ขอเอกสารส่งประกันสังคมย้อนหลัง

ขอเอกสารส่งประกันสังคมย้อนหลัง
ที่มา

การขยายประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบโดยผลักดันร่าง พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ฉบับแก้ไข เพื่อรัฐร่วมจ่ายในมาตรา 40 และแก้ไขพระราชกฤษฎีกา เพื่อพัฒนาสิทธิประโยชน์ของมาตรา 40 ให้เป็นที่จูงใจ โดยเป็นระบบสมัครใจ

ขอเอกสารส่งประกันสังคมย้อนหลัง
ความหมาย

ผู้ประกันตนมาตรา 40 หมายถึง บุคคลที่มิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39 เรียกว่า ผู้ประกันตนโดยอิสระ

ขอเอกสารส่งประกันสังคมย้อนหลัง
คุณสมบัติในการสมัคร
  • อายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม

  • บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม

  • เฉพาะปีแรก (มีผลบังคับใช้วันที่ 9 ธันวาคม 2556 – วันที่ 8 ธันวาคม 2557) เปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่มีอายุ 60-65 ปี สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ทุกทางเลือก

  • สำหรับผู้สมัครที่มีอายุเกินกว่า 65 ปี เฉพาะปีแรก (มีผลบังคับใช้วันที่ 9 ธันวาคม 2556 – วันที่ 8 ธันวาคม 2557) สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้เฉพาะทางเลือก 3 เท่านั้น และไม่มีสิทธิเปลี่ยนทางเลือก

ขอเอกสารส่งประกันสังคมย้อนหลัง
หลักฐานการสมัคร
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้ (ใบอนุญาตขับขี่รถ)

    สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศเลือกทางเลือกใน การจ่ายเงินสมทบได้ 3 ทางเลือก คือ 
    ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน (จ่ายเอง 70 บาท รัฐสนับสนุน 30 บาท) 
    ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท) 
    ทางเลือกที่ 3 มี 3 ทางเลือก ดังนี้

  • ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 200 บาท/เดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 100 บาท)

  • ทางเลือกที่ 1 และทางเลือก 3 (1+3) จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน (จ่ายเอง 170 บาท รัฐสนับสนุน 130 บาท)

  • ทางเลือกที่ 2 และทางเลือก 3 (2+3) จ่ายเงินสมทบ 350 บาท/เดือน (จ่ายเอง 200 บาท รัฐสนับสนุน 150 บาท) 
    หมายเหตุ

  • รัฐสนับสนุนในระยะแรกทั้งนี้ จนกว่าสำนักงานประกันสังคมจะประกาศเป็นอย่างอื่น

  • ทั้งนี้ ในการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเป็นรายเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง และจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน แต่ไม่สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้

  • ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่ประสงค์รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาทต่อเดือน ยกเว้น กรณีทางเลือกที่ 5 (2+3) สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมได้ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท

  • ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่เลือกความคุ้มครองทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ไม่เกินเดือนพฤษภาคม 2555 แต่ต้องจ่ายในระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2556 ถึง วันที่ 8 ธันวาคม 2557

ขอเอกสารส่งประกันสังคมย้อนหลัง
การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล
  • เมื่อเป็นผู้ประกันตนแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนคำนำหน้านาม ชื่อ – สกุล ที่อยู่ที่ติดต่อขอเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบ หรือแจ้งความไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนต่อไป (ลาออก) เป็นต้น ให้แจ้งต่อสำนักงานประกันสังคม

  • กรณีขอเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบ จะทำได้ปีละ 1 ครั้ง ก่อนวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี และจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมของปีถัดไป

ขอเอกสารส่งประกันสังคมย้อนหลัง
ประโยชน์ทางภาษี

 เงินสมทบในแต่ละปี ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยใช้ใบเสร็จรับเงินที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเป็นหลักฐาน

 สิทธิประโยชน์พื้นฐาน

  • กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี เงื่อนไขจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)

  • กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 – 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานถึง 15 ปี เงื่อนไข เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนขึ้นไป (ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการ แพทย์)

  • กรณีตาย จะได้รับค่าทำศพจำนวน 20,000 บาทต่อราย เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต ยกเว้น เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต

  • กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) ผู้ประกันตนสามารถรับเงินก้อนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เงื่อนไข มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

  • กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ) 
    – ผู้ประกันตนสามารถรับเงินบำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน 
    – ต้องจ่ายเงินสมทบถึงบำนาญขั้นต่ำหรือไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี) ได้รับเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำเดือนละ 600 บาท ตลอดชีวิต

ขอเอกสารส่งประกันสังคมย้อนหลัง
ทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณ

เพื่อสิทธิประโยชน์ดังกล่าว สำนักงานประกันสังคมขอเสนอทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณด้วยชุดสิทธิประโยชน์ ดังนี้

  • ทางเลือกที่ 1 (จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน)
    – สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย

  • ทางเลือกที่ 2 (จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน) 
    สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ)

    ทางเลือกที่ 3 มี 3 ทางเลือก ดังนี้

  • ทางเลือกที่ 3 สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 1 กรณี คือ กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)

  • ทางเลือกที่ 1 และทางเลือก 3 (1+3) สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)

  • ทางเลือกที่ 2 และทางเลือก 3 (2+3) สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)

ขอเอกสารส่งประกันสังคมย้อนหลัง
วิธีการนำส่งเงินสมทบ

จ่ายเป็นเงินสด

  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา

  • หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม

  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส

  • เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

  • เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

  • ห้างเทสโก้โลตัส

  • ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)

หักผ่านบัญชีธนาคาร

  • ธนาคารเพื่่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

  • ธนาคารออมสิน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุ การชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสจะเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 10 บาท ในส่วนการชำระผ่านธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จะมีค่าธรรมเนียม 5 บาทต่อครั้ง โดยจะได้รับใบเสร็จรับเงินทันที แต่ผู้ประกันตนต้องนำใบเสร็จรับเงินที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่ออกให้ พร้อมสมุดนำส่งเงินสมทบมาตรา 40 ไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ทำการประทับตราในสมุดนำส่งเงินสมทบ เนื่องจากต้องใช้ประกอบการยื่นเรื่องเมื่อมีการรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ

ขอเอกสารส่งประกันสังคมย้อนหลัง
เอกสารประกอบการสมัคร
  1. แบบการขึ้นทะเบียนการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 (สปส.1-40)

  2. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ พร้อมสำเนา
     

ขอเอกสารส่งประกันสังคมย้อนหลัง
สถานที่ในการขึ้นทะเบียน
  1. สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12 แห่ง/จังหวัด/สาขา (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวรณกระทรวงสาธารณสุข)

  2. หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม

หมายเหตุ สำหรับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในกรณีเจ็บป่วย บุคคลที่สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 หากได้รับสิทธิเบิกจ่ายตรงจากกรมบัญชีกลาง หรือมีสิทธิได้รับจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ก็ยังคงได้รับสิทธินั้น ๆ ได้ตามปกติ เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมไม่ได้ให้ความคุ้มครองในเรื่องค่ารักษาพยาบาล แต่ให้เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลประเภทผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ในอัตราวันละ 200 บาท ปีละไม่เกิน 30 วัน ต่อเมื่อภายในระยะเวลา 4 เดือน ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรยหรือเจ็บป่วย

ข้อมูล ณ วันที่ 6 มีนาคม 2558

แหล่งที่มา : สำนักงานประกันสังคม

เอกสารนำส่งประกันสังคม ขอได้ที่ไหน

ขอรับโปรแกรมหรือ Format ข้อมูลเงินสมทบได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง หรือ Download ได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม กรณีสถานประกอบการมีสาขาและประสงค์ยื่นรวมให้จัดทำแบบ สปส. 1-10/1 ซึ่งเป็นใบสรุปรายกรแสดงการส่งเงินสมทบของแต่ละสาขาที่ยื่นพร้อมแบบ สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ของแต่ละสาขา

ประกันสังคม ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องใช้ หนังสือนำส่งแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-02) พร้อมใบแนบแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) ของพนักงาน พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน 3. ยื่นข้อมูลเงินสมทบ (ตารางสรุปเงินพนักงานประจำเดือน โดยใส่ข้อมูลเลขบัตรประจำตัวประชาชน, คำนำหน้า, ชื่อ-นามสกุล, ตำแหน่ง, เงินเดือน และเงินสมทบ)

ขอคืนเงินประกันสังคมทำอย่างไร

จะต้องแจ้งความจำนงค์ขอรับเงินคืนภายใน 1 ปีนับจากวันที่ส่งเงินสมทบเกิน โดยสามารถขอรับเงินคืนได้ 2 วิธี คือ นายจ้างเป็นผู้ยื่นขอรับเงินคืนพร้อมแนบหลักฐานและเหตุผลการขอรับเงินคืนกับสำนักงานประกันสังคม และ ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับจดหมายแจ้งจากประกันสังคม สามารถกรอกข้อความแสดงความประสงค์ขอรับเงินคืนพร้อมลงลายมือชื่อ และนำไป ...

ต้องส่งประกันสังคมกี่ปีถึงจะได้เงินคืน

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - Social Security Office. ผู้ประกันตน ม.33 ที่เกษียณอายุครบ 55 ปี และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ยื่นเรื่องขอรับเงินกรณีชราภาพ รับเงินสะดวกผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน - ผู้ประกันตนชำระเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนตลอดชีวิต