สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ถอดความ

นศ. A บทแรกร้ก/ สมหวังในความรัก (อีทิสังฉันท์ + บุคคลวัต)

สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ถอดความ

ที่มา http://www.watmoli.com/poetry-chapter5/old-verse/51362.html

๐ รักระเริงระยิบระย้าประชิด.........กะ ดาวกวีวิจิตรลิขิต
ประดับฟ้า
๐ ลมระทดระทวยระโหยเสาะหา......เจาะจงเจอะคู่คนึงวนา
เพราะรักไพร
๐ ปลาจะจีบปทุมกุสุมไสว..............แวะเวียนวิสุทธิ์สุมาลย์รมัย
สระสุดสุข
๐ หงสะหลงคุหาสุวรรณสุมุข......ถวิลเสาะถิ่นสงบสนุก
มิโศลกเศร้า

(By M. Rudrakul)

นศ.B บทปลงในความรัก/ ผิดหวังจากความรัก (สัททูลวิกกีฬิตฉันท์ + สมมุติภาวะ)

สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ถอดความ


ที่มา http://www.watmoli.com/poetry-chapter5/old-verse/51361.html


๐ ดาวขอเพียงนะภะเคียงจะคู่จิรสิริ์เรา

รุ่งขึ้นรวีเขา...................หายไป

๐ ลมอ้างรักระดิเดียวเฉลียวเฉพาะเจาะไพร

เดี๋ยวเดียวละลืมคำ..............ง่ายนัก

๐ ปลาบอกบัวบุษบาจะมั่นอะมะระรัก

แล้วแล้งสระศรีจัก..................จากตาย

๐ หงส์ว่ารักสุคุหาสุวัณณะมิสลาย

พรหมนั่งเหาะหงส์หาย...........พรากเอย

(By M. Rudrakul)

ถอดความ

นศ. A
ความรักที่รื่นเริงระยิบระยับประดับท้องฟ้าที่เหมือนจะหยาดย้อยเป็ยระย้า เพราะดวงดาวซึ่งเป็นกวีที่อยู่ใกล้ ชิดกันขีดเขียนประดับท้องฟ้าที่ตนรัก
สายลมเริ่มอ่อนหมดแรง (ระทดระทวย)เพราะอิดโรย (ระโหย) จากการเสาะหาและคิดถึงป่าอันเป็นที่รัก
ปลาคิดจะจีบดอกบัวอันบริสุทธิ์แวะเวียนอยู่ในสระน้ำอย่างมีความสุขที่สุด
หงส์คิดจะหาถิ่นสงบอยู่ ก็รักที่จะอยู่ในถ้ำทองที่มีปากถ้ำอันงามปราศจากความทุกข์

นศ. B
ดาวขอเพียงอยู่คู่ท้องฟ้าเท่านั้นยั่งยืนยาวนาน (จิร) แต่พออาทิตย์ขึ้นที่มุมของทิวภูเขาก็หายไปหมด
ลมอ้างว่ารักเดียวใจเดียวกับป่าเท่านั้น น่าสงสัย (เฉลียว) เพราะครู่เดียวก็ลืมคำจำไม่ได้ (เพราะลมไม่ได้พัดให้ต้นไม้ไหวตลอด ไปมาไวเหมือนคนเจ้าชู้)
ปลาบอกบัวว่าจะมั่นอมตะรักตลอด แต่พอน้ำแห้งทั้งสองก็ตายจากกัน
หงส์ว่ารักถ้ำทองไม่เสื่อมคายแต่พอพระพรหมเรียกก็ต้องจากถ้ำไปเป็นพาหนะให้พรหมขี่เเหาะหนีหายไป

แนวคิดการแต่ง

เพราะมีรักก็มีพราก ไม่จากเป็น ต้องทนทุกข์เพราะโหยหากันด้วยความรักที่โชคชะตาแกล้งให้อยู่ด้วยกันไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องจากตาย ต้องทนเหงาอยู่คนเดียวเมื่อคนที่เรารักเดียวใจเดียวตายจากอยู่ดี
(นอกจากพระนิพพานในโลกนี้ไม่มีอะไรยั่งยืนตลอดไป ทุกสิ่งเป็นสิ่งสมมุติ เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป)

ศัพท์

นศ.A
ดาวกวี = ดาวเป็นนักประพันธ์
วิจิตรลิขิต = เขียนสวยงาม
ปทุมกุสุม = บัว + กุสุม (ดอกไม้) ดอกบัว
ไสว = สว่าง, ชูสะพรั่ง (ในที่นี้หมายถึงดอกบัวที่ชูพ้นน้ำ)
รมัย = รมย์ แปลว่า งามน่ายินดี
สุมาลย์ = กุสุมาลย์ แปลว่า ดอกไม้
คุหา = คูหา แปลว่า ถ้ำ
สุวรรณ = ทอง
สุมุข = หน้างาม, ปากงาม (ในที่นี้หมายถึง ปากทางเข้าถ้ำทองที่งาม)
เสาะ = เสาะหา
หงสะ = หงส๋ นกน้ำชนิดหนึ่งตำนานว่าเป็นพาหนะของพระพรหม

นศ. B

นะภะ = นภา แปลว่าท้องฟ้า
จิรสิริ์ = จิร (ยาวนาน)+สิริ(มงคล, ศรี) มีมงคลยาวนาน
ระดิเดียว = ฤดีเดียว แปลว่า รักเดียวใจเดียว
รวี = รวิ แปลว่า พระอาทิตย์
อะมะระรัก = อมรรัก แปลว่า ความรักที่ไม่ตาย, อมตะรัก
สุวัณณะ = สุวรรณ แปลว่า ทอง
.......

หมายเหตุ:

บุคคลวัต หรือบุคลาธิษฐาน (Personification) คือการกำหนดให้สิ่งที่ไม่ใช่คนมีพฤติกรรมเหมือนมนุษย์ เช่น ฟ้าร้องไห้, ต้นไม้เริงระบำ , เมฆฝากความรักให้ภูเขา เป็น

สมมติภาวะ (Apostrophe) คล้ายกับบุคคลวัต แต่สิ่งที่ไม่ใช่คนนั้นมีบทบาท หรือสนทนาพูดโต้ตอบกันเอง หรือกับผู้อ่าน ผู้แต่งได้ ดังเช่น ตัวละครต่างที่เป็นสัตว์ ต้นไม้ สิ่งของ ที่พูดได้ในนิทาน

...........

การอ่านฉันท์

๑) อีทิสังฉันท์


๒) สัททูลวิกกีฬิตฉันท์



สามัคคีเภทคำฉันท์ from kanghanlom

สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ถอดความ

สวัสดีค่ะ  น้องมน

   คำที่ถามมา  ได้แก่  วิจิตราภรณ์ ภูษณาภรณ์ วัจนาภรณ์ ทวีติยาภรณ์  ล้วนเป็นคำที่สร้างขึ้นด้วยวิธีการสมาสที่มีการกลมกลืนเสียง(สนธิ) ทั้งสิ้น  ความหมายมีดังนี้ค่ะ

1.  วิจิตราภรณ์ [ วิจิตร+อาภรณ์]  ความหมาย เครื่องประดับอันงดงาม

2.  ภูษณาภรณ์ [ภูษณ+อาภรณ์]  ความหมาย เครื่องแต่งกาย หรือ เสื้อผ้า

3. วัจนาภรณ์ [วัจน+อาภรณ์]  ความหมาย  ถ้อยคำอันเรียงร้อยอย่างงดงาม

4. ทวีติยาภรณ์[ทวิตีย+อาภรณ์]  ความหมาย  เครื่องประดับลำดับชั้นที่ 2

     “สัททูลวิกกีฬิตฉันท์” หรือ“สัททุลลวิกกีฬิตฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “สัททูลวิกกีฬิตคาถา” เป็นอติธิติฉันท์ ฯ  “สัททูลวิกกีฬิตะ” แปลว่า “คาถาที่ออกเสียงเหมือนการกระโดดของเสือดาว” เป็นคาถา ๔ บาท ๆ ละ ๑๙ คำ มีสูตรว่า “อกฺกสฺเสหิ ยติ มฺสชา สตตคา, สทฺทูลวิกฺกีฬิตํ” แปลว่า “คาถาที่มี ม คณะ ส คณะ ช คณะ ส  คณะ ต คณะ ต คณะ และครุลอย  มีจังหวะหยุด ๑๒ และ ๗ พยางค์  ชื่อว่า“สัททูลวิกกีฬิตคาถา”

        ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาเพียง ๑ บาท แล้วปรับปรุงให้เป็น ๓ วรรค รวม ๑๙ คำ เพราะรวมทั้งบทมี ๑๙ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๙” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้

สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ถอดความ

สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ถอดความ

Hits: 859