วิจัย การพัฒนา กระบวนการ ผลิต

Article Sidebar

วิจัย การพัฒนา กระบวนการ ผลิต

Published: Aug 23, 2017

Keywords:

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บ้านทับน้ำ ข้าวเกรียบมันเทศ ชุมชนเข้มแข็ง

Main Article Content

พาขวัญ ทองรักษ์

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและ อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ อํา เภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000

วรรภา วงศ์แสงธรรม

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ อําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000

สุภาพร พาเจริญ

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ อําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000

จันทร์เพ็ญ บุตรใส

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

รุ่งทิพย์ ไทยสม

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน อําเภอกําาแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่ามันเทศที่ปลูกในพื้นที่ชุมชนบ้านทับน้ำ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการแปรรูปเป็นข้าวเกรียบและยกระดับสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ วิธีการดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยในห้องปฏิบัติการร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยขั้นตอนแรกคือ การศึกษาความต้องการของเกษตรกรในการเพิ่มมูลค่ามันเทศ ต่อด้วยขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ
กระบวนการผลิตข้าวเกรียบมันเทศ ขั้นตอนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสู่ชุมชนเป้าหมาย และขั้นตอนสุดท้ายคือการยกระดับสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 1) การออกแบบบรรจุภัณฑ์ 2) การออกแบบวางผังโรงงาน 3) การจัดซื้อเครื่องจักรเพื่อการผลิต 4) การอบรมให้ความรู้ด้านสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร 5) การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ผลการดำเนินงานวิจัยต่อเนื่องใน 2 ปี พบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชน โดยประเมินจากรายได้และกิจกรรมที่หลากหลายในชุมชน เกิดการรวมกลุ่มแปรรูปมันเทศและจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตผลการเกษตรทับน้ำ-บ้านม้า ใช้วัตถุดิบมันเทศจากเกษตรกรในท้องถิ่นในการแปรรูป โดยใช้สูตรและกระบวนการผลิตจากผลงานวิจัยสมาชิกมีทักษะการแปรรูปข้าวเกรียบ สามารถนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ต่อลูกค้าและจำหน่ายสินค้าได้ ได้รับงบประมาณจากท้องถิ่นเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต เกิดการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมการผลิตจากครัวเรือนสู่อุตสาหกรรม มียอดการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น กลุ่มแปรรูปมันเทศเกิดการปรับตัวในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพสม่ำเสมอ และส่งมอบตรงเวลา เกิดแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ เกิดการหมุนเวียนรายได้จากเกษตรกรสู่โรงงานแปรรูป และกลุ่มแปรรูปมันเทศมีความภูมิใจในเอกลักษณ์ของสินค้าท้องถิ่นจากมันเทศ ที่ปลูกด้วยภูมิปัญญาและสืบทอดมาอย่างยาวนาน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite

ทองรักษ์ พ., วงศ์แสงธรรม ว., พาเจริญ ส., บุตรใส จ., & ไทยสม ร. (2017). การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวเกรียบมันเทศ สู่การผลิตเชิงพาณิชย์โดยชุมชนมีส่วนร่วม. Area Based Development Research Journal, 9(4), 242–256. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/106371

Section

Research Articles

References

เกียรติศักดิ์ ก่ออนันตกุล. 2559. ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี 2562-2579. จาก https://www.thaigov.go.th/uploads/document
สืบค้นวันที่ 6 เมษายน 2559.
บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล และ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ. 2555. ระบบการผลิตที่หลากหลายการเชื่อมโยงทฤษฎีระบบนิเวศเกษตรกับการปฏิบัติ
ด้านการผลิตในระบบเกษตรยั่งยืน. ปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหาร. พิมพ์ดี. จังหวัด
สมุทรสาคร. 67-96.
พาขวัญ ทองรักษ์ และคณะ. 2559. รายงานการวิจัยโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากมันเทศที่ปลูกในชุมชนทับน้ำ อำเภอ
บางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี. 2558. การขับเคลื่อนระบบเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านคอกช้าง ตำบลแหลมบัว อำเภอ
นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 7(1); 59-73.
ศิวาพร ศิวเวชช. 2542. การสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. 384 น.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข, 2556. การสุขาภิบาลโรงงานอาหาร. จาก https://food.fda.moph.go.th/
data/news/ สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2560.
สุชาติ จรประดิษฐ์ และคณะ 2557. อิทธิพลของการใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ
คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดของสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว
ในประเทศไทย. สุทธิปริทัศน์. 28(88); 170-195.

สินค้าเกิดขึ้นได้จะต้องมีการผลิต และสิ่งที่เกิดขึ้นเบื้องหลังการผลิตนั้นคือการพัฒนาอย่างไม่หยุดหย่อน ไม่ว่าจะเป็นสินค้า เทคโนโลยี หรือ นวัตกรรมใดๆก็ตาม เรื่องราวของการพัฒนาการผลิต จึงเป็นสิ่งสำคัญในทุกวงการอุตสาหกรรม เพราะสมัยนี้ไม่ว่าจะอุตสาหกรรมไหนก็เคลื่อนตัวเองเป็นอุตสาหกรรม 4.0 กันหมดแล้ว

ซึ่งในช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งจากโรคระบาดและการ Disruption จากเทคโนโลยีนั่นเอง ที่เป็นโอกาสสำคัญให้ผู้ประกอบการหลายคนตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราจะมีการพัฒนาการผลิตอย่างไรดี เพื่อในวันที่วิกฤตผ่านพ้นและเรามีกำลังมากพอที่จะกลับมา สิ่งแรกที่เราทำได้จะเป็นหนทางที่นำพาให้เราก้าวเข้าสู่เป้าหมายในอนาคต

  • การพัฒนาการผลิต สิ่งที่ขาดไม่ได้ในทุกอุตสาหกรรม
  • แนวทางการพัฒนาการผลิตในปัจจุบัน
  • สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปและการผลิตที่เปลี่ยนแปลง
  • สรุป

การพัฒนาการผลิต สิ่งที่ขาดไม่ได้ในทุกอุตสาหกรรม

หลายคนอาจคุ้นหูกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) เพื่อการผลิตสิ่งใหม่ๆ ออกมาสู่ตลาด แต่มักไม่ค่อยได้ยินเรื่องราวของการพัฒนาการผลิตเท่าใดนัก ซึ่งแท้จริงแล้วเรื่องดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในวันที่คุณต้องการขายผลงานจำนวนมากๆ และทุกผลงานจะต้องมีคุณภาพเท่ากัน

การพัฒนาการผลิต คือการผลักดันประสิทธิภาพ (Efficiency) และผลิตภาพ (Productivity) ในการผลิตให้สูงขึ้น ในทุกๆ แง่มุม ทั้งคุณภาพการผลิต ความเร็วในการผลิต ไปจนถึงความซับซ้อนในการผลิต เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งตัวของการพัฒนาการผลิตนั้นต้องรองรับการผลิตที่แตกต่างกันไปตามโรงงานด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น

  • ปริมาณของการผลิต 
  • ชนิดของการผลิต 
  • ลักษณะสินค้าที่ต้องผลิต 
  • ความหลากหลายและซับซ้อนของการผลิต 
  • ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ 

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนไหนต้องการการพัฒนาการผลิต แล้วการพัฒนาการผลิตจำเป็นแค่ไหน เราสามารถสังเกตได้ด้วยการ “ดูมาตรฐานการผลิต” และเปรียบเทียบการดำเนินการตามมาตรฐานปัจจุบันกับตัวแปรอื่นๆ เช่น มาตรฐานโรงงานคู่แข่งที่ใกล้เคียงกัน มาตรฐานของโรงงานตนเองในอดีต หรือ มาตรฐานที่โรงงานได้วางแผนไว้ก่อนดำเนินการผลิต โดยตัวแปรที่ควรให้ความสำคัญลำดับต้นๆ คือ

  • การผลิตเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่
  • สิ่งที่ผลิตออกมาได้มาตรฐานขนาดไหน
  • มีความยืดหยุ่นในการผลิตหรือไม่
  • สามารถผลิตสิ่งที่ซับซ้อนกว่าปัจจุบันหากมีความต้องการได้หรือเปล่า

แน่นอนว่าหลังจากการเปรียบเทียบ สิ่งที่ตามมาควรเป็นคำถามว่า “การผลิต ณ ปัจจุบันจะต้องพัฒนาอย่างไร จึงสามารถก้าวไปให้เหนือกว่าเดิมได้” ซึ่งผู้ที่ตัดสินใจก็คือตัวโรงงานและผู้บริหารเป็นหลัก ว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นคุ้มค่ามากแค่ไหน และเราจะทำอย่างไรให้มันเติบโตได้บ้าง โรงงานต้องการระบบหรือไม่

แนวทางการพัฒนาการผลิตในปัจจุบัน

การพัฒนาการผลิตในปัจจุบันไม่มีปัจจัยใดๆ ตายตัวอีกต่อไป เนื่องจากการผลิตในแต่ละโรงงาน แต่ละอุตสาหกรรมในตอนนี้ ถูกแยกออกจากกันเป็นปัจเจก มีข้อมูลที่แตกต่าง กลุ่มลูกค้าที่แตกต่าง รวมถึงต้นทุนที่แตกต่างกัน

แนวทางของการพัฒนาการผลิตที่ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหารและฝ่ายผลิตทำได้จริง คือการสำรวจความต้องการและปัญหาของการผลิตในปัจจุบันเสียก่อน

ซึ่งประเด็นปัญหาต่างๆ เราสามารถรู้ได้ทันทีหากมีการเก็บข้อมูลทรัพยากรการผลิตที่ดี ไม่ว่าจะจากคน เครื่องมือ เครื่องจักร หรือแม้แต่ลูกค้า ยิ่งเราควบคุมข้อมูลในมือได้ดีเท่าไหร่ มันก็จะกลายเป็นต้นทุนที่ดีมากขึ้นให้เราได้เท่านั้น ซึ่งในปัจจุบัน มีปรัชญาการผลิตและแนวคิดด้านการผลิตมากมาย ซึ่งหนึ่งในแนวคิดที่โดดเด่นและสมควรนำมาปรับใช้กับการผลิตในยุคปัจจุบันคือแนวคิดการผลิตแบบรัดกุม หรือ Lean Production

Lean Production ปรัชญาการผลิตในความรัดกุม

จะพัฒนาอย่างไรให้การผลิตดีที่สุด? ก็ต้องพัฒนาให้ยุ่งยากน้อยที่สุด

แนวการผลิตนั้นเริ่มต้นจากการสร้าง (Craft) ผลิตจำนวนมาก (Mass) มาจนถึงปัจจุบันคือการผลิตแบบเน้นคุณค่า (Lean) ว่าง่ายๆ คือทำอย่างไรให้คุ้มที่สุด

การพัฒนาการผลิตด้วยแนวคิดนี้ต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม ลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อนทั้งหมด โดยมุ่งหวังให้ต้นทุนการผลิตทั้งหมดนั้นต่ำ และมีปริมาณเทียบเท่ากับความต้องการของลูกค้า ลดการผลิตส่วนเกินให้น้อยที่สุดเพื่อความคุ้มค่าในการผลิตภายในโรงงาน

วิจัย การพัฒนา กระบวนการ ผลิต

ภายใต้แนวคิดแบบ Lean ทางฝ่ายการผลิตจะต้อง

  • กำจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในโรงงาน
  • ทำให้มีการพัฒนาระบบการผลิตต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
  • สินค้าทุกประเภทต้องได้มาตรฐาน
  • ทำให้เกิดการทำงานที่หลากหลายภายใต้บุคลากรและเครื่องมือที่จำกัด

แนวคิดดังกล่าวยังถูกประยุกต์ใช้ในการทำงานเชิงบริหารอีกด้วย ซึ่งแฝงอยู่ในมาตรการของบริษัทต่างๆ เช่น การลดระยะเวลาประชุม เพิ่มเวลาวางแผน จนถึงการพัฒนาชุดเครื่องมือ หรือนำเข้าโปรแกรมที่สนับสนุนการทำงานมาใช้ในบริษัท เพื่อการทำงานโดยรวมที่ดีกว่า

Lean Production เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปรัชญาการผลิตที่คนยุคใหม่ให้ความสนใจเท่านั้น ยังมีแนวคิดการผลิตอีกมาก ที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับโรงงานหรือบริษัทของตัวเองได้ 

สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปและการผลิตที่เปลี่ยนแปลง

Digital Disruption เป็นตัวแปรสำคัญทำให้เทคโนโลยีและการใช้งานระบบต่างๆ กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำธุรกิจและการผลิต ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเรื่องของการเปลี่ยนแปลงก็ถูกเร่งให้เร็วไปอีกด้วยวิกฤตโรคระบาด นั่นทำให้แนวโน้มการผลิตที่ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาเป็นส่วนประกอบมีความสำคัญมากขึ้นไปอีก 

แนวโน้มการผลิตในอนาคตจึงกลายเป็นการพัฒนาระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีต่างๆ ให้สอดคล้องกับการผลิตในแต่ละโรงงานมากที่สุด รวมถึงการพัฒนาบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านระบบดังกล่าว เพื่อรองรับการผลิตรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากเดิม

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้ผู้ประกอบการทั้งหลายอาจต้องมีการเพิ่มการรับฟังข่าวสาร เก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และทำให้มั่นใจได้ว่าการพัฒนาการผลิตของเราจะได้ผลดีที่สุด

สรุป

จะเห็นได้ชัดว่าแนวคิดที่ถูกกล่าวถึงในการพัฒนาการผลิตปัจจุบันเน้นด้านความคุ้มค่าในการลงทุน เพื่อในหนึ่งกระบวนการผลิตเราจะสามารถผลิตงานที่คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดได้โดยไม่มีสิ่งใดเสียเปล่า ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่รู้แต่ต้นว่า อะไรคือจุดบอดในการผลิตของเรา

Enterprise Resource Planning (ERP) หรือโปรแกรมวางแผนจัดการทรัพยากรเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เราได้พบเห็นกันทั่วไปในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีความสามารถครอบคลุมตั้งแต่การตรวจสอบข้อมูลการผลิต จัดจำหน่าย ไปจนถึงส่วนของการดูแลลูกค้า จนสามารถกล่าวได้ว่า ERP เป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนการพัฒนาการผลิตที่ดีที่สุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการใช้งานข้อมูลมากมาย หากคุณต้องการทราบว่าระบบ ERP ประกอบไปด้วยอะไรบ้างสามารถอ่านบทความของเราได้เลย

จะดีกว่าหรือไม่หากคุณเลือกที่จะใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับการทำงานของคุณ ก่อนดำเนินการพัฒนาการผลิต ไม่ว่าจะแง่มุมใดก็ตาม เพื่อให้การพัฒนาของคุณนั้นตรงตามเป้าหมายที่ต้องการในท้ายที่สุด

หากคุณสนใจระบบ ERP เราพร้อมให้คำปรึกษา ปรึกษาเราได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เราพร้อมแนะนำและคุณจะได้ระบบที่ปรับแต่งมาเพื่อโรงงานของคุณโดยเฉพาะ

วิจัย การพัฒนา กระบวนการ ผลิต