เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนของฉัน

การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่4-6 โรงเรียนอำมายต์พานิชนุกูล

ตั้งกระทู้ใหม่

ตั้งกระทู้ใหม่


เศรษฐกิจพอเพียง

                   เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชน เมือง รัฐ หรือประเทศ ในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ โดยรู้จักการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ และไม่พึ่งพาปัจจัยการผลิตอื่น ที่ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของ ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี เพื่อนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตในยามที่ประเทศประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 ภายหลังเมื่อได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้ประชาชนรอดพ้นและสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ว่า “…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานจากมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงโดยลำดับต่อไป…” ใน พ.ศ. 2540 เกิดปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอีกครั้ง เพื่อแนวทางแก้ปัญหาให้กับประเทศ “…การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามี






    เศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่าอุ้มชูตนเองได้ให้มีพอเพียงกับตนเอง อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก” คำว่า “พอเพียง” จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเต้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา พระราชทานความหมายของคำว่า “พอเพียง” ไว้ว่า “คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่า พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้แผลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง” “ให้เพียงพอนี้หมายความว่ามีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือยไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือยแต่ก็ทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรจะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ” “Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่นอยู่ได้ด้วยตนเอง”


 





ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวการดำรงอยู่และปฎิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ

ความพอเพียง ความพอเพียงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมไปถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร 





การวางเเผนเศรษฐกิจพอเพียง

•  ความรู้ ความชำนาญที่จำเป็นของแต่ละคน

•  ความรู้ ความชำนาญที่มีอยู่จริงของแต่ละคน

•  ความรู้ ความชำนาญใดบ้างที่ยังขาดอยู่

•  มีช่องทางใดที่จะเพิ่มเติมความรู้ความชำนาญใน การประกอบอาชีพของแต่ละคน

•  นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมด มาเปรียบเทียบในภาพรวม เพื่อกำหนด

  วางแผนชีวิต

•  แผนสร้างความพอประมาณ

•  แผนการสร้างความมีเหตุผล

•  แผนสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้ครัวเรือน

•  แผนเสริมสร้างความรู้และการเรียนรู้




  


คุณธรรม

การออมคือ การสะสมเงินทีละน้อยให้พอกพูนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป 

  หลักการออมที่ดี

•  ต้องทำโดยไม่มีเงื่อนไข

•  ห้ามผัดวันประกันพรุ่ง

•  จดบันทึกรายรับรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ 

  หลักง่ายๆ ของหลักการออม

•  ใช้เงินให้น้อยกว่าที่หาได้

•  กันเงินส่วนหนึ่งเพื่ออนาคต

•  เพิ่มงานเพิ่มรายได้








บุคคลตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง


 

                   จากการดำรงชีวิตที่ยึดถือปฏิบัติตามแนวทาง "เศรษฐกิจพอเพียง" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    นาย ดรัณภพ เกิดแก้ว จะได้รับการคัดเลือกให้เป็น "ปราชญ์ของแผ่นดินจังหวัดกระบี่สาขาเศรษฐกิจพอเพียง และอีกมากมายหลายรางวัลแม้เกษตรกรผู้นี้จะจบการศึกษาระดับแค่เพียงชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่4 แต่ความรู้และความสามารถของเขา กลับสูงยิ่งกว่าผู้ที่จบการศึกษาระดับสูงกว่าหลายคน เพราะเขาได้มีความคิดริเริ่มในการประกอบอาชีพ ซึ่งคงเพราะเป็นผลมาจากการซึมซับความอดกลั้น ความอดทน และความยากลำบาก เมื่อครั้งที่ต้องช่วยพ่อแม่ทำนา ทำให้เขาพยายามพัฒนาอาชีพทางการเกษตรของตนเอง และหาหนทางที่จะเพิ่มรายได้ เพื่อยกฐานะความเป็นอยู่และเขาเก็บหอมรอมริบ 


การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง

1.1การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน

        การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง คือความพอประมานความมีเหตุผลเเละมีภูม้คุ้มกันที่ดีและมีเงือนไขจองคุณธรรม สุจริต ขยัน. อดออม อดทนมีสติปัณญาแล้วรู้จักการแบ่งบันมีเป้าหมายมุีงไปสู่การมีชีวิต

         เเนวทางการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

                 1.กำหนดเป้าหมายการออมในเเต่ละเดือน

                 2.กำหนดเป้าหมายการใช้จ่ายในเเต่ละวัน

                 3.การประหยัดรายจ่าย ต้องจ่ายน้อยกว่า

                 4.การจ่ายเงินคุ้มค่า

                 5.การใช้เงินเท่รทีจำเป็น

                 6.พึ่งระวังค่าใช่จ่ายที่จะนึกไม่ถึง





1.2 การประยุกต๋ใช้ในโรงเรียน

              1.โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคเพื่อลดลงของ       รายจ่าย

             2.โครงการออมกินลำบาก

            3.โครงการผลิตสินค้าด้วยฝีมือของกลุ่มตัวอย่านักเรียน

           4.การประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการคิด

           5.การฝึกให้เกิดการรักการประหยัดอดออม

( จิดาภา ผายเเก้วท.2558:12 )



  • 3ห่วงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  • บุคคลตัวอย่างกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง นาย ดรัณภพ เกิดแก้ว

  • คณะผู้จัดทำ 1.นายภูนนท์ เย็นใส 2.นายพิรุณพร ชุมภูทอง 3.นายภูวดล ราชเพ็ชร 4.นางสาวนริสรา อ้นบุตร 5.นางสาวปวีณา ช่วยคีรี เสนอ คุณครูบดินทร์ บัวเกตุ โรงเรียนอำมายต์พานิชนุกูล

    เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนคืออะไร

    เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน เป็นแนวทางให้ผู้บริหาร ครูผู้สอน สามารถประยุกต์ใช้กับการเรียน การ สอน เป็นแนวการท ากิจกรรมเสริมในโรงเรียน กิจกรรมชุมชนแบบมีส่วนร่วม การพึ่งตนเองเป็นหลัก ที่เน้น ความสมดุลทั้ง 3 คุณลักษณะ คือ พอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกัน เป็นกระบวนการสร้างคนให้กับ สังคม ที่เป็นคนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ...

    ผู้เรียนเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร

    เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ความพอประมาณ

    นักเรียนสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในโรงเรียนได้อย่างไร

    1. การตั้งใจเรียน มีการดำเนินงานและวางแผนในการเรียนให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ 2. ช่วยกันประหยัดและอนุรักษ์ทรัพยากรในโรงเรียน เช่น 1) การใช้น้ำประปาและไฟฟ้าในโรงเรียนอย่างประหยัด รู้คุณค่า ไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็น

    ความพอเพียงของนักเรียนมีอะไรบ้าง

    ๑. นักเรียนมีความพอประมาณ สามารถแบ่งเวลาในการท ากิจกรรมได้เหมาะสมเต็มความสามารถ ๒. ความมีเหตุผล นักเรียนมีทักษะในการคิด การแก้ปัญหา ๓. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีการวางแผนกระบวนการทางานอย่างเป็นระบบ ๔. เงื่อนไขความรู้ นักเรียนสามารถนาความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ ๕. เงื่อนไขคุณธรรม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ขยัน ...