เงินเยียวยา มาตรา 33 นายจ้าง เข้าวันไหน

นายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ที่มีสิทธิตามเงื่อนไข...

Posted by สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - Social Security Office on Monday, September 6, 2021

ประกันสังคมแจ้งโอนเงินเยียวยา “นายจ้าง” มาตรา 33 ในพื้นที่ 13 จังหวัดแล้ววันนี้ ​ ย้ำนายจ้างที่ยังไม่ได้รับเงิน รีบยื่นความประสงค์ผ่าน e-service ด่วน

วันที่ 10 สิงหาคม 2564 สืบเนื่องจากมติ ครม. วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ที่เห็นชอบให้มีมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศยกระดับล็อกดาวน์ในพื้นที่สีแดงเข้มควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพิ่มเป็น 13 จังหวัด จากประกาศเดิม 10 จังหวัด ได้แก่ กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ที่เพิ่มอีก 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา โดยจะจ่ายเงินให้นายจ้างและลูกจ้างที่มีข้อมูลในระบบผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 และมาตรา 40

  • โครเอเชีย คว้าที่สาม เฉือนโมร็อกโก สมศักดิ์ศรี ฟุตบอลโลก2022
  • พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
  • “ประธานใหญ่โตโยต้าญี่ปุ่น” มาทำอะไรในเมืองไทยเกือบ 2 สัปดาห์? 

สำหรับวันนี้เป็นคิวเริ่มจากเงินโครงการเยียวยาให้กับนายจ้างมาตรา 33 ใน 9 ประเภทกิจการ คือ 1.ก่อสร้าง 2.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 3.ศิลปะความบันเทิงและนันทนาการ 4.กิจกรรม บริการด้านอื่น ๆ 5.การขายส่ง ปลีก ซ่อมยานยนต์ 6.การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 7.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน 8.กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ 9.ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

นางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กลุ่มผู้ประกอบการนายจ้างมาตรา 33 จะได้รับเงินจำนวน 3,000 บาทต่อลูกจ้างที่มี 1 คน สูงสุดไม่ลูกจ้างไม่เกิน 200 คน จำนวนเงินสูงสุดที่นายจ้างได้รับจะอยู่ที่ 600,000 บาทนั้น ทางสำนักงานประกันสังคมพร้อมเริ่มโอนเงินงวดแรกในวันที่ 10 สิงหาคม ให้นายจ้าง 13 จังหวัดสีแดงเข้ม เป็นเงิน 94,719,000 บาท

“การรับเงินนายจ้างบุคคลธรรมดาจะได้รับเงินเยียวยาผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนเช่นกัน ส่วนนายจ้างสถานะนิติบุคคลจะได้รับเงินผ่านบัญชีเงินฝากตามที่นายจ้างได้แจ้งกับสำนักงานประกันสังคม”

กรณีนายจ้างที่ยังไม่ได้ยื่นขอรับเงินชดเชยเยียวยา นายจ้างสามารถยื่นแบบความประสงค์ขอรับเงินได้ โดยสามารถตรวจสอบสิทธิ ได้ที่เว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th/eform/covid-compensate/checkCompanyCompensation.jsp

อัพเดทล่าสุด ผู้ประกันตนในระบบ "ประกันสังคม ม.33" นายจ้าง-ลูกจ้าง จะได้เงิน "เยียวยาประกันสังคม" ผ่านระบบพร้อมเพย์เมื่อไหร่

คืบหน้ามาตรการ "เยียวยาประกันสังคม" รอบใหม่ สำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ทั้ง ผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 ที่จะทยอยได้รับเงินเยียวยา โดยแต่ละกลุ่มได้เงินไม่เท่ากัน และไม่พร้อมกัน

โดยกลุ่มแรกที่จะได้รับเงินก่อนเพื่อน คือ "ผู้ประกันตน มาตรา 33" ที่อยู่ใน 9 กลุ่มอาชีพ ใน 10 จังหวัดล็อกดาวน์ ล่าสุด สมาคมธนาคารไทย แจ้งเมื่อ 30 ก.ค.64 ว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะทำการโอนให้ผู้ประกันตนตาม ม.33  ที่ได้รับเยียวยาจากรัฐบาลคนละ 2,500 บาท ในวันที่ 4-6 สิงหาคม 2564 เฉพาะ 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร  นนทบุรี  ปทุมธานี  นครปฐม  สมุทรสาคร  สมุทรปราการ นราธิวาส  ปัตตานี  ยะลา  สงขลา

โดยจะโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น ซึ่งสามารถดำเนินการได้วันละ 1 ล้านบัญชี  จากผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยามีจำนวน 2.87 ล้านคน ส่วนนายจ้างจะได้รับการเยียวยาจากรัฐบาล ตามจำนวนลูกจ้าง หัวละ 3,000 บาท สูงสุดลูกจ้างไม่เกิน 200 คน

ส่วนผู้ประกันตน มาตรา 33 ใน 3 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม ที่ประกาศล็อกดาวน์เพิ่มเติม คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ได้รับเงินเยียวยาในวันที่ 9 สิงหาคม 2564

สำหรับนายจ้างบุคคลธรรมดา จะโอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนเช่นกัน และนายจ้างสถานะนิติบุคคล จะโอนเข้าบัญชีธนาคารตามชื่อนิติบุคคลนายจ้าง ทุกๆ วันศุกร์ จนถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2564

ทั้งนี้ นายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือนี้ ต้องเป็นผู้ได้สิทธิตามคุณสมบัติ และเงื่อนไข โดย สปส.จะเปิดให้ตรวจสอบสิทธิบนเว็บไซต์ของ สปส. โดยผู้ประกันตนที่มีบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนจะได้รับการโอนเงินเข้าบัญชีโดยอัตโนมัติ  ไม่จำเป็นต้องติดต่อธนาคารเพื่อเปิดบัญชีใหม่ หรือลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยบัตรประชาชนใหม่

"ผู้ประกันตน" ที่ได้สิทธิและมีบัญชีธนาคาร

แต่ยังไม่ได้ "ผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน" หรือ เดิมผูกด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือ ให้ไปดำเนินการผูกบัญชีหรือเปลี่ยนพร้อมเพย์จากโทรศัพท์มือถือมาเป็นผูกกับหมายเลขบัตรประชาชนด้วยตนเอง ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารที่มีบัญชีอยู่ เช่น  Mobile  Application, Internet Banking และเครื่อง ATM  ตามช่องทางที่แต่ละธนาคารให้บริการ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่สาขาธนาคาร เพื่อความสะดวกและลดความเสี่ยงจากการระบาดของโควิด-19    

เงินเยียวยา มาตรา 33 นายจ้าง เข้าวันไหน

ผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิ และยังไม่เคยมีบัญชีเงินฝาก 

สามารถใช้บริการเปิดบัญชีผ่านช่องทางออนไลน์ จากนั้นค่อยลงทะเบียนผูกพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขบัตรประชาชน ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ เพื่อขอรับสิทธิตามมาตรการเยียวยาดังกล่าว หากมีข้อสงสัยเรื่องการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน หรือช่องทาง ที่สามารถทำได้ สามารถศึกษาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ หรือ ติดต่อสอบถามผ่านคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารที่ใช้บริการอยู่ 

ทั้งนี้ ผู้ประกันตน ม.33 สามารถตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาได้ที่ https://www.sso.go.th หรือโทรศัพท์สายด่วนประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อนึ่ง หากผู้ประกันตนมีความจำเป็นต้องไปทำธุรกรรมที่สาขาของธนาคาร ทางสมาคมธนาคารไทย ขอความร่วมมือผู้ติดต่อใช้บริการ ณ สาขาธนาคาร ในการปฏิบัติตนตามมาตรฐานดูแลความปลอดภัยที่ธนาคารแต่ละแห่งได้กำหนดไว้ เพื่อร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เยียวยานายจ้างเข้าวันไหน

ส่วนนายจ้างมาตรา 33 ใน 9 กลุ่มกิจการ ในพื้นที่ 13 จังหวัด ที่ประกาศล็อกดาวน์ 2 เดือน จะได้รับเงินเยียวยานายจ้าง ตามจำนวนลูกจ้างหัวละ 3,000 บาท ไม่เกิน 200 คน หรือสูงสุด 600,000 บาท เงินเข้าบัญชีในช่วงวันที่ 20- 30 กันยายน 2564.

ม.33ได้เงินวันไหนบ้าง

21,022. เงินเยียวยาประกันสังคมมาตรา 33, 39 และ 40 รอบเก็บตก โอนให้ทุกสัปดาห์ มาตรา 39-40 โอนทุกวันพฤหัสบดี ส่วนมาตรา 33 โอนทุกวันศุกร์ จนกว่าจะได้รับเงินจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564. Learn more.

เยียวยานายจ้างหมดเขตวันไหน

สำหรับนายจ้าง / ผู้ประกันตนมาตรา 33 ใน 9 ประเภทกิจการ รวมถึงมาตรา 39 40 ในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม หลังจากที่ดาวน์โหลดแบบฟอร์มมาแล้ว สามารถยื่นแบบคำขอทบทวนสิทธิโครงการเยียวยาได้ด้วยตนเอง ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / จังหวัด / สาขา หรือ ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ได้จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2564.

เงินเยียวยามาตรา 33 ได้กี่เดือน

ได้รับเงินเยียวยา 2เดือน ม.33 ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท ม.39 และ ม.40 ได้รับเงินเยียวยา 10,000 บาท