ปัญหาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

กับเรื่องนี้ ถือเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้อีกต่อไป โดย "ดร.พัฒนา ชัชพงศ์" ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สะท้อนให้ทีมงาน Life & Family ฟังในงาน "เอนฟา เอพลัส มหัศจรรย์พลังการเรียนรู้ทั่วไทย" ว่า เด็กไทยจำนวนหนึ่ง ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ ส่งผลให้ตัดสินใจไม่เป็น เห็นอะไรเลียนแบบไปหมด ทั้งค่านิยมแฟชั่น เพศสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งยาเสพติด

นอกจากนี้ ยังส่งผลไปถึงการคิดสร้างสรรค์ และแก้ปัญหา จึงมีแนวโน้มว่า อนาคตของประเทศไทย จะขาดนักออกแบบที่คิดแหวกแนว ตลอดจนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ดี เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ดังนั้นทางเลือกที่เด็กเลือก จึงเป็นทางเลือกที่หนีปัญหาด้วยการคิดสั้น

"จริงๆ เด็กทุกคนเกิดมาต้องการไม่อยู่นิ่ง เดินได้เดิน คลานได้คลาน แต่พ่อแม่ไปจับเขาให้ยืน หรือไม่ยืน หรือห้ามโน้น ห้ามนี่ เพราะรัก และเป็นห่วง กลัวลูกหกล้ม แต่สิ่งเหล่านี้ จะทำลูกขาดการเรียนรู้ ทางที่ดีควรปล่อยให้ลูกได้เล่นไปตามธรรมชาติของเด็ก ไม่ควรไปบังคับ เวลาให้ลูกคิดอะไร โดยเฉพาะลูกเล็ก ลูกอาจจะใช้เวลาคิดนานหน่อย ก็ไม่ควรไปเร่งเร้าให้ลูกต้องตอบ แต่ขอให้ใจเย็น ลูกเราทำได้ทุกอย่าง ถ้าสิ่งที่เราจัดให้ลูกนั้น เปิดกว้าง หรือให้ลูกได้มีโอกาสได้ทำตามความสามารถของเขา" ดร.พัฒนากล่าว

ขณะเดียวกัน พ่อแม่ต้องให้เวลาในการพูดคุยกับลูกอยู่เสมอ เปิดโอกาสให้ลูกได้ถาม หรือตอบ โดยเฉพาะเวลาก่อนนอน เป็นเวลาที่ดีที่สุดในการถามลูก เช่น วันนี้ทำอะไรมาบ้างลูก ดีไหมลูก เพื่อนทำกับหนูแบบนี้ดีไหม เป็นต้น หรือบางทีเล่านิทานคุยกันก็สามารถทำได้

ด้านครอบครัวของ "บัณฑิต อึ้งรังษี" วาทยกร และคุณพ่อลูกสาม ที่ได้ให้ความสำคัญกับทักษะการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการของลูก ซึ่งนอกจากจะใช้ดนตรีเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกแล้ว ยังส่งเสริมให้ลูกรู้จักการคิด สังเกต เพื่อการเรียนรู้อีกด้วย เพราะเป็นหัวใจหลัก ที่จะทำให้ลูกมีกระบวนการคิดวิเคราะห์ที่ดีในตอนโต

เช่น สอนให้ลูกรู้จักจำแนก เชื่อมโยง คิดหาเหตุผล หรือมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาต่างๆ เมื่อลูกทำสำเร็จ จะเกิดความมั่นใจ และเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญ และเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ลูกมีศักยภาพในการเผชิญกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต

"ผมให้ลูกรู้จักการคิดวิเคราะห์ จะเป็นในส่วนของชีวิตประจำวัน ที่ว่า เราปล่อยให้ลูกรู้จักกับเหตุและผล หมายความว่า ถ้าเขาทำแบบนี้ มันเห็นผลอย่างนี้ตามมา ซึ่งเป็นการให้ลูกได้เรียนรู้จากการกระทำของลูกเอง เราในฐานะพ่อแม่ไม่ได้ไปครอบลูกทุกอย่าง แต่จะคอยดูอยู่ห่างๆ" คุณพ่อบัณฑิตกล่าว

ดังนั้น ถึงเวลาแล้ว ที่ประโยคคำพูด "เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด" หรือ "เป็นเด็กห้ามแสดงความคิดเห็นก่อนผู้ใหญ่" จะต้องถูกปรับกันเสียที ซึ่งไม่ได้บอกให้เด็กไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่ แต่เปลี่ยนให้เด็กได้คิด หรือลงมือทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง แทนการตัดสินใจของผู้ใหญ่บ้าง นั่นจะทำให้เด็กคิดวิเคราะห์ และติดสินใจเป็น การที่เด็กจะวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ได้ดีนั้น ต้องมีกระบวนการที่เหมาะสมตั้งแต่เล็ก โดยเฉพาะของเล่น หรือสื่อที่ใช้ ไม่จำเป็นต้องราคาแพงเสมอไป แต่วิธีการใช้ของพ่อแม่ และครู มีความสำคัญยิ่งกว่า

รายงานผลการแก้ปัญหาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ใบงานทักษะการคิดอย่าง

มีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ความเป็นมาและความสำคัญ

            การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นกระบวนการคิดที่ใช้เหตุผลมีการศึกษา ข้อเท็จจริง หลักฐานและข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ แล้วนำมาพิจารณาวิเคราะห์ อย่างสมเหตุสมผล ก่อนตัดสินใจว่าสิ่งใดควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ ผู้ที่มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ จะเป็นผู้ที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผลไม่ยึดถือความคิดเห็นของตนเอง ก่อนที่จะตัดสินใจเรื่องใดก็จะต้องมีข้อมูลหลักฐานเพียงพอและสามารถเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองให้เข้ากับความคิดเห็นของผู้อื่นได้ ถ้าผู้นั้นมีเหตุที่เหมาะสมถูกต้องกว่า เป็นผู้มีความกระตือรือร้นในการค้นหาข้อมูลและความรู้ กล่าวได้ว่าผู้ที่มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณจะเป็นผู้ที่มีเหตุผล

            แนวทางการจัดกิจกรรเพื่อส่งเสริมการคิด ให้กับเด็กและเยาวชน ดังนี้

1.      สร้างความกระตือรือร้น อยากรู้ อยากเห็น (Curiosity) โดยต้องได้รับการกระตุ้นยั่วยุโดยใช้สื่อ

คำถาม กิจกรรม

2.      ฝึกให้มีความกล้าเสี่ยง (Risk Taking) กล้าคิดแตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ กล้าเสี่ยงที่จะสร้างสิ่ง

ใหม่หรือแตกต่างจากเดิม โดยใช้สถานการณ์ที่ยั่วยุให้คาดการณ์และคาดเดาสิ่งต่างๆซึ่งอาจมีคำตอบหลายๆแนวทาง

3.      ความยุ่งยากซับซ้อน (Complexity) ความยุ่งยากซับซ้อนจะทำให้เกิดการพัฒนา ความคิด

ระดับสูงได้ ต้องพัฒนาจากง่ายไปหายาก กิจกรรมที่ใช้และระดับความยากง่ายต่อต้อง สอดคล้องเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน

4.      กระตุ้นให้เกิดจินตนาการ (Imagination) เด็กต้องได้รับการกระตุ้นให้มีความคิดจินตนาการ

สร้างสรรค์อย่างหลากหลาย ทั้งที่เป็นเป็นการจินตนาการ จากนิทานจากประสบการณ์เดิม จากเหตุการณ์สิ่งแวดล้อมรอบตัว จากความรู้สึกของตนเอง

5.      ฝึกฝนให้ใจกว้าง (Open Mind) เด็กควรได้รับการฝึกฝนให้ทำงานกลุ่มการอภิปรายกลุ่มการรับฟัง

และยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น ยอมรับในเหตุผลและข้อมูลของกลุ่ม หรือของคนอื่นที่ดีกว่าหรือมีมากกว่า

6.      สร้างความมั่นใจในตนเอง (Self Confidence) ความมั่นใจในตนเอง จะทำให้เด็กได้มีพัฒนาการ

การคิดและกล้าแสดงออกซึ่งความคิด การเลือกสรรกิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสมจะทำให้เด็กล้าออก เริ่มจากการการตั้งคำถามง่ายๆ การแสดงออกอย่างง่ายแล้วแล้วยากขึ้นตามลำดับการเล่นและการทำงานเป็นกลุ่ม แล้วลดลงจนเหลือคนเดียว ซึ่งการแสดงออกของเด็ก ต้องได้รับกำลังใจและการสนับสนุน จะทำให้เด็กมีความมั่นใจมากขึ้น   ปัจจุบันผู้สอนได้จัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์โดยใช้ Google Meet เมื่อครูตั้งคำถามและถามนักเรียน พบว่า นักเรียนไม่มีความเชื่อมั่นในการตอบคำถาม และไม่มั่นใจในการตอบคำถาม อาจมีสาเหตุมาจากนักเรียนขาดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ไม่ชอบที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และขาดความกระตือรือร้น  ทำให้ผู้สอนสนใจที่จะแก้ปัญหานักเรียนขาดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพราะถ้านักเรียนได้รับการแก้ปัญหา หรือ พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ นักเรียนจะกล้าเผชิญกับปัญหาในสถานการณ์ที่หลากหลาย เช่น โจทย์ข้อสอบที่ซับซ้อน บทอ่านใกล้ตัว หรือไกลตัว และทำให้นักเรียนจะมีแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น กล้าตอบคำถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งงาน หรือ การบ้านมากขึ้น

            วัตถุประสงค์

1.      เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้แบบฝึกพัฒนาการคิดอย่างมี

วิจารณญาณ

2.      เพื่อส่งเสริมความกล้าแสดงออก และความมั่นใจในการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน

3.      เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้ภาษาอังกฤษในระดับที่สูงขึ้น

         กระบวนการพัฒนานวัตกรรม

1.     การวางแผนและออกแบบกิจกรรม

      - ร่วมกันคิดและวางแผนร่วมกันในการกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาที่พบจากการจัดการเรียนการสอน /การปฏิบัติงาน (รูปแบบ/วิธีการ/นวัตกรรม ) และจะนำไปปฏิบัติจริง ตามแนวทางดังนี้

           1. แนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาคือ การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

          2. ชื่อกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

           3. ขั้นตอนวิธีสอนหรือขั้นตอนในการดำเนินการแก้ปัญหาโดยใช้แนวทางที่เลือก

วิธีสอนหรือขั้นตอนในการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย 3 ระยะดังนี้

         ระยะที่ 1 ระยะต้น

                  3.1 ตั้งปัญหา

                  3.2 ตั้งสมมติฐาน

                  3.3 วางแผนแก้ปัญหา

         ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา

                  3.4 เก็บรวบรวมข้อมูล

         ระยะที่ 3 ระยะสรุป

                  3.5 สรุปผล

                  3.6 การตรวจสอบและการประเมินผล

            4. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ที่

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1

ใบงานพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ทำใบงาน

2.     การร่วมกันอภิปราย และกำหนดกรอบเวลาการนำไปปฏิบัติจริง ดังนี้

-         การสรุปผลการอภิปรายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเลือกนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา

2.1  ข้อเสนอแนะ/ความเห็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ คือ ใบงานที่ใช้ในการพัฒนาทักษะ

คิดอย่างมีวิจารณญาณควรมีความยากง่าย

2.2  สรุปความเห็นของผู้เชี่ยวชาญผสานกับความคิดเห็นของกลุ่ม คือ ใบงานที่ใช้ในการพัฒนาทักษะ

การคิดอย่างมีวิจารณญาณควรสร้างและออกแบบให้เหมาะสมกับการแก้ปัญหานักเรียน

-         กำหนดเวลาในการทดลองแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการ/สื่อ-นวัตกรรม

ลำดับ

ขั้นตอน/กระบวนการทดลอง

วันเดือนปี

จำนวนชั่วโมง

จำนวนนักเรียนที่ใช้

1

ทดลองใช้ใบงานการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

8 ธันวาคม 64

50 นาที

5/1 (32 คน)

3.     การนำสู่การลงมือปฏิบัติ/สังเกตการสอน 

-         การสังเกตการสอน ครั้งที่ 1

3.1 ผู้สังเกต/เยี่ยมชั้นเรียน  นางฐิติมา วุฒิจินดาศรี

ผู้รับการสังเกต/เยี่ยมชั้นเรียน นายเอกราช  รักเมือง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564

สถานที่ โรงเรียนเคียนซาพิทยาคม

3.2  สิ่งที่พบขณะสังเกตการณ์สอน/เยี่ยมชั้นเรียน

-พฤติกรรมการเรียนที่พบ นักเรียนให้ความสนใจ และกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม เช่น การ

ตอบคำถาม และการตั้งคำถามถามกับต่อครูผู้สอน

- พฤติกรรมการสอน

ครูใช้รูปภาพฉากตัวละคร เพื่อจูงใจนักเรียนในการตอบคำถามโดยใช้ภาพเป็นแรงกระตุ้น หรือ

แรงจูงใจให้นักเรียนมั่นใจในการตอบคำถาม

- การพูดคุยหลังจากสังเกตการสอน

ครูรู้สึกมีความสุขมากที่นักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการจัดการเรียนการสอน

                  จุดเด่น คือ ครูใช้สื่อYou Tube ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน

จุดควรพัฒนา คือ ครูปรับการพูดให้ช้าลงเพื่อให้นักเรียนได้ฟังอย่างเข้าใจ หรือ ตามสิ่งที่ครูกำลัง

บรรยาย หรือ อธิบาย

          4. การสะท้อนผล

         - สะท้อนผลการปฏิบัติของตนเอง

4.1 ครูสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ แต่บางขั้นการจัดกิจกรรมมีสดุดบ้างเนื่องจากระบบ

สัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร

- สะท้อนความคิดเห็นของสมาชิกภายในกลุ่ม

4.2  ครูสอนได้อย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้นักเรียนสนุกและให้ความร่วมมือในการเรียน

5.การสรุปผล และรายงาน

- สรุปผลกิจกรรม PLC (After Action Review; AAR) เกี่ยวกับ ผลที่เกิดจากกระบวนการ ปัญหา

อุปสรรค สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม และการพัฒนาปรับปรุงในครั้งต่อไป

5.1  สรุปผลการดำเนินการ    

- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับดี ขึ้นไป 

จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงคุณภาพ พบว่า นักเรียนมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับดี ขึ้นไป มากกว่า ร้อยละ 80 สรุปว่า บรรลุเป้าหมาย

5.2 ข้อเสนอแนะ

- ครูควรจัดกิจกรรมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในระดับชั้นอื่นๆด้วย

6. สรุปสิ่งที่เรียนรู้และการปรับปรุงให้ดีขึ้น

          จากการแก้ปัญหาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ใบงานทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ได้ผลดังนี้

         6.1 ด้านผู้เรียน

1. นักเรียนกล้าตัดสินใจด้วยตนเอง มีความมั่นใจในตนเองและมีความรู้สึกที่เป็นอิสระเพิ่มมากขึ้น

2. นักเรียนมีการอภิปรายร่วมกันจากประเด็นที่สนใจ หรือ เหตุการณ์ใกล้ตัว

6.2 ด้านกิจกรรม

         1. การจัดกิจกรรมที่เน้นพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมร่วมในการเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้จักคิดในสิ่งที่เรียน รู้ปัญหา และวิธีแก้ไขสิ่งต่างๆใกล้ตัว

6.3 ด้านครู

1. ครูเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้คอยชี้แนะมากกว่าสอน หรือ สั่ง ทำให้นักเรียนรู้สึกอิสระในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ

6.4 ด้านสื่อการสอน /วิธีการ

         1. สื่อใบงานพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เมื่อนักเรียนอ่านและครูใช้คำถามฝึกการคิด ทำให้นักเรียนได้ฝึกตามวิธีสอนหรือขั้นตอนในการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 

6.5 ด้านบรรยากาศ /สภาพการในห้องเรียน/ สภาพการปฏิบัติงาน

นักเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี กล้าและมั่นใจในการตอบคำถามและมีความสุขในการเรียน และที่สำคัญ นักเรียนพยายามตอบคำถามจากใบงานพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ