ตัวอย่าง portfolio สัมภาษณ์งาน

                จะสังเกตเห็นได้ว่า Portfolio หรือ แฟ้มสะสมผลงาน นั้นมีความสำคัญอย่างมากในการศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้นการทำแฟ้มสะสมผลงานให้ออกมาดูดี น่าสนใจ ก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่การเลือกใช้แฟ้มที่ช่วยให้ Portfolio ของน้อง ๆ ดูดีขึ้น ก็ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะการเลือกใช้แฟ้มที่จะช่วยให้ Portfolio ของน้องดูดีนั้น ต้องเป็นแฟ้มที่แข็งแรง ทนทาน และมีคุณภาพ เหมือนกับแฟ้มตราช้าง รุ่น PF01 แฟ้มเอกสารที่มีปกแฟ้มผลิตจากพลาสติก PP คุณภาพดีหนา 400 ไมครอน มีวิวบายเดอร์พร้อมกระดาษสอด สามารถออกแบบหน้าปกได้ ลิ้นแฟ้มทำจากพลาสติก แข็งแรง ทนทาน ใช้งานก็ง่าย ภายในแฟ้มบรรจุซองอเนกประสงค์จำนวน 10 ซอง สามารถเติมซองได้ มีแถบ Dura Strib หนาพิเศษ ทนทานไม่ยืด มีคุณสมบัติลดแสงสะท้อนถนอมสายตา สามารถหาซื้อได้แล้ววันนี้ที่ร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศ

ควรจัดทำและออกแบบให้สะดุดตา ให้อ่านและสามารถทำเข้าใจได้ง่าย ว่าแฟ้มเป็นของใคร แสดงแต่ประเด็นเด่นๆ เรียนที่ไหน รางวัล ผลงานที่เคยทำและเคยได้รับมีอะไรบ้าง

2. ประวัติส่วนตัว หรืออาจจะแนบ resume ไว้เพื่อเป็นตัวเกริ่นประวัติส่วนตัวของเรา

นำเสนอข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง เช่น ชื่อจริง-นามสกุล ที่อยู่ ช่องทางที่สามารถติดต่อได้ เช่น อีเมล เบอร์โทร แนะนำให้ทำทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการแสดงถึงความสามารถของเราและความเป็นสากล เสมือนเปิดโอกาสให้ตนเองสามารถยื่นเข้าเรียนต่อหรือทำงานในองค์กรหรือบริษัทต่างชาติได้ด้วย

3. ประวัติด้านการศึกษา รวมไปถึงการแลกเปลี่ยน

ให้เรียงลำดับประวัติศึกษาจากระดับวุฒิที่สูงสุด (ปัจจุบัน) จนกระทั่งระดับต่ำสุด ในลักษณะเรียงลำดับการได้รับจากปี พ.ศ. ปัจจุบันไล่ลำดับลงจนถึงช่วงอดีต โดยระบุรายละเอียดดังนี้

3.1. วันเดือนปีพ.ศ. ที่เข้าเรียนและจบการศึกษา

3.2. ชื่อเต็มวุฒิการศึกษา คณะ สาขาวิชาเอก-โท รวมไปถึงการได้รับเกียรตินิยม เหรียญทอง ก็สามารถระบุตรงนี้ได้

3.3. ชื่อสถานที่ศึกษาที่เราจบมาหรือกำลังศึกษา หรือชื่อโปรแกรม สถาบันที่เราเข้าร่วมไปศึกษาแลกเปลี่ยนมา ชื่อเมืองและชื่อประเทศ

3.4. ผลการเรียน GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสม

4. ประวัติด้านการทำงาน

ให้เรียงลำดับประวัติด้านการทำงาน ในลักษณะเรียงลำดับการได้รับจากปี พ.ศ. ปัจจุบันไล่ลำดับลงจนถึงช่วงอดีต โดยระบุรายละเอียดดังนี้

4.1. วันเดือนปีพ.ศ. ที่เข้าทำงานและวันสุดท้ายที่สิ้นสุดการทำงานของแต่ละที่ที่ตนเคยทำงานมา

4.2. ชื่อองค์กร และสังกัดที่คุณทำงานมา เช่น กรม...ภายใต้สังกัดกระทรวง....

4.3. ตำแหน่งงาน ระดับตำแหน่งงาน เช่น นักวิเทศสัมพันธ์ ระดับชำนาญการ เป็นต้น

4.4. หน้าที่และความรับผิดชอบโดยย่อ ถ้าเคยมีประสบการณ์เยอะ ควรเลือกหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่คุณจะใช้ยื่น

4.5. ชื่อโครงการที่คุณรับผิดชอบ ชื่อโปรแกรมที่คุณเคยได้รับมอบหมายให้ทำ เพื่อแสดงเห็นทักษะและความสามารถของคุณ เช่น โปรแกรมระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เป็นต้น

5. ประวัติการฝึกอบรม

ให้เรียงลำดับประวัติการฝึกอบรมต่างๆ ในลักษณะเรียงลำดับการได้รับจากปี พ.ศ. ปัจจุบันไล่ลำดับลงจนถึงช่วงอดีต โดยระบุรายละเอียดดังนี้

5.1. วันเดือน ปีพ.ศ. ที่เข้าร่วมการอบรม จะดีมากถ้าคุณสามารถระบุจำนวนวัน ระยะเวลาที่เข้าร่วม

5.2. ชื่อเต็มของหลักสูตร สาขาวิชาที่คุณไปอบรมมา

5.3. ชื่อสถาบัน องค์กรที่จัดการอบรม ซึ่งจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของคุณที่ไปเข้าอบรม ความเข้มข้นของหลักสูตรนั้นๆ สามารถเพิ่มทักษะให้คุณได้จริงหรือไม่

6. ผลงานตัวอย่าง และรางวัลที่ได้รับ

ให้เรียงลำดับผลงานตัวอย่างและรางวัลที่ได้รับ ในลักษณะเรียงลำดับการได้รับจากปี พ.ศ. ปัจจุบันไล่ลำดับลงจนถึงช่วงอดีต อาทิเช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ รายงานการวิจัยที่เราเคยทำ โดยระบุรายละเอียดดังนี้

6.1. วัน เดือน ปีพ.ศ. ที่ได้ทำผลงานหรือที่ได้รับรางวัล

6.2. ชื่อเต็มขององค์กร/สถาบัน ที่ได้มอบรางวัลให้คุณมา หรือที่คุณส่งผลงานไปเข้าร่วม/ประกวดมา

6.3. รายละเอียดสิ่งที่ได้รับ เช่น เงินรางวัล ถ้วยรางวัล ยกตัวอย่างทักษะที่ได้มาอย่างย่อๆ

6.4. แนบหลักฐานเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เช่น รูปถ่ายเรากับผลงาน สถานที่ที่เราไปเข้าร่วม เกียรติบัตร วุฒิบัตรที่เราได้รับ เป็นต้น

7. กิจกรรมที่ทำ ตั้งแต่ตอนเรียนในโรงเรียนมัธยม มหาวิทยาลัยตลอดจนถึงปัจจุบัน

ถ้าเป็นไปได้ควรเป็นผลงานที่สอดคล้องกับตำแหน่งที่ต้องการสมัครหรือตรงกับสาขาวิชา คณะ หลักสูตรที่เรายื่นสมัครเรียน เพราะส่วนนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำแฟ้มสะสมผลงาน เนื่องจากเป็นส่วนที่จะได้นำเสนอและโน้มน้าวใจให้องค์กรเห็นว่าเรามีทักษะความสามารถอะไรและเหมาะสมแค่ไหน อาทิเช่น

7.1. กิจกรรมขณะเรียนเป็นประธานนักเรียน ประธานเชียร์ มีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชมรมหรืองานวันสำคัญต่าง ๆ ระบุเพื่อให้รู้ว่าเรามีประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รู้จักการทำงานเป็นทีม เพราะไม่ว่าเราจะเข้าไปทำงานในตำแหน่งอะไรก็ล้วนต้องใช้ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นแทบทั้งหมด

7.2. ทำงานพิเศษ ขณะเรียนไปก็ด้วยทำงานไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น ขายขนม/สินค้าออนไลน์ รับสอนพิเศษ การทำงานพาร์ทไทม์ตามร้านสะดวกซื้อก็สามารถหยิบมาใส่ในแฟ้มสะสมผลงานได้ เป็นต้น

7.3. กิจกรรมนอกรั้วมหาลัย มักจะเป็นสิ่งที่เรามีความสนใจอยากทำเอง และเป็นสิ่งที่สามารถนำเสนอความสนใจหรือตัวตนของเราได้มากที่สุด ทำให้องค์กรรู้ว่าเรามีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกอย่างไรบ้าง เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือต้องพบเจอบุคคลที่ไม่คุ้นเคย เราอาจจะใช้โอกาสนี้ในการนำเสนอตัวเองให้องค์กรเห็นว่าเรามีการวางตัวหรือปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้หรือไม่

7.4. ประสบการณ์จากตอนฝึกงาน (Internship)

รายละเอียดหน้าที่ความรับผิดชอบและภาพถ่ายการฝึกงาน บุคคลที่สามารถอ้างอิงและรับรองประสบการณ์ดังกล่าวนี้ได้ ยิ่งเรามีประสบการณ์ในการฝึกงาน เพราะองค์กรจะได้เห็นว่าเรามีประสบการณ์จากการทำงานมาบ้างแล้ว อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและความกระตือรือร้นที่จะก้าวเข้าสู่โลกแห่งการทำงานอย่างแท้จริง

8. งานอดิเรกและความสามารถพิเศษต่างๆ เช่น

นำเสนอความสามารถพิเศษที่แตกต่างจากคนทั่วไปเพื่อสร้างความโดดเด่นและน่าสนใจมากขึ้น เช่น ทักษะการพูดการเจรจา ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ด้านคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ ถึงแม้ไม่มีก็เป็นความสามารถพิเศษทั่วๆ ไป เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี เล่นกีฬา ชอบถ่ายภาพ อ่านหนังสือ เขียนบทความก็จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครงานทางด้านนักเขียน เป็นต้น และหากแนบรูปถ่ายหรือผลงานที่เกี่ยวข้องด้วยจะดีมาก

นอกเหนือจากเทคนิคที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งสำคัญในการทำแฟ้มสะสมผลงานคือการเรียบเรียงเนื้อหาให้กระชับ เข้าใจง่ายและควรใส่ความเป็นตัวตนลงไปอย่างสร้างสรรค์ผ่านการเล่าเรื่อง จัดวางข้อมูลอย่างเป็นระบบ และควรเตรียมแฟ้มสะสมผลงานทั้งในรูปแบบเล่มแฟ้มและไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย ยิ่งไปกว่านั้นควรสำรองข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ด้วย เพื่อป้องกันการสูญหายและมีความเตรียมพร้อมเพื่อส่งผ่านอีเมลได้ง่ายและทันที เทคนิคส่วนเหล่านี้จะช่วยทำให้เราดูเป็นมืออาชีพในสายตาองค์กรมากขึ้นอีกด้วย