โรงเรียน ศรี อนุบาล นครศรีธรรมราช

1627/60, Sahathai Plaza Floor 2, Jamroenwitee Road, Tumbon Thawang Amphoe Mueang Nakhonsithammarat, 80000, ตำบล ท่าวัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช 80000 ประเทศไทย

โรงเรียน ศรี อนุบาล นครศรีธรรมราช

Tha Wang, Mueang Nakhon Si Thammarat, Nakhon Si Thammarat, ตำบล ท่าวัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช 80000 ประเทศไทย

โรงเรียนศรีอนุบาล ตั้งอยู่ที่ Tha Wang, Mueang Nakhon Si Thammarat, Nakhon Si Thammarat, ตำบล ท่าวัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช 80000 ประเทศไทย (~1.3 กม. จากส่วนกลาง นครศรีธรรมราช). คุณได้มาถึงหน้านี้เพราะมันน่าจะมองหา: หรือ ไม่มีหมวดหมู่, โรงเรียนศรีอนุบาล นครศรีธรรมราช, ประเทศไทย, โรงเรียนศรีอนุบาล, ที่อยู่, .

ตำบลท่าวัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000

รายละเอียด โรงเรียนศรีอนุบาล

พิกัดและแผนที่ โรงเรียนศรีอนุบาล(พิกัด: 8.435735555,100.0038822)

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง โรงเรียนศรีอนุบาล

สถานศึกษาใกล้เคียง โรงเรียนศรีอนุบาล

เมื่อพ.ศ. 2486 กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ณ นคร อุทิศ” ในสมัยนายแปลก  ศิลปกรรมพิเศษ เป็นศึกษาธิการจังหวัด  ขณะนั้นจังหวัดไม่มีอาคารใดเหมาะสมสำหรับที่จะจัดเป็นที่เล่าเรียนได้  นอกจากบ้านหมอแม็กดาเนียล  ซึ่งเป็นบ้านพักของมิชชันนารีขณะนั้นว่างเปล่าและอยู่ในความอารักขาของทางราชการโดยใช้สถานที่นี้จัดเป็นที่เล่าเรียนซึ่งมีครู 2 คน นักเรียน 8 คน และคนงาน 2 คน

พ.ศ. 2487 ทางราชการทหารได้ใช้บ้านหมอแมคดาเนียลหลังนั้นเป็นการชั่วคราวจำเป็นต้องย้ายมาเรียนที่โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช โดยอาศัยบ้านพักครู 2หลัง ซึ่งว่างอยู่ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2587

พ.ศ. 2488 ย้ายกลับไปเรียนที่บ้านหมอแมคดาเนียลอีกครั้ง

พ.ศ. 2489 ทางราชการมีความจำเป็นต้องคืนบ้านหมอแมคดาเนียลให้แก่มิชชันนารีจึงย้ายนักเรียนมาเรียนที่โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราชใช้ห้องเรียน 2 ห้อง แต่ด้วยเหตุการณ์เรียนการสอนมีความแตกต่างกัน และโรงเรียนทั้งสองมิอาจขยับขยายสถานที่ออกได้ จังหวัดเห็นความจำเป็นและเห็นสมควรที่โรงเรียนอนุบาลพึงมีอาคาร และบริเวณเป็นของตนเอง

พ.ศ.2492 จึงได้รายงานของบประมาณสำหรับปลูกสร้างโรงเรียนอนุบาลเป็นเงิน 40,000 บาท

 (สี่หมื่นบาทถ้วน) พร้อมแนบแบบแปลนแผนผัง 

พ.ศ. 2493 กระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติเงินงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารอนุบาล แต่งบประมาณไม่เพียงพอ พลเอกเจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) ได้บริจาคเงินสบทบทุน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) เพื่ออุทิศเป็นส่วนกุศลพร้อมทั้งเป็นอนุสรณ์แก่ ท่านกลาง ณ นคร ผู้เป็นอาที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ได้ทำการก่อสร้างจนเสร็จในที่ดินวัดร้าง (วัดประตูขาว) และได้ตั้งชื่อว่า โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช  “ณ นคร อุทิศ” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้บริจาค  เปิดสอนเฉพาะชั้นอนุบาลปีที่ 1 – 2 ในการปลูกสร้างอาคารหลังนี้ ได้ใช้จ่ายไปทั้งสิ้น 346,000 บาท

(สามแสนสี่หมื่นหกพันบาทถ้วน) เป็นเงินงบประมาณ 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) เงินสมทบ 146,000 บาท

(หนึ่งแสนสี่หมื่นหกพันบาทถ้วน)

          พ.ศ.2494 กระทรวงศึกษาธิการ  ได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) จังหวัดจึงได้ขออนุญาตจ่ายเงินสมทบที่เหลือ รวมเป็นค่าปลูกสร้างโรงอาหาร จำนวน 98,630 บาท (เก้าหมื่นแปดพันหกร้อยสามสิบบาทถ้วน)

          การปลูกสร้างอาคารเรียนแล้วเสร็จ  เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2495 คณะกรรมการได้ตรวจรับ และส่งมอบจังหวัด แต่ขณะนั้นอุปกรณ์การเรียน การสอน และการเลี้ยงอาหารที่ไม่เพียงพอ จังหวัดจึงได้พิจารณาเสนอของบประมาณ พร้อมรายละเอียดไปยังกระทรวงศึกษาธิการ

          พ.ศ. 2502 เปิดขยายชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ประถมศึกษาตอนต้น) สังกัดกองการศึกษาพิเศษกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

          พ.ศ.2514  กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติเงินงบประมาณ 740,000 บาท (เจ็ดแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) ทำการก่อสร้างอาคารเรียนสองชั้น 9 ห้องเรียน 1 หลัง บ้านพักครูครุภัณฑ์  บริษัทพาณิชย์การค้าไม้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง และได้บริจาคก่อสร้างเสาธงให้โรงเรียนด้วย

          พ.ศ.2514  โรงเรียนได้รับเงินงบประมาณ  300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) เป็นค่าก่อสร้างต่อเติมให้สมบูรณ์ ตามแบบแปลนอีก 4 ห้องเรียน

พ.ศ. 2521 กระทรวงศึกษาธิการ  อนุมัติให้โรงเรียนใช้เงินบำรุงการศึกษา 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) เป็นค่าก่อสร้างต่อเติมให้สมบูรณ์ ตามแบบแปลนอีก 4 ห้องเรียนเปิดขยายชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ประถมศึกษาตอนปลาย) สังกัดองค์การประถมศึกษากรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ.2522 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 1,200,000 บาท (หนึ่งล้านสองแสนบาทถ้วน) ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 504 จำนวน 7 ห้องเรียน 1 ห้องพักครู และได้อนุมัติให้ต่อเติมอีก 7 ห้องเรียน ในปีงบประมาณ 2525 ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2526

ตั้งแต่เปิดโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ ณ นคร อุทิศ” นางอรุณรัตน์ คีรินทรนนท์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการมาโดยตลอด  จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2526 ได้เกษียณอายุราชการ

นางนิศานาถ เศวตสุต  รักษาการณ์ในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนได้เดินทางมารับตำแหน่ง วันที่ 12 ธันวาคม 2526 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนตามคำสั่งที่ 175/2527 ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2526

พ.ศ.2528 โรงเรียนได้รับเงินงบประมาณเหลือจ่ายก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.2/2528  3 ชั้น 15 ห้องเรียนพร้อมครุภัณฑ์ ทดแทนอาคารเรือนไม้หลังที่ 1 ซึ่งก่อสร้างเมื่อพ.ศ.2494 ด้วยเหตุทรุดโทรมมาก ค่าก่อสร้างจำนวน 2,995,260 บาท (สองล้านเก้าแสนเก้าหมื่นห้าพันสองร้อยหกสิบบาทถ้วน) ทำการก่อสร้างโดยห้างหุ้นส่วนจำกัดเอบซ์การช่าง เริ่มเป็นอาคารเรียนตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2529

          ปีงบประมาณ 2530 คณะกรรมการการศึกษา ผู้ปกครองประชาชนได้ปรับปรุงอาคารอุตสาหกรรมศิลป์ เป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ห้องผู้อำนวยการ ปละธุรการ พร้อมติดตั้งเพดานให้ทั้งหลัง คิดเป็นเงิน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) และในปีงบประมาณเดียวกันโรงเรียนได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา รัชการที่ 9 (เอนกประสงค์) แบบ 206/2528  1 หลัง เป็นเงิน 1,350,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)

ปีการศึกษา 2533 คณะกรรมการการศึกษา ได้ร่วมกันพัฒนาโรงเรียน ติดตั้งพัดลมเพดานในอาคารเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 21 ตัว และปรับพื้นสนามหน้าอาคารเรียน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

ปีงบประมาณ 2534 ได้รับงบประมาณตามโครงการพัฒนาชุมชนและชนบท ตามข้อเสนอของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  จำนวน 235,000 บาท (สองแสนสามหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

นางสาวกระสินธ์ การุญ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนได้เดินทางมารับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2536 และได้รับตำแหน่งให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน  ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2536 ตามคำสั่งที่ 1081/2536 สั่ง ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2536

ปีการศึกษา 2537 คณะครู ผู้ปกครอง ได้ร่วมกันปรับปรุงสนามหน้าสำนักงาน โดยปูนซิเมนต์บล็อกพื้นที่ 840 ตารางเมตร เป็นเงิน 170,000 บาท (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นบาทถ้วน) และคณะกรรมการการศึกษาได้ทำการสร้างห้องส้วมนักเรียนชั้นอนุบาลจำนวน 6 ที่นั่ง 1 หลัง เป็นเงิน 150,000 (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)

ปีการศึกษา 2541 นายสมปอง เพชรช่วย ได้รับคำสั่งให้มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน เดินทางมารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ 9 จนเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546

พ.ศ.2546 นายณรงค์ จงบุรี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดประทุมทายการาม ได้รับคำสั่งให้มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนนี้ และเดินทางรับตำแหน่งในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2546 ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช

 “ ณ นคร อุทิศ” ตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 386/47 ลงวันที่ 28 มกราคม 2547 ทั้งนี้จั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2546

          วันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 นายศรศักดิ์ หนูรัตน์ ได้เดินทางมารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1ที่ 601/2551 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2551

          หลังจากรับตำแหน่งแล้ว นายศรศักดิ์ หนูรัตน์ ได้ปรับระบบโครงสร้างการบริหารเพื่อแก้ปัญหา และให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน รวมทั้งได้ดำเนินการกก่อสร้าง และจัดหาทรัพย์สินในการบริหารัดการเบื้องต้น ดังนี้

  1. ปรับปรุงอาคารเอนกประสงค์ เป็นห้องเรียนสร้างสรรค์ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนอาคารเรียน
  2. ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ2/28 ชั้นใต้ถุนโล่ง ขนาด 15 ห้องเรียน 1 หลัง
  3. ปรังปรุง ชั้นล่าง อาคาร 5 เป็นห้องสมุดโรงเรียน
  4. จัดซื้อรถตู้ ขนาด 16 ที่นั่ง 1 คัน
  5. ปรับปรุงอาคารเรียน 1 (อาคารอนุบาล) โดยปรับปรุงด้านหน้าอาคารเรียน เป็นสนามเด็กเล่น
  6. จัดสร้างโรงเก็บรถยนต์ ให้สามารถเก็บรถยนต์ได้อย่างปลอดภัย 2 คัน
  7. ปรับระบบส่งกำลังไฟฟ้า จากหม้อแปลงขนาด 160 เค วี เอ  เป็นขนาด 250 เค วี เอ
  8. ปรับปรุงศูนย์วิชาการเป็นอาคารอำนวยการ
  9. ปรับปรุงถนนให้รถผ่านได้รออบโรงเรียน โดยเป็นถนน ค.ส.ล. ทั้งหมด และดำเนินการให้มีที่จอดรถบริการ
  10. จัดซื้อรถยนต์ 1 คัน เพื่อขนส่งอาหารกลางวันรักเรียน
  11. จัดสร้างโรงครัวเพื่อใช้ปรุงอาหาร ละเก็บพัสดุอาหารกลางวัน
  12. จัดสร้างศูนย์ปฐมวัยต้นแบบ และห้องคอมพิวเตอร์นักเรียนก่อนประถมศึกษา
  13. จัดสร้างห้องพยาบาล ศูนย์ภาษาอังกฤษ และห้องเก็บพัสดุ
  14. เปิดโครงการ EP สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ปี พ.ศ .2558    นายสินเทา บุญขวัญ ได้เดินทางมารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน  หลังจากได้รับ

ตำแหน่งแล้ว นายสินเทา บุญขวัญ  ได้บริหารจัดการโครงสร้างโรงเรียน ดังนี้

  1. เปิดโครงการ EEP ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
  2. ยกระดับการเรียนของนักเรียนชั้นปฐมวัย โดยจ้างครูชาวต่างประเทศมาสอน และเพิ่มพี่เลี้ยงนักเรียนให้ครบจำนวนห้องเรียน
  3. มีการยุบรวมโรงเรียนโพธาราม ให้เป็นการดูแลของโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ ณ นคร อุทิศ” จนกลายเป็นโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ ณ นคร อุทิศ” แห่งที่ ๒

นายสินเทา บุญขวัญ ได้เกษียณอายุ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2561

ปี พ.ศ .2561  นายสุธน  เกิดมณี ได้เดินทางมารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน  เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน

2561 หลังจากได้รับ  ตำแหน่งแล้ว นายสุธน เกิดมณี  ได้บริหารจัดการโครงสร้างโรงเรียน ดังนี้

  1. สานต่อที่ดิน โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ ณ นคร อุทิศ” แห่งที่ 2
  2. สร้างอาคารเรียนโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ ณ นคร อุทิศ” แห่งที่ 2
  3. เปิดโครงการใหม่ คือ SMTP ตั้งแต่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

นายสุธน  เกิดมณี ได้เกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563

ปี พ.ศ.2563  นายวันชัย  วงศ์ศิลป์ ได้เดินทางมารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน  เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน

2563 หลังจากได้รับ  ตำแหน่งแล้ว นายวันชัย  วงศ์ศิลป์  ได้บริหารจัดการโครงสร้างโรงเรียน ดังนี้

  1. เปิดหลักสูตรภาษาจีนขึ้นอีก 1โครงการ โดยจัดการเรียนการสอนที่ โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช    “ ณ นคร อุทิศ” แห่งที่ 2

หลังจาก นายวันชัย วงศ์ศิลป์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช

“ ณ นคร อุทิศ”ได้ไม่นาน นายวันชัย วงศ์ศิลป์ ก็สอบเป็นผู้อำนวยการเขตได้ โดยไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

ปี พ.ศ.2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช มีคำสั่งย้ายและแต่งตั้งตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา

ตามคำสั่งที่ 199/2565 โดยให้นางนวลใย สุทธิพิทักษ์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ ณ นคร อุ  ทิศ” เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน