การเสียภาษี ห้างหุ้นส่วนจํากัด 2564

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

อัตราสำหรับ SME

ถ้าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน ฿5,000,000 และรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการตลอดทั้งปี (รอบระยะเวลาบัญชี) ไม่เกิน ฿30,000,000 จะได้รับอัตราภาษีพิเศษสำหรับ SME ดังนี้12

กำไรสุทธิ อัตราภาษีภาษีสะสม
≤ ฿300,000 ยกเว้น ฿0
> ฿300,000 – ฿3,000,000 15% >฿0 – ฿405,000
> ฿3,000,000 20% > ฿405,000

อัตราทั่วไป

ในกรณีที่ไม่ใช่ SME จะเสียภาษีในอัตราคงที่ 20% ของกำไรสุทธิตั้งแต่บาทแรก

กำไรสุทธิ อัตราภาษี
> ฿0 20%

ติดต่อ iTAX sme เพื่อรับบริการวางแผนภาษีธุรกิจ ตั้งบริษัท ทำบัญชี จด VAT ภาษีเงินได้นิติบุคคล และอื่นๆ โทร. 062-486-9787

ทำธุรกิจอยู่ จดบริษัทเลยเสียภาษีถูกกว่ามั้ย?

ติดต่อขอรับบริการได้ที่ iTAX sme

ค่าบริการ โทร 062-486-9787


อ้างอิง

  1. ^

    พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554

  2. ^

    พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 583) พ.ศ. 2558

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีบุคคลที่ทุกคนจะต้องเสียให้แก่รัฐหากมีเงินได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด

ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยจัดเก็บจากฐานกำไรสุทธิทางภาษี

ในบทความนี้เราจะมาเปรียบเทียบในเรื่องอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเปรียบเทียบและมองภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าควรจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือไม่

ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

การเสียภาษี ห้างหุ้นส่วนจํากัด 2564

  • ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
  • ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
  • ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
  • Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
  • ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
  • ดูรีวิวจากลูกค้า
  • About me

สารบัญ

  1. วิธีในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  2. วิธีคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
  3. อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2564
  4. อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 2564
  5. เปรียบเทียบ อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา VS อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
  6. สรุป

วิธีในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

โดยทั่วไปแล้ววิธีในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีสูตรการคำนวณดังนี้

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ซึ่งจริงๆแล้ววิธีการในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก ซึ่งผมได้เคยเขียนอธิบายเอาไว้อย่างละเอียดแล้วในบทความที่ชื่อว่า “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร” ดังนั้นในบทความนี้ผมจะไม่ได้เขียนรายละเอียดวิธีการคำนวณอีก ท่านใดต้องการทราบวิธีการคำนวณก่อนเชิญคลิ๊กเข้าไปอ่านบทความย้อนหลังได้เลยนะครับ

วิธีคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

วิธีการในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลมีวิธีการคำนวณดังต่อไปนี้

ภาษีเงินได้นิติบุคคล = กำไรทางภาษี x อัตราภาษี

จากสูตรในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าว สามารถแตกรายละเอียดออกมาได้ดังนี้

กำไรทางภาษี = กำไรทางบัญชี + ผลแตกต่างระหว่างกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษี

ผลแตกต่างระหว่างกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษี จริงๆแล้วมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ในที่นี้ผมขอสรุปตัวหลักๆมาให้ดังนี้ครับ

ผลแตกต่างระหว่างกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษี = รายจ่ายต้องห้าม + รายได้เพิ่มทางภาษี

สรุปสูตรภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้

ภาษีเงินได้นิติบุคคล = (กำไรสุทธิทางบัญชี + ผลแตกต่างระหว่างกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษี) x อัตราภาษี

จริงๆแล้ววิธีการในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลมีรายละเอียดเพิ่มเติมค่อนข้างมาก ซึ่งผมได้เคยเขียนอธิบายเอาไว้อย่างละเอียดแล้วในบทความที่ชื่อว่า “ภาษีเงินได้นิติบุคคลคืออะไร” ดังนั้นในบทความนี้ผมจะไม่ได้เขียนรายละเอียดวิธีการคำนวณอีก ท่านใดต้องการทราบวิธีการคำนวณก่อนเชิญคลิ๊กเข้าไปอ่านบทความย้อนหลังได้เลยนะครับ

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2564

สำหรับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอัพเดทล่าสุดจะเป็นไปตามตารางด้านล่างนี้

การเสียภาษี ห้างหุ้นส่วนจํากัด 2564

โดยบุคคลแต่ละบุคคลที่มีเงินได้ ต้องนำเงินได้สุทธิที่คำนวณได้ มาคำนวณกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังกล่าวเพื่อคำนวณหาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกมา เช่น สมมติให้นาย ก มีเงินได้สุทธิประจำปีที่ 1,550,000 บาท ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของนาย ก จะอยู่ที่

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การเสียภาษี ห้างหุ้นส่วนจํากัด 2564

เมื่อนำเงินได้สทธิ คูณกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แล้วก็จะได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = 252,500 บาท

ที่มา : อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

แนะนำหลักสูตรเรียนออนไลน์

การเสียภาษี ห้างหุ้นส่วนจํากัด 2564

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 2564

สำหรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลอัพเดทล่าสุดจะเป็นไปตามตารางด้านล่างนี้

การเสียภาษี ห้างหุ้นส่วนจํากัด 2564

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในปัจจุบัน จะแบ่งได้ออกเป็น 2 กรณี นั่นคือ

  1. กรณีบริษัทที่เป็น SME จะเสียภาษีในอัตรา 0% – 20% ตามช่วงของกำไร คือในช่วงที่กำไร 300,000 บาทแรกนั้นนิติบุคคลจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ในช่วงที่กำไรเกิน 300,000 บาทไปจนถึง 3,000,000 บาท นิติบุคคลจะเสียภาษีในอัตรา 15% และสุดท้ายหากกำไรเกิน 3,000,000 บาทขึ้นไปนิติบุคคลจะเสียภาษีที่อัตรา 20%
  2. บริษัทที่ไม่ใช่ SME จะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอัตราเดียวคือ 20%

ความหมายของคำว่า SME ตามกฎหมายภาษีอากรคือนิติบุคคลที่มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท นิติบุคคลที่ไม่ใช่ SME คือเป็นนิติบุคคลที่มีทุนชำระแล้วเกิน 5 ล้านบาท หรือรายได้รวมเกิน 30 ล้านบาท

สำหรับตัวอย่างในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล สมมติ บริษท กขค จำกัด มีกำไรสุทธิทางภาษีที่ 3,200,000 บาท หากบริษัท กขค จำกัดเป็น SME จะคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ดังนี้

การเสียภาษี ห้างหุ้นส่วนจํากัด 2564

หากบริษัท กขค จำกัดไม่ได้เป็น SME (เป็นบริษัทขนาดใหญ่) จะคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ดังนี้

การเสียภาษี ห้างหุ้นส่วนจํากัด 2564

เปรียบเทียบ อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา VS อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตารางเปรียบเทียบแบบชัดๆระหว่างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กับ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล แสดงได้ดังนี้

การเสียภาษี ห้างหุ้นส่วนจํากัด 2564

จากรูปเมื่อนำอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาเปรียบเทียบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบบุคลดูแล้ว จะเห็นได้ว่าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะเริ่มต้นจาก ยกเว้นภาษี ไปแตะอัตราสูงสุดถึง 35% หากเป็นนิติบุคคล SME อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจะเริ่มต้นจาก ยกเว้นภาษี ไปแตะอัตราสูงสุดที่ 20% และหากไม่ใช่นิติบุคคล SME ก็จะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีโดยจะอัตราภาษีอยู่ที่ 20%

จากตารางข้างต้นนี้สรุปได้ว่าหากธุรกิจของคุณยังเล็กอยู่รายได้ยังไม่มาก ทางคุณก็ควรที่จะทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา เนื่องจากอัตราภาษีเงินได้บุคคลธุรรมดาในช่วงแรกที่ต่ำกว่าอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

หากธุรกิจของคุณเป็นนิติบุคคล SME เริ่มใหญ่ขึ้น ช่วงกำไรที่เกิน 750,000 บาทขึ้นไป จะเริ่มมีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต่ำกว่าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

หากธุรกิจของคุณเป็นนิติบุคคลที่ไม่ใช่ SME ช่วงกำไรที่เกิน 1,000,000 บาทขึ้นไป จะเริ่มมีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต่ำกว่าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้นเนื่องจากตัวฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้นเป็นคนละฐานกัน กล่าวคือ หากเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เราจะใช้ฐานเงินได้สุทธินำมาคำนวณ แต่หากเป็นนิติบุคคลเราจะใช้ฐานกำไรสุทธิทางภาษีมาคำนวณ ดังนั้นหากต้องการวิเคราะห์จริงๆว่าธุรกิจของเรานั้นควรจะดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ผมแนะนำให้ลองคำนวณออกมาเป็นตัวเลขจริงๆเท่านั้นครับ

สรุป

จากข้อมูลการเปรียบเทียบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กับ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สรุปได้ว่าหากธุรกิจที่เราทำนั้นยังเล็กๆอยู่ก็ควรที่จำทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา เพราะมีอัตราภาษีที่ต่ำ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมทางด้านบัญชีอีกด้วย แต่หากธุรกิจของคุณเริ่มใหญ่มากๆขึ้น การดำเนินธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลอาจมีความคุ้มค่าในเชิงภาษีมากกว่า

ช่วยแชร์บทความให้หน่อยครับ