นโยบายต่างประเทศของไทยต่อญี่ปุ่น

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย จัดสัมมนาเชิงวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “Envisioning the Future: Thailand-Japan Strategic Economic Partnership” เพื่อรับฟังมุมมองจากฝ่ายบริหารของรัฐบาล และบุคคลในแวดวงเศรษฐกิจของไทยและญี่ปุ่น ทั้งจากภาครัฐ ภาควิชาการและภาคเอกชน เกี่ยวกับแนวทางและข้อเสนอแนะในการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น ท่ามกลางสถานการณ์ความท้าทายจากสถานการณ์โควิด-๑๙

เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย จัดสัมมนาเชิงวิชาการภายใต้หัวข้อ “Envisioning the Future: Thailand-Japan Strategic Economic Partnership” ผ่านระบบ Zoom Webinar เพื่อรับฟังมุมมองจากฝ่ายบริหารของรัฐบาล และบุคคลในแวดวงเศรษฐกิจของไทยและญี่ปุ่นทั้งจากภาครัฐ ภาควิชาการและภาคเอกชนเกี่ยวกับแนวทางและข้อเสนอแนะในการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น ท่ามกลางสถานการณ์ความท้าทายในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายในระดับทวิภาคี อนุภูมิภาค และภูมิภาค โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานทั้งสิ้น ๑,๒๐๓ คน และมีผู้เข้าร่วมรับฟังในวันสัมมนาจำนวน ๙๗๘ คน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวปาฐกถา (Keynote Speech) ภายใต้หัวข้อ “Way forward for Thailand-Japan Relations in the post COVID-19 World” โดยได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นที่มีความแน่นแฟ้นในทุกมิติมาตลอด ๑๓๔ ปี เป็นมิตรแท้ที่ผ่านความท้าทายและช่วยเหลือเกื้อกูลกันเสมอในทุกช่วงเวลา โดยเฉพาะวิกฤติการระบาดของโควิด-๑๙ ที่ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจ สังคม และวิธีชีวิตของมนุษย์ ทำให้ทั้งสองฝ่ายตระหนักว่าการพัฒนาและสร้างระบบต่าง ๆ หลังจากนี้จะต้องมุ่งไปในทิศทางที่เน้นความยั่งยืนและความครอบคลุม (Sustainable and Inclusive growth) เพื่อสร้างสรรค์สันติภาพ ความเจริญมั่งคั่ง และความสุขที่ยั่นยืนของประชาชนให้กับทุกเขตเศรษฐกิจ ภูมิภาค และโลก

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอแนวทางความร่วมมือกับญี่ปุ่นในการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ โดยการสอดประสานนโยบาย BCG Economy Model ซึ่งเป็น new growth paradigm ของไทย กับยุทธศาสตร์ Green Growth ของญี่ปุ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นใน ๔ เรื่อง ได้แก่ (๑) การเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยให้เป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานสะอาด (ZEV) อย่างสมบูรณ์ โดยอาศัยประสบการณ์ที่ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์สำคัญในตลาดโลกมากกว่า ๓๐ ปี และมีองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้รับการถ่ายทอดจากญี่ปุ่น (๒) การสร้าง Bio-Cycle ที่ประกอบด้วย Bio-Fuel และ Bio-Mass ในวงจรเศรษฐกิจ เนื่องจากไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตด้านนี้ จึงประสงค์ให้เอกชนญี่ปุ่นมาลงทุนในด้านนี้เพิ่มเติม (๓) อุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารครบวงจรจากความหลากหลายของทรัพยากรทางชีวภาพ โดยเชิญชวนให้เอกชนญี่ปุ่นที่มีความก้าวหน้าในด้านนวัตกรรมที่ทันสมัยมาร่วมมือให้เกิดประโยชน์สูงสุดใน Global Value Chain และ (๔) การบ่มเพาะผู้ประกอบการและพัฒนาแรงงานทักษะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ BCG Economy โดยการเร่งพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันโคเซ็นในไทย และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจกับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนของเอกชนญี่ปุ่นในไทย โดยเฉพาะสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรม

นายนาชิดะ คาซูยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้บรรยายพิเศษ (Special Lecture) ภายใต้หัวข้อ “Towards a new stage of Japan-Thailand cooperation” โดยได้ย้ำถึงความสัมพันธ์ฉันมิตรที่ไม่ทอดทิ้งกันในยามยากลำบาก ทั้งในช่วงที่ญี่ปุ่นประสบภัยแผ่นดินไหวและสึนามิ และไทยเผชิญกับอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อ ๑๐ กว่าปีที่แล้ว โดยทั้งสองฝ่ายได้แสดงไมตรีจิตให้ความช่วยเหลือกันและกัน และเมื่อไม่นานนี้ ญี่ปุ่นได้มอบวัคซีน AstraZeneca จำนวน ๑ ล้าน ๕ หมื่นโดสแก่ไทย และได้ให้ความช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลไทยในการแก้ไขสถานการณ์โควิด-๑๙ นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ ยังได้ย้ำความสำคัญของไทยในฐานะการเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของบริษัทญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยหลังจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับไทยจะมุ่งสู่เวทีความร่วมมือใหม่ ๆ โดยหวังที่จะพัฒนาความร่วมมือใน ๒ ประเด็น ได้แก่ (๑) การเป็นพันธมิตรต่อกันในความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Co-Creation ที่เน้นการร่วมมือและพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นผ่านการระดมปัญญา แก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมในส่วนที่ขาดของกันและกัน แล้วสร้างให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ต่อไป เช่น ปีที่แล้วญี่ปุ่นได้สนับสนุนการจับคู่ธุรกิจบริษัทสตาร์ทอัพญี่ปุ่นด้านเทคโนโลยี ดิจิทัล และระบบ AI/IoT กับผู้ประกอบการไทยหลายโครงการ (๒) การสร้างความแข็งแกร่งและขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน (Sustainability) จัดตั้งกองทุน ๒ ล้านล้านเยน (ประมาณ ๖ แสนล้านบาท) สำหรับผู้ประกอบการเอกชนนำไปวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่นำไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Carbon Neutral) ให้เกิดขึ้นได้จริงในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ สอดรับกับนโยบาย BCG Model ของไทยที่ถือว่าเป็น Flagship ที่จะช่วยกระตุ้นให้มีการขยายธุรกิจ และการลงทุนใหม่ ๆ จากบริษัทญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น

ในห้วงการเสวนา (Panel Discussion) ภายใต้หัวข้อ “What now & What next: Thailand-Japan Strategic Economic Partnership in Challenging Time” ซึ่งมีผู้เข้าร่วม ได้แก่ (๑) นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว (๒) นายจิระพันธ์ อุลปาทร ประธานสถาบันความร่วมมืออุตสาหกรรมไทย - ญี่ปุ่น (TJIC) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (๓) นายอารีย์ ชวลิตชีวินกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ซิเมนต์ไทยโฮลดิ้ง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG) (๔) นางสาว YURUGI Yoshiko หัวหน้าาผู้แทนประจำสำนักงานผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชีย องค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น (NEDO) (๕) ศาสตราจารย์ ดร. OIZUMI Keiichiro สถาบันเอเชียศึกษามหาวิทยาลัยเอเชีย ประเทศญี่ปุ่น (๖) นาย CHOKKI Morikazu ประธานบริษัท Mitsubishi Motors (Thailand) Co., Ltd. และ (๗) นาย MORITA Keisuge ผู้บริหารบริษัท Spiber (Thailand) Ltd. ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการสร้างคุณค่าให้กับความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในอนาคต โดยการให้ความสำคัญกับการดำเนินความร่วมมือในการสอดประสานโมเดล BCG Economy ของไทยและยุทธศาสตร์ Green Growth Strategy ของญี่ปุ่น โดยการเตรียมความพร้อมเพื่อเสริมสร้างอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานสะอาด (ZEV) และอุตสาหกรรมชีวภาพ โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแรงงานฝีมือชั้นสูง และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย โดยการพิจารณาใช้พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นสถานที่รองรับการพัฒนาดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อให้เอกชนญี่ปุ่นซึ่งยังคงเล็งเห็นถึงจุดแข็งของไทยในฐานะฐานการผลิตเพื่อส่งออกที่สำคัญในภูมิภาคที่มีในโครงสร้างพื้นฐานที่เพียบพร้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ รัฐบาลของทั้งสองฝ่ายควรจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างกันระยะ ๕ ปี ในโอกาสการครบรอบ ๑๓๕ ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในปีหน้า และใช้ประโยชน์จากกลุ่มเอกชนญี่ปุ่นที่มีขนาดใหญ่ให้มากยิ่งขึ้น