ความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียน กับชุมชน

       9.4 ทรัพยากรสังคม ได้แก่ วันสำคัญ ศิลปะพื้นบ้าน วัฒนธรรมพื้นบ้าน โบราณวัตถุสถาน ประเพณีต่างๆ ซึ่งจะนำมาใช้ได้ในลักษณะให้ครูอาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมโดยตรง, จัดนิทรรศการ, การศึกษาหาข้อมูลเพื่อจะได้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เป็นต้น

จากประสบการณ์การดำเนินงานรณรงค์ให้นักเรียนเรียนต่อมากขึ้น ของโรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก เมื่อ20 ปีที่แล้ว ท่ามกลางความขาดแคลนทั้งหลายทั้งปวง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขาดการมีส่วนร่วม ผมได้ศึกษาและอ่านตำราหลายเล่ม และนำมาประยุกต์ใช้ในเวลา 5 ปี 4 เดือน ด้วย 21 มาตรการ "รณรงค์ให้นักเรียนเรียนต่อมากขึ้น" ปรากฏว่าได้ผลในระดับหนึ่ง จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นจาก 51 คน เป็น 270 กว่าคน แต่ต่อมานักเรียนกลับลดลง นั่นหมายความว่า กิจกรรมหรือมาตรการดังกล่าวไม่ยั่งยืน ผมปรับกลยุทธใหม่ เน้น "สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนอย่างยั่งยืน" กับสถานที่แห่งใหม่ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่พอใจ การดำเนินงานเน้นประเด็นหลัก 3 ด้านดังนี้

1. การนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการจัดกิจกรรมสัมพันธ์

2. วิธีการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน 1. การนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการจัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ สรุปได้ดังนี้

1.1 เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการวางแผนยุทธศาตร์เพื่อพัฒนาโรงเรียน ผู้เรียน โดยเชิญผู้นำชุมชน เช่น พระภิกษุ ผู้ปกครอง นักเรียน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. อบจ. เทศบาล ฯลฯ มาร่วมปรึกษาหารือ เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ

1.2 สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้ชุมชน ตระหนักว่ากระบวนการจัดการศึกษา เป็นหน้าที่ของคนทุกคนในชุมชน การช่วยเหลือหรือการมีส่วนร่วมควรเกิดจากความศรัทธาและเต็มใจอย่างแท้จริง

1.3 เปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเป็น "ผู้ถ่ายทอดภูมิความรู้" ในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ครูชาวบ้าน เครือข่ายการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชน 1.4 ให้ชุมชนในการควบคุมดูแลบุตรหลานของตนเอง ซึ่งเป็นสมาชิกในชุมชน "ใช้ทฤษฎีตาสับปะรด" โดยขอความร่วมมือช่วยดูแลนักเรียน ควบคุมนักเรียนมิให้กระทำในสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ "ใช้ชุมชนเป็นฐาน หรือครอบครัวเป็นฐาน สร้างเยาวชน

1.5 ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ความสำเร็จ ของการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ประชุมผู้ปกครอง จัดงานประจำปี จัดนิทรรศการ และแสดงผลงานนักเรียน

ทั้ง 5 ประเด็นนี้ อย่าแยกส่วน ต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับวิถีชีวิตชุมชนถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างโรงเรียนและชุมชนอย่างเสมอภาค และเกิดประโยชน์ร่วมกัน 2. วิธีสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
ข้อนี้มีความสำคัญมากข้อหนึ่ง เพราะโรงเรียนมักสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนในวงแคบ เช่น ตั้งสมาคม ครูผู้ปกครองนักเรียน สมาคมศิษย์เก่า และเชิญมาประชุม มาใช้บริการสถานที่ก็เพียงพอแล้ว สุดท้ายจบลงด้วยรับบริจาคเงินบำรุงโรงเรียน "ถอนขนห่าน" การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนที่พึงประสงค์ คือโรงเรียนและชุมชนมีส่วนเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน มีเจตนาเดียวกัน ยังประโยชน์ร่วมกัน มีความสัมพันธ์ในแนวราบ เคารพซึ่งกันและกัน มีจิตสำนึก และจิตอาสาร่วมกัน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีบุคคลที่เป็น "สะพาน" เชื่อมความสัมพันธ์ ดังนี้
2.1 นักเรียน จะเป็นสะพานเชื่อมให้อย่างดี โดยใช้กิจกรรมที่นักเรียนเป็นผู้กระทำ เช่น โครงการเกษตรกรรมพื้นบ้าน การดูแลรักษาบ้านในฝัน ห้องสมุดเคลื่อนที่ โดยมีครูไปติดตามผลงานถึงบ้าน

2.2 ผู้บริหารโรงเรียนและครู เป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดชุมชนอยู่แล้ว เมื่อให้รับเชิญไปร่วมเป็นเกียรติในงานต่างๆ ในชุมชน ควรถือโอกาสนั้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ประชาสัมพันธ์งานของโรงเรียน งานของชุมชน ตามโอกาสที่เอื้ออำนวย หรือร่วมกิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมปลูกต้นไม้ กิจกรรมทำความสะอาดวัด และชุมชน เป็นต้น

2.3 ผู้ปกครองนักเรียนและผู้นำชุมชน ควรเชิญเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนทุกครั้ง เช่น งานวันเด็ก งานวันแม่แห่งชาติ งานกีฬาประจำปี งานแสดงนิทรรศการผลงานของครูนักเรียน ที่สำคัญที่สุด คือ ให้ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้นำชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้มากที่สุด

2.4 โรงเรียน ควรเข้าไปเป็นที่ปรึกษากับชุมชนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ชุมชนอาจจะยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจเพียงพอ เช่น สารสนเทศและเทคโนโลยีประจำตำบล ศูนย์ผลิตภัณฑ์อาชีพ งานบัญชีกลุ่มออมทรัพย์ ทิศทางการพัฒนาชุมชน การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เกษตรปลอดพิษ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สังคมอยู่เย็นเป็นสุข โดยอาจทำในลักษณะการเสวนากลุ่มเพื่อร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง จะทำให้ชุมชนเห็นคุณค่าของโรงเรียน และสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นกับโรงเรียน

2.5 กิจกรรม โรงเรียนสามารถที่จะริเริ่มกิจกรรม ที่มีความสอดคล้องกับปัญหา และความต้องการของชุมชน เป็นสะพานเชื่อมโยง ชุมชน และโรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการกิจกรรม และเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน

2.6 ความต่อเนื่อง ความสม่ำเสมอ และทำอย่างต่อเนื่อง เป็นประจำจนกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร และชุมชน จะนำไปสู่ความยั่งยืนในที่สุด


3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนนั้น มีปัจจัยอันเป็นเงื่อนไขการเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนที่จะนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์

3.1 ท่าทีของผู้บริหารโรงเรียนและครู ท่าที ลีลา การกระทำที่แสดงออกต่อชุมชนว่ามีความจริงใจ และเป็นประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด การไม่แปลกแยกจากวัฒนธรรมชุมชน และแสดงออกถึงความเคารพในศักดิ์ศรีของชาวบ้าน จะเป็นกลไกนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

3.2 การสร้างความคุ้นเคยกับสมาชิกของชุมชน ครูและผู้บริหารโรงเรียน ควรเข้าหา เข้าใจ เข้าถึง ชาวบ้าน หรือผู้นำชุมชนก่อน ทำอย่างไรให้เกิดความรู้ ความรัก ความสนิทสนม ก่อเกิดทั้งน้ำใจ ไมตรี ความมีสมานฉันท์เชิงญาติมิตร

3.3 ความเชื่อความศรัทธา ที่ชุมชนมีต่อโรงเรียน โดยเกิดจากการทำงานของผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่เสียสละ อุทิศและทุ่มเท เพื่อบุตรหลานของชุมชน ผนวกกับการเป็น ตัวแบบต้นแบบ ที่ดี จนเป็นที่ ศรัทธา เชื่อถือ เชื่อมือ เชื่อมั่น ว่าเป็นที่พึ่งของบุตรหลาน และชุมชนได้ อันนี้จะนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ และความร่วมมือด้วยดี

3.4 การให้บริการทางวิชาการ โดยทำให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เป็นศูนย์รวมทางวิชาการ แหล่งรวบรวมข้อมูล ศูนย์รวมวัฒนธรรมและภูมิปัญญา โดยมีครูเป็นผู้นำทางปัญญา สามารถตอบสนองความต้องการทางประชาชนได้เต็มศักยภาพ เช่น ห้องสมุด อิเลกโทรนิค แปลงสาธิตทางการเกษตร แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สวนสมุนไพร เป็นต้น

3.5 การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชุมชน ในรูปแบบกรรมการสถานศึกษาขึ้นพื้นฐาน การแสวงหาเครือข่าย เช่น Sister Schools เป็นต้น หรือมีส่วนร่วมด้วยช่วยกันจัดการศึกษา พัฒนาโรงเรียน การจัดการเรียนการสอน ทั้งในรูปแบบ กำกับ ส่งเสริม สนับสนุน ปรับปรุง พัฒนา คุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน

3.6 การประชาสัมพันธ์ เป็นสิ่งจำเป็นที่โรงเรียนควรสร้างความเข้าใจที่ดีต่อชุมชน เพราะอาจมีบางสิ่งบางอย่างที่เข้าใจไม่ตรงกัน อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โรงเรียนควรมีรูปแบบประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายให้เข้าถึงชุมชนได้ทุกที่ ทุกเมื่อ ทุกโอกาส ที่เหมาะสม

3.7 กิจกรรมที่โรงเรียนจัดต้องสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน มากกว่าที่โรงเรียนจะได้รับฝ่ายเดียว สำคัญต้องสอดคล้องกับปัญหาปากท้อง เศรษฐกิจ และชีวิตจริง จะเห็นได้ว่าการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนให้ยั่งยืนต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียน ต้องมุ่งมั่น จริงจัง และต่อเนื่อง จึงจะส่งผลให้เกิดการทำงานร่วมกันในลักษณะกัลยาณมิตรอย่างยั่งยืน

โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับชุมชนอย่างไรบ้าง

วาสนา ชูแสง (2557) ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หมายถึง กระบวนการดาเนินงานของโรงเรียน เพื่อสร้างความ เข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน ร่วมกาหนดความมุ่งหมาย และ นโยบาย รวมถึงให้ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา ความสนับสนุนทางด้านทรัพยากร กาลัง ...

กิจกรรม โรงเรียน ร่วมกับชุมชนมีอะไรบ้าง

ในที่นี้ได้รวบรวมกิจกรรมที่น่าสนใจหลายๆ อย่างที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคมแบบไทยๆ เรา ได้แก่ กิจกรรมพิเศษเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนมีอยู่มากมาย 1. การจัดนิทรรศการ 2. โครงการเปิดอาคารเรียน 3. การมอบรางวัล 4. การอนุญาตให้ชุมชนเข้าใช้อาคารและอุปกรณ์ต่างๆ ของโรงเรียน 5. การศึกษาผู้ใหญ่

ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง สำคัญอย่างไร

สามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากครูและผู้ปกครองมีความสนิทสนมคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีย่อมส่งผลให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม ในการดูแลและสร้างชีวิตเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ทั้งสองฝ่ายมีการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับเด็กระหว่างกันได้อย่างครบถ้วนในรายละเอียด ครูสามารถทราบอุปนิสัย ความชอบไม่ชอบของเด็กจากการที่ผู้ ...

การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ต้องมี คุณลักษณะ อย่างไร

การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตและอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นในสังคมหรือชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความเข้าใจตนเองและผู้อื่น อันจะนำมาซึ่งความ ร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีจุดประสงค์ร่วมกันให้เกิดความสำเร็จ โดยมีความสุขใจ