การ กำหนด เป้าหมาย ที่ ดี

SMART goal คือ framework หรือกรอบอ้างอิงที่ใช้เพื่อตั้งเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยในการตั้งเป้าหมายด้วย SMART goal ไม่ใช่การตั้งเป้าหมายอย่างลอยๆ แต่จะต้องมีองค์ประกอบเหล่านี้ด้วย


S - Specific หมายถึง เป็นสิ่งที่ชี้เฉพาะ และมีขอบเขตที่แน่ชัด

M - Measurable หมายถึง สามารถวัดได้ มีหลักฐาน หรือการอ้างอิงได้

A - Achievable หมายถึง เป็นไปได้ สมเหตุสมผล ภายใต้ระยะเวลาและทรัพยากร

R - Relevant หมายถึง สอดคล้องกับเป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่ต้องการในระยะยาว

T - Time-based หมายถึง มีระยะเวลาที่จำกัด


การ กำหนด เป้าหมาย ที่ ดี

SMART goal เครื่องมือตั้งเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ


แต่อาจมีบางที่ซึ่งใช้ definition ของ SMART goal ที่แตกต่างออกไป โดยมีความเป็นไปได้อื่นๆ เช่น


S - simple, sensible, significant

M - meaningful, motivating

A - agreed, attainable

R - reasonable, realistic and resourced, results-based

T - time-limited, time/cost limited, timely, time-sensitive



ซึ่งถัดไปเราจะลองเลือกใช้ SMART goal ที่เป็นประโยชน์และได้รับความนิมยมสำหรับประกอบตัวอย่างการตั้งเป้าหมายด้วยเครื่องมือ SMART goal จาก


S - Specific

M - Measurable

A - Achievable

R - Relevant

T - Time-based


ที่เราได้กล่าวกันไปในส่วนแรกกัน แต่ในการตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับ SMART goal นั้นสามารถทำอย่างไรได้บ้าง


วิธีการใช้งานเทคนิค SMART goal เพื่อตั้งเป้าหมายหรือ Milestone ให้มีคุณภาพ

แนวทางการตั้งเป้าหมายตามเทคนิค SMART goal เบื้องต้นสามารถดูได้ดังนี้


S - Specific จาก SMART goal

การ กำหนด เป้าหมาย ที่ ดี

S - Specific จาก SMART goal


เป้าหมายที่มีความชี้เฉพาะ ชัดเจนมีความสำคัญ ในการทำให้เป้าหมายมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ในการค้นหาเป้าหมายที่มีความจำเพาะมากขึ้น เราสามารถใช้หลัก W Questions ได้ ซึ่งสามารถถามเพิ่มได้ดังนี้

  1. ใครเกี่ยวข้องกับเป้าหมายนี้?

  2. อะไรคือส่งที่ต้องทำให้สำเร็จ?

  3. เป้าหมายนี้สามารถทำเสร็จได้ที่ไหนบ้าง?

  4. ช่วงระยะเวลาไหนที่จะสำเร็จเป้าหมายนี้ได้บ้าง?

  5. ทำไมถึงต้องการทำเป้าหมายนี้ให้สำเร็จ?


การ กำหนด เป้าหมาย ที่ ดี


ตัวอย่าง สถานการณ์จำลองว่า นายเอมีน้ำหนัก 80 กิโลกรัมหลังจากที่เขาย้ายที่ทำงานได้เพียง ไม่กี่เดือน เขาต้องการมีหุ่นที่ดีขึ้น และสุขภาพที่ดีขึ้นเลยอยากตั้งเป้าหมายเพื่อลดน้ำหนักตัวเอง จากการประยุกต์เทคนิคการตั้งเป้าหมายแบบ SMART goal ทำให้เขาตั้งเป้าหมายที่ Specific มากขึ้นโดยคิดว่า



1. ใครเกี่ยวข้องกับเป้าหมายนี้?

ตัวเองเกี่ยวข้องกับเป้าหมายนี้ นอกจากนั้นยังมีแฟนซึ่งอยากให้เราหุ่นดีขึ้น กับเพื่อนๆ

2. อะไรคือส่งที่ต้องทำให้สำเร็จ?

ลดน้ำหนักและสร้างมวลกล้ามเนื้อ

3. เป้าหมายนี้สามารถทำเสร็จได้ที่ไหนบ้าง?

บ้าน สวนสาธารณะ และยิม

4. ช่วงระยะเวลาไหนที่จะสำเร็จเป้าหมายนี้ได้บ้าง?

ภายใน 1 ปี ก็สามารถเห็นผลได้

5. ทำไมถึงต้องการทำเป้าหมายนี้ให้สำเร็จ?

เพราะแฟนอยากให้หุ่นดีขึ้น นอกจากนั้นยังกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพอีกด้วย


M - Measurable จาก SMART goal

การ กำหนด เป้าหมาย ที่ ดี

M - Measurable จาก SMART goal


เป้าหมายที่มีคุณภาพต้องสามารถวัดได้อย่างน้อยไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การวัดนั้นอาจไม่จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แต่หากเป็นสิ่งที่สามารถวัดได้อย่างเฉพาะเจาะจงด้วยเครื่องมือต่างๆ ก็ยิ่งดีเพราะสามารถจับต้องได้มากขึ้น เราสามารถใช้คำถามต่อไปนี้เพื่อค้นหาได้

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าเป้าหมายสำเร็จแล้ว?

  2. อะไรคือตัวชี้วัดความคืบหน้า?

  3. รูปร่าง ขาด หรือปริมาณของเป้าหมายที่สำเร็จสามารถวัดได้จากอะไรบ้าง?


การ กำหนด เป้าหมาย ที่ ดี

ตัวอย่าง จากการประยุกต์เทคนิคการตั้งเป้าหมายแบบ SMART goal ทำให้เขาตั้งเป้าหมายที่ Measurable ได้โดยคิดว่า


1. จะรู้ได้อย่างไรว่าเป้าหมายสำเร็จแล้ว?

  • ลดปริมาณน้ำหนักของไขมันลงให้เหลือเพียง 6-8% ของน้ำหนักตัว

  • น้ำหนักตัวอยู่ที่ 65 กิโลกรัม

  • น้ำตาล ไขมันเลว ในเลือดอยู่ระดับที่ปกติ

2. อะไรคือตัวชี้วัดความคืบหน้า?

  • เปอร์เซนต์น้ำหนักของไขมันต่อน้ำหนักตัวที่วัดด้วยเครื่องชั่ง

  • น้ำหนักตัวที่ลดลง

3. รูปร่าง ขาด หรือปริมาณของเป้าหมายที่สำเร็จสามารถวัดได้จากอะไรบ้าง?

  • ค่าปริมาณไขมันในร่างกาย

  • ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด

  • กล้ามหน้าท้อง six pack ที่มีอ้างอิงจากในรูปที่ต้องการ

A - Achievable จาก SMART goal

การ กำหนด เป้าหมาย ที่ ดี

A - Achievable จาก SMART goal


SMART goal ต้องการเป้าหมายที่สามารถเป็นจริงได้ ดังนั้นคุณอาจค่อยๆ ลองนึกดูว่าคุณสามารถทำอะไรบางอย่างเพื่อได้รับมันมาได้แน่นอนหรือไม้่ การดูว่า เป้าหมายนี้สามารถบรรลุได้หรือไม่นั้นสามารถดูได้ด้วยว่ามันเป็นสิ่งที่ challenge เราไหม? หากเรารู้สึกว่ามันง่ายเกินไปก็ควรจะเปลี่ยนเล็กน้อย คุณอาจถามได้ว่า

  1. คุณมีทรัพยากรณ์ หรือความสามารถเพียงพอที่จะไปถึงเป้าหมายได้หรือไม่ ถ้าหากไม่มีจะสามารถเติมเต็มมันได้อย่างไร?

  2. คุณเคยทำมันสำเร็จมาก่อนหรือไม่?

  3. เป้าหมายที่มีสร้างความท้าทายให้มากเกิน น้อยเกินไป หรือเหมาะสมกับความเป็นจริงหรือไม่?


การ กำหนด เป้าหมาย ที่ ดี


ตัวอย่าง จากการประยุกต์เทคนิคการตั้งเป้าหมายแบบ SMART goal ทำให้เขาตั้งเป้าหมายที่ Achievable ได้โดยคิดว่า


1. คุณมีทรัพยากรณ์ หรือความสามารถเพียงพอที่จะไปถึงเป้าหมายได้หรือไม่ ถ้าหากไม่มีจะสามารถเติมเต็มมันได้อย่างไร?

ขาดทั้งความรู้และอุปกรณ์ ดังนั้นจึงตั้งใจจะเข้าฟิตเนสเพื่อให้มีเทรนเนอร์ดูแลเรื่องการออกกำลังกาย ส่วนการรับประทานอาหารเพื่อดูแลสุขภาพนั้นจะศึกษาเอาเอง

2.คุณเคยทำมันสำเร็จมาก่อนหรือไม่?

ไม่เคย

3.เป้าหมายที่มีสร้างความท้าทายให้มากเกิน น้อยเกินไป หรือเหมาะสมกับความเป็นจริงหรือไม่?

สามารถเป็นจริงได้ แต่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างท้าทาย เพราะปกติต้องทำงานที่นั่งหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ และไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย


R - Relevant จาก SMART goal

การ กำหนด เป้าหมาย ที่ ดี

R - Relevant จาก SMART goal


เพราะการตั้งเป้าหมายแบบฉาบฉวยอาจดีเพียงแค่ในระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้นการตั้งเป้าหมายที่มีความสัมพันธ์กับ Value หรือเป้าหมายในระยะยาวจะช่วยทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้มีคุณภาพมากกว่า และมีแรงบันดาลใจมากกว่าเป้าหมายแบบสั้นๆ ที่ไม่มีความหมาย คุณอาจถามว่า

  1. เป้าหมายที่ต้องการดีต่อตนเอง ต่อสังคม และต่อโลกในระยะยาวหรือไม่?

  2. เป้าหมายนั้นตรงกับคุณค่าบางอย่างที่คุณมีหรือองค์กรของคุณมีหรือไม่?

  3. เป้าหมายนั้นมีความสัมพันธ์อย่างไรกับเป้าหมายที่เกิดขึ้นในระยะยาวของคุณ?

หากเป็นเป้าหมายส่วนตัวก็อาจใช้เป็นคุณค่าส่วนตัว แต่ในกรณีที่เป็นเป้าหมายในองค์กร บริษัท หน่วยงานคุณอาจใช้คำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านั้นแทน


การ กำหนด เป้าหมาย ที่ ดี


ตัวอย่าง จากการประยุกต์เทคนิคการตั้งเป้าหมายแบบ SMART goal ทำให้เขาตั้งเป้าหมายที่ Relevant ได้โดยคิดว่า


1. เป้าหมายที่ต้องการดีต่อตนเอง ต่อสังคม และต่อโลกในระยะยาวหรือไม่?

ดีและไม่ขัดต่ออะไรที่ไม่ควรทำ

2. เป้าหมายนั้นตรงกับคุณค่าบางอย่างที่คุณมีหรือองค์กรของคุณมีหรือไม่?

ในกรณีนี้เป็นคุณค่าของตัวเอง ก็ค่อนข้างตรงเพราะต้องการเป็นคนที่มีวินัยในตัวเอง

3. เป้าหมายนั้นมีความสัมพันธ์อย่างไรกับเป้าหมายที่เกิดขึ้นในระยะยาวของคุณ?

อยากจะมีสุขภาพที่ดีและมีความสุข ดังนั้นเป้าหมายนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในระยะยาว


T - Time-based จาก SMART goal

การ กำหนด เป้าหมาย ที่ ดี

T - Time-based จาก SMART goal


การมีเวลาที่จำกัด หรือระยะเวลาประเมินผลเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะชี้วัดว่าเป้าหมายนี้สำเร็จหรือไม่ ดังนั้นการตั้งเวลาที่เหมาะสมจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการตั้งเป้าหมาย โดยที่อาจตอบคำถามเหล่านี้ได้

  1. เป้าหมายนี้มีระยะเวลาที่จำกัดหรือไม่?

  2. เมื่อไหรที่ต้องการให้เป้าหมายนี้สำเร็จ?


การ กำหนด เป้าหมาย ที่ ดี


ตัวอย่าง จากการประยุกต์เทคนิคการตั้งเป้าหมายแบบ SMART goal ทำให้เขาตั้งเป้าหมายที่ Relevant ได้โดยคิดว่า


1. เป้าหมายนี้มีระยะเวลาที่จำกัดหรือไม่?

จริงๆ ไม่ค่อยจำกัดเพราะว่าจะทำเมื่อไหรก็ได้ แต่จะตั้งระยะเวลาไว้เพื่อทำให้สามารถวัดและเร่งให้ตัวเองทำตามเป้าหมายได้

2. เมื่อไหรที่ต้องการให้เป้าหมายนี้สำเร็จ?

ภายใน 1 ปี โดยจะชั่งน้ำหนักเพื่อวัดน้ำหนักไขมันในร่างกาย วัดปริมาณน้ำตาล และวัดไขมันในเลือด ทุกๆ 4 เดือน เพื่อวิเคราะห์อย่างละเอียดและปรับปรุงแผน


การ กำหนด เป้าหมาย ที่ ดี


เมื่อตอบคำถามเหล่านี้ได้ครบ จากเป้าหมายธรรมดาที่มีความล่องลอย ไม่ชัดเจนก็จะมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และเอื้ออำนวยต่อการทำตามเป้าหมายมากขึ้น


SMART goal เป็นเครื่องมือที่พบได้มากในกระบวนการ facilitation ซึ่งการทำตามเป้าหมายแบบ SMART goal นั้นจะช่วยให้เราเห็นความชัดเจนของเป้าหมายได้มากขึ้น ไม่เสียเวลาไปกับการทำตามเป้าหมาย แต่ไม่เห็นความคืบหน้าของเป้าหมายทำให้ท้อแท้และหมดแรงในการทำสิ่งต่างๆ ต่อไป



แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม

  • https://www.mindtools.com/pages/article/smart-goals.htm

  • https://corporatefinanceinstitute.com/resources/knowledge/other/smart-goal/

  • https://www.indeed.com/career-advice/career-development/smart-goals

 

การ กำหนด เป้าหมาย ที่ ดี

Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้