ตาราง แบบฟอร์ม เช็ค โบ เค้า

“Blow count” คือ การนับการตอก เพื่อหาจำนวนครั้งต่อฟุตที่ทำให้เสาเข็มจมลงไปในดิน ตามรายการคำนวณมาตรฐานการรับน้ำหนักของวิศวกร  

แต่เราจะเริ่มนับ “Blow count” กันตอนไหน?

การนับ “Blow count”  จะเริ่มนับเมื่อตอกเสาเข็มลงไปแล้วเหลือระยะ 10 ฟุตสุดท้าย โดยจะทำการนับจำนวนการตอกทุกๆ 1 ฟุต และเมื่อตอกเสาเข็มจนจำนวนครั้งได้ตามรายการคำนวณจะหยุดการตอกเสาเข็มทันที เพราะถือว่าเสาเข็มได้ Blow count แล้วนั่นเองครับ

เพื่อความมั่นคงของโครงสร้าง เจาะจงใช้เสาเข็ม DCON

เสาเข็ม DCON มั่นใจทุกขั้นตอนการผลิต 

ผ่านการควบคุมคุณภาพ ด้วย มอก. และ ISO 9001:2015

☎️สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ได้ที่

line @dcongroup หรือ inbox มาได้เลยนะครับ

#dcon #theblueprintforlivingcreation #dcongroup #เสาเข็มสำเร็จรูป #blowcount #เสาเข็ม #เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง #เสาเข็มดีที่สุด

เสาเข็ม คือวัสดุที่ถ่ายน้ำหนักจากอาคารสู่ชั้นดินแข็ง ในงานก่อสร้างอาคารต่างๆ โดยชั้นดินแข็งที่มีคุณสมบัติสามารถรับน้ำหนักอาคารได้ อาจอยู่ลึกตั้งแต่ 6 เมตร ถึง 40 เมตร (สำหรับเสาเข็มตอก) ซึ่งในการออกแบบฐานราก ผู้ออกแบบจะพิจารณาการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มแต่ละต้นว่าจะรับน้ำหนักเท่าไหร่โดยทำการคำนวณและทดสอบด้วยน้ำหนักบรรทุก (Load Test) ประกอบกับผลการสำรวจชั้นดิน (Boring Log) โดยปกติชั้นดินในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการทดสอบจากการตอกเสาเข็มที่หน้างานเพื่อยืนยันว่าเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้จึงมีความจำเป็น จึงจะทำให้เสาเข็มที่มีหน้าตัดและความยาวเดียวกันไม่สามารถรับน้ำหนักได้เท่ากันในแต่ละพื้นที่ จึงเป็นที่มาของการกำหนดวิธีการทดสอบเสาเข็มตอกโดยการวัดการทรุดตัวของเสาเข็มเนื่องจากการตอก 10 ครั้งสุดท้ายหรือ “Blow Count” ซึ่งเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการยืนยันว่าการตอกเสาเข็มต้นนั้นสิ้นสุดลงและสามารถรับน้ำหนักได้ตามที่ออกแบบไว้

Blow Count คือจำนวนครั้งที่ปล่อยตุ้มน้ำหนักบนรถตอกลงมากระแทกที่หัวเสาเข็มและทำให้เสาเข็มจมลงดิน 1 ฟุต หรือ 30 เซนติเมตร สูตรในการคำนวณ Blow count มีหลากหลาย ซึ่งคำนวณจากปัจจัยหลักคือขนาดหน้าตัดเสาเข็ม, ความยาวเสาเข็ม, น้ำหนักของตุ้ม, ระยะยกตุ้ม, น้ำหนักปลอดภัยที่ผู้ออกแบบกำหนด (Safe Load) และค่าความปลอดภัย (Safety Factor) ซึ่งจะคำนวณโดยวิศวกร หากชั้นดินบริเวณปลายเสาเข็มมีความสามารถในการรับน้ำหนักได้สูง ค่า Blow Count ก็จะสูงขึ้นตามลำดับ ผู้ติดตั้งจะเช็ค Blow Count ที่เสาเข็มจะมีการขีดเส้น ห่างกันทุกๆ30 เซนติเมตร และนับจำนวนครั้งที่ตอก หากการตอกเสาเข็มได้จำนวนครั้งตามค่าที่วิศวกรกำหนด จึงจะหยุดการตอกและเข้าสู่การนับการตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last ten blow count)

ตาราง แบบฟอร์ม เช็ค โบ เค้า

Last 10 Blow Count หมายถึงระยะทรุดตัวของเสาเข็มโดยการตอก 10 ครั้ง ต้องมีค่าไม่เกินค่าที่วิศวกรคำนวณไว้ ซึ่งผู้ติดตั้งจะทดสอบ โดยการขีดเส้นบนเสาเข็มด้วยระดับที่อ้างอิงกับผิวดินและหลังจากการตอกไปแล้ว 10 ครั้ง ให้ขีดอีกครั้งจากเกณฑ์ระดับผิวดินเดิม ซึ่งจะมีค่าทรุดตัวของเสาเข็มจากการตอก 10 ครั้ง และทำทั้งหมด 3 ชุด โดยค่าทรุดตัวของครั้งหลังจะต้องน้อยกว่า 2 ครั้งแรก หากค่าทรุดตัวทั้ง 3 ชุดน้อยกว่าที่กำหนดไว้จากการคำนวณสูตร Blow Count ถือว่าเสาเข็มลงถึงระดับดินที่ต้องการ และมีคุณสมบัติรับน้ำหนักตามที่ผู้ออกแบบกำหนดไว้ หากทำการตอกต่ออาจจะทำให้เสาเข็มเสียหาย

ตาราง แบบฟอร์ม เช็ค โบ เค้า

ค่า Blow Count แสดงถึงความแน่นของชั้นดิน หากชั้นดินที่แน่นมาก ก็ต้องใช้จำนวนครั้งในการตอกมากขึ้นต่อ 1 ฟุต หรือ 30 เซนติเมตร และเพิ่มขึ้นตามลำดับจนกระทั่งถึงตัวเลขที่คำนวณไว้ ส่วน Last 10 Blow Counts วัดชั้นดินที่แน่นจากระยะทรุดตัว โดยการทดสอบทั้งสองชนิดจะต้องทำกับเสาเข็มทุกต้นที่ติดตั้งด้วยการตอก พร้อมทั้งเก็บค่าเพื่อการอ้างอิงแก่ผู้ออกแบบ เพื่อมั่นใจว่าฐานรากของอาการมีความมั่นคงตามที่กำหนดไว้ ดังนั้นผู้ติดตั้งและวิศวกรที่มีประสบการณ์จึงมีความจำเป็นในงานเหล่านี้