สะล้อเป็นเครื่องดนตรีภาคอะไร

สะล้อเป็นเครื่องดนตรีภาคอะไร

วงสะล้อซอซึง
         วงสะล้อ ซอ ซึง หมายถึง วงดนตรี ที่นำเอาเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสายของภาคเหนือ คือ ซึงสะล้อ และเครื่องประกอบจังหวะมาบรรเลงรวมกันเป็นวง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในภาคเหนือ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีอยู่เฉพาะในภาคเหนือตอนบนเท่านั้นถึอว่าเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของท้องถิ่นล้านนา
         ชื่อเรียกของวงดนตรี บางครั้งเรียก วงสะล้อ ซอซึง บ้างก็เรียก วง ซึง สะล้อ คงจะเป็นเพราะวงสะล้อ ซอซึง ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ในการบรรเลง มีการนำเอาขลุ่ยพื้นเมือง ( ขลุ่ยตาด ) หรือปี่จุ่มมาบรรเลงร่วมด้วย บางครั้งมีการขับร้องเพลง ( ซอ ) ประกอบโดยใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองขอแยกความหมายเพื่อให้ชัดเจน ดังนี้
                  สะล้อ เป็นเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสาย ที่ใช้วิธีการเล่นโดยการสี
                  ซอ เป็นภาษาพื้นบ้านล้านนา หมายถึง การขับร้องเพลง
                  ซึง เป็นเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสาย ที่ใช้วิธีการเล่นโดยการดีด
         สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนาชนิดหนึ่ง เป็นประเภทเครื่องสีซึ่งมีทั้ง 2 สายและ 3 สาย คันชักสำหรับสีจะอยู่ข้างนอกเหมือนคันชักซอสามสาย สะล้อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทร้อ หรือ ซะล้อ มีรูปร่างคล้ายซออู้ของภาคกลาง ใช้ไม้แผ่นบาง ๆ ปิดปากกะลาทำหลักที่หัวสำหรับพาดทองเหลือง ด้านหลังกะโหลกเจาะเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ เช่น รูปหนุมาน รูปหัวใจ ส่วนด้านล่างของกะโหลก เจาะทะลุลง ข้างล่าง เพื่อสอดคันทวนที่ทำด้วยไม้ชิงชัน ยาวประมาณ 64 ซม ตรงกลางคันทวนมีรัดอกทำด้วยหวาย ปลายคันทวนด้านบนเจาะรูสำหรับสอดลูกบิด ซึ่งมี 2 หรือ 3 อัน สำหรับขึงสายซอ จากปลายลูกบิดลงมาถึงด้านกลางของกะโหลกมีหย่องสำหรับ หนุนสายสะล้อเพื่อให้เกิดเสียงเวลาสี คันชักสะล้อทำด้วยไม้ดัดเป็นรูปโค้ง ขึงด้วยหางม้าหรือพลาสติก เวลาสีใช้ยางสนถูทำให้เกิดเสียงได้ สะล้อใช้บรรเลงประกอบการแสดงหรือบรรเลงร่วมกับบทร้องและทำนองเพลงได้ทุกชนิดเช่น เข้ากับปี่ในวงช่างซอ เข้ากับซึงในวงพื้นเมืองก็ได้
         ซอ เป็นการขับร้องทำนองของคำซอ โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าซอเป็นเครื่องดนตรีแต่ไม่ใช่ ซอเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งวงสะล้อ ซอ ซึง การขับซอ เป็นรูปแบบการร้องเพลงที่ชาวพื้นเมืองล้านนาใช้ขับกล่อมให้คลายทุกข์ โดยจะมีคำเรียกผู้ร้องเพลงซอว่า ช่างซอ
         ซึง เป็นประเภท ดีด มี4 สาย แต่แบ่งออกเป็น2เส้น เส้นละ2สาย มีลักษณะคล้าย กระจับปี่ แต่มีขนาดเล็กกว่า ความยาวทั้งคันทวนและกะโหลกรวมกันประมาณ 81 ซม กะโหลกมีรูปร่างกลมวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 21 ซม ทั้งกะโหลกและคันทวน ใช้ไม้เนื้อแข็งชิ้นเดียวคว้านตอนที่เป็นกะโหลกให้เป็นโพรง ตัดแผ่นไม้ให้กลม แล้วเจาะรูตรงกลางทำเป็นฝาปิดด้านหน้า เพื่ออุ้มเสียงให้กังวาน คันทวนเป็นเหลี่ยมแบนตอนหน้า เพื่อติดตะพานหรือนมรับนิ้ว จำนวน 9 อัน ตอนปลายคันทวนทำเป็นรูปโค้ง และขุดให้เป็นร่อง เจาะรูสอดลูกบิดข้างละ 2 อัน รวมเป็น 4 อันสอดเข้าไปในร่อง สำหรับขึ้นสาย 4 สาย สายของซึงใช้สายลวดขนาดเล็ก 2 สาย และ สายใหญ่ 2 สาย ซึงเป็นเครื่องดีดที่ชาวไทยทางภาคเหนือนิยมนำมาเล่นร่วมกับปี่ซอ หรือ ปี่จุ่มและ สะล้อ
         แบ่งตามลักษณะได้ 3 ประเภท คือ ซึงเล็ก ซึ่งกลาง และซึงหลวง(ซึงที่มีขนาดใหญ่) แบ่งตามประเภทได้ 2 ชนิด คือ ซึงลูก3 และซึงลูก4 (แตกต่างกันที่เสียง ลูก 3 เสียงซอลจะอยู่ด้านล่าง ส่วนซึงลูก4 เสียงซอลจะอยู่ด้านบน) อธิบายคำว่า สะล้อ ซอ ซึง ที่มักจะพูดกันติดปาก ว่าเป็นเครื่องดนตรีของชาวล้านนา แต่ที่จริงแล้ว มีแค่ ซึง และสะล้อ เท่านั้นที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวล้านนา ส่วนคำว่า ซอในที่นี้ หมายถึง การขับซอ ซึ่งเป็นการร้อง,การบรรยาย พรรณณาเป็นเรื่องราว ประกอบกับวงปี่จุ่ม

สะล้อเป็นเครื่องดนตรีภาคอะไร

http://www.itrmu.net/web/10rs24/show-webcontent.php?cat_id=2&mid=16
สะล้อเป็นเครื่องดนตรีภาคอะไร

เป็นต้น เดิมเป็นเครื่องสีที่มี 2 สาย สีด้วยคันชักคล้ายซอด้วงมีวิธีการประดิษฐ์ไม่สู้ปราณีตนัก ใช้วัสดุที่หา

ได้ง่ายตามพื้นบ้านต่อมาภายหลังพบว่าได้มีการสร้างสะล้อขึ้นด้วยความปราณีตสวยงามขึ้นและเพิ่ม

สะล้อขึ้นเป็น 3 ขนาดคือ

1. สะล้อเล็กมี 2 สาย

2. สะล้อกลางมี 2 สายแต่ใหญ่กว่าสะล้อเล็ก

3. สะล้อใหญ่มี 3 สายขนาดใหญ่กว่าสะล้อกลาง

ทั้ง 3 ระดับได้ทำขึ้นอย่างปราณีตโดยคันทวนทำด้วยงา ที่กะโหลกก็ประดับงาบางคันทำ

ด้วยไม้แต่ประกอบด้วยงา ส่วนประกอบของสะล้อมีดังนี้

• กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ไม่ใหญ่เหมือนกะโหลกซออู้ ตัดปาดครึ่งลูกสำหรับขึ้นหน้า ด้านหลังเจาะเป็นช่องระบายเสียงมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ตอนบนเจาะรูทะลุด้านล่างเพื่อสอดใส่ไม้คันซอ

• คันทวน ทำด้วยไม้เนื้อแข็งกลึงกลม เรียวยาว ตอนล่างเล็ก ตอนปลายจะขยายใหญ่ขึ้น ตอนล่างสุดจะสร้างคล้ายกับทวนล่างของซอสามสาย แต่เล็กกว่าคือกลึงเป็นเส้นลวดเรียงตามลำดับ มีเท้าซึ่งทำด้วยโลหะแหลมสำหรับปักลงกับพื้น ( บางคันคันไม่ได้ทำ

เท้าเป็นโละ) ช่วงต่อจากกะโหลกจะกลึงเป็นเส้นลวดโดยรอบห่างพอสมควร กลึงเส้นลวดอีกอันหนึ่ง ส่วนตอนบนกลึงลูกแก้ว 2 ลูก ตรงช่องกลางลูกแก้วเจาะเป็นรู 2 รูทะแยงกัน

สูงต่ำกันเล็กน้อยเพื่อสอดใส่ลูกบิด ที่ปลายสุดของคันซอ ( ทวนปลาย ) จะกลึงเป็นเม็ดเพื่อความสวยงาม

• ลูกบิดทำด้วยไม้กลึงกลมเรียวหัวกลึงเป็นเม็ดปลายเรียวแหลมสำหรับสอดใส่ในรูคันซอ

• หน้าซอ ทำด้วยไม้แผ่นบางๆปิดหน้ากะลา

• สายใช้สายลวด ๒ สายผูกกับหลัก ซึ่งทำด้วยไม้หรือโลหะโค้งเล็กน้อย ลากสายผ่าน"หย่อง " ซึ่งทำด้วยไม้ลักษณะเป็น ๓ เหลี่ยมเพื่อหนุนสายให้ลอยตัว จากนั้นลากผ่านคันซอขึ้นไปพันผูกที่ลูกบิดทั้งสอง ก่อนถึงลูกบิดจะใช้หวายมัดให้สายติดกับคับซอเรียกว่า" รัดอก " การที่ใช้หวายมัดเป็นรัดอกจะทำให้เสียงกังวานและแกร่งขึ้น ในระหว่างรัดอกจะมี" จิม " ซึ่งทำด้วยไม้แผ่นบางๆมายัดให้แน่นขณะเลื่อนรัดอก เพื่อหาเสียงที่ไพเราะ

• คันชักมีลักษณะเช่นเดียวกับคันชักของซอด้วง พบสะล้อที่ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความปราณีตสวยงาม

• ที่บ้านของเจ้าสุนทร ณ. เชียงใหม่ครูดนตรีพื้นเมืองของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ท่านได้สร้างขึ้นให้มีเสียงดังกังวาน โดยการเพิ่มกะลามะพร้าวที่ทำเป็นกะโหลกให้มีลักษณะเป็น

พูเช่นเดียวกับกะโหลกซอสามสายเจาะ ตรงพูให้เป็นรูปหัวใจเพื่อระบายเสียงให้กังวานคันทวน ทำด้วยงา โคนทวนกลางกลึงเป็นรูปวงแหวนลดหลั่นตามลำดับปลายทวนกลึง

เป็นลูกแก้วลูกบิดก็กลึงเป็นลูกแก้วประดับเม็ดระหว่างลูกบิดทั้งสามจะกลึงเป็นรูปแหวน2 วงขนาบลูกบิดไว้ ส่วนสายนั้นใช้สายกีต้าแทน

หลักการสีสะล้อเดิมผู้สียืนสี คาดผ้าที่เอวให้ปลายคันทวนปักลงที่ผ้าคาดเอว มือขวาจับคันชักมือซ้ายกดสายลำตัวสะล้อค่อนไปทางซ้ายมือของผู้ดีด ปัจจุบันผู้ดีดนั่งสีในท่าขัดสมาธิหรือพับเพียง ปัก

ปลายคันทวนลงกับพื้นด้านหน้าทางซ้าย มือขวาจับคันชัก มือซ้ายกดสายเวลาสีจะพลิกตัวสะล้อหันไปมาเพื่อรับกับสายคันชัก

สะล้อ จัดเป็นเครื่องดนตรีวประเภทใด

วงดนตรี สะล้อซอซึง มีองค์ประกอบที่ส าคัญ คือ สะล้อ เป็นเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสาย ที่ใช้ วิธีการเล่นโดยการสีสะล้อ เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนาชนิดหนึ่ง เป็นประเภท เครื่องสีซึ่งมีทั้ง 2 สายและ 2 สาย คันชัก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทร้อ หรือ ซะล้อ (สุค า แก้วศรี, 2545) มีรูปร่างคล้ายซออู้ของภาคกลาง ซอ เป็นภาษาพื้นบ้าน ...

เสียงสะล้อเป็นแบบไหน

- สะล้อใหญ่ มีลักษณะร่วมทางเสียงระหว่างสะล้อเล็ก และสะล้อกลางแต่เสียงทุ้มต่ำบทบาทคล้ายคนมีอายุมากไม่ค่อยมีลีลาและลูกเล่นมากนัก - สะล้อกลาง บทบาทคล้ายคนวัยกลางคน มีลีลาสอดรับกับสะล้อใหญ่และสะล้อเล็ก - สะล้อเล็ก บทบาทคล้ายคนวัยคะนอง มีเสียงแหลมเล็ก ลีลาโลดโผน สอดรับกับเสียงซึงและขลุ่ย

สะล้อมีลักษณะเหมือนเครื่องดนตรีไทยชนิดใด

สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านประเภทเครื่องสี การกำเนิดเครื่องดนตรีชนิดนี้มีพัฒนาการมายาวนาน สะล้อในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ กล่าวถึงสะล้อว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภทสีของล้านนา มีลักษณะคล้ายกับซออู้ของไทยภาคกลาง มีคันชักเรียกว่าสายก๋งอยู่นอกสายสะล้อ ในประวัติศาสตร์สืบค้นเรื่องสะล้อ พบในนิราศหริภุญชัย เรียก ...

โครงสร้างของสะล้อมีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของสะล้อจากด้านบนมาด้านล่าง 1. ลูกบิด 2. รัดอก 3. สายสะล้อ 4. คันหรือคันทวน 5. ค็อบหรือหย่อง 6. ตาด 7.กะโหลก