ระเบียบรถรับส่งนักเรียน อปท

“หมอวัฒนา” เผยผลการหารือร่วมกับ สตง.มีความเข้าใจและข้อปฏิบัติชัดเจนขึ้น ยืนยัน สตง.ชี้ อปท.จัดรถรับ-ส่งนักเรียนในศูนย์เด็กเล็กสามารถทำได้ ส่วนกรณีใช้รถฉุกเฉินรับ-ส่งผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สามารถทำได้ แต่ให้เขียนคำจำกัดความของรถฉุกเฉินให้ชัดเจน เพื่อการใช้งานที่คุ้มค่ามากขึ้น ระบุตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสของราชการ คำนึงถึงบริบท ไม่ให้กระทบและสร้างความลำบากให้ประชาชน

ระเบียบรถรับส่งนักเรียน อปท

ขอบคุณภาพจาก www.kkphc.com

สืบเนื่องจากกรณีที่สำนักข่าว Health Focus ได้รายงานข่าวจากการให้สัมภาษณ์ของ ทพ.วัฒนา ทองปัสโณว์ หัวหน้ากลุ่มงานทันตกรรม รพ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก ว่า สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ท้วงติงห้ามไม่ให้เทศบาลตำบลเนินกุ่ม อำเภอบางกระทุ่มจัดรถรับส่งแก่นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 3 แห่งในสังกัดของเทศบาล และการห้ามมิให้นำรถฉุกเฉินมาให้บริการรับส่งผู้ป่วยโรคเรื้อรังนั้น

มีรายงานล่าสุดว่า จากประเด็นดังกล่าว ได้มีการประชุมหารือระหว่างผู้เกี่ยวข้องที่สำนักตรวจเงินแผ่นดินที่ 10 จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2559

ทั้งนี้ ทพ.วัฒนา กล่าวภายหลังการประชุมว่า ทาง สตง.ยืนยันว่ากรณีรับส่งรถนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทางเทศบาลหรือองค์การส่วนบริหารส่วนตำบล (อบต.) สามารถดำเนินการได้ โดยเทียบเคียงกับหนังสือข้อหารือของกรมส่งเสริมการปกครอง ที่ทำถึงผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2549 เรื่องขอหารือแนวทางการปฏิบัติโครงการจ้างเหมารถรับส่งนักเรียน กรณี อบต.เขาท่าพระ จ้างเหมารถรับ-ส่ง เด็กก่อนวัยเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ว่าหากมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสังคมสงเคราะห์ ประกอบกับได้ป่านความเห็นชอบของประชาคม ก็ถือว่าเป็นภารกิจที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อบต.เขาท่าพระ ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (10) ที่จะสามารถดำเนินการได้ โดยถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ มท 0313.4/ว ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2541

ทพ.วัฒนา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ทราบว่า เรื่องดังกล่าวอาจจะเกิดจากความไม่ชัดเจนในการสื่อสารของทาง สตง.เอง รวมถึงการรับสารในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้หลายที่ๆ ต้องการดำเนินการในขณะที่ยังไม่ชัดเจนในข้อระเบียบที่จะดำเนินการได้ จึงทำให้ยังไม่กล้าดำเนินการ

“แต่นับต่อแต่นี้ จากการประชุมกับ สตง.มีความชัดเจนว่า ขอให้ อปท.ทุกแห่งมั่นใจว่าการจัดรถรับส่งแก่นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดของเทศบาล สามารถดำเนินการได้ตามความจำเป็นและไม่เป็นภาระกับงบประมาณของท้องถิ่น ส่วนกรณีรถฉุกเฉินที่จะนำมาให้บริการรับส่งผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ติดขัดเรื่องระเบียบนั้น อาจต้องเขียนคำจำกัดความของรถฉุกเฉินให้ชัดเจนขึ้นในความหมายเชิงกว้างว่าจะใช้ในกรณีใด กับกลุ่มเป้าหมายใดได้บ้าง ภายใต้ทรัพยากรของท้องถิ่นที่มีจำกัดเอง ซึ่งจะทำให้การใช้งานรถฉุกเฉินเกิดความคุ้มค่ามากขึ้น” ทพ.วัฒนากล่าว และว่า ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ผู้บริหารระดับสูงของ สตง. ยืนยันว่าในการทำหน้าที่เพื่อตรวจสอบความโปร่งใสของระบบราชการ จะใช้ระเบียบกฎเกณฑ์อย่างสร้างสรรค์ คำนึงถึงบริบท และที่สำคัญที่สุดจะไม่ให้ส่งผลกระทบสร้างความลำบากให้กับประชาชน

"...รถที่นำมาใช้รับส่งนักเรียนทั่วประเทศไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด มากกว่า 90% เพราะส่วนหนึ่งเป็นรถของชาวบ้านที่มีจิตอาสานำมาวิ่งรับส่งลูกหลานในหมู่บ้านไม่มีกำไรจากการดำเนินกิจการนี้้ หากดำเนินการให้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมการขนส่งทางบกจะต้องใช้เงินทุนที่มาก ประกอบกับระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่ทั่วถึงทำให้ผู้ปกครองและนักเรียนไม่มีทางเลือกในการเดินทาง..."

ระเบียบรถรับส่งนักเรียน อปท

เมื่อเร็วๆนี้  ที่โรงแรม เดอะ สุโกศล มูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย (AIP Foundation) ภายใต้โครงการ Legal Development Program (LDP) พร้อมภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน กว่า 30 ท่าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย จัดงานเสวนาเรื่อง   “นโยบายการจัดการมาตรฐานและความปลอดภัยสำหรับรถรับส่งนักเรียน” เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนพูดคุยกับเครือข่ายภาคประชาสังคมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในเรื่องมาตรฐานและความปลอดภัยสำหรับรถรับส่งนักเรียนพร้อมเสนอความคิดเห็น แนวทางในการร่วมมือต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม

@ เด็กบาดเจ็บ 1 คน/วันจากรถรับส่งนักเรียนไม่ปลอดภัย

นายธัชวุฒิ จาดบัณฑิต นักวิชาการแผนงานรถโดยสารสาธารณะปลอดภัย ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน กล่าวว่า สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดจากรถรับส่งนักเรียนระหว่างปี 2560 จากการเก็บรวบรวมจากข่าว มีจำนวนถึง 30 ครั้ง มีจำนวนนักเรียนเสียชีวิต 7 คน และได้รับบาดเจ็บ 368 ราย มูลค่าที่รัฐเสียหายจากอุบัติเหตุรถรับส่งนักเรียนประมาณ 400 ล้านบาท/ปี ซึ่งมีสาเหตุจากสภาพรถที่ใช้รับส่งนักเรียนที่ไม่พร้อมใช้งาน ผู้ขับขี่ไม่มีความพร้อม และ ขาดหน่วยงานรับผิดชอบหลักที่ในการจัดการความปลอดภัยสำหรับรถรับส่งนักเรียนให้เกิดขึ้้นอย่างเป็นรูปธรรม

@ รากลึกปัญหารถรับส่งนักเรียนไม่ปลอดภัย

นายธัชวุฒิ กล่าวว่า รถที่นำมาใช้รับส่งนักเรียนทั่วประเทศไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด มากกว่า 90% เพราะส่วนหนึ่งเป็นรถของชาวบ้านที่มีจิตอาสานำมาวิ่งรับส่งลูกหลานในหมู่บ้านไม่มีกำไรจากการดำเนินกิจการนี้้ หากดำเนินการให้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมการขนส่งทางบกจะต้องใช้เงินทุนที่มาก ประกอบกับระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่ทั่วถึงทำให้ผู้ปกครองและนักเรียนไม่มีทางเลือกในการเดินทาง ดังนั้น รถที่นำมาใช้รับส่งนักเรียนจึงไม่มีระบบการจัดการให้เกิดความปลอดภัยทั้งตัวรถและผู้ขับขี่ และโรงเรียนยังไม่กล้าที่จะเข้ามาจัดการความปลอดภัยของรถรับส่งนักเรียน เนื่องจากขาดงบประมาณในการจัดการรวมถึงภาระงานด้านอื่นที่มาก และ ยังมองว่าการเดินทางมาโรงเรียนเป็นความรับผิดชอบของผู้ปกครองมากกว่า

นายธัชวุฒิ กล่าวว่า ความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถรับส่งนักเรียนเป็นปัญหาเชิงระบบที่ต้องการระบบการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย โดยโรงเรียนควรร่วมกับสำนักงานขนส่งจังหวัดและองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการในการควบคุมให้เกิดมาตรฐานรถรับส่งนักเรียนโดยเป็นมาตรฐานสอดคล้องกับบริบทในสังคมไทยที่ผู้ประกอบการสามารถปฏิบัติตามได้ การจัดการด้านมาตรฐานคนขับรถที่ต้องมีฝึกอบรมให้ความรู้เพื่อให้ผู้ขับขี่ขับรถด้วยความปลอดภัย และควรมีทรัพยากรสนับสนุนในการจัดการให้เกิดมาตรฐานที่รถรับส่ง-นักเรียนและผู้ขับขี่

@ ชี้จุดจัดการควรอยู่ที่โรงเรียน

ขณะที่อาจารย์บุษกร กานต์กำพล จากโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวถึง จุดเริ่มต้นที่ตนได้เป็นผู้ริเริ่มให้เกิดการจัดการรถรับส่งนักเรียนขณะที่ตนเป็นครูที่โรงเรียนบางปลาม้าเกิดจากการต่อยอดนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องการทะเลาะวิวาทของนักเรียนและการป้องกันยาเสพติด โดยครูได้มีการสร้างเครือข่ายรถสองแถวที่รับส่งนักเรียนหน้าโรงเรียน,ซึ่งขณะนั้นมีอยู่ประมาณ 60 คัน ให้ช่วยแจ้งเบาะแสเด็กนักเรียนที่มีการมั่วสุมกันหลังเลิกเรียน ประกอบการการเยี่ยมบ้านของอาจารย์ทำให้ทราบถึงปัญหาและความไม่ปลอดภัยจากการเดินทางของนักเรียน จึงได้ปรึกษากับผู้บริหารในการดำเนินการให้โรงเรียนพัฒนาระบบการจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัยขึ้้นอย่างเป็นรูปธรรม และได้รับการสนับสนุนจากทางโรงเรียนเป็นอย่างดี การสร้างระบบการจัดการรถรับส่งนักเรียนได้รับความร่วมมือจากสำนักงานขนส่งจังหวัดในการมาตรวจสภาพรถและอบรมผู้ขับขี่ รวมถึง ก่อนที่ผู้ประกอบการรถรับส่งนักเรียนจะไปขออนุญาตจากสำนักงานขนส่งจังหวัดจะต้องได้รับการรับรองจากทางโรงเรียนก่อนว่าเป็นรถที่ทางโรงเรียนอนุญาตให้มาวิ่งรับส่งนักเรียนของโรงเรียนได้ และหากผู้ขับขี่หรือผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามกฎที่ทางโรงเรียนและชมรมตั้งไว้ ผู้ขับขี่หรือผู้ประกอบการนั้นก็จะถูกห้ามไม่ให้มาวิ่งรับส่งนักเรียนอีก ทางโรงเรียนจะเป็นส่วนที่คอยดูแลคุ้มครองและปกป้องสิทธิประโยชน์ของนักเรียนในการเดินทางมาโรงเรียนให้ปลอดภัยและสร้างความเท่าเทียมของผู้ขับขี่ในชมรม

อาจารย์บุษกร กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียนและมีคณะทำงานครูช่วยในการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนงานจนเกิดเป็นชมรมของผู้ขับรถรับส่งนักเรียน ชมรมนี้ทำงานแบบจิตอาสาเพราะนอกจากคอยรับส่งนักเรียนที่เป็นลูกหลานในหมู่บ้านด้วยการเก็บค่ารถที่สมเหตุสมผลแล้วยังคอยช่วยดูแลความปลอดภัยของนักเรียนในด้านอื่นๆ ด้วย แต่คิดว่าการขับเคลื่อนงานของตนยังไม่สามารถทำให้เกิดความยั่งยืนได้ เพราะเมื่อตนย้ายโรงเรียนไปสอนที่โรงเรียนอื่น ผู้บริหารโรงเรียนไม่ให้ความสำคัญของการจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัยมากนัก ทำให้ครูไม่สามารถที่จะขยายผลไปโรงเรียนใหม่ได้ จึงเป็นที่น่าเสียดายที่นักเรียนไม่มีโอกาสที่จะได้รับการเดินทางที่ปลอดภัย

อาจารย์บุษกร ยังแนะกระทรวงศึกษาธิการต้องมีนโยบายชัดเจนให้โรงเรียนดำเนินการดูแลให้นักเรียนเดินทางมาโรงเรียนและกลับบ้านอย่างปลอดภัย พร้อมหนุนให้โรงเรียนต้องมีระบบการจัดการรถรับส่งนักเรียนเพื่อความปลอดภัยต่อสวัสดิภาพของนักเรียนในการเดินทางมาโรงเรียน

ระเบียบรถรับส่งนักเรียน อปท

@ ยกเคส การศึกษาต่างประเทศให้ความสำคัญกับการเดินทางมารร.ของเด็ก

อาจารย์ธนะชาติ ปาลิยะเวทย์ อาจารย์พิเศษ ภาควิชากฎหมาย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร และสมาชิกโครงการ Legal Development Program กล่าวว่า การจัดให้มีรถรับ-ส่งนักเรียนมีความเชื่อมโยงกับการจัดการศึกษา สิทธิของเด็ก ภาระของพ่อแม่ผู้ปกครอง หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการศึกษา การคมนาคมขนส่ง การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะปัญหาความไม่ปลอดภัยของรถและผู้ขับขี่ 

ดังปรากฎในข้อมูลขององค์การอนามัยโลกที่ระบุว่าในทุก ๆ วันมีเด็กมากกว่า 500 คนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน เด็กในวัยศึกษาภาคบังคับจำนวนมากเสียชีวิตระหว่างเดินทางไป-กลับโรงเรียน 

และจากสถิติข้อมูลของประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปแสดงให้เห็นว่า เด็กที่เดินทางด้วยรถยนต์เพื่อไป-กลับโรงเรียนเสี่ยงที่จะประสบอุบัติเหตุมากกว่าเด็กที่เดินทางด้วยรถรับ-ส่งนักเรียนและรถโดยสารสาธารณะถึง 7 เท่า

นอกจากนี้ The American School Bus Council ระบุว่าการที่เด็กนักเรียนขี่จักรยาน โดยสารพาหนะของตนเองไป-กลับโรงเรียนอันตรายกว่าเด็กนักเรียนที่โดยสารรถรับ-ส่งนักเรียนถึง 50 เท่า 

ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ 3 และข้อ28 e นั้น ภาครัฐมีหน้าที่ “รับผิดชอบต่อการดูแลหรือการคุ้มครองเด็กเป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย ฯลฯ และในการได้รับการศึกษาบนพื้นฐานของโอกาสที่เท่าเทียมกัน โดยภาครัฐดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนการเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ และลดอัตราการออกจากโรงเรียนกลางคัน” ซึ่งประเทศไทยผูกพันต้องปฏิบัติตามเช่นกัน

การจัดให้มีรถรับ-ส่งนักเรียนอันเป็นการสนับสนุนการเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอหรืออำนวยความสะดวกให้กับนักเรียนในการเข้ารับการศึกษานั้นถูกหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยตีความว่า อยู่นอกเหนือจากขอบเขตภารกิจในการจัดการศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ได้จัดตั้งระบบขนส่งนักเรียนไปโรงเรียนให้เกิดความปลอดภัย ตั้งแต่การออกแบบ โครงสร้างไปจนถึงโครงการบำรุงรักษาที่เป็นระบบระบบกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับรถรับ-ส่งนักเรียน ผู้ขับขี่ การให้เงินทุนสนับสนุนที่ยั่งยืนเพื่อขับเคลื่อนระบบ การบังคับใช้กฎหมายจราจรและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวด การส่งเสริมและประสานงานของหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้การขนส่งนักเรียนไปโรงเรียนปลอดภัยมากขึ้นและมีทางเลือกหลายรูปแบบในการเดินทาง 

นอกจากนี้ ในประเทศจีนยังมีการกำหนดกฎเกณฑ์การจัดการความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียนโดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบหลักด้านความปลอดภัยในการขนส่งเด็กนักเรียนไปโรงเรียน หน่วยงานตำรวจในพื้นที่มีหน้าที่ตรวจตราพาหนะ ทะเบียนผู้ขับขี่ และป้องกันการใช้รถที่ผิดกฎหมาย ส่วนหน่วยงานอื่นทำหน้าที่กำกับดูแลและช่วยเหลือ โรงเรียนรับผิดชอบการดำเนินการที่เป็นกิจวัตร

อาจารย์ธนะชาติ สรุปว่า ภารกิจประการหนึ่งของการจัดการศึกษาคือ การจัดให้มีรถรับ-ส่งนักเรียนที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นในส่วนของรถและผู้ขับขี่ พร้อมกับการใช้มาตรการความปลอดภัยต่างๆ ไปพร้อมๆ กันเป็นการคุ้มครองสิทธิเด็ก ที่สำคัญคือทำให้เด็กในวัยเรียนเข้าถึงการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องนี้ ซึ่งสามารถใช้กลไกด้านคมนาคมขนส่ง การจราจร งบประมาณและการเงิน รวมถึงสิทธิพิเศษทางภาษี การสนับสนุนทางการเงินจากภาคเอกชนมาบริหารจัดการร่วมกับโรงเรียนกระทรวงศึกษาธิการ กรมการขนส่งทางบก 

@ กฎ/ระเบียบที่ไม่เอื้อ

นายพิสิษฐ์ วงศ์เธียรธนา นิติกรชำนาญการพิเศษ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสมาชิกโครงการ Legal Development Program กล่าวว่า การดำเนินการเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งของภาครัฐจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือ ระเบียบที่ให้อำนาจหน่วยงานดำเนินการได้ ในกรณีรถรับส่งนักเรียนนั้นกฎหมายได้ให้อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไว้ดังนี้

(1) ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 (หมวด 7 เรื่องข้อกำหนดในการจ่ายเงิน ส่วนที่ 1 ข้อ 67) “ข้อ 67 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะที่กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ หรือหนังสือสั่งการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ ” ซึ่งการจัดซื้อรถนักเรียนไม่มีกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ หนังสือสั่งการกำหนดไว้

(2) ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยการควบคุมดูแลการใช้รถโรงเรียน พ.ศ. 2536 – เป็นเพียงการกำหนดหน้าที่ของผู้ดำเนินกิจการโรงเรียน - ควบคุมความปลอดภัยในการรับส่งนักเรียน แต่ไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับการบริหารจัดการการเดินทาง

(3) ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ใช้รถในการรับส่งนักเรียนพ.ศ. 2559 – การกำหนดด้านความปลอดภัย การตรวจสภาพรถ แต่ไม่มีการบริหารจัดการการเดินทาง เช่น การจัดซื้อรถนักเรียน เปลี่ยนป้าย เปลี่ยนไฟกระพริบ มีที่ปิดกระบะท้าย ให้โรงเรียนเป็นคนเซ็นใบอนุญาตรับรอง

นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางบกยังได้กำหนดมาตรฐานรถรับส่งนักเรียนที่โรงเรียนหรือชุมชนในต่างจังหวัดทุรกันดารไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากต้นทุนในการจัดทำมาตรฐานที่สูงกว่ารายได้ที่ได้จากการดำเนินการรับส่งนักเรียน

จะเห็นได้ว่ากฎหมายในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดที่ไม่อนุญาตให้หน่วยงานดำเนินการเพื่อทำให้เกิดมาตรฐานและการจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัยได้

@ ภาคประชาสังคม ยื่น 4 ข้อเรียกร้อง

นางสาวอรทัย จุลสุวรรณรักษ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย มูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย กล่าวว่า  ทางเครือข่ายได้เสนอข้อเรียกร้องของเครือข่ายประชาสังคมต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้จัดการมาตรฐานและความปลอดภัยสำหรับรถรับส่งนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรมจำนวน4 ข้อ ดังนี้

(1) ให้จัดตั้งคณะทำงานร่วม 3 ฝ่าย (ศธ., คค., มท.) เพื่อศึกษาและกำหนดแนวทางในการจัดการรถรับ-ส่งนักเรียนให้ปลอดภัยและได้มาตรฐานและรูปธรรม 

(2) ให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าภาพในการกำหนดระเบียบในการจัดการรถรับ-ส่งนักเรียนที่ปลอดภัย 

(3) ให้กรมการขนส่งทางบกอบรมให้คนขับรถและกำกับดูแลมาตรฐาน โดยการออกระเบียบ/ข้อบังคับเฉพาะกิจเพื่อควบคุมดูแลมาตรฐานรถรับ-ส่งนักเรียนที่ดำเนินการโดยประชาสังคม

และ (4) ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแก้ ไขระเบียบฯให้สามารถสนับสนุนงบประมาณให้โรงเรียนดำเนินการจัดการให้มีรถรับส่งนักเรียน ที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย