เศรษฐกิจ พอ เพียง กับการ ทำงาน

มนุษย์เงินเดือน  มนุษย์เงินเดือนค่อนข้างมีความแน่นอนทางการเงิน เพราะสิ้นเดือนก็มีเงินเดือนให้ใช้จ่ายแล้ว ดังนั้นกลุ่มนี้จึงอาจลืมตัวใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยได้ง่ายๆ ดังนั้น ในการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ อาจจะทำง่ายๆด้วยการ อยู่อย่างพอมีพอกิน รู้จักคิดรู้จักจ่ายอย่างมีสติ ไม่ใช้จ่ายเงินเกินตัว อะไรที่มันแพงมากก็ไม่จำเป็นต้องซื้อ เพราะหากใช้เงินเกินตัวไปเรื่อยๆจะก่อให้เกิดปัญหาเงินไม่พอใช้และไปกู้ยืมเงินคนอื่น เป็นการเบียดเบียนคนอื่นอีกด้วย ดังนั้นทางที่ดีใช้เท่ามีเป็นพอ และอีกสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือ การออม ซึ่งควรจะมีการเก็บออมทุกเดือนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต

การทำงานเพื่อให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างแท้จริงนั้น จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจจากบุคคลหลายฝ่ายประกอบเข้าด้วยกัน จึงจะเป็นแนวทางที่เหมาะสม ซึ่งการทำงานแบบทีม  (Team work) นี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับองค์กร หรือระดับหน่วยงาน แต่สิ่งหนึ่งที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการทำงานเป็นทีม ก็น่าจะมาจากคนที่เข้ามาร่วมกันทำงาน ย่อมจะมีปัญหาบ้างไม่มากก็น้อย

ทั้งนี้ หากปัญหานั้นสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีโดยไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานและผลของงานก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าหากปัญหานั้นส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำงาน คนในองค์กรจำเป็นที่จะต้องช่วยกันระดมแนวทางแก้ไขปัญหาให้ได้อย่างจริงจัง  ด้วยเหตุนี้ ทีมงาน (Team work) จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ และบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้น  การบริหารทีมงานก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้คนในทีมงานทำงานอย่างมีความสุข และเป็นทีมงานที่เข้มแข็งได้ จึงจะส่งผลให้งานประสบความสำเร็จ 如何炒外汇 โดยมีเทคนิคการบริหารทีมงานที่มีการพัฒนาและแฝงไปด้วยแนวคิดทางการบริหารในแง่มุมต่างๆ อยู่หลายแนวคิด  หนึ่งในหลายๆ แนวคิดที่ผู้เขียนคิดว่าน่าจะนำมาใช้ในการบริหารทีมงานในยุคปัจจุบัน คือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น เน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อันเป็นแนวคิดที่นำไปสู่การพัฒนาความสามารถในการพึ่งตนเองทั้งยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยรอบด้าน โดยอาศัยหลักการที่สำคัญ 3 สิ่ง

คือ  ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

ประกอบกับการใช้ความรู้ ความสามารถ ความเพียร ความอดทน และความสามัคคี

ในกรณีนี้ผู้เขียนได้นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับสมาชิกในกลุ่มงานและขอนำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้นำไปพิจารณา

ความพอประมาณ   สมาชิกในทีมต้องวางแผน และกำหนดเป้าหมายการทำงานร่วมกัน โดยการวางแผนและตั้งเป้าหมายที่มีความเป็นไปได้ ไม่ควรตั้งเป้าหมายเกินความสามารถของสมาชิกในทีม และผู้นำทีมต้องมีจิตวิทยาในการโน้มน้าวสมาชิกในทีมว่าใครเหมาะจะทำงานอะไร มอบหมายงานตามความสามารถของสมาชิกในทีม รวมทั้งต้องพยายามทำความเข้าใจความต้องการของสมาชิกในทีมและต้องไม่เป็นผู้นำแบบเผด็จการ

ความมีเหตุผล  ใช้หลักวิชาการในการกำหนดเป้าหมายอย่างมีเหตุมีผล เป็นขั้นเป็นตอนไม่ก้าวกระโดดจนทำให้สมาชิกในทีมเกิดความท้อแท้ ต้องร่วมกันพิจารณาสิ่งที่เกี่ยวข้องในการทำงาน และคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานอย่างรอบคอบ โดยต้องมีการสื่อสารข้อมูลภายในทีมอย่างทั่วถึง มีเทคโนโลยีในการสื่อสารภายในทีมที่เหมาะสม และมีการจัดประชุมทีมงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สมาชิกทุกคนในทีมรู้ว่าจะต้องทำงานอะไร ด้วยเหตุผลอะไร ซึ่งเป็นการทำให้ทุกคนในทีมเข้ามามีส่วนร่วมการสร้างความสามัคคีร่วมกัน

การมีภูมิคุ้มกันที่ดี  ผู้นำทีมต้องสามารถค้นหาทักษะ ความสามารถของสมาชิกในทีม กระตุ้นสมาชิกในทีมให้สนใจศึกษาความรู้ใหม่ๆ และสร้างเครือข่ายนอกทีมงาน รวมทั้งมีความสามารถในการคาดเดาว่าจะมีปัญหาอะไรในการทำงานและอนาคต เพื่อทำให้สมาชิกในทีมงานแต่ละคนสามารถนำความรู้ความสามารถมาช่วยกันคิดแก้ไขปัญหา และปรับปรุงการทำงานได้ตามความสามารถ ความถนัด สมาชิกในทีมงานเกิดความเชื่อมั่นในทีม ยินดีให้ความร่วมแรงร่วมใจในการทำงานให้สำเร็จเกิดความสมดุล พร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น และสิ่งเปลี่ยนแปลงที่จะมากระทบในการดำเนินงานได้ตลอดเวลาซึ่งจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ทีมงาน

การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการทำงานนี้  จำเป็นจะต้องใช้คุณธรรม และจริยธรรมเป็นพื้นฐานของการดำเนินงานด้วย ทั้งนี้ คนในองค์กรต้องรู้จักแสวงหาความรู้ พร้อมทั้งได้รับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถให้รอบรู้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งจะได้นำความรู้มาประกอบการทำงานและช่วยแก้ไขปรับปรุงการทำงานได้อย่างรอบคอบ บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ สุจริต โดยเฉพาะผู้นำทีมต้องแสวงหาความรอบรู้ให้มาก ต้องเคร่งครัดในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของสมาชิกในทีม และต้องสามารถติดตามประเมินผลงานตามความก้าวหน้าของทีมงานได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้รางวัลในความสำเร็จของแต่ละบุคคลอย่างเหมาะสม

การประยุกต์เทคนิคการบริหารทีมงานบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก่อให้เกิดผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้สมาชิกในทีมงานมีความสุขในการทำงานและสามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการทำงานด้วยสติปัญญาและความรอบคอบทีมงานก็จะเป็นทีมที่แข็งแกร่งที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้งานประสบความสำเร็จได้อย่างแท้จริง

ท่านและผม เป็นคนไทยที่โชคดีที่สุดในโลกนี้แล้ว เพราะเรามีพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ที่ท่านรักประชาชนของท่าน โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน พระองค์ท่านต้องทำงานมาตลอดเพื่อให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุขของราษฎรของท่าน ผมได้รับการศึกษามามากพอสมควร มีโอกาสใรการเรียนรู้ต่างๆมากกว่าคนอื่นๆในเรื่องที่พระองค์ท่าน ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ที่เรารับรู้ได้อย่างชัดเจนก็คือเรื่องของ"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"  

และผมก็เป็นหนึ่งของคนไทยมากกว่า 60 ล้านคน ที่ได้เรียนรู้ทฤษฎีนี้ เรารู้อย่างเดียวนั้นจะไม่สามารถทำให้เกิดประโยชนย?ต่อตนเองและประเทศชาติเลย เราต้องน้อมนำแนว"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"มาประยุกต์ใช้ในชีวิตและการงานของตนเองให้มากที่สุด ก่อนอื่นผมอยากนำบทความต่างๆที่เป็นความรู้มาแบ่งปันให้คนไทยได้อ่าน จะได้มีความเข้าใจมากขึ้น

"..ผมคิดว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่สิ่งที่พระราชทานมา และบอกให้เราปิดบ้านตัวเองนะ อย่าไปคบกับใคร ไม่ใช่บอกให้เราบอกว่า จนไว้ดี อย่าไปรวย ไม่ใช่ แต่ผมคิดว่าพื้นฐานจริงๆ แล้วก็คือ ต้องมีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ต้องอดทน ต้องขยันหมั่นเพียร และอันสุดท้าย ต้องมีวิชาการ วิชาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม..”
        นั่นเป็นการกล่าวทิ้งท้ายของน.พ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรีในการแสดงปาฐกถาพิเศษ ในพิธีเปิด ‘ชมรมเศรษฐธรรม’ ของสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2549 ณ วังเทวเวสม์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
       

ในปาฐกถาครั้งนั้น องคมนตรีท่านนี้ก็ได้กล่าวในตอนต้นว่า ยังมีคนที่ไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งควรทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
        “หลายคนหาว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เมื่ออ่านปั๊บ...ไม่อยากให้คนรวย อยากให้คนจนไปเรื่อยๆ ซึ่งไม่ใช่เลย หรือเข้าใจว่าเหมาะสำหรับชาวไร่ ชาวนา เท่านั้น ซึ่งก็ไม่ใช่อีกเหมือน กัน” น.พ.เกษม กล่าวย้ำ
       

จะเห็นได้ว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาเป็น หลักเป็นแนวทางสำหรับการดำเนินชีวิตของคนทุกระดับชั้น และการบริหารองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนทุก ระดับทุกขนาด         นั่นคือใช้กับคนในสังคม และวงการธุรกิจ แม้ไม่ใช่คน ร่ำรวยก็สามารถดำเนินชีวิตด้วย‘ทางสายกลาง’ ที่มีความมั่นคงได้ หรือเป็นผู้มั่งคั่ง ก็ร่ำรวยอย่างมีสติ รวยอย่างมีคุณค่า มีประโยชน์สำหรับสังคม และประเทศชาติ

เศรษฐกิจ พอ เพียง กับการ ทำงาน

3 ห่วง 2 เงื่อนไข
        เพราะหลักการของ ‘ความพอเพียง’ ที่ยึดหลัก พอประมาณมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันความไม่แน่นอน 3 หลักที่ว่านี้ เสมือนห่วงสัญลักษณ์ ที่เราเคยเห็นในกีฬาโอลิมปิก 3 ห่วงที่ต้องสอดคล้องกันไป
        ขณะเดียวกัน การขับเคลื่อนของ 3 ห่วงดังกล่าว ก็มีเงื่อนไขความรู้ (คือ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และเงื่อนไขคุณธรรม (คือ ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน)
        เมื่อเป็นดังนี้ได้ก็จะนำไปสู่การมีชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม ที่สมดุล มั่นคง และยั่งยืน

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูงที่มีการแข่งขันสูง

ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญ

อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่นได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น

ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต

ซึ่ง ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า "หลาย ๆ คนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนจน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้าสู่คุณภาพ"และ "การลงมือทำด้วยความมีเหตุมีผล เป็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง"

เศรษฐกิจ พอ เพียง กับการ ทำงาน

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ประกอบไปด้วย ๓ หลักการ คือ

๑. ความพอประมาณ คือ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

๒. ความมีเหตุผล คือ การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ

๓. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว

ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิต และ เงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร

จุดเริ่มต้นของแนวคิดปรัชญาความพอเพียง มาจากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ “หลักการทรงงาน ๒๓ ข้อ” ซึ่งพระองค์ได้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเสมอมา และได้ทรงพระราชทานเป็นแนวทางให้กับพสกนิกร อาทิ “ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ” โดยศึกษารายละเอียดครบถ้วนอย่างเป็นระบบ ทั้งจากเอกสารและสอบถามผู้รู้, “ทำตามลำดับขั้น” โดยเริ่มต้นทำงานจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดก่อน โดยเรื่องความพอเพียงนั้นปรากฏอยู่ใน ๓ หลักการ คือ

๑. การพึ่งตนเอง คือ การอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อมและสามารถพึ่งตนเองได้

๒. พออยู่พอกิน คือ การมีชีวิตอยู่ในขั้นของความพอดี

๓. เศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำเนินไปในทางสายกลาง ด้วยความพอประมาณและความมีเหตุผล

ซึ่งอาจจดจำง่ายๆ ในชื่อ ๓ พ. คือ “พึ่งตนเอง” “พออยู่พอกิน” “พอเพียง”

๓ หลักการสั้นๆ ง่ายๆ แห่งความพอเพียง ซึ่งเพียงพอที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ที่ไม่ได้มีเพียงเรื่องของหลักการด้านงานเกษตร อาทิ การทำไร่นาสวนผสม หรือการพัฒนาชุมชนเพียงเท่านั้น แต่หลักการ ๓ พ. ยังเป็นแนวทางที่นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ทุกเรื่อง และเข้าถึงผู้คนทุกกลุ่ม ซึ่งการใช้ชีวิตด้วยการพึ่งตนเอง พออยู่พอกิน และพอเพียง ตามรอยที่พ่อนำทางไว้ ทำให้ผู้ที่ปฏิบัติตามได้พบกับความสุขที่แท้จริง และไม่หวาดหวั่นกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก เพราะเมื่อเข้าใจถึงแก่นแท้ของคำว่าพอแล้ว ไม่ว่าโลกจะโลกาภิวัตน์ไปมากเพียงใด ก็ไม่ได้ทำให้ความมั่นคงผาสุก ลดน้อยลง

เอนทรีนี้เป็นการให้ความรู้ เพื่อให้เกิดแนวคิดกับเราให้มากขึ้น ขอให้ท่านพยาอ่านแล้วทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ความรู้ทำให้เรามีสติ มีปัญญา จะเป็นเครื่องมือช่วยให้เราเกิดความไม่ประมาท 

ผมหวังว่าผู้ที่แวะเข้ามาอ่านจะเกิดปัญญา มีสติ ด้วยการน้อมนำแนว"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"มาประยุกต์ใช้ในชีวิตและการงาน

หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการทำงานมีกี่ข้อ ?

เศรษฐกิจพอเพียง กับ การทำงานพัฒนา.
กระบวนการ หรือ Processes ประกอบไปด้วย “สามห่วง” ได้แก่ ภูมิคุ้มกัน ความพอประมาณ และ ความมีเหตุผล.
ผลผลิต หรือ Outputs เป็นผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการที่ดำเนินการมา ประกอบไปด้วย ความยั่งยืน ความสมดุล และ ความมั่นคง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้.

ท่านจะนำเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างไร

ปัจจัยในการทำงานให้เหมาะสมกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง บุคลิกภาพ ที่ต้องรู้จักวางตน แสดงออกอย่างเหมาะสม มีความเกรงใจ ไม่เบียดเบียนคนอื่น หรือผู้อื่นและไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ส่วนรวม ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานการเข้าใจความแตกต่างของโลก ในความคิดที่หลากหลายตลอดจน คิดทบทวนอย่างถี่ถ้วนก่อนแสดงออกทางกายหรือวาจา

เศรษฐกิจพอเพียงเหมาะสมกับอาชีพใดมากที่สุด

การประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว หลักเศรษฐกิจพอเพียงไม่เพียงแต่ใช้ได้ดีสำหรับอาชีพเกษตรกรเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ รวมทั้งการประกอบธุรกิจส่วนตัวด้วย โดยควรคำนึงถึงความมั่นคงและยั่งยืนมากกว่าการแสวงหาผลประโยชน์ ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือ ต้องมีความรอบรู้ในธุรกิจที่ตนดำเนินการอยู่ และศึกษาข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ...

หลักสําคัญของเศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี