ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์

กิจกรรมที่1.1-ระบบย่อยของเทคโนโลยี-รถจักรยานยนต์
Nucharin Promruksa
 ID: 2657246
Language: Thai
School subject: Pasang School
Grade/level: M4
Age: 16-18
Main content: การออกแบบและเทคโนโลยี
Other contents: ระบบทางเทคโนโลยี

ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์
 Add to my workbooks (1)
ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์
 Embed in my website or blog
ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์
 Add to Google Classroom
ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์
 Add to Microsoft Teams
ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์
 Share through Whatsapp

Link to this worksheet:  Copy
ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์

Kroo_Nuch24


ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์
ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์

What do you want to do?

ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์
ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์
Check my answersEmail my answers to my teacher

Enter your full name:

Group/level:

School subject:

Enter your teacher's email or key code:

Cancel

Please allow access to the microphone
Look at the top of your web browser. If you see a message asking for permission to access the microphone, please allow.

Close

                    หากวิเคราะห์ระบบทางเทคโนโลยีอย่างละเอียด เราจำเป็นต้องมองลึกลงไปถึง ระบบย่อยของเทคโนโลยี (technology system) ซึ่งเป็นหน่วยย่อยลงมาของระบบทางเทคโนโลยีการแบ่งระบบเป็นระบบย่อยจะส่งผลให้ระบบนั้นเล็กลงและลดความซับซ้อนทำให้เรามองเห็นกระบวนการทำงานของระบบได้ชัดเจนขึ้นเช่นเขื่อนเป็นระบบเทคโนโลยีที่ประกอบด้วยระบบย่อยๆได้แก่ระบบน้ำระบบไฟฟ้าและระบบเครื่องกล 

ระบบย่อยต่าง ๆ ของเทคโนโลยีนั้นมีความก้าวหน้าไม่เท่ากันการวิเคราะห์ระบบย่อยส่วนใดยังสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพขึ้นกว่าเดิมเป็นจุดเริ่มต้นในการค้นหาและสรรหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น

รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนแทนเครื่องยนต์ และมีแบตเตอรี่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานโดยการอัดประจุไฟฟ้าจากภายนอก มีส่วนประกอบหลักที่แตกต่างจากรถจักรยานยนต์เครื่องยนต์ 2 ส่วน(3) ได้แก่

1. ระบบส่งกำลังระบบส่ง

กำลังจะใช้มอเตอร์เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก โดยมีการส่งกำลังไปที่ล้อได้ 2 แบบ ดังนี้

1.1 ระบบส่งกำลังด้วยมอเตอร์ดุมล้อ (In Wheel Motors) สามารถเลือกให้ขับเคลื่อนได้ทั้ง ล้อหน้าและล้อหลัง หรือจะขับเคลื่อนทั้ง 2 ล้อได้ ดังแสดง รูปที่ 2 (ก)

1.2 ระบบส่งกำลังผ่านสายพานหรือโซ่ ระบบการส่งกำลังนี้จะส่งกำลังจากมอเตอร์ไปยังล้อ โดยผ่าน โซ่หรือสายพานเป็นหลัก เพื่อใช้ในการขับเคลื่อน รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ดังแสดงรูปที่ 2 (ข)

ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์
ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์
รูปที่ 2 มอเตอร์ไฟฟ้าแบบดุมล้อ และระบบส่งกำลังผ่านสายพานหรือโซ่

2. ระบบอัดประจุไฟฟ้า

การอัดประจุไฟฟ้าของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อไปเก็บในแบตเตอรี่ ปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

2.1 ระบบอัดประจุไฟฟ้าแบบมีสาย เป็นการอัดประจุไฟฟ้าด้วยการเชื่อมต่อรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเข้ากับระบบไฟฟ้าโดยตรงผ่านการเสียบปลั๊ก โดยสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การอัดประจุไฟฟ้าแบบปกติ (Normal Charge) ซึ่งจะใช้เวลาในการอัดประจุประมาณ 4-8 ชั่วโมง แสดงในรูปที่ 3 (ก) และ การอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว (Quick Charge) เหมือนของรถยนต์ ซึ่งใช้เวลาใน การอัดประจุเพียง 15-20 นาที แสดงในรูปที่ 3 (ข)

ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์
ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์
รูปที่ 3 การอัดประจุไฟฟ้าแบบปกติ (Normal Charge) การอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว (Quick Charge) และระบบสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping)

2.2 ระบบอัดประจุไฟฟ้าแบบไร้สาย (Wireless Charge) การอัดประจุ ไฟฟ้าในรูปแบบนี้มีความสะดวกและปลอดภัยในการอัดประจุไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการอัดประจุไฟฟ้าแบบไร้สายมีข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพการอัดประจุไฟฟ้า จึงยังไม่เป็นที่นิยม

2.3 ระบบสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping) เป็นระบบที่ผู้ใช้งาน สามารถสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ซึ่งถูกอัดประจุโดยใช้เครื่องอัดประจุภายนอกกลับเข้า ไปในรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ดังแสดงในรูปที่ 3 (ค)

ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์
ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์

ตัวอย่างสาธิตการใช้งานรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า แบบแบ่งปัน

ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์
ระบบทางเทคโนโลยี จักรยานยนต์
รูปที่ 4 สถานีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบ่งปันที่อาคารเคเอกซ์

บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศึกษาพฤติกรรมการขับขี่และการใช้งานรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า Honda PCX Electric ในรูปแบบแบ่งปัน (Electric Motorcycle Sharing) และสร้างต้นแบบสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ (PCX Electric Smart Station) 3 สถานี ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีบางมด จำนวน 2 สถานี และอาคารเคเอกซ์ จำนวน 1 สถานี นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานระบบการ สับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping) โดยเริ่มต้นนำร่องให้บริการแก่นักศึกษา และบุคลากร และสมาชิกในอาคารเคเอกซ์ ซึ่งสามารถยืมใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่น Haupcar และอาจขยายการให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปในอนาคต ดังแสดงในรูปที่ 4

รถจักรยานยนต์มีระบบอะไรบ้าง

ซึ่งในระบบการทางานของรถจักรยานยนต์ประกอบไปด้วยระบบย่อย ๆ หลาย ระบบ เช่น ระบบขับเคลื่อน ระบบล้อ ระบบเฟือง ระบบห้ามล้อหรือเบรก วิเคราะห์ระบบย่อย: ระบบขับเคลื่อน ตัวป้อน แหล่งพลังงาน

เตารีด เป็นระบบทางเทคโนโลยีแบบใด

เตารีดไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ เป็นเทคโนโลยีที่มีระบบทำางานร่วมกันมากกว่า 1 ระบบ และยังมี การใช้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) เพื่อควบคุมการทำางานของระบบอื่น ๆ ให้ทำางานร่วมกันได้ตาม วัตถุประสงค์

กระบวนการ (Process) ของรถจักรยานยนต์คืออะไร

กระบวนการผลิตรถจักรยานยนต์ แบ่งออกได้เป็น ๓ ขั้นตอน ๑. กระบวนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ๒. กระบวนการผลิตชิ้นส่วนโครงรถจักรยานยนต์หรือตัวถัง ๓. กระบวนการประกอบเครื่องยนต์เข้ากับตัวถังเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป

ระบบทางเทคโนโลยีมีความสําคัญอย่างไร

ระบบทางเทคโนโลยี(technological system) คือ มนุษย์ประดิษฐ์หรือสร้างเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อใช้ ในกระบวนการแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ซึ่งกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีนั้น จะต้องทางานอย่าง เป็นระบบ