วัสดุที่มีความเหนียว ได้แก่

               ความหนาแน่น  หมายถึง  ปริมาณสารที่มีอยู่ใน  1  หน่วยปริมาตร  ความหนาแน่นเป็นสมบัติเกี่ยวกับเนื้อของวัตถุ  วัสดุที่มีเนื้อแน่นจะมีความหนาแน่นมากกว่าวัสดุที่มีเนื้อโปร่ง  ถ้านักเรียนสังเกตเนื้อของฟองน้ำ  จะสังเกตเห็นรูพรุน  แต่ถ้าสังเกตเนื้อของไม้  อิฐ  นอต และดินเหนียว จะสังเกตเห็นว่าเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีรูพรุนแทรกอยู่ถ้านำฟองน้ำ  ไม้  อิฐ  นอต และดินเหนียวไปลอยน้ำ วัตถุที่ลอยน้ำได้คือ  ฟองน้ำ และไม้  ส่วนอิฐ  นอต และดินเหนียวจะจมน้ำ  ที่เป็นเช่นนี้เพราะฟองน้ำและไม้  มีเนื้อโปร่ง  มีความหนาแน่นน้อย  จึงทำให้น้ำหนักน้อย ทำให้สามารถลอยน้ำได้  ส่วนอิฐ นอต และดินเหนียว  มีเนื้อแน่น  จึงมีความหนาแน่นมาก ทำให้มีน้ำหนักมาก จึงจมน้ำ

ความเหนียว หมายถึง ความสามารถในการรับน้ำหนักที่มากระทำต่อ 1
หน่วยพื้นที่หน้าตัดของวัสดุที่ทำให้วัสดุขาดได้พอดี
วัสดุเส้นใหญ่มีพื้นที่หน้าตัดมากจะทนต่อแรงดึงสูงสุดได้มากกว่าวัสดุเส้นเล็กที่มีพื้นที่หน้าตัดน้อย
วัสดุเส้นใหญ่จึงมีความเหนียวมากกว่าเส้นเล็ก
วัสดุที่รับน้ำหนักได้มากจะมีความเหนียวมากกว่าวัสดุที่รับน้ำหนักน้อย

สมบัติความเหนียวของวัสดุ
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น การใช้เส้นเอ็นทำสายเบ็ดตกปลา
และเส้นเอ็นมีความเหนียวมากสามารถทนแรงดึงหรือรับน้ำหนักของปลาได้มาก

นอกจากนี้ เรายังใช้เชือกลากสิ่งของ แต่ในการยกของที่มีมวลมากๆ
นิยมใช้โซ่ดึงยกสิ่งของนั้น เพราะโซ่มีความเหนียวมากกว่าเชือก
จึงใช้ยกของที่มีมวลมากได้ดีกว่าเชือก

มาตรฐาน

วัสดุที่มีความเหนียว ได้แก่

วัสดุแต่ละชนิดมีความเหนียวไม่เท่ากัน โดยวัสดุที่มีความเหนียวมากคือ วัสดุที่สามารถทนแรงดึงหรือรับน้าหนักได้มากแล้วขาด วัสดุที่มีความเหนียวน้อย คือ วัสดุที่สามารถทนแรงดึงหรือรับน้าหนักได้น้อยแล้วขาด เช่น เส้นเอ็นเหนียวกว่าเส้นด้าย เพราะเส้นเอ็นทนต่อแรงกระทามากกว่าเส้นด้าย
สมบัติด้านความเหนียวของวัสดุ สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ใช้เส้นเอ็นทาเบ็ดตกปลา เพราะเส้นเอ็นมีความเหนียวมาก สามารถทนแรงดึงของปลาได้มาก นอกจากนี้เรายังใช้เชือกลากสิ่งของที่มีมวลมาก ๆ หรือ ในการยกของที่มีมวลมากเกินกว่าคานจะยกได้ เรานิยมใช้โซ่ล่ามสิ่งของนั้น แล้วใช้เครื่องจักรยกของจากที่หนึ่งไปวางอีกที่หนึ่ง เพราะโซ่มีความเหนียวมากกว่าเชือก จึงใช้ยกของที่มีมวลมากได้ดีกว่าเชือก

ความเหนียว (Toughness) คือการผสมผสานระหว่างความแข็งแกร่งและความเหนียวของวัสดุ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของวัสดุในการดูดซับพลังงานไว้ได้โดยไม่เกิดการแตกหัก วัสดุที่มีความเหนียวมากจะสามารถดูดซับและทนทานต่อแรงกระทำได้มาก โดยความเหนียวจะมีความสามารถในการรับน้ำหนักมากระทำต่อ 1 หน่วยพื้นที่หน้าตัดของวัสดุที่ทำให้วัสดุขาดได้พอดี ยิ่งวัสดุมีความเหนียวมากก็จะยิ่งรับน้ำหนักได้มาก ด้วยเหตุนี้วัสดุที่มีค่าความเหนียวสูงจึงเหมาะกับใช้งานในประเภทเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ชิ้นส่วนที่ต้องรองรับแรงกดและแรงกระแทกปริมาณมากตลอดเวลา เพื่อลดการแตกหักของชิ้นส่วนนั่นเอง

ความเหนียว from ส.อ.ราชนาวี มณีรัตน์