เงินเดือน 35,000 เสียภาษี เท่า ไหร่

กดเครื่องคิดเลข! เปิดสูตรคำนวณ เงินเดือนเท่าไรต้องเสียภาษี

มนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งจบใหม่ไม่รู้ว่าจะต้อง ‘เสียภาษี’ แล้วหรือยัง ทำให้หลายคนยังคงไม่เข้าใจว่าการยื่นภาษีต้องทำอย่างไร และไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นยังไง เพราะถือว่าเป็นน้องใหม่ในโลกการทำงาน ซึ่งไม่เคยยื่นภาษีมาก่อน บ้างก็ว่าเงินเดือนเท่านี้ไม่ต้องเสียภาษีก็ได้ แต่ขณะที่บางคนแย้งว่า เงินเดือนเท่าไรต้องเสียภาษี ‘มติชน’ มีคำตอบ

เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี

การเสียภาษีนั้นถือเป็นหน้าที่ขั้นพื้นฐานที่สมาชิกในสังคมต้องปฏิบัติตาม เพราะมีระบุไว้ในกฎหมาย และตามกฏหมายแล้ว ได้ระบุว่าให้บุคคลทุกคนที่มีรายได้จากงานประจำเพียงทางเดียว เว้นแต่ผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี ถ้าบุคคลนั้นมีเงินได้เฉพาะเงินเดือน เกิน 319,000 บาทขึ้นไป ต่อปี  และแม้ว่ารายได้จะไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีก็ต้องยื่นแบบเหมือนกัน (แต่ไม่ต้องจ่ายภาษี)

วิธีการคิดภาษีที่ต้องจ่าย

สำหรับการคำนวณภาษีที่เราต้องจ่ายนั้นมีหลักง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากดังนี้

สมมติว่าคุณมีเงินเดือน เดือนละ 26,583.33 บาท x 12 เดือน (ต้องคิดทั้งปี) = 319,000 บาท

สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท + หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท + หักเงินสะสมกองทุนประกันสังคมรวมทั้งปี 9,000 บาท

ค่าใช้จ่ายได้ 50% (แต่ไม่เกิน 100,000 บาท)

จะได้สูตรคำนวนเงินได้สุทธิ ดังนี้

เงินได้ 319,000 บาท – ค่าใช้จ่าย 100,000 บาท – ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท – เงินกองทุนประกันสังคม 9,000 บาท = เงินได้สุทธิ 150,000 บาท

จากนั้นเราก็ไปดูว่ารายได้สุทธิของเราอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเท่าไหร่

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้ในการคำนวนภาษี

เงินเดือน 35,000 เสียภาษี เท่า ไหร่

ดังนั้น บุคคลที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท (หรือมีเงินเดือน เดือนละไม่เกิน 26,583.33 บาท) ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี

จะยื่นภาษีอย่างไรดี

การยื่นแบบการเสียภาษีนั้นจะต้องยื่นแบบการเสียภาษีตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคมของทุกปี ซึ่งการยื่นเสียภาษีนั้นทำได้ง่ายๆ สะดวก ไม่ยุ่งยาก คือ

  1. ยื่นแบบการเสียภาษีออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของสรรพากร
  2. ยื่นภาษีผ่าน Rd smart tax application ทางโทรศัพท์มือถือ

เอกสารประกอบการยื่นแบบ

สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียวให้ยื่นแบบภ.ง.ด. 91 ค่ะ โดยมีเอกสารประกอบการยื่นดังนี้

  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50ทวิ)

กรณีที่คุณซื้อประกันชีวิต กองทุนต่างๆ (ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้) หรือใบอนุโมทนาบัตรต่าง ๆ ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ก็ให้ยื่นพร้อมกันด้วยแต่ถ้าไม่มีก็ยื่นแค่ 50ทวิ อย่างเดียวก็ได้

เงินเดือน 35,000 เสียภาษี เท่า ไหร่

การวางแผนภาษีเป็นเรื่องที่มนุษย์เงินเดือนสงสัยกันอยู่ทุกปี โดยมีคำถามยอดฮิตก็คือ ใครบ้างต้องยื่นภาษี ? 

เงินเดือน 20,000 เสียภาษีเท่าไหร่ ? วิธีคำนวณภาษีทำยังไง แล้วเงินเดือนเท่าไหร่ ถึงต้องเสียภาษี ?

เราจึงได้สรุปวิธีคำนวณภาษีแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ทุกคนสามารถทำตามได้ทีละขั้นตอนมาฝาก

คำนวณเงินได้สุทธิ

เริ่มแรกเราต้องหา “เงินได้สุทธิ” เพราะเป็นส่วนที่เราจะนำมาเป็นฐานเพื่อคิดภาษีที่ต้องจ่าย โดยให้เรานำรายได้ตลอดทั้งปี มาหักลบค่าใช้จ่ายตามประเภทของรายได้ และหักลดหย่อนภาษีตามรายการต่างๆ

เงินได้สุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

รายได้ : รายได้ทั้งหมดที่เราได้รับตลอดปีนั้นๆ เช่น เงินเดือน, โบนัส, รายได้เสริม, ขายของ, เงินปันผล ฯลฯ

ค่าใช้จ่าย : เปรียบเสมือนต้นทุนสำหรับการทำมาหาได้ของเรา โดยรายได้แต่ละประเภทจะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน เช่น รายได้ที่เป็นเงินเดือน โบนัส หรือ ค่าจ้าง สามารถหักค่าใช้ได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

– เช็กว่ารายได้ประเภทไหน หักค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่ คลิกเลย https://www.rd.go.th/publish/556.0.html

ค่าลดหย่อน : สิทธิประโยชน์ที่ช่วยให้เราเสียภาษีน้อยลง หรือได้รับเงินภาษีคืนเพิ่มขึ้น

– เช็กรายการลดหย่อนภาษี 2564 ได้ที่นี่ www.finspace.co/สรุปลดหย่อนภาษี-2564/

ตัวอย่างเช่น

1.) นาย F มีรายได้จากเงินเดือนทั้งปี 600,000 บาท

2.) นำมาหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท

3.) นำมาหักรายการลดหย่อนภาษี

– ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท

– หักค่าซื้อ SSF ไป 50,000 บาท

– หักค่าช้อปดีมีคืน 30,000 บาท

ดังนั้น นาย F จะเหลือเงินได้สุทธิเพื่อนำมาคำนวณภาษี จำนวน 360,000 บาท

คราวนี้เมื่อทราบแล้วว่าเงินได้สุทธิเป็นเท่าไหร่ จากนั้นก็ให้นำเงินได้สุทธิดังกล่าวมาคำนวณภาษีตามอัตราในแบบขั้นบันได ดังนี้

เงินได้สุทธิต่อปีอัตราภาษีภาษีสูงสุดที่ต้องเสียในขั้นนี้
0 – 150,000 บาท ยกเว้นอัตราภาษี
150,001 – 300,000 บาท  5% 7,500 บาท
300,001-500,000 บาท  10% 20,000 บาท
500,001-750,000 บาท  15% 37,500 บาท
750,001-1,000,000 บาท  20% 50,000 บาท
1,000,001-2,000,000 บาท  25% 250,000 บาท
2,000,001-5,000,000 บาท  30% 900,000 บาท
5,000,000 บาทขึ้นไป  35%  

จากกรณีของ นาย F ที่มีเงินได้สุทธิ 360,000 บาท เท่ากับต้องเสียภาษีอัตราสูงสุดที่ 10% โดยจะมีวิธีคำนวณภาษีในแต่ละขั้น ดังนี้

1.) ขั้นภาษี 5% ต้องจ่ายสูงสุดเลยที่ 7,500 บาท (เพราะมีเงินได้สุทธิเกิน 300,000 บาท)

2.) ขั้นภาษี 10% จะเหลือเงินได้ที่ต้องไปคำนวณ (360,000-300,000) = 60,000 บาท

แปลว่าจะต้องจ่ายภาษีที่ 10% ของ 60,000 บาท เท่ากับ 6,000 บาท

สรุปแล้วนาย F จะต้องเสียภาษีทั้งหมดเท่ากับ 7,500 บาท + 6,000 บาท = 13,500 บาท

จะเห็นว่าหากเรามีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,0001 บาทขึ้นไป จะต้องเริ่มเสียภาษีแล้ว และยิ่งเงินได้สูงเท่าไหร่ อัตราภาษีก็จะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้น การวางแผนภาษีตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการหาตัวช่วยมาหักลดหย่อนภาษี ก็จะทำให้เงินได้สุทธิลดลง ประหยัดภาษีได้ยิ่งขึ้น หรือหากระหว่างปีเราถูกบริษัทหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้แล้วส่วนหนึ่ง ก็จะมีโอกาสได้รับเงินภาษีคืนอีกด้วย

เงินเดือนเท่านี้ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ?

เงินเดือน 35,000 เสียภาษี เท่า ไหร่

จากตัวอย่างนี้ เราจึงได้คำนวณคร่าวๆ มาให้ดูว่า เงินเดือนเท่านี้ จะต้องจ่ายภาษีประมาณเท่าไหร่ โดยเป็นการคำนวณโดยประมาณการณ์ ซึ่งคิดจากสมมุติฐาน ดังนี้

1. มีรายได้จากงานประจำทางเดียว

2. มีค่าลดหย่อนส่วน 60,000 บาท และประกันสังคม 5,850 บาท

3. ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอื่นๆ เพิ่มเติม

ย้ำว่านี้เป็นเพียงตัวเองการคำนวณคร่าวๆ ฉบับมนุษย์เงินเดือนเท่านั้น  เพราะการคำนวณภาษีของแต่ละคนขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัยที่แตกต่าง ทั้งแหล่งที่มาของเงินได้ และรายการลดหย่อนภาษีเล็กๆ น้อยๆ ทำให้แม้เงินเดือนจะเท่ากัน แต่ภาษีที่ต้องจ่ายอาจจะมากน้อยแตกต่างกันได้

สำหรับใครที่ต้องเสียภาษีแล้วอย่าลืมเช็กรายการลดหย่อนภาษี 2564 ได้ที่นี่ www.finspace.co/สรุปลดหย่อนภาษี-2564/


ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb