ลาออกจากประกันสังคมได้เงินคืนไหม pantip

  • เข้าสู่ระบบ

     ระบบดังกล่าวเป็นระบบที่ให้บริการแก่คนหางานที่เป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน ซึ่งคนหางานที่จะได้รับสิทธิผู้ประกันตนกรณีว่างงาน จะต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน โดยระบบจะอำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนและรายงานตัวของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ให้สามารถขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งข้อมูลของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน จะได้รับการตรวจสอบข้อมูลจากกรมการปกครอง เพื่อยืนยันตัวบุคคลในการใช้บริการในระบบดังกล่าวผ่านอินเตอร์เน็ต และยังสามารถออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันในการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในการขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533

1) ลงทะเบียน

สำหรับผู้ใช้ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนว่างงานและที่ยังไม่มีรหัสผ่านเข้าใช้ระบบ
   

ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก รีบขึ้นทะเบียนใช้สิทธ์รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน

นางกนกนันท์ วีริยานันท์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาการจากระบบการจ่ายประโยชน์ทดแทน สำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ถูกเลิกจ้างหรือออกจากงาน หรือหมดสัญญาจ้าง ซึ่งส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน ไม่ว่าจะถูกเลิกจ้างหรือลาออก ยังคงได้รับความคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน แต่ต้องไปขึ้นทะเบียนว่างานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐทั่วประเทศหรือทางเว็บไซต์ https://empui.doe.go.th ภายใน 30 วันหลังออกจากงาน เพื่อรับสิทธิประโยชน์ในกรณีว่างงาน

จากนั้นนำเอกสารไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขาที่สะดวก ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาสมุดเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ และสำเนาหนังสือรับรองการออกจากงาน หรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี) หลังจากนั้นจะมีการนัดรายงานตัวเดือนละ 1 ครั้งผ่านระบบออนไลน์ โดยหลังการรายงานตัวก็จะได้รับเงินทดแทนเข้าบัญชีที่แจ้งไว้ ในส่วนเงินทดแทนกรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้างและกรณีลาออกจะได้รับไม่เท่ากัน กรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ ครั้งละไม่เกิน 200 วัน (6 เดือน 20 วัน) ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 7,000 บาท ส่วนกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้รับเงินทดแทนในอัตราร้อยละ 45 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน (3 เดือน) ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 4,500 บาท อย่างไรก็ตาม กรณีที่ผู้ประกันตนไม่ทราบสิทธิ์กรณีว่างงาน ยังสามารถไปยื่นเรื่องขอรับเงินกรณีว่างงานย้อนหลังได้ ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ว่างงาน

นอกจากนี้ หากผู้ประกันตนประสงค์จะใช้สิทธิประกันสังคมต่อไป สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตน โดยสมัครใจตามมาตรา 39 โดยต้องไปยื่นแบบคำขอสมัครด้วยตนเองที่สํานักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขาที่สะดวก ภายในระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ออกจากงาน ซึ่งผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายประกันสังคมต่อไปรวม 6 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย,ทุพพลภาพ ,เสียชีวิต, คลอดบุตร,สงเคราะห์บุตร และชราภาพ โดยผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละ 432 บาท ปัจจุบันได้ปรับลดเหลือเดือนละ 235 บาท ตั้งแต่เดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2564 ซึ่งสามารถส่งเงินสมทบได้หลายช่องทาง

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : นิตยา คุณสิม

ผู้เรียบเรียง : ธนพิชฌน์ แก้วกา

แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

เว็บไซต์ของ กบข. มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น โดยจะทำให้ กบข. เข้าใจลักษณะการใช้งานเว็บไซต์ของ กบข. ของท่าน และทำให้เว็บไซต์ของ กบข. เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์ของ กบข. นี้จะถือว่าท่านได้อนุญาตให้ กบข. ใช้คุกกี้ตาม นโยบายการใช้คุกกี้

หลายคนไม่รู้ว่านอกเหนือจากสวัสดิการประกันสังคมต่าง ๆ ที่ได้รับในระหว่างการเป็นผู้ประกันตนแล้ว  ยังมีเงินส่วนหนึ่งที่เราสามารถขอรับเงินคืนจากประกันสังคมได้ด้วย  ประกันสังคมจะจ่ายคืนยังไง จ่ายในกรณีไหนบ้าง  ?

เริ่มต้นขายสินค้า ออนไลน์ แบบไม่ต้องสต็อกกับ PriceZA ลงทะเบียนฟรี https://bit.ly/3fyJuUw

เมื่อเราเข้าทำงานเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ เรามีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมในทุก ๆ เดือน เพื่อรับสิทธ์ด้านการรักษาพยาบาล ว่างงาน  คลอดบุตร เกษียณ สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ในอัตราร้อยละ 5 ของรายได้ แต่ไม่เกินรายได้เฉลี่ย 15,000 บาท ซึ่งก็คือเรทสูงสุดอยู่ที่เดือนละ 750 บาทในส่วนของลูกจ้าง และนายจ้างเองก็มีหน้าที่นำส่งเงินสมทบจำนวนเท่า ๆ กันกับเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างเช่นกัน

แต่หลายคนไม่รู้ว่านอกเหนือจากสวัสดิการประกันสังคมต่าง ๆ ที่ได้รับในระหว่างการเป็นผู้ประกันตนแล้ว  ยังมีเงินส่วนหนึ่งที่เราสามารถขอรับเงินคืนจากประกันสังคมได้ด้วย  ประกันสังคมจะจ่ายคืนยังไง จ่ายในกรณีไหนบ้าง

ลาออกจากประกันสังคมได้เงินคืนไหม pantip

ลาออกจากประกันสังคมได้เงินคืนไหม pantip

เงินสมทบที่จ่ายไป จะได้คืนมาทั้งหมดหรือไม่?

เงินสมทบประกันสังคมที่เราจ่ายไปในทุก ๆ เดือนนั้น จะถูกจัดสรรปันส่วน กลายเป็นสวัสดิการสังคมในแต่ละประเภท  เช่น เงินสมทบประกันสังคมในส่วนของลูกจ้างในอัตราสูงสุดเดือนละ 750 บาท เงินก้อนนี้จะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน

  • สวัสดิการพื้นฐาน ในส่วนของ ค่ารักษาพยาบาล ค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร  ค่าชดเชยทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต  จำนวน 225 บาท
  • ค่าชดเชยกรณีว่างงาน โดยจะได้รับเงินตามหลักเกณฑ์ของประกันสังคม ในกรณีที่ลาออกจากงาน และการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด  จำนวน  75 บาท
  • เงินบำเหน็จ บำนาญชราภาพ เป็นเงินออมระยะยาวที่จะได้รับเมื่อผู้ประกันตนอายุครบ 55 ปี จำนวน 450 บาท

เงินที่จะสามารถขอคืนได้คือส่วนของเงินบำเหน็จ บำนาญชราภาพ เดือนละ 450 บาทนี่แหละ  เนื่องจากเงินสมทบในสองส่วนแรกจะเป็นส่วนที่ให้ความช่วยเหลือในส่วนของสวัสดิการสังคม ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่เราเป็นผู้ประกันตน แต่เงินบำหน็จ บำนาญชราภาพ เป็นส่วนของเงินสะสมที่ทางประกันสังคมได้จัดสรรไว้ให้ในกรณีที่ผู้ประกันตนเกษียณอายุแล้ว

เงินประกันสังคมได้คืนตอนไหน ?

เริ่มต้นขายสินค้า ออนไลน์ แบบไม่ต้องสต็อกกับ PriceZA
ลงทะเบียนฟรี https://bit.ly/3fyJuUw

1.รับคืนในกรณีการจ่ายเงินสมทบเกิน

ตามปกติแล้วนายจ้างจะมีหน้าที่หักเงินค่าจ้างในอัตราร้อยละ 5 เพื่อนำส่งกองทุนประกันสังคมในทุกเดือน แต่ในกรณีที่ลูกจ้างได้ทำงานกับนายมากกว่า 1 รายในเดือนเดียวกัน นายจ้างแต่ละราย ต่างก็ทำหน้าที่หักเงินค่าจ้างเพื่อนำส่งตามกฏหมาย จึงทำให้เกิดเหตุการณ์จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 1 แห่ง ทำให้เงินสมทบที่จ่ายในเดือนนั้นเกินเรทสูงสุดคือ 750 บาท  ยกตัวอย่างเช่น

ลูกจ้างมีการเปลี่ยนงานในระหว่างเดือน นายจ้างเก่าทำการหักเงินสมทบจากค่าจ้าง 10,000 บาท ในอัตราร้อยละ 5 เป็นจำนวนเงิน 500 บาท และนำส่งกองทุนประกันสังคม ส่วนนายจ้างรายใหม่ ก็ทำการหักเงินสมทบจากค่าจ้าง  13,000 บาทในอัตราร้อยละ 5 เป็นจำนวนเงิน  650 บาท และนำส่งกองทุนประกันสังคมเช่นกัน  ดังนั้น ในเดือนนี้ลูกจ้างรายนี้ได้จ่ายเงินสมทบไปจำนวน  500 + 650 = 1,150 บาท  จ่ายเกินไป 400 บาท ซึ่งเงิน 400 บาทนี้สามารถขอรับคืนได้

 2.รับคืนในกรณีอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์

ประกันสังคมจะมีเกณฑ์การจ่ายเงินคืนโดยอิงตามระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม คือ

  • จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือน ประกันสังคมจะจ่ายคืนในรูปแบบของเงินบำเหน็จชราภาพ คือการจ่ายเงินก้อนให้ในครั้งเดียว ยกตัวอย่างเช่น

จ่ายเงินสมทบเดือนละ 750 บาทมา 5 เดือน จะได้เงินคืนในส่วนของเงินบำเหน็จชราภาพ เดือนละ 450 บาท คูณจำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบเป็นเวลา 5 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จจำนวน 450 x 5 = 2,250 บาท

  • จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือน ไม่ถึง 180 เดือน (15 ปี) ประกันสังคมจะจ่ายคืนในรูปของเงินบำเหน็จคือการจ่ายเงินก้อนให้ในครั้งเดียว  แต่จะได้ในส่วนของนายจ้างเพิ่มขึ้นมาด้วย  ยกตัวอย่างเช่น

จ่ายเงินสมทบเดือนละ 750 บาทมา 120 เดือน  (10 ปี) จะได้เงินคืนในส่วนของเงินบำเหน็จชราภาพ เดือนละ 450 บาท  และส่วนของนายจ้างอีก 450 บาท  รวมเป็นเดือนละ 900 บาท  คูณจำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบเป็นเวลา 120 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จจำนวน (450 + 450) x 120 = 108,000 บาท

  • จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน พอดี ประกันสังคมจะจ่ายคืนในรูปแบบของเงินบำนาญชราภาพ โดยจะจ่ายคืนให้เป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (สูงสุด 15,000 บาท) ไปตลอดชีวิต ยกตัวอย่างเช่น

เงินค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคือ 15,000 บาท คูณอัตราเงินบำนาญชราภาพร้อยละ 20  จะได้รับเงินบำนาญเดือนละ 15,000 x 20% = 3,000 บาท ไปตลอดชีวิต

 จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน (15 ปี ) ประกันสังคมจะจ่ายคืนในรูปแบบของเงินบำนาญชราภาพ โดยจะจ่ายคืนให้เป็นรายเดือน และส่วนของเงินสมทบที่จ่ายเกิน 180 เดือนจะได้รับเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของเงินค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ในทุก 1 ปี ( 12 เดือน) ที่จ่ายเกินมา ยกตัวอย่างเช่น

จ่ายเงินสมทบมา 204 เดือน (เกิน มา 24 งวดคิดเป็น 2 ปี) เงินค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคือ 15,000 บาท ได้รับเงินบำนาญตามเกณฑ์การจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน เดือนละ 3,000 บาท  และเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 เป็นเวลา 2 ปี ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรวมเงินเพิ่มเดือนละ 3,000 + (15,000 x 1.5% x 2) = 3,450 บาท ไปตลอดชีวิต

จะขอคืนเงินจากประกันสังคมได้อย่างไร ?

ลาออกจากประกันสังคมได้เงินคืนไหม pantip

ลาออกจากประกันสังคมได้เงินคืนไหม pantip

  1. กรณีการจ่ายเงินสมทบเกิน ?

จะต้องแจ้งความจำนงค์ขอรับเงินคืนภายใน 1 ปีนับจากวันที่ส่งเงินสมทบเกิน โดยสามารถขอรับเงินคืนได้ 2 วิธี คือ นายจ้างเป็นผู้ยื่นขอรับเงินคืนพร้อมแนบหลักฐานและเหตุผลการขอรับเงินคืนกับสำนักงานประกันสังคม และ ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับจดหมายแจ้งจากประกันสังคม สามารถกรอกข้อความแสดงความประสงค์ขอรับเงินคืนพร้อมลงลายมือชื่อ และนำไปยื่นกับสำนักงานประกันสังคม หรือจะส่งทางไปรษณีย์ก็สามารถทำได้เช่นกัน

2.รับเงินประกันสังคมคืน อายุ 55

สามารถ ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01) พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ เพื่อขอรับเงิน บำเหน็จ บำนาญ ชราภาพได้ที่สำนักงานประกันสังคมท้องที่  โดยจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังนี้

  • จ่ายเงินสมทบตามเกณฑ์ที่กำหนด
  • อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว (ลาออกจากงาน หรือหยุดจ่ายเงินสมทบในกรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39/40)

เงินประกันสังคมที่เราจ่ายไปในทุก ๆ เดือนไม่ใช่เงินจ่ายทิ้ง  และไม่ได้มีสิทธิประโยชน์แค่ค่ารักษาพยาบาล และชดเชยการว่างงาน เท่านั้น หากแต่มีสิทธิ์ประโยชน์อื่น ๆ ที่เราควรรับทราบ เพื่อให้รู้ว่าสิทธิ์ที่เราพึงได้พึงมีจากประกันสังคมนั้นมีอะไรบ้าง และจะสามารถขอรับสิทธิประโยชน์ประกันสังคมในแต่ละประเภทได้อย่างไรบ้าง

ในส่วนของเงินบำเหน็จ บำนาญชราภาพ ถือเป็นสัดส่วน 60% ของเงินสมทบประกันสังคมที่เราจ่ายไปทั้งหมด ซึ่งหากเราไม่รู้และไม่ได้ขอรับสิทธิ์ในส่วนนี้ ก็เท่ากับว่าเราทิ้งเงินประกันสังคมส่วนใหญ่ไปโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว ดังนั้น ตรวจสอบตนเองว่าเป็นผู้ประกันตนประเภทไหน ได้รับสิทธิ์อะไรบ้าง เพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับในฐานะของผู้ประกันตน เพื่อเงินทุกบาททุกสตางค์ที่จ่ายไปจะไม่ได้สูญเปล่า

ลาออกจากประกันสังคมได้เงินคืนไหม pantip
ลาออกจากประกันสังคมได้เงินคืนไหม pantip

บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์  ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ  Content  Marketing,การโฆษณา  Facebook,การโฆษณา  Tiktok,การตลาด  Line  OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai