ประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิประโยชน์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

ประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิประโยชน์

หลังจากที่ ครม. เคาะมาตราการเยียวยา ประกันสังคมมาตรา 40 ในพื้นที่ "สีแดงเข้ม" รวม 13 จังหวัด ใน 9 กลุ่มอาชีพ ทั้งนี้ ได้ครอบคลุมถึง "ผู้ประกอบอาชีพอิสระ" ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศล็อคดาวน์ เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาด "โควิด-19"

สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ จะต้องสมัครเป็น ผู้ประกันตนมาตรา 40 ในกองทุนประกันสังคม ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 จึงจะไดัรับสิทธิเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท 

การจ่ายเงินสมทบมาตรา 40 แบบใหม่ มี 3 ทางเลือก ดังนี้

  • ทางเลือกที่ 1: จ่าย 42 บาทต่อเดือน จากเดิม 70 บาท
  • ทางเลือกที่ 2: จ่าย 60 บาทต่อเดือน จากเดิม 100 บาท
  • ทางเลือกที่ 3: จ่าย 180 บาทต่อเดือน จากเดิม 300 บาท

ทั้งนี้ สำนักงานประสังคม ได้ลดเงินสมทบ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบเดิม เป็นระยะเวลา 6 เดือนตั้งวันที่ 1 สิงหาคม 2564 – 31 มกราคม 2565
 

ผู้ประกันมาตรา 40 ได้สิทธิคุ้มครอง ดังนี้

  • ทางเลือก 1 : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต
  • ทางเลือก 2 : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ
  • ทางเลือก 3 : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วัน/ปี

- การรักษาพยาบาลใช้สิทธิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือบัตรทอง 30 บาท นั่นหมายความว่า ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะใช้สิทธิบัตรทองได้เหมือนเดิม เพียงแต่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น

ประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิประโยชน์

เงื่อนไขการรับสิทธิ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย

  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน ก่อนประสบอันตราย/เจ็บป่วย
  • รักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับสิทธิวันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วันต่อปี

กรณีทุพพลภาพ 

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดได้ตั้งแต่ 500–1,000 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี
  • เสียชีวิตก่อนครบ 15 ปี รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท
     

เงื่อนไขในการรับสิทธิ กรณีทุพพลภาพ

  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 6 เดือน ภายในระยะเวลา 10 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 500 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 12 เดือน ภายในระยะเวลา 20 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 650 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 24 เดือน ภายในระยะเวลา 40 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 800 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 36 เดือน ภายในระยะเวลา 60 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 1,000 บาทต่อเดือน
     

กรณีชราภาพ (รับเงินบำเหน็จ) 

  • ได้เงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด

เงื่อนไขการรับสิทธิ กรณีชราภาพ

  • เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน
     

กรณีชราภาพ (รับเงินบำนาญ

  • ได้รับบำนาญรายเดือนขึ้นต่ำ 600 บาท/เดือน ตลอดจนเสียชีวิต
  • กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) จะได้รับเงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด
  • ได้รับบำนาญแล้วเสียชีวิตภายใน 60 เดือน ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน
  • กรณีทุพพลภาพก่อนได้รับบำนาญ จะมีสิทธิขอรับบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืน

เงื่อนไขการรับสิทธิ

  • ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบครบหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) หรือจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี)
  • ผู้ประกันตนจะต้องมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน
  • ผู้ประกันตนสามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ไม่เกินเดือน พฤษภาคม 2555

เงินสงเคราะห์บุตร 

ในกรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40  ทางเลือกที่ 3 จะมีสิทธิ์ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน ตั้งแต่บุตรแรกเกิดจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์ คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน ทั้งนี้ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบตามที่ประกันสังคมกำหนดด้วย

วิธีการสมัครประกันสังคมมาตรา 40 

  • ช่องทางแรกสมัครผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม

ไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานประกันสังคม วิธีสมัคร "ประกันสังคม" มาตรา 40 ผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม คลิก www.sso.go.th

  • ช่องทางการสมัครอื่นๆ 

นอกจากจะสมัครผ่านเว็บไซต์ประกันสังคมได้แล้ว สำหรับคนที่ไม่สะดวกสมัครผ่านเว็บไซต์ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้ในช่องทางอื่นๆ ดังต่อไปนี้ 

1. สมัครด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่
2. สายด่วนประกันสังคม หมายเลข 1506
3. เซเว่น-อีเลฟเว่น ทุกสาขา
4. ธนาคาร ธกส. ทุกสาขา
5. Big c ซุปเปอร์เซ็นเตอร์
6. เครือข่ายประกันสังคมทั่วประเทศ

ประกันสังคม จะมีรูปแบบการประกันตนทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 มาตรา คือ

มาตรา 33 - พนักงานบริษัทเอกชน (มีนายจ้าง)

มาตรา 39 - อดีต ม.33 ที่สมัคร ม.39 ภายใน 6 เดือน (ทำงานอิสระไม่มีนายจ้าง)

มาตรา 40 - อาชีพรับจ้างอิสระ หรือที่เรียกว่า ฟรีแลนซ์ หรือ ผู้ประกอบการกิจการส่วนตัว

ในแต่ละมาตราจะมีสิทธิ์ประโยชน์ที่แตกต่างกันไป เรียนรู้สิทธิ์ของ ม.33 และ ม.39 ได้ที่

https://www.blockdit.com/posts/6038cdba2eb2f70c0c86246b

ชมคลิป https://youtube.com/playlist?list=PLfjMHZJD-aEqlO5RbUT9FkxB233SVR-Qp

การเป็นสมาชิกประกันสังคม คือ เราต้องส่งเงินสมทบเข้าประกันสังคมทุกเดือน สำนักงานประกันสังคมได้เปิดเผยข้อมูล เมื่อมิถุนายน 2563 ไว้ว่า สมาชิกประกันสังคม มีทั้งหมด 16.3 ล้านคน โดย ม.33 ซึ่งเป็นภาคบังคับจากการทำงานแบบมีนายจ้าง มีจำนวนสมาชิด 11.3 ล้านคน ส่วน ม.39 ที่สมัครต่อเนื่องหลังจากลาออกจากงาน ม.33 มีจำนวน 1.7 ล้านคน ส่วน ม.40 เป็นการสมัครแบบภาคสมัครใจ มีจำนวน 3.4 ล้านคน ซึ่งถือว่ายังจำนวนไม่มากนักถ้าเทียบกับจำนวนประชากร 70 ล้านคนทั่วประเทศ เพราะอาจจะยังไม่เห็นความสำคัญและเข้าใจในสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

แต่ในเวลานี้ มาตรา 40 เริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้น เมื่อรัฐใช้เป็นฐานข้อมูลในการเลือกจ่ายเงินเยียวยา จากข้อมูลผู้ประกันตนของประกันสังคม โดยกระตุ้นให้คนทำงานอาชีพอิสระ สมัครเข้าระบบเพื่อขึ้นทะเบียน

-----

มาทำความรู้จักสิทธิประโยชน์ของ มาตรา 40 กันค่ะ แล้วพิจารณาดูว่าควรสมัครหรือไม่

ประกันสังคมมาตรา 40 แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ตามยอดเงินสมทบ

ประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิประโยชน์

ประกันสังคมมาตรา 40 รูปแบบที่ 1 จ่าย 70 บาท

ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 70 บาท รัฐจ่ายสมทบ 30 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 100 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณีคือ

เงินทดแทนเมื่อเจ็บป่วย วันละ 300 บาท

เงินทดแทนเมื่อทุพพลภาพ 500-1,000 บาทต่อเดือน

เงินค่าทำศพ 25,000 บาท และเงินสมทบอีก 8,000 (กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน)

-----

ประกันสังคมมาตรา 40 รูปแบบที่ 2 จ่าย 100 บาท

ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 100 บาท รัฐจ่ายสมทบ 50 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 150 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณีคือ

เงินทดแทนเมื่อเจ็บป่วย วันละ 300 บาท

เงินทดแทนเมื่อทุพพลภาพ 500-1,000 บาทต่อเดือน

เงินค่าทำศพ 25,000 บาท และเงินสมทบอีก 8,000 (กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน)

เงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน

เรียนรู้เพิ่มเติมเงื่อนไขการรับบำเหน็จ บำนาญชราภาพ มาตรา 40 ได้ที่ https://bit.ly/3iZZX6V

-----

ประกันสังคมมาตรา 40 รูปแบบที่ 3 จ่าย 300 บาท

รูปแบบที่ 3 คือรูปแบบที่เพิ่มเข้ามาใหม่เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมให้ใกล้เคียงกับแรงงานในระบบ โดยเราต้องจ่ายค่าประกันตน 300 บาท รัฐจ่ายสมทบ 150 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 450 บาท แต่จะได้รับความคุ้มครองมากถึง 5 กรณีเลยทีเดียว คือ

เงินทดแทนเมื่อเจ็บป่วย ถ้านอนโรงพยาบาลจะได้รับวันละ 300 บาท ถ้าแพทย์สั่งให้หยุดงาน 3 วันขึ้นไป แต่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล จะได้รับวันละ 200 บาท

เงินทดแทนเมื่อทุพพลภาพ 500-1,000 บาทต่อเดือน (ตลอดชีวิต)

เงินค่าทำศพ 50,000 บาท

เงินสงเคราะห์บุตรคนละ 200 บาทต่อเดือน ตั้งแต่แรกเกิด ถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ (ไม่เกิน 2 คน)

เงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน

-----

เงื่อนไข คุณสมบัติผู้สมัครรับสิทธิประกันสังคมมาตรา 40

• สัญชาติไทย
• อายุ 15 – 65 ปีบริบูรณ์
• เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
• ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน ที่มีประกันตน ม.33 อยู่แล้ว
• ไม่เป็นผู้ประกันตน ม.39
• ไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
• เป็นผู้ถือบัตรประจำตัวซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 ยกเว้น 00

ประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิประโยชน์

-----

วิธีการสมัครรับสิทธิประกันสังคมมาตรา 40

• สมัครด้วยตัวเองที่สำนักงานประกันสังคม
• สมัครผ่านเว็บไซต์ ประกันสังคม www.sso.go.th
• สมัครที่ 7-11, Big C , ธนาคาร ธกส ทุกสาขา
• สมัครทางสายด่วนประกันสังคม 1506
• เลือกลงทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40

-----

สิ่งที่ต้องทำ คือ กรอกข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลอื่นๆ

เลือกรูปแบบเงินสมทบที่จะต้องจ่ายทุกเดือน
มี 3 รูปแบบ คือ 70 บาท 100 บาท และ 300 บาท

ระบบจะยืนยันการสมัครผ่าน SMS ทันที

เมื่อได้รับ SMS ให้ไปชำระเงินค่าลงทะเบียนที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส โลตัส บิ๊กซี ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรี ตู้บุญเติม หรือ Shopee pay

-----

หลักฐานประกอบการสมัคร

▪️สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่

▪️แบบการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส.1-40) ดาวน์โหลด

-----

การจ่ายเงินสมทบ ผู้ประกันตนมาตรา 40

การจ่ายเงินสมทบ เลือกได้ว่าจะชำระเป็นเงินสด ผ่านช่องทางต่างๆมากมาย หรือเลือกหักผ่านบัญชีธนาคาร ซึ่งจะต้องส่งเงินสมทบทุกเดือน

วิธีชำระง่ายที่สุดคือ ชำระที่ 7-11 โดยแจ้งเลขบัตรประชาชน ข้อมูลของเราจะขึ้นมา แล้วก็จ่ายได้เลย

-----

***มาตราการช่วยเหลือพิเศษตอนนี้ สำหรับเงินสมทบที่ต้องจ่าย ตามมติครม. ให้จ่ายเพียงร้อยละ 60 ของจำนวนเดิม เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ สิงหาคม 2564 – มกราคม 2565***

จากเดิมจ่าย 70 บาท เหลือ 42 บาท / เดือน

จากเดิมจ่าย 100 บาท เหลือ 60 บาท / เดือน

จากเดิมจ่าย 300 บาท เหลือ 180 บาท / เดือน

-----

• Q&A ยอดฮิต •

Q : เคยอยู่ ม.33 และปัจจุบันไม่ได้จ่ายเงินสมทบในมาตราไหน สามารถสมัคร ม.40 ได้หรือไม่ จะกระทบเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพที่รอรับตอนอายุ 55 ปี ไหม
A : สมัครได้ไม่กระทบ โดยการสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จชราภาพ สำหรับทางเลือกที่ 2 และ 3 จะแยกออกมาต่างหากอีกกอง คือ เริ่มสมทบใหม่

Q : การสมัคร ม.40 จะเสียสิทธิ์การใช้บัตรทองไหม
A : ยังใช้สิทธิ์บัตรทองได้เหมือนเดิม เพราะ ม.40 ไม่มีคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล สิทธิ์หลักๆ จะเป็นการชดเชยการสูญเสียรายได้ ค่าทำศพ และสมทบกองทุนชราภาพ

-----

•บทสรุป•

มาตรา 40 ถึงแม้จะไม่มีค่ารักษาพยาบาล ซึ่งสามารถไปใช้สิทธิ์บัตรทองได้เหมือนเดิม แต่มาตรา 40 จะให้สิทธิประโยชน์ในเรื่องของการชดเชยการสูญเสียรายได้หากเกิดการเจ็บป่วย และ ทุพพลภาพเป็นหลัก ซึ่งสำคัญมากสำหรับอาชีพอิสระ ที่ต้องหารายได้ทุกวัน หากวันไหนหยุดทำงาน ก็จะไม่มีรายได้ ไม่เหมือนกับคนที่มีนายจ้าง หากหยุดงานในช่วงสั้นๆจากการเจ็บป่วย ก็ยังมีรายได้จากเงินเดือนประจำอยู่

นอกจากนี้ มาตรา 40 ยังมีเงินชดเชยค่าทำศพ ไม่ให้คนข้างหลังต้องมารับภาระค่าใช้จ่ายนี้

และทางเลือกที่ 2 กับ 3 ยังเปิดโอกาสให้ออมในกองทุนบำเหน็จชราภาพ ซึ่งประกันสังคมจะนำเงินไปบริหารการลงทุนให้ แนวโน้มได้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากธนาคารปกติ และได้เก็บออมเงินแบบสม่ำเสมอ มีวินัย ต่อเนื่อง เป็นเงินก้อนเกษียณได้อีกด้วย

มาตรา 40 เป็นภาคสมัครใจที่รัฐให้การสนับสนุนผลประโยชน์ร่วมด้วย ในความเห็นของผู้เขียน จำนวนเงินสมทบที่จ่ายเข้าไป เทียบกับนำเงินจำนวนเท่ากันไปซื้อประกันในรูปแบบต่างๆ ถือว่า มาตรา 40 จ่ายเงินที่น้อยกว่าเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับกลับมาเท่าๆกัน ดังนั้น การสมัครมาตรา 40 เป็นสิทธิ์ประโยชน์ที่รัฐมอบให้ เราก็ควรรักษาสิทธิ์นั้น ถึงแม้ว่าการสมัครอาจจะไม่เข้าเกณฑ์ได้รับเงินเยียวยา ก็ได้สิทธิประโยชน์ตามสมควรของมาตรา 40 แล้ว

•ข้อมูลอ้างอิง•

https://www.thebangkokinsight.com/news/business/399707/

https://bit.ly/3iZZX6V

https://youtube.com/playlist?list=PLfjMHZJD-aEqlO5RbUT9FkxB233SVR-Qp

วางแผนเกษียณ

  • ประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิประโยชน์

    กลัวว่าเงินเกษียณจะไม่พอหรือเปล่า ?? ไม่มีใครอยากจะพบกับฝันร้ายในวัยเกษียณ เมื่อค้นพบว่าเงินที่เต...

  • ประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิประโยชน์

    การวางแผนเกษียณ คือ การวางแผนการใช้ชีวิตและการเตรียมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณ โดยรูปแบบการใช้ชีวิตที่...

  • ประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิประโยชน์

    รู้หรือไม่ว่า เรามีระยะเวลาทำงานหาเงินน้อยกว่าเวลาที่เราต้องใช้เงินมากถึง 2-3 เท่า เรามีช่วงเวลาหาเ...

  • ประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิประโยชน์

    ยิ่งคุณรู้จักจัดการค่าใช้จ่ายให้เหลือออมได้มากเท่าไหร่ บวกกับรู้จักวิธีลงทุนให้เงินงอกเงยในความเสี่ย...

ประกันสังคมมาตรา 40 มีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

ประกันสังคมมาตรา 40 รูปแบบที่ 1 จ่าย 70 บาท ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 70 บาท รัฐจ่ายสมทบ 30 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 100 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณีคือ เงินทดแทนเมื่อเจ็บป่วย วันละ 300 บาท เงินทดแทนเมื่อทุพพลภาพ 500-1,000 บาทต่อเดือน เงินค่าทำศพ 25,000 บาท และเงินสมทบอีก 8,000 (กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน)

ประกันสังคมมาตรา 40 คุ้มครองตอนไหน

ตั้งแต่ 60-65 ปี เข้าสู่ประกันสังคม มาตรา 40 ได้แล้ว ประกันสังคมจ่ายชดเชยผู้ประกันตนป่วยโควิด-19 ม.33 ม.39 และ ม.40 ทุกกรณี เงินทดแทนการขาดรายได้ วันละ 200 บาท กรณีมีความเห็นของแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว หรือกักตัวที่บ้าน รักษา Home Isolation หรือแยกกักตัวในชุมชน แบบ Community Isolation ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป

ประกันสังคมมาตรา 40 เป็นอย่างไร

ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ หรือ แรงงานนอกระบบ เช่น ฟรีแลนซ์ เกษตรกร ค้าขาย เป็นต้น ที่เลือกจ่ายเงินสมทบประกันสังคมได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน, ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน และ ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

ประกันสังคมมาตรา 40 ใช้ร่วมกับบัตรทองได้ไหม

สมัครประกันสังคม ม.40 ไม่เสียสิทธิบัตรทอง เพราะสมัครมาตรา 40 จะไม่กระทบกับสิทธิบัตรทอง (สปสช.) และสิทธิประโยชน์สวัสดิการแห่งรัฐอื่นๆ แถมยังมีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย, เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ, บำเหน็จชราภาพ, เงินสงเคราะห์บุตร หรือสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต ตามหลักเกณฑ์ ...