขนาดเล็ก เพราะ สามารถเลี้ยงได้ทีละมาก ๆ ไม่ต้องสร้างบ่อหลายบ่อ ช่วยลดต้นทุนในการผลิต เหมาะสำหรับเลี้ยงไว้เพื่อจำหน่ายในปริมาณมาก ยิ่งกุ้งแม่น้ำเป็นกุ้งที่มีความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาของกุ้งแม่น้ำนั้นขยับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากเมื่อก่อน กก.ละ 300-500 บาท แต่เดียวนี้สามารถขายได้ถึง กก.ละ 600-800 บาท หรือถ้าใครทำการตลาดดีหน่อย เลี้ยงแล้วเปิดร้านขายปลีกส่งเข้าหน้าร้านตัวเอง สามารถขายได้ถึง กก.ละ 800-1,400 บาทเลยทีเดียว

สำหรับการเลี้ยงก็ทำได้ไม่ยาก

  1. เริ่มต้นจากการก่อบ่อขึ้นจากอิฐบล็อกแบบง่าย ๆ (บ่อขนาดประมาณ 3×5 เมตร ลึก 50 เซนติเมตร) เดินท่อระบายน้ำ เทพื้น ฉาบปูนให้เรียบ บ่อควรตั้งไว้ในที่ร่มมีหลังคากันแดดกันฝน ปล่อยไว้ประมาณ 3-5 วัน ให้ปูนเซตตัวจนแห้งสนิท เมื่อปูนแห้งสนิทแล้ว ให้เติมน้ำลงในบ่อจนเต็ม ใส่เกลือเล็กน้อย และ ต้นกล้วยลงไปแช่ไว้ประมาณ 7-14 วัน (ต้นกล้วยช่วยปรับค่า PH ในบ่อให้สมดุล ชะล้างฝุ่นผงปูนและสารตกค้างที่เคลือบอยู่ตามผิวของปูนออก ส่วนเกลือนั้นช่วยกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ ในบ่อ เป็นวิธีการทำความสะอาดบ่อที่มีประสิทธิภาพสูง)
  2. หลังจากแช่น้ำต้นกล้วยครบตามกำหนดวันแล้ว ให้ถ่ายทิ้งแล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
  3. ต่อไปเป็นการเตรียมน้ำในบ่อสำหรับเริ่มเลี้ยง เติมน้ำลงไปหว่านเกลือให้ทั่วบ่อ นำท่อ PVC จัดวางลงไปในบ่อสำหรับเป็นที่หลบและที่อยู่อาศัยของกุ้ง หาอิฐ หิน และ กระเบื้อง มาวางให้สูงพอพ้นผิวน้ำเล็กน้อย สำหรับให้กุ้งขึ้นมาลอกคราบ นำหัวทรายให้ออกซิเจนไปวางไว้ที่มุมบ่อทั้งสี่มุม ปล่อยน้ำไว้ 48 ชั่วโมง ก่อนปล่อยพันธุ์กุ้งลงบ่อ
  4. การคัดลือกพันธุ์กุ้ง ใช้ลูกกุ้งขนาดประมาณ 5 ซม. ราคาอยู่ที่ตัวละประมาณ 5-10 บาท (สาเหตุที่ใช้ลูกกุ้งไซด์นี้เพราะ มีอัตราการเลี้ยงรอดที่สูงกว่า ถ้าขนาดเล็กกว่านี้อัตราการรอดจะน้อย) พันธุ์กุ้งที่ดีควรมีการว่ายน้ำ ปราดเปรียว แข็งแรง สำหรับบ่อขนาด 3×5 เมตร จะปล่อยลูกกุ้งขนาด 5 เซน ประมาณ 200-300 ตัว/บ่อ
  5. พันธุ์กุ้งพร้อม เตรียมบ่อเสร็จเรียบร้อย ก็พร้อมปล่อยกุ้งลงบ่อแล้ว การปล่อยกุ้งลงบ่อนิยมทำตอนที่สภาพอากาศไม่ร้อนเกินไป เช่น ช่วงเช้า หรือ ช่วงเย็น โดยนำพันธุ์กุ้งมาแช่ลงน้ำทั้งถุง ประมาณ 30 นาที ให้อุณหภูมิน้ำในถุงกับในบ่อใกล้เคียงกัน แล้วค่อย ๆ วิดน้ำในบ่อมาผสมในถุงที่บรรจุลูกกุ้งอยู่ทีละน้อยแล้วค่อยปล่อยกุ้งลงบ่อ เป็นการปรับสภาพกุ้งก่อนปล่อยลงน้ำ เพื่อไม่ให้กุ้งน๊อคตอนปล่อยลงบ่อ
  6. ในวันแรกที่ปล่อยไม่ต้องรีบให้อาหารกุ้ง ค่อยให้ในวันถัดมา สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงลูกกุ้งในช่วงแรก ให้อาหารสำเร็จนรูปสำหรับลูกกุ้ง ประมาณ 5-6ช้อน หว่านรอบ ๆ บ่อ ควรให้ช่วงเย็นหรือหัวค่ำ เพราะกุ้งเป็นสัตว์ขี้อายไม่ค่อยออกมาช่วงกลางวัน (อย่าให้อาหารเยอะจนกุ้งกินไม่หมด เพราะจะทำให้น้ำเน่า)
  7. สังเกตุดูหากกุ้งขึ้นมาลอกคราบบนกระเบื้องที่วางไว้ แสดงว่ากุ้งกำลังเจริญเติบโต มีขนาดใหญ่ขึ้น ให้เปลี่ยนอาหารของกุ้งไปเป็น อาหารกุ้งขนาดกลาง และ อาหารกุ้งขนาดใหญ่ตามลำดับ
  8. หลังจากเลี้ยงกุ้งก้ามกรามได้ประมาณ 5-6 เดือน ก็จะมีขนาดตัวที่ใหญ่พอที่จะสามารถจับขายได้ แล้วแต่ขนาดและความต้องการของตลาด หากอยากขายได้ราคาก็ต้องเลี้ยงต่อไปอีกเพื่อให้ได้ขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น แต่โดยปกติแล้วขนาดตัวที่เลี้ยงแล้วได้ราคาพอดีจุดคุ้มทุนค่าอาหารคือประมาณ 6-8 เดือน

เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ในตะกร้า
การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในตะกร้า 

ความต้องการบริโภคอาหารกุ้ง ปลา มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น ตามจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มสูงขึ้น การเพาะเลี้ยงไม่ว่าพื้นที่จะเป็นเช่นไร ขอเพียงแค่มีน้ำ ใช้เลี้ยงได้ตลอดทั้งปี ก็ถือเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่นิยมปลูกพืชสวน โดยเฉพาะมะพร้าว ที่เป็นพืชเศรษฐกิจประจำท้องถิ่น สวนต่าง ๆ เหล่านี้มักมีร่องสวนเป็นระยะ คุณสุชล สุขเกษมเจ้าของสวนมะพร้าว แห่งศูนย์การเรียนรู้บ้านสารภี จึงคิดใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์จากร่องสวน คุณสุชล เกษตรกรคนเก่ง ได้กล่าวให้ฟังว่า “ตามพื้นเพตนและคนในชุมชนมีอาชีพทำการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกมะพร้าวเพื่อนำมาเคี่ยวเป็นน้ำตาล สร้างรายได้ และของขึ้นชื่อในจังหวัดสมุทรสงคราม ด้วยความที่ชอบศึกษาเรียนรู้ และได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนราชการ และสถานศึกษา เมื่อปี 2547 จึงเกิด ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี ขึ้นมา เพื่อประโยชน์ด้านการเรียนรู้

เมื่อก่อนนี้ ตนมองว่าร่องน้ำในสวนมะพร้าวมีประโยชน์ จึงนำกุ้งก้ามกราม หรือที่เรียกว่า กุ้งหลวง หรือกุ้งแม่น้ำ กุ้งน้ำจืด ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว มาทดลองเลี้ยงในกระชัง ในร่องสวน กุ้งน้ำจืดชนิดหนึ่งมีลำตัวยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร เปลือกสีเขียวอมฟ้า หรือม่วง ก้ามยาว มีสีม่วงเข้ม ตลอดทั้งก้ามมีตะปุ่มตะป่ำ ส่วนมากจะอาศัยอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง ทั้งที่เป็นในน้ำจืด และน้ำกร่อย ตอนนั้นจะรับซื้อลูกพันธุ์มาปล่อยกระชังละ 700-1,000 ตัว อาหารที่ให้เป็นไข่ ชงกับน้ำร้อน ให้กินในช่วงแรกได้ผลดี กุ้งก้ามกรามเจริญเติบโตดีมาก แต่เมื่อเลี้ยงได้ขนาด ปริมาณลดน้อย เพราะปัญหาการกินกันเอง หลังการลอกคราบ ทำให้ต้องเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงมาเป็นการเลี้ยงในกุ้งตะกร้า ร่องสวนมะพร้าวที่มีอยู่จะมีขนาดความกว้างประมาณ 1.5 เมตร มีความลึกประมาณ 1.5-2 เมตร ปล่อยน้ำขึ้น-ลงตามธรรมชาติ แต่ต้องมีการไหลเวียนตลอดเวลา เพราะกุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงต้องใช้ออกซิเจนเพื่อการดำรงชีพ ในช่วงที่น้ำหยุดการเคลื่อนไหว

เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ในตะกร้า

การเพิ่มออกซิเจนให้กับกุ้ง

คุณสุชลจะใช้การปั่นจักรยานน้ำเพื่อให้น้ำเคลื่อนตัว และการปล่อยปลากินพืชลงไปแหวกว่ายให้เกิดออกซิเจน จากนั้นจะใช้ไม้ปักกลางร่องสวนเป็นแนวยาว เพื่อแขวนตะกร้าเป็นที่อยู่ของกุ้ง แล้วปล่อยน้ำเข้าในร่องสวน เมื่อน้ำเต็มร่องสวนแล้วนำตะกร้าที่ใส่กุ้งก้ามกรามมาแขวนติดไว้กับไม้ที่ปักอยู่กลางร่องสวน โดยกุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงนั้นจะได้จากการไปตกจากเขื่อน หรือจากแหล่งน้ำธรรมชาติ กุ้งที่ได้จะนำมาปล่อยรวมไว้ในกระชังเพื่อให้เกิดการรับสภาพ 2-3 วัน จากนั้นจึงแยกกุ้งไว้ในตะกร้า ตะกร้าละ 1 ตัว ซึ่งตะกร้าที่ใช้เลี้ยงกุ้งจะใช้ตะกร้าพลาสติกที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ราคาใบละ 20-30 บาท จำนวน 2 ใบ โดยทั้งสองข้างของตะกร้าจะต้องติดขวดน้ำพลาสติกไว้เพื่อพยุงให้ตะกร้าลอยในน้ำ หลังจากที่นำกุ้งใส่ลงไปในตะกร้าใดตะกร้าหนึ่งแล้ว จะใช้ตะกร้าอีกอันประกบทับแล้วมัดตะกร้าทั้ง 2 ให้ติดกัน ลักษณะเป็นกรงขังไม่ให้กุ้งหลุดรอดออกมาได้ และจะต้องเจาะช่องขนาดไม่ใหญ่ไว้ที่ตะกร้า เพื่อไว้สำหรับหย่อนอาหารให้กุ้งกินได้ จากนั้นนำตะกร้าไปแขวนกับไม้ที่ปักไว้

การให้อาหารกุ้งก้ามกราม

อาหารกุ้งแบบลดต้นทุน คือ มะพร้าวทึนทึก ซึ่งเป็นผลผลิตจากสวน นำไปฉีกเป็นชิ้น ๆ ให้กุ้งกิน 1 ชิ้น จะเป็นอาหารกุ้งได้ 2-3 วัน และสลับด้วยการให้อาหารกุ้งเสริมเข้าไปด้วย

การจำหน่ายกุ้งก้ามกราม

การเลี้ยงกุ้งวิธีการนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 6-8 เดือน ถ้ากุ้งโตได้ขนาดแล้ว ก็สามารถจับกุ้งที่เลี้ยงในตะกร้าออกจำหน่ายได้ นอกจากนี้ยังมีผลผลิตจากการเลี้ยงปลาน้ำจืด ไม่ว่าจะเป็นปลานิล ปลาทับทิม ปลาตะเพียน และปลาแรด นอกจากเป็นตัวช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำให้แก่กุ้งก้ามกรามแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้ อาหารกุ้งหว่านให้กุ้งก็เป็นอาหารปลา ส่วนของขับถ่ายจากปลาก็เป็นอาหารธรรมชาติให้กับกุ้งก้ามกรามอีกทางหนึ่ง ถือเป็นแนวทางการเลี้ยงกุ้งแบบใหม่ ที่ใช้พื้นที่ไม่มาก ต้นทุนต่ำ แต่ได้ผลตอบแทนสูง และเป็นรายได้เสริมที่คุ้มค่าให้เกษตรกร บนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของในหลวง

สำหรับเกษตรกรหรือผู้สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ เลี้ยงกุ้งก้ามกรามในตะกร้า สามารถติดต่อได้ที่ คุณสุชล สุขเกษม หมู่ที่ 7 ตำบลจอมปลวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 75120 โทร.08-6178-4157

เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ในตะกร้า

การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบคอนโด

พฤติกรรมของกุ้งก้ามกรามที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติมักจะชอบอาศัยอยู่ตามซอกหิน หรือโขดหินซึ่งใช้พื้นที่ไม่มากนัก กุ้งแต่ละตัวจะมีอาณาเขตของตัวเองอีกทั้งกุ้งก้ามกรามไม่ต้องการพื้นที่ในการดำรงชีวิตมากนัก จากแนวคิดนี้จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำกุ้งก้ามกรามมาทดลองในขวดพลาสติกได้ แต่จะต้องยึดหลักการที่สำคัญว่าน้ำที่ใช้เลี้ยงและอาหารจะต้องดี โดยใช้กุ้งก้ามกรามขนาด 20-30 ต่อกิโลกรัมมาเลี้ยงในขวดพลาสติกขนาดบรรจุ 5 ลิตร โดยเลี้ยงขวดละ 1 ตัวใช้ระบบการเลี้ยงในระบบปิด น้ำที่ใช้เลี้ยงจะต้องหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ กุ้งที่คัดมาเลี้ยงจะต้องมีความสมบูรณ์ ขาและก้ามอยู่ครบและไม่มีแผลตามลำตัว ใช้อาหารกุ้งกุลาดำเลี้ยงวันละ 2 ครั้งคือ เช้า-เย็น อัตราประมาณ 5% ของน้ำหนักตัวกุ้ง

  • น้ำที่ใช้เลี้ยงอาจจะใช้น้ำประปาก็ได้แต่จะต้องผ่านขบวนการจนคลอรีนจากน้ำออกหมดแล้ว ค่า pH ของน้ำ =7-8 จะเหมาะสมที่สุด ระบบหมุนเวียนน้ำในเวลา 1 นาทีจะต้องให้น้ำไหลเข้าขวดประมาณ 600-800 ซีซี น้ำที่ล้นออกจากขวดจะไหลตกลงสู่บ่อพักด้านล่างซึ่งสร้างเป็นบ่อคอนกรีตที่มีกรวดและหินช่วยกรองเศษอาหารไว้ ข้อควรระวังในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามรูปแบบนี้คือถ้าไฟฟ้าดับเกิน 1 ชั่วโมง ทำให้เครื่องสูบน้ำไม่สามารถสูบน้ำ  ขึ้นไปหมุนเวียนได้ กุ้งจะตายเพราะขาดออกซิเจน (เกษตรกรที่เลี้ยงจะต้องมีเครื่องปั่นไฟฟ้าสำรอง)
  • อุณหภูมิของน้ำที่ใช้เลี้ยงคือ 28 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่านี้กุ้งจะกินอาหารน้อยลงมีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตของกุ้งลดลงไปด้วย การเลี้ยงในรูปแบบนี้จะทำให้กุ้งมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก ในเวลา 1 เดือนจะมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเท่าตัว ถ้านำกุ้งก้ามกรามที่มีน้ำหนักตัว 30 กรัม เลี้ยงผ่านไป 1 เดือนจะมีน้ำหนักเพิ่มเป็น 60 กรัม สรุปได้ว่าเมื่อนำกุ้งก้ามกรามขนาด 20-30 ตัวต่อกิโลกรัมมาเลี้ยงในขวดพลาสติกนานประมาณ 5 เดือน กุ้งจะมีขนาดใหญ่มีน้ำหนักเฉลี่ย 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม จับขายได้ในราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 500 บาท การเลี้ยงกุ้งก้าม กรามในขวดพลาสติกเหมาะสำหรับเป็นอาชีพเสริมและมีพื้นที่น้อย

สำหรับเกษตรกรที่คิดจะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบคอนโดในเชิงพาณิชย์ ควรจะเลี้ยงในแม่น้ำและสร้างกระชังเลี้ยง เนื่องจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าไฟฟ้าและการจัดการในเรื่องระบบการหมุนเวียนของน้ำ ขนาดของกระชังที่แนะนำคือ 25 ตารางเมตร วางตะกร้าเลี้ยงกุ้งได้ 120 ตะกร้า ที่ใช้เลี้ยงจะต้องใช้ตะกร้าพลาสติก ที่มีฝาปิดเพื่อป้องกันกุ้งหลบหนี ในการแขวนตะกร้าควรจะแขวนเป็นแถวและจะต้องแขวนให้สามารถเคลื่อนไหวได้ อย่ามัดตะกร้าติดกับคานจนแน่น เพราะถ้าตะกร้าไม่มีการเคลื่อนไหวตะกอนในน้ำจะตกค้างที่ก้นตะกร้ามากและการถ่ายเทน้ำจะไม่ดีกุ้งจะตายได้ง่าย

เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ในตะกร้า

เลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนา

สมบูรณ์ ลาภเกิด เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง อ.บางแพ จ.ราชบุรี เล่าถึงที่มาของการเลี้ยงกุ้ง 5 ปี ไม่เปลี่ยนน้ำ มาจากแนวคิดนำน้ำใช้แล้วมาใช้ใหม่ น่าจะดีกว่านำน้ำใหม่มาบำบัดเพราะน้ำใหม่เราจะไม่มีทางรู้เลยว่า ผ่านการชะล้างมาอย่างไร มีสารเคมีอะไรปนเปื้อนมาบ้าง แต่น้ำที่ใช้แล้ว เราจะรู้หมดเลยว่า เราทำอะไรไปบ้าง จึงน่าจะดีกว่าน้ำใหม่ สำหรับวิธีการจัดการ ฟาร์มแห่งนี้มีบ่อเลี้ยงขนาด 4 ไร่ 4 บ่อ รอบบ่อเลี้ยงขุดเป็นคลองขนาดกว้าง 6-8 เมตร ยาวขนานไปกับบ่อเลี้ยงทั้งหมด อีกราว 4 ไร่ ใช้เป็นคลองรับน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เสมือนคลองบำบัดน้ำที่สามารถนำมาใช้ได้เมื่อต้องการเติมน้ำในบ่อเลี้ยง หรือดึงน้ำมาใช้ในยามน้ำน้อย

  • วิธีการเลี้ยงจะปล่อยบ่อว่างไว้ 1 บ่อ ส่วนบ่ออื่น ๆ อีก 3 บ่อจะลงกุ้งขาว กุ้งก้ามกราม ปลานิลเลี้ยงผสมผสานให้ห่างกันเดือนละบ่อ จนครบทั้ง 3 บ่อ เมื่อถึงเวลาจับจะถ่ายน้ำจากบ่อเลี้ยงลงบ่อที่เว้นว่างไว้ เพื่อกักน้ำแล้วนำมาเลี้ยงในครอปต่อไป ทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ ไม่ต้องเสียเงิน เสียเวลาบำบัดน้ำใหม่ แถมยังมั่นใจว่าน้ำปลอดภัย 100% เลยทำให้ที่นี่เลี้ยงสัตว์น้ำได้ปีละ 3 ครอป มีรายได้เข้าฟาร์มตลอดทั้งปี
  • ส่วนการเลี้ยง สมบูรณ์ จะใช้วิธีปล่อยลูกกุ้งขาว ที่ผ่านการอนุบาลในคอกมาแล้ว 10-15 วัน เพื่อให้ลูกกุ้งแข็งแรงเพื่อเพิ่มอัตราการรอด บ่อละ 100,000 ตัว จากนั้นอีก 1 สัปดาห์
  • ปล่อยกุ้งก้ามกรามบ่อละ 20,000 ตัว ตามปล่อยปลานิลขนาด 3-4 มม. บ่อละ 10,000 ตัว ในกระชังขนาด กว้าง 7 เมตร ยาว 15 เมตร (1 บ่อมี 8 กระชัง) กระชังละ 1,000-1,500 ตัว

ส่วนใครจะปล่อยกุ้งขาว กุ้งก้ามกราม ปลานิล พร้อมกันหรือปล่อยตัวไหนก่อนหลังยังไงก็ได้ ที่สำคัญ สัตว์น้ำทั้ง 3 ชนิดต้องปล่อยห่างกันไม่เกิน 7 วัน เพื่อให้ได้ขนาดไม่ต่างกันมาก จะได้จับขาย ได้พร้อมกัน เคล็ดลับที่ขาดไม่ได้คือ ต้องให้จุลินทรีย์บำบัดพื้นบ่อและรักษาสมดุลในบ่อ บ่อละ 0.5 กก. ทุกสัปดาห์ การเลี้ยงวิธีนี้ ไม่เพียงช่วยลดปัญหาสังคม ลดความขัดแย้งกับนาข้าว ยังช่วยกระจายความเสี่ยงเรื่องราคาตกต่ำได้ดีกว่าเลี้ยงกุ้งขาวอย่างเดียว เพราะเกิดกุ้งขาวราคาตก ยังมีปลานิล และกุ้งก้ามกรามมาชดเชยความเสียหายได้

เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ในตะกร้า

การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในกระชัง

การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเป็นอาชีพหนึ่ง ซึ่งทำรายได้ดีให้แก่ผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงให้ประสบผลสำเร็จนั้น ต้องอาศัยความรู้ความเอาใจใส่ พร้อมทั้งได้พันธุ์กุ้งก้ามกรามที่ดีและแข็งแรง ดังนั้นเกษตรกรควรจะมีทักษะและความรู้ความเข้าใจ เพื่อเป็นแนวทางในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามให้ได้ผลสำเร็จสูง การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามนั้นจะมาไม่นิยมเลี้ยงในกระชัง เพราะการเลี้ยงกุ้งจะเกิดของเสียจากาอาหารกุ้งจำนวนมาก จะต้องมีการใช้จุลินทรีย์ช่วยในการบำบัดน้ำเสียดังนั้นจึงไม่มีใครเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในกระชัง

ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้

  • คุณภาพดิน ควรเป็นดินเหนียวหรือดินร่วน จะช่วยในการเก็บกักน้ำได้ดี และคันดินไม่พังทลายง่าย แต่ไม่ควรจะเป็นดินเปรี้ยวจัด เพราะเมื่อ เก็บกักน้ำจะทำให้น้ำเป็นกรด ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการเลี้ยงและอาจ ส่งผลให้กุ้งตายหมด
  • คุณภาพน้ำ ควรมีคุณภาพดี สะอาด ปราศจากสารเคมี ของเสียจาก โรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งชุมชน ยาฆ่าแมลงของเสียจากโรง เลี้ยงสัตว์และอื่น ๆ ควรมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการสูบน้ำใช้ตลอด ทั้งปี โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำส่งเข้าปอเลี้ยงได้โดยไม่ต้องสูบน้ำจะช่วย ลดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี
  • แหล่งพันธ์กุ้ง พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ในบริเวณที่ไม่มาห่างจากแหล่งพันธุ์กุ้งก้าม กราม ทำให้สะดวดในการจัดหาพันธุ์  และการลำเลียงขนส่ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพกุ้งด้วย (ขออนุญาตแทรกคำว่ากระชังในบทความนี้หน่อยนะครับ)
  • สาธารณูปโภค เช่น ถนน ไฟฟ้า เพื่อสะดวกในการขนส่งอาหารผลผลิต การเตรียมอาหารหรือการเพิ่มออกซิเจนในบ่อ
  • ตลาด หากอยู่ใกล้ตลาดจะช่วยให้ได้เปรียบค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ขั้นตอนการดำเนินงาน

เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ในตะกร้า

การออกแบบบ่อและการก่อสร้าง ต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ คือ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ความสะดวกในการดูแลรักษาและการจัดการรูปทรงควรเป็นสี่เหลี่ยม ผืนผ้า เพื่อสะดวกในการจัดการและการจับผลผลิต บ่อกว้างประมาณ 25 เมตร แต่ไม่ควรเกิน 50 เมตร

การเตรียมบ่อเลี้ยง(เลี้ยงในกระชังไม่ได้) ควรสูบน้ำออกจากปอให้แห้งเพื่อกำจัดศัตรูกุ้งที่เหลือ หว่านปูนขาวทันทีในขณะดินเปียกในอัตรา60 – 100 กิโลกรัมต่อไร่ ศัตรูกุ้ง ได้แก่ ปลาชนิดต่าง ๆ กบ เขียด ปู นก ชนิดต่าง ๆ การกำจัด อาจใช้ปูนขาว โล่ตื้น กากชา หรือสารเคมีชนิดอื่น ๆ กำจัด พันธุ์ไม้น้ำและวัชพืชซึ่งเป็นแหล่งหลบซ่อนของศัตรูกุ้งและส่วนที่ตาย จะเน่าเสียอันตรายต่อกุ้งที่เลี้ยงได้ วัชพืชต่าง ๆ จะเป็นอุปสรรคต่อ การจับกุ้ง ทำให้การเลี้ยงได้ผลผลิต ไม่แน่นอนการตากปอจะช่วย ให้แก๊สพิษบางตัวที่ผังกันบ่อ ระเหยและถูกทำลายโดยแสงแดดและ ความร้อน ทั้งยังเป็นการฆ่าเชื้อโรคที่อยู่บริเวณกันบ่อเป็นการทำให้ หน้าดินในปอเลี้ยงกุ้งมีคุณภาพดีขึ้น(กระชัง)

การปล่อยพันธุ์กุ้งลงเลี้ยง เวลาที่ปล่อยพันธุ์กุ้งเลี้ยงดีที่สุดคือเวลาเช้าหรือเวลาเย็น นำถุงพลาสติกที่บรรจุลูกกุ้งแช่ในปอประมาณ 20 นาทีเพื่อปรับ อุณหภูมิน้ำ ระดับน้ำในปอไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตรพันธุ์กุ้งที่ นำมาปล่อยควรปรับให้อยู่ในสภาพน้ำจืดแล้วไม่ต่ำกว่า 2 – 3 มี ลักษณะการเคลื่อนไหวปราดเปรียวอัตราการปล่อยกุ้งลงเลี้ยงที่ เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10 ตัวต่อตารางเมตร

อาหารและการให้อาหาร อาหารของกุ้งควรเป็นอาหารจมชนิดเม็ดหรือแท่งสั้นๆ เพื่อ สะดวกในการกัดกินและคงสภาพน้ำได้นานประมาณ 6 – 12 ชั่วโมง โดยไม่ละลายน้ำ อาหารที่ใหม่จะมีกลิ่นหอมช่วยให้กุ้งกินอาหารได้ดี การเพิ่มหรือลดอาหารที่ให้ต่อวันทำได้โดยการตรวจสอบการกินอาหาร ของกุ้งในแต่ละวันเสียก่อนว่าเหลือหรือไม่ วันใดฝนตกหรือมีอากาศ เปลี่ยนแปลงมากๆ หรือมีหมอกลง ไม่สมควรให้อาหารหรืออาจจะ ให้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย

ผลผลิต ระยะเวลาการเลียงขึ้นอยู่กับขนาดของกุ้งที่ตลาดต้องการ – โดยทั่วไปหลังจากเลี้ยงแล้ว 6 เดือน จะเริ่มทำการคัดกุ้งขนดใหญ่ – ที่ออกขายหลังจากนั้นในช่วง 1.5 – 2 เดือนจะทำการจับ ถ้ามีกุ้ง น้อยควรวิดบ่อจับกุ้งขายให้หมด ผลผลิตกุ้งอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยประมาณ 200 กก. ต่อไร่ต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราการรอดตายของกุ้ง ศัตรูกุ้ง และการดูแลเอาใจใส่ทั้งถึง ตัวผู้ที่มีขายาวและก้ามยาวใหญ่ จะมีราคาถูกกว่ากุ้งตัวผู้ลักษณะธรรมดา

การตลาดและผลตอบแทน ถ้าขายส่งคละทั้งตัวผู้และตัวเมียราคา 80 – 100 บาทต่อกิโลกรัม หากคัดขายเฉพาะกุ้งตัวผู้ ราคา 100 – 120 บาทต่อกิโลกรัม ส่วน กุ้งตัวเมียราคา 55 – 70 บาท ต่อกิโลกรัม แม้ว่าว่าจะไม่มีการเลี้ยงกุ้งในกระชัง แต่ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการโฆษณากระชังเท่านั้น ขอบคุณที่คลิกมาอ่านเรื่องกระชังของเรา

 

ที่มา   https://www.palangkaset.com/สัตว์น้ำ/เลี้ยงกุ้งก้ามกรามในตะ/

http://postnoname.com/farm-giant-freshwater-prawn-in-cement-pond/

https://www.otopmidyear.com/page-68.html

http://www.tipwarinfarm.com/index.php/news-and-informations/1-เลี้ยงกุ้งในดงนา-5-ปี…ไม่เปลี่ยนน้ำ.html