ลาออกจากงาน ประ จํา ไปอยู่ต่างจังหวัด

ก่อน “ลาออก” จากงาน พี่ทุยว่าจริง ๆ มีหลายเรื่องที่ต้องเตรียมนะ พี่ทุยย้ำเสมอว่างานทุกงานดีทั้งนั้น แต่สำหรับคนที่ฝันใหญ่ใจถึง ชีวิตนี้อยากเป็นเจ้านายตัวเอง รับผิดชอบตัวเองแบบ 100% พี่ทุยว่า ฟรีแลนซ์ (freelancer) หรือออกมาทำอะไรของตัวเองเนี่ยแหละ เป็นทางออกสำหรับคนที่อยากเป็นแบบนั้น

แต่ก่อน “ลาออก” จากงานประจำที่มีความมั่งคง (กว่า) มาสู่โลกที่อะไรก็ไม่แน่นอน ไม่มีแม้แต่เวลาเลิกงาน พักเสาร์-อาทิตย์ อาจจะไม่มี หรือไม่ก็อาจจะได้พักตลอด เพราะว่างงานก็ได้

ก่อน “ลาออก” ควรลดภาระให้น้อยที่สุด

สิ่งแรกที่พี่ทุยอยากจะแนะนำและควรทำก็คือ ควรลดภาระให้น้อยที่สุด ภาระนั้นก็คือ หนี้สินนั่นเอง เพราะหนี้สินจะตามมาด้วยการผ่อนชำระต่าง ๆ ซึ่งเป็นรายจ่ายคงที่เลย ไม่ว่าจะเป็น รถ โทรศัพท์ บ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า ของพวกนี้ควรจะลดให้ได้มากที่สุดก่อนที่จะตัดสินใจลาออก

เงินสำรองฉุกเฉินคือสิ่งที่ต้องมี

หลังจากนั้นก็เตรียมเงินสำรองให้ได้สัก 1 ปี เอาชนิดที่ว่า ถ้าไม่มีรายได้ใด ๆ เข้ามาเลย ก็สามารถอยู่ได้อีก 1 ปี สบาย ๆ ไม่เดือดร้อน อย่าเพิ่งทุบหม้อข้าวหม้อแกง ออกมาลุยเลยนะ เพราะโลกความจริงไม่ได้ใจดีขนาดนั้น

ทั้งหมดที่พี่ทุยแนะนำให้ทำ ก็เพื่อลดความเครียดนั่นเอง เพื่อให้สมองเราปลอดโปร่ง เลิกคิดเรื่องเงิน แล้วเอาเวลาไปสร้างสรรค์ธุรกิจ บริหารอย่างอื่น เพราะพี่ทุยเคยทำมาล่ะ เรียนจบปั๊บเอาเงินก้อนเดียวที่เก็บมาตั้งแต่เด็ก ๆ ไปเปิดทำธุรกิจทันที

ถามว่ารอดมั้ยก็รอดนะ แต่โคตรเครียด ไหนจะค่าเช่าร้าน ค่าจ้างพนักงาน ที่สำคัญ คือ เงินหมุนในธุรกิจอีก ฮ่าๆ คิดถึงตอนนั้นพี่ทุยก็โคตรถึกเลยนะ เพราะมีเวลานอนแค่วันละ 3-4 ชั่วโมงเท่านั้นเอง

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องทำก่อนลาออกจากงานคือ อย่าลืมทำแผนธุรกิจไว้ด้วย ภาษาบ้าน ๆ ก็คือ วิธีหาเงินของเรา เตรียมตัวให้พร้อมที่สุด และแผนธุรกิจนั้นต้องเตรียมรับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดไว้เสมอด้วยนะ..

หากงานประจำที่ทำอยู่ไม่ตอบโจทย์ชีวิตอีกต่อไป การตัดสินใจ ‘ลาออก’ ย่อมเป็นหนทางที่หลายคนเลือก นี่คือเรื่องปกติในโลกของการทำงาน

แต่ช่วงเวลาสั้นๆ ภายใน 30 วันหรืออาจน้อยกว่านั้นหลังจากยื่นใบลาออก คำถามใหญ่ที่ต้องตอบให้ได้ (ในความเป็นจริงควรตอบได้ก่อนตัดสินใจลาออก) คือ ‘จะจัดการตัวเองอย่างไรบ้าง?’ ทั้งสะสางภาระหน้าที่ในความรับผิดชอบให้เรียบร้อยและเตรียมพร้อมเริ่มต้นงานที่ใหม่ หรือถ้ายังไม่มีงานอื่นรองรับ คนที่ลาออกจะก้าวสู่สถานะ ‘ว่างงาน’ อย่างไร? ให้รู้สึกกังวลใจน้อยที่สุด

becommon ได้รวบรวมสิ่งที่ต้องทำเมื่อตัดสินใจลาออกเป็นเช็กลิสต์ฉบับเข้าใจง่าย สำหรับให้มนุษย์เงินเดือนที่กำลังเผชิญสถานการณ์นี้ลองนำไปปรับใช้ ด้วยความหวังว่าทุกคนจะก้าวข้ามช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านไปได้อย่างราบรื่นและเป็นมืออาชีพ

ลาออกจากงาน ประ จํา ไปอยู่ต่างจังหวัด

ถ้าลาออกมาเป็นฟรีแลนซ์ หรืออาชีพอิสระ ซึ่งไม่ได้เป็นลูกจ้างประจำสังกัดบริษัทไหน รวมถึงคนว่างงาน สิ่งแรกที่ควรทำคือ รักษาสิทธิประกันสังคม โดยติดต่อขอขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนตามมาตรา 40 สำหรับอาชีพอิสระ และมาตรา 39 สำหรับคนที่ไม่มีงานทำเป็นหลักแหล่งเพื่อขอรับเงินชดเชย ผ่านเว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน โดยข้อกำหนดกฎหมายระบุไว้ว่า

นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน จะยังได้รับความคุ้มครองจากสำนักงานประกันสังคมต่ออีก 6 เดือน ครอบคลุมกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร (เฉพาะมาตรา 39) สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และเสียชีวิต ส่วนหลักเกณฑ์จ่ายเงินชดเชยระหว่างว่างงาน จะต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนว่างงาน

นอกจากนี้ต้องรักษาผลประโยชน์ที่เราพึงได้จาก สหกรณ์ออมทรัพย์ และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หากเป็นสมาชิกหรือเคยสมัครไว้กับบริษัทที่กำลังจะออก แต่จำนวนเงินและผลตอบแทนขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและรูปแบบที่เลือกลงทุน ปกติบริษัทจะแจ้งรายละเอียดและจำนวนเงินส่วนที่เราได้รับ หากไม่ได้ให้ทวงถาม

อีกสิ่งที่กระทบทันทีหลังตัดสินใจลาออกคือ รายรับรายจ่าย โดยเฉพาะคนที่ยังไม่ได้งานใหม่ นั่นหมายถึงรายรับจากงานประจำกำลังหายไป แต่รายจ่ายประจำเดือนอาจไม่ได้ลดลงตาม บางคนมีภาระทางการเงินเกี่ยวพัน เช่น ต้องผ่อนบ้าน ผ่อนคอนโด ผ่อนรถ หรือจ่ายหนี้อื่นใดเป็นงวดๆ จึงจำเป็นต้องวางแผนการใช้จ่ายให้รัดกุมและพยายามเคลียร์หนี้สินออกไปก่อนให้มากที่สุดตั้งแต่เนิ่นๆ แนะนำให้ติดต่อเจรจาขอประนอมหนี้กับธนาคารร่วมด้วย เพื่อผัดผ่อนและขยายระยะเวลาที่ต้องจ่ายหนี้ออกไป

ลาออกจากงาน ประ จํา ไปอยู่ต่างจังหวัด

อันที่จริงก่อนลาออกควรแน่ใจแล้วว่ามี เงินสำรอง เพียงพอให้ใช้จ่ายได้นาน 6-12 เดือน ขณะเดียวกันควรมองหา รายได้เสริม อาจต่อยอดจากความถนัดและความสนใจเพื่อให้มีรายรับเข้ามามากกว่าหนึ่งช่องทาง เผื่อช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้บ้าง

ในทางตรงกันข้าม ถ้าพึ่งแต่รายได้จากงานประจำอย่างเดียว เท่ากับว่ากำลังแบกรับความเสี่ยงทางการเงินเอาไว้หากขาดรายได้หลัก และไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงเวลาออกจากงาน ขณะทำงานประจำควรมองหาโอกาสใหม่ๆ ที่พอจะเป็นช่องทางรายรับอื่นควบคู่ไปด้วย ไม่แน่อาชีพเสริมที่ทำเพิ่มขึ้นมาอาจกลายเป็นรายได้หลักที่มั่นคงกว่าในอนาคต

ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้า หากไม่ได้มีปัญหาร้ายแรงแบบมองหน้ากันไม่ติด ควรรักษาคอนเนคชันและมิตรภาพดีๆ เอาไว้ ถึงแม้ไม่ได้ทำงานด้วยกันแล้ว แต่ในภายภาคหน้าอาจได้กลับมาทำงานด้วยกันอีก ไม่ก็อาจมีเรื่องที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน คอยช่วยเหลือเกื้อกูลและเสนอโอกาสการทำงานที่ดีกว่า หรือต่อให้มีเรื่องผิดใจกัน ถ้าลดราวาศอกได้ ควรปรับความเข้าใจกันใหม่ เพื่อการจากลากันแบบไม่มีเรื่องติดค้างคาใจ

อีกเรื่องที่สำคัญมากในยุคดิจิทัล คือ ความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะคนที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือแล็ปท็อปของบริษัททั้งทำธุรกรรม เชื่อมต่อกับอีเมลและบัญชีโซเชียลมีเดียส่วนตัว ควรเปลี่ยนรหัสใหม่และลบประวัติข้อมูลการใช้งานรวมถึงการตั้งค่าจดจำรหัสผ่านให้เสร็จสิ้นก่อนส่งเครื่องคืนบริษัท

ลาออกจากงาน ประ จํา ไปอยู่ต่างจังหวัด

ส่วนไฟล์งานในเครื่อง ต้องจัดระเบียบให้เรียบร้อยเช่นเดียวกัน เครื่องจะได้อยู่ในสถานะพร้อมใช้งานต่อ โดยเริ่มจากตรวจดูไฟล์เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว และไฟล์งานอื่นๆ ให้ถี่ถ้วนก่อนลบทิ้งถาวร เพื่อป้องกันข้อมูลไม่ให้รั่วไหล ส่วนไฟล์สำคัญที่จำเป็นต้องใช้ทำงานต่อเนื่องก็ควรส่งต่อและแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรู้

นอกเหนือจากนี้ยังมีเรื่องเล็กๆ ที่มองข้ามไม่ได้คือ เผื่อเวลาเก็บของ สำหรับคนที่มีสัมภาระเยอะให้ค่อยๆ ทยอยเอากลับบ้าน จะได้ไม่ลำบากในวันท้ายๆ แต่ระหว่างจัดการตัวเองเพื่อเตรียมตัวออก เนื้องานอาจไม่ได้ลดน้อยลง ดังนั้น ควรเต็มที่กับงานจนถึงวันสุดท้าย เป็นความรับผิดชอบในฐานะพนักงานและสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพในการทำงานด้วย

ภาพความเป็นจริงของการลาออกจึงอาจไม่ใช่ภาพโปรยเอกสารเกลื่อนพื้นแล้วเดินตัวปลิวออกจากออฟฟิศแบบไม่สนใจใคร แต่เป็นภาพของคนทำงานที่มีเรื่องให้จัดการและคิดวางแผนต่อไม่ว่าจะมีงานใหม่รออยู่ หรือลาออกไปพักผ่อน ชาร์จแบต เติมไฟให้ตัวเอง เพราะงานที่เราทำ เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างตัวตน และความหมายให้เรารู้สึกถึงคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ได้ไม่มากก็น้อย