มาตรา 25 พ ร บ ป่าสงวนแห่งชาติ

6 ต.ค. 63

Show

พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

6 ต.ค. 63

NATIONAL RESERVED FORESTS ACT, B.E. 2514 (1971)

6 ต.ค. 63

NATIONAL RESERVED FORESTS ACT (NO. 4), B.E. 2559 (2016)

7 ต.ค. 63

คำอธิบายโดยสรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

6 ต.ค. 63

กฎกระทรวง ฉบับที่ 1221 (พ.ศ. 2531) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507

7 ต.ค. 63

ความมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ และขอบเขตการมีผลบังคับใช้พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507

19 ก.ค. 65

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2549

19 ก.ค. 65

ประกาศกรมป่าไม้ เรื่อง กำหนดชนิดของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อใช้สอยหรือบริโภคในครัวเรือนของตน ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565

พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507

(กำหนดให้ป่าชายเลนฯ เป็นป่าสงวน)

ฉบับเต็ม คลิกที่นี่

            พระราชบัญญัติฉบับนี้มีบทบัญญัติที่ใช้บังคับเกี่ยวกับกิจกรรมการใช้ทะเล คือ

            มาตรา 6 บรรดาป่าที่เป็นป่าสงวนอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองและสงวนป่าก่อน วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้

             เมื่อ รัฐมนตรีเห็นสมควรกำหนดป่าอื่นใดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ ของป่าหรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น ให้กระทำได้โดยออกกฎกระทรวงซึ่งต้องมีแผนที่แสดงแนวเขตป่าที่กำหนดเป็นป่า สงวนแห่งชาตินั้นแนบท้ายกฎกระทรวงด้วย

            มาตรา 14 ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหาของป่า หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เว้นแต่

             (1) ทำไม้หรือเก็บหาของป่าตามมาตรา 15 เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยตามมาตรา 16 มาตรา 16 ทวิ หรือมาตรา 16 ตรี กระทำการตามมาตรา 17 ใช้ประโยชน์ตามมาตรา 18 หรือกระทำการตามมาตรา 19 หรือมาตรา 20

             (2) ทำไม้หวงห้ามหรือเก็บหาของป่าหวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้

             มาตรา 25 เมื่อได้กำหนดป่าใดเป็นป่าสงวนแห่งชาติและรัฐมนตรีได้แต่งตั้งพนักงานเจ้า หน้าที่ ผู้ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาตินั้นแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้

             (1) สั่งให้ผู้หนึ่งผู้ใดออกจากป่าสงวนแห่งชาติ หรือให้งดเว้นการกระทำใดๆ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ในกรณีที่มีข้อเท็จจริงปรากฏหรือเหตุอันควรสงสัยว่า มีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้

             (2) สั่งเป็นหนังสือให้ผู้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัตินี้รื้อถอน แก้ไขหรือทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตราย หรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมสภาพในเขตป่าสงวนแห่งชาติภายในเวลาที่กำหนดให้

             (3) ยึด ทำลาย รื้อถอน แก้ไขหรือทำประการอื่นเมื่อผู้กระทำผิดไม่ปฏิบัติตาม (2) ไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิดหรือรู้ตัวผู้กระทำผิดแต่หาตัวไม่พบ

             ถ้า พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าว และได้เสียค่าใช้จ่ายเพื่อการนั้น ให้ผู้กระทำผิดชดใช้หรือออกค่าใช้จ่ายนั้นทั้งหมด หรือให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำทรัพย์สินที่ยึดไว้ได้ออกขายทอดตลาดหรือขายโดย วิธีอื่นตามที่เห็นสมควร เพื่อชดใช้ค่าใช้จ่ายนั้น และให้นำความในมาตรา 1327 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแก่เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สิน นั้นโดยอนุโลม

              (4) ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เห็นสมควร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายแก่ป่าสงวนแห่งชาติในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน

  1. หน้าแรก
  2. ห้องสมุด อิเล็กทรอนิกส์ ทช.
  3. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติ ตามมาตรา25 แห่ง พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507

มาตรา 25 พ ร บ ป่าสงวนแห่งชาติ

เดือน/ปีที่พิมพ์

สิงหาคม 2558

บทนำ

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติ ตามมาตรา25 แห่ง พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 เพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและผลอาสินที่บุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน

ผู้เขียน/บรรณาธิการ

สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน

หน่วยงาน

กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน

หมวดหมู่หนังสือ

สื่อประชาสัมพันธ์ (โปสเตอร์)