โครง งาน ภาษา ไทย เรื่อง สังข์ ทอง

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง เป็นการเตรียมงานเขียนโดยนำความรู้หรือข้อเท็จจริงมาจัดระบบใช้ในการวางโครงเรื่องที่มีตัวละคร ฉาก และมีการดำเนินเรื่องไปตามเหตุการณ์ ซึ่งต้องอาศัยการตั้งคำถามตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน ช่วยให้งานเขียนมีคุณภาพ สื่อสารได้ตรงตามจุดประสงค์ และได้ความสมบูรณ์ครบถ้วน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด ท ๒.๑ ป.๕/๓ เขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน
ท ๒.๑ ป.๕/๙ มีมารยาทในการเขียน
 จุดประสงค์

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

๑. บอกหลักการหลักการเขียนแผนภาพโครงเรื่องได้

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

๒. เขียนแผนภาพโครงเรื่องจากเรื่อง สังข์ทอง ตอน กำเนิดพระสังข์ได้
ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

๓. มีมารยาทในการเขียน

การวัดผลและประเมินผล

๑ ประเมินการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง สังข์ทอง ตอน กำเนิดพระสังข์

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนสามารรถทำโครงงานวิชาภาษาไทยได้

ตัวอย่างการทำโครงงานวิชาภาษาไทย

โครงงานภาษาไทยเรื่องคำพังเพย
http://www.oknation.net/blog/suppapong/2009/09/15/entry-2

โครงงานภาษาไทยเรื่องคำราชาศัพท์ 
http://www.oknation.net/blog/suppapong/2009/09/15/entry-1

โครงงานภาษาไทนเรื่องนิทาน
http://www.slideshare.net/lllRawinniphalll/ss-11250526

โครงงานภาษาไทย เรื่อง สังข์ทอง
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=18412

Just for you: FREE 60-day trial to the world’s largest digital library.

The SlideShare family just got bigger. Enjoy access to millions of ebooks, audiobooks, magazines, and more from Scribd.

Read free for 60 days

Cancel anytime.

บทที่  ๑  บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

            บทละครเรื่องสังข์ทองนี้ เป็นวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจในการศึกษา  มีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีลักษณะของละครนอก มีตัวละครที่เป็นรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เจ้าเงาะซึ่งคือพระสังข์ กับนางรจนา เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและเป็นนิยม จึงมีการนำเนื้อเรื่องบางบทที่นิยม ได้แก่ บทพระสังข์ได้นางรจนา เพื่อนำมาประยุกต์เป็นการแสดงชุดรจนา-เสี่ยงพวงมาลัย

สังข์ทองเป็นเรื่องที่ได้มาจากสุวัณสังขชาดก เป็นหนึ่งใน ชาดกพุทธประวัติ เป็นนิทานพื้นบ้านในภาคเหนือและภาคใต้โดยที่สถานที่ที่กล่าวถึงเนื้อเรื่องในสังข์ทอง
วัตถุประสงค์

๑. เพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของละครนอก เรื่องสังข์ทอง

๒. เพื่อประโยชน์แก่ผู้ชมหรือผู้ฟัง
สมมติฐานของการศึกษา

บทละครนอกเรื่องสังข์ทองมีประโยชน์ที่ดีและเหมาะสำหรับเก็บไว้อ่านสอบ

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

๑.      ศึกษาตามวิธีการของหนังสือเรียนวิวิธภาษา เรื่อง โครงงานเด่น เขียนเน้นกระบวนการ เป็นหนังสือเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

๒.    ศึกษาในอินเทอร์เน็ตของเว็บ http://th.wikipedia.org และ http://www.st.ac.th/

นิยามคำศัพท์  การเลือกสรรคำ
คำที่ใช้เป็นคำง่าย  แต่กลั่นกรองอย่างประณีต  เหมาะสมกับตัวละครและเนื้อเรื่อง  ในบทละครนอกส่วนใหญ่ใช้คำที่เป็นภาษาชาวบ้าน  เพราะแลดงให้ชาวบ้านชม  เดิมจะใช้ภาษาง่ายแต่อาจหยาบโลนไม่ไพเราะ  บทพระราชนิพนธ์จะใช้คำที่เป็นลักษณะเดียวกันแต่ขัดเกลาให้เรียบร้อยไพเราะกว่า  ใช้ภาษากวีได้ดีแม้ว่าจะเป็นการแต่งละครนอกซึ่งไม่มุ่งความงดงามองภาษามากนัก  การเลือกสรรคำมาใช้แบงออกได้เป็น  ๒  ลักษณะคือ
๑.การใช้คำให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง  คือ  ใช้คำจำนวนน้อย  กินใจความมาก  ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย  บทละครนอกจะดำเนินเรื่องไปอย่างรวดเร็ว  การแต่งจึงค่อนข้างรวบรัดใช้คำที่เข้าใจง่าย
๒.การใช้คำให้เหมาะกับบุคคล  เรื่องสังข์ทองมีบทบาทของบุคคลที่ต่างสถานภาพกันมากมาย  รัชกาลที่  ๒   สามารถเลือกใช้ถ้อยคำได้เหมาะสมกับสถานภาพของบุคคล
เสียงเสนะ
ความไพเราะในคำกลอนได้จากสัมผัสอักษรและสัมผัสสระ                                                                                                                 

จินตนาการ
การบรรยายบางตอนทำให้ผู้อ่านนึกเห็นภาพตามไปด้วย  เช่น  การบรรยายภาพทะเล

กวีโวหาร
กวีโวหาร  คือการใช้ชั้นเชิงในการแต่งให้มีรสของถ้อยคำลึกซึ้งประทับใจ  ได้แก่
๑.การใช้ภาษาให้เกิดภาพพจน์  คือ  กลวิธีในการใช้ภาษาให้ข้อความนั้นกินใจ  ชวนคิด  ชวนให้จดจำ  โดยไมใช่การบอกเล่าอย่างตรงไปตรงมา  มีหลายวิธี เช่น
๑.๑  วิธีอุปมาอุปไมย  คือ  การกล่าวเปรียบเทียบของสองสิ่งว่าสิ่งหนึ่ง  เหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง  ทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมให้เห็นความรู้สึกชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าคำอธิบายตามธรรมดา  โดนใช้คำที่บ่งบอกว่าเปรียบเทียบอย่างชัดเจน  คือ  คำว่า  อุปมา  เล่ห์  ดุจ  กล  เฉก  เช่น  เหมือน  ราว  ประดุจ  เพียง  เสมอ  คล้าย
๑.๒  วิธีอุปลักษณ์  คือการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง  ไม่มีคำที่บ่งบอกการเปรียบให้เห็นเหมือนอุปมา  บางครั้งเรียกว่า  เปรียบเป็น  เพราะใช้คำว่า  เป็น เท่า  คือ
๑.๓  บุคลาธิษฐาน  คือ  การสมมติให้สิ่งที่กล่าวถึงมีชีวิตเหมือนมนุษย์
๒.  การพรรณนาและการบรรยายที่แจ่มแจ้งชัดเจน  การพรรณนาแบบนี้ผู้อ่านจะสามารถนึกตาม  เห็นภาพ  เข้าใจถ้อยคำและข้อความอย่างแจ่มแจ้งลึกซึ้ง  ซึ่งมีหลายวิธี  เช่น
๒.๑  การพรรณนาที่ทำให้เห็นภาพอย่าสงตรงไปตรงมา
๒.๒  การบรรยายให้เห็นนาฏการ  คือ  ภาพความเคลื่อนไหวและบทบาททางอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของตัวละคร
รสในวรรณคดี
   รสในวรรณคดี  คือ  ลีลาอันไพเราะที่เกิดจากการแงคำประพันธ์  ซึ่งมี ดังนี้
๑.เสาวรจนี  (ถ้อยคำชมโฉม)  คือ  บทที่ชมความงาม  ส่วนใหญ่เป็นการชมความงามของตัวละคร
๒.นารีปราโมทย์  (ถ้อยคำเกี้ยวหรือบทโอ้โลม)  เป็นบทที่แสดงความรักใคร่  หรือพูดจาโอ้โลมให้อีกฝ่ายหนึ่งชื่นชอบ
๓.พิโรธวาทัง  (ถ้อยคำแสดงความโกรธหรือบทตัดพ้อ)  เป็นบทแสดงความโกรธ  เคียดแค้น  ตัดพ้อ  เหน็บแนม  เสียดสี  ด้วยประการต่างๆ ๔.สัลลาปังคพิสัย  (ถ้อยคำแสดงความโศก)  เป็นบทพรรณนาความโศกเศร้า  หรือคร่ำครวญ
ความไพเราะหรือความดีเด่นของถ้อยคำในบทละครนอกนั้นเน้นหนักที่สำนวนโวหารอันคมคาย  การใช้ถ้อยคำโต้ตอบกันอย่างเผ็ดร้อนแต่ก็น่าฟัง  เพราะเป็นคารมที่เฉียบแหลม  ทำให้มองเห็นลักษณะของ  “ละครชาวบ้าน”   ซึ่งการใช้ภาษาไม่ละเมียดละไม ประณีตบรรจงเท่ากับละครใน ซึ่งละครนอกจะใช้คำง่าย ตรงไปตงมา และสนุกแบบ “สาแก่ใจ” ผู้ชม