ใบงานรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก พร้อมเฉลย

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การถอดคำประพันธ์จากบทประพันธ์ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก เป็นการฝึกให้ผู้เรียนวิเคราะห์และจับใจความจากงานเขียนที่เป็นบทร้อยกรอง สามารถอธิบายได้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เพราะเหตุใด อีกทั้งยังฝึกให้ผู้เรียนเรียนรู้บทประพันธ์ที่เป็นกลอนบทละครว่ามีลักษณะอย่างไร และได้ทราบถึงคำศัพท์ที่ผู้เรียนไม่ทราบความหมาย ซึ่งหากผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จะทำให้สามารถอ่านเนื้อหาจากบทประพันธ์ได้และจับใจความจากบทประพันธ์ได้อย่างเข้าใจ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ท 5.1 ม.2/2    วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน พร้อมยกเหตุผลประกอบ

จุดประสงค์
- นักเรียนสามารถอธิบายเนื้อเรื่องจากเรื่อง บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ได้
- นักเรียนถอดคำประพันธ์จากเรื่อง บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ได้
- นักเรียนมีมารยาทในการอ่านและการฟัง 
 

การวัดผลและประเมินผล

- แบบประเมินใบงานการถอดคำประพันธ์จากเรื่อง บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก – เกณฑ์การประเมินสมรรถนะผู้เรียน
- แบบประเมินการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
 

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก แม้จะมีเนื้อหาสั้น ๆ แต่ก็พร้อมด้วยความโดดเด่นทางด้านเนื้อหาที่ให้คุณค่าและให้ข้อคิดแก่ผู้เรียน อีกทั้งยังให้คุณค่าในด้านการใช้ถ้อยคำที่ไพเราะ ลึกซึ้ง มีการพรรณนาที่ทำให้ผู้เรียนเกิดจินตภาพตามไปกับเนื้อเรื่อง และเนื้อเรื่อง พฤติกรรมตัวละครยังสะท้อนให้เห็นถึงความจริงของสังคมที่มนุษย์ทุกคนล้วนมีความรัก โลภ โกรธ หลง แต่ทั้งนี้ผู้เรียนต้องไตร่ตรองให้ดีก่อนนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตให้ถูกทำนองครองธรรม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

    ท 5.1 ม.2/3    อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน
    ท 5.1 ม.2/4    สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

จุดประสงค์
- นักเรียนสามารถอธิบายหลักการวิเคราะห์คุณค่าจากวรรณคดีได้
- นักเรียนสามารถวิเคราะห์คุณค่าด้านต่าง ๆ จากเรื่อง บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ได้
- นักเรียนตระหนักเห็นถึงความสำคัญจากวรรณคดีที่สะท้อนความจริงในสังคม 
 

การวัดผลและประเมินผล

- แบบประเมินการวิเคราะห์คุณค่าด้านต่าง ๆ จากเรื่อง บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบ นนทก 
- เกณฑ์การประเมินสมรรถนะผู้เรียน
- แบบประเมินการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
 

ใบงานรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก พร้อมเฉลย

ผู้แต่ง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระนามเดิมว่า ด้วง พระชนกคือหลวงพินิจอักษร

 กับพระชนนีคือ ดาวเรือง ทรงขึ้นครองราชย์หลังจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จสวรรคต
เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ตลอดรัชกาลพระองค์ทรงทำสงครามทั้งกับพม่าและปราบหัวเมืองต่าง ๆ
 ทรงสร้างระเบียบการปกครอง ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ศิลปะศาสตร์ และอักษรศาสตร์ รวบรวมชำระกฎหมาย
ตราสามดวงจนสมบูรณ์ และพระองค์ยังเป็นกวีโดยทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเรื่อง ได้แก่ รามเกียรติ์
ดาหลัง อุณรุท และกลอนนิราศ เรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง

ที่มาของเรื่อง

นำเค้าเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะของอินเดีย

จุดมุ่งหมายในการแต่ง                                                                                                   

เพื่อรวบรวมรามเกียรติ์ให้สมบูรณ์ และเพื่อแสดงพระเกียรติของพระรามหรือพระมหากษัตริย์ไทย

ลักษณะคำประพันธ์

แต่งด้วยกลอนบทละคร

                กลอนบทละคร เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อใช้ในการเล่นละคร ต้องอาศัยทำนองขับร้องและ
เครื่องดนตรีประกอบ แต่งเสร็จต้องนำไปซักซ้อมปรับปรุง ดังนั้น จำนวนคำของแต่ละวรรคจึงไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับจังหวะขับร้องเป็นสำคัญ ว่าโดยหลักมีแต่ ๖ คำ ถึง ๙ คำ แต่ที่ปรากฏว่าใช้มากสุด คือ ๖ คำ เช่น
เรื่องรามเกียรติ์ เฉพาะวรรคแรกขึ้นต้น ใช้ ๒ คำ ถึง ๔-๕ คำ บางคราวก็ส่งสัมผัสไปยังวรรคที่ ๒ บางคราวก็ไม่ส่ง
 คำที่ใช้เช่น เมื่อนั้น
บัดนี้น้องเอ๋ยน้องรัก

         แม้กลอนสดับ จะใช้คำพูดเพียงสองคำ ก็ถือถือว่าเต็มวรรค โดยลักษณะสัมผัสในวรรคและนอกวรรค
 นิยมใช้แบบกลอนสุภาพ แต่งเป็นตอน ๆ พอจบตอนหนึ่ง ขึ้นตอนต่อไปใหม่ ไม่ต้องรับสัมผัสไปถึงตอนที่จบ
 เพราะอาจเปลี่ยนทำนองตามบทบาทตัวละคร ที่ขึ้นต้นว่า
 เมื่อนั้น ใช้สำหรับพระเอกหรือผู้นำในเรื่อง บัดนั้น
 ใช้สำหรับเสนา กลอนนี้เป็นกลอนผสม คือ กลอน ๖ กลอน ๗ กลอน ๘ หรือ กลอน ๙ ผสมกันตามจังหวะ
 
มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้

ใบงานรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก พร้อมเฉลย

เรื่องย่อ

          นนทกมีหน้าที่ล้างท้าเทวดาอยู่ที่เชิงเขาไกรลาส เมื่อเทวดาพากันไปเฝ้าพระอิศวร
พวกเทวดาชอบข่มเหงนนทกอยู่เป็นประจำด้วยการลูบหัวบ้าง ตบหัวบ้าง จนกระทั่งผมร่วงหมดนนทกแค้นใจ
เป็นอันมาก จึงไปเฝ้าพระอิศวร กราบทูลว่าตนได้รับใช้มานาน ยังไม่เคยได้รับสิ่งตอบแทนเลย จึงทูลขอให้นิ้วเป็นเพชร มีฤทธิ์ชี้ผู้ใดก็ให้ผู้นั้นตายได้ พระอิศวรก็ประทานให้ตามขอ เมื่อเทวดามาลูบศีรษะเล่นเช่นเคย นนทกก็ชี้ให้ตายลงเป็น
จำนวนมาก พระอิศวรทรงทราบก็กริ้ว โปรดให้พระนารายณ์ไปปราบ พระนารายณ์แปลงเป็นนางฟ้ามายั่วยวน
 นนทกนักรักจึงเกี้ยวนาง นางแปลงจึงชวนให้นนทกรำตามนางก่อนจึงจะรับรัก นนทกตกลงรำตามไปจนถึง
ท่ารำที่ใช้นิ้งเพชรชี้เข่าตนเอง นนทกล้มลง ก่อนตายนนทกเห็นนางแปลงปรากฏร่างเป็นพระนารายณ์
 จึงต่อว่าพระนารายณ์มีอำนาจ มีถึง ๔ กร เหตุใดจึงต้องทำอุบายมาหลอกลวงตน
พระนารายณ์จึงให้นนทกไปเกิดใหม่ให้มีถึง ๒๐ มือ แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง ๒ มือลงไปสู้ด้วย
 นนทกจึงไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ ส่วนพระนารายณ์ก็อวตารลงมาเป็นพระราม

แนวคิด

อำนาจเมื่ออยู่กับผู้ที่ไม่รู้จักใช้ย่อมเป็นโทษ

คุณค่างานประพันธ์

          ๑.คุณค่าด้านวรรณศิลป์

การดำเนินเรื่องรวดเร็ว กระชับ ใช้คำชมความงามของนางแปลงได้อย่างเห็นภาพพจน์ เหมาะสำหรับการนำไปแสดงโดยมีการขับร้องและใช้ดนตรีประกอบ

          ๒.คุณค่าด้านสังคม

สังคมจะสงบสุขอยู่ได้ถ้าคนเรามีน้ำใจต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่ข่มเหงน้ำใจกัน  

******************************************************************************************************

แบบฝึกหัดที่ ๑

ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่ถูกต้อง และ หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง ตามข้อเท็จจริง

....... ๑. รามเกียรติ์มีมาแต่ครั้งสุโขทัย ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ เรื่องถ้ำพระราม

....... ๒. รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นมาใหม่ให้เป็นฉบับ 

          ที่สมบูรณ์

....... ๓. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า บุญมา ทองด้วง

....... ๔. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระชนกคือ หลวงพินิจอักษร กับ พระชนนีคือ    

          ดาวเรือง

....... ๕. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเคยเป็นหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี

....... ๖. สมเด็จพระอัครมเหสีมีพระนามเดิมว่า นาค

....... ๗. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน

          พ.ศ. ๒๓๒๕

....... ๘. ตลอดรัชกาลที่ ๑ พระองค์ทรงทำสงครามกับพม่าถึง ๙ ครั้ง

....... ๙. รัชกาลที่ ๑ สวรรคตเทื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ รวมพระชนมายุได้ ๗๓ พรรษา

....... ๑๐. นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง บทละครเรื่องอุณรุท และไตรภูมิโลกวินิจฉัย เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑

แบบฝึกหัดที่ ๒

ให้นักเรียนจับคู่คำศัพท์และความหมายโดยนำตัวอักษรทางขวามือมาใส่ในช่องว่างทางซ้ายมือให้ถูกต้องเหมาะสม

....... ๑. กร

....... ๒. หัสนัยน์

....... ๓. อัมรินทร์

....... ๔. ปรารมภ์

....... ๕. พระสุรัสวดี

....... ๖. มโนรส

....... ๗. สุบรรณ

....... ๘. เกษียรวารี

....... ๙. ไกรลาส

....... ๑๐. อัฒจันทร์

....... ๑๑. เกลง

....... ๑๒. ตรี

....... ๑๓. พระหริวงศ์

....... ๑๔. จาบัลย์

....... ๑๕. มยุเรศ

ก.                   นกยูง

ข.                   ร้องไห้สะอึกสะอื้น

ค.                   ทะเลน้ำนมที่พำนักของพระนารายณ์

ง.                    ชื่อภูเขาเป็นที่ประทับของพระอิศวร

จ.                   ครุฑ

ฉ.                   ในที่นี้หมายถึง ขั้นบันได

ช.                   ผู้มีพันตา หมายถึง พระอินทร์

ซ.                   มาจากภาษามอญว่า เกลิง แปลว่า มา

ฌ.                 ตรีศูล เป็นอาวุธสามง่าม

ญ.                 พระนารายณ์

ฎ.                  พระนามของพระอินทร์

ฏ.                  รำพึง, วิตก

ฐ.                   มเหสีของพระพรหม

ฑ.                  ความหวัง,ความประสงค์

ฒ.                 แขน

*******************************************************************************************************