ถวัลย์ ดัชนี ผลงานและเกียรติคุณ

          และด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวแบบนี้เอง ทำให้ใคร ๆ ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า "เห็นเพียงหางตาก็รู้แล้วว่า นี่คือผลงานของ อ.ถวัลย์" ...กระปุกดอทคอมจึงขอนำผลงานภาพวาดบางส่วนของบรมครูท่านนี้มาให้ได้ชมกัน เพื่อรำลึกถึงท่านอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ตลอดกาล...

2506 – 2512 – ศึกษาระดับปริญญาโท ทางด้านจิตรกรรมฝาผนัง อนุสาวรีย์ ผังเมือง และปริญญาเอก สาขาอภิปรัชญาและสุนทรียศาสตร์  ที่ราชวิทยาลัยศิลปแห่งชาติ อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ (RIJKS AKADEMIE VAN BEELDEN DE KUNSTEN AMSTERDAM NEDERLAND)

การแสดงนิทรรศการ

2497 – นิทรรศการศิลปะของโรงเรียนเพาะช่าง

2498 – นิทรรศการแสดงของนักเรียนเพาะช่างที่เด่นด้านจิตรกรรม ณ หอศิลปแห่งชาติโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

2499 – นิทรรศการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ นิทรรศการแสดงภาพของนักเรียน โรงเรียนเพาะช่างประจำปี แสดงเดี่ยวงานจิตรกรรม ประติมากรรมนูนต่ำ เครื่องหนัง เครื่องไม้ไผ่ เครื่องโลหะ ณ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย

2508 – ร่วมแสดงผลงานจิตรกรรมไทยกับอินสนธิ์ วงสาม ปรีชา บางน้อย ณ ทำเนียบทูตไทย นายบุณย์ เจริญชัย เอกอัครราชทูตไทย กรุงปารีส (ปัจจุบันกระทรวงต่างประเทศ นำภาพเขียนขนาดใหญ่จากประเทศฝรั่งเศสมาประดับไว้ที่กรมพิธีการทูต กรุงเทพ)

2509 – นิทรรศการแสดงกลุ่มนักศึกษาภายหลังปริญญาตรี ของราชวิทยาลัยศิลปแห่งชาติ อัมสเตอร์ดัม นิทรรศการมหกรรมศิลปไทย หอศิลป กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์

2510 – นิทรรศการแสดงเดี่ยว ณ หอศิลปแห่งชาติร่วมสมัย จัดโดยพิพิธภัณฑ์ศิลปร่วมสมัยแห่งชาติ อัมสเตอร์ดัม

2511 – นิทรรศการแสดงเดี่ยวหอศิลปแห่งชาติ กรุงอัมสเตอร์ดัม

2512 – เดินทางกลับประเทศไทยแวะศึกษาจิตรกรรมที่ประเทศอิตาลีระยะหนึ่งและได้ก่อสร้างบ้านพักส่วนตัวครั้งแรกที่บ้านเกิด จังหวัดเชียงราย

– จัดนิทรรศการการงานศิลปะรวบยอด เพาะช่าง ศิลปากร อัมสเตอร์ดัมที่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม

2514 – นิทรรศการแสดงเดี่ยว สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน กรุงเทพฯ

– นิทรรศการแสดงเดี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2515 – นิทรรศการแสดงเดี่ยว บริติชเคาน์ซิล กรุงเทพฯ

– นิทรรศการแสดงเดี่ยว ศูนย์วัฒนธรรมเยอรมัน กรุงเทพฯ

2516 – นิทรรศการแสดงเดี่ยว ศูนย์วัฒนธรรมเยอรมัน ร่วมกับ บริติชเคาน์ซิล ที่บริติชเคาน์ซิล กรุงเทพ

2517 – นิทรรศการแสดงเดี่ยว หอศิลปแห่งชาติ ฮาวาย สหรัฐอเมริกา ศูนย์การศึกษาตะวันตก – ตะวันออก มหาวิทยาลัยฮาวาย

2520 – นิทรรศการแสดงเดี่ยว การแสดงศิลปกรรมครั้งแรก ที่ได้รับเชิญให้เป็นตัวแทนของประเทศไทย ณ หอศิลปแห่งชาติ นครเยรูซาเล็ม อิสราเอล หอศิลปเมืองอายน์คาเร็ม อิสราเอล และเป็นแขกพำนัก ณ มิชเคนอทชาอานานิม อาศรมรังสรรค์สันติภาพ เยรูซาเร็ม อิสราเอล

– นิทรรศการแสดงเดี่ยว หอศิลป เมืองซานดาม เนเธอร์แลนด์

– นิทรรศการแสดงเดี่ยว พิพิธภัณฑ์ศิลปแห่งชาติ ซูริค สวิตเซอร์แลนด์

– นิทรรศการแสดงเดี่ยว หอศิลป กรุงเบิร์น สวิตเซอร์แลนด์

2525 – นิทรรศการแสดงเดี่ยว บริติชเคาน์ซิล กรุงเทพฯ

2526 – 2527 –  แสดงกลุ่มศิลปกรรมไทย ทูบิงเก้น เยอรมัน

2529 – 2530 – เป็นผู้แทนจากประเทศไทย ไปปฏิบัติงานจิตรกรรมร่วมสมัยกับ 17 ชาติในเอเชียที่กวนตัน มาเลเซีย คลับเมดแห่งมาเลเซีย เข้าร่วมประชุมด้านจิตรกรรมที่ มาดริด สเปน นิทรรศการแสดงเกี่ยวกับศิลปกรรมไทย สถาบันวัฒนธรรมเยอรมนี ณ นคร ซานฟรานซินโก สหรัฐอเมริกา

2531 – นิทรรศการแสดงเดี่ยว สภาศิลปกรรมไทย กับพิพิธภัณฑ์ศิลป เมืองพาซาเดน่า ณ ลอสแองเจลีส

2532 – นิทรรศการศิลปกรรมไตยวน การแสดงกลุ่มศิลปะของศิลปินล้านนา จากเชียงราย 5 คน ครั้งแรก ณ ศูนย์วัฒนธรรม แห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ

2536-2537 – แสดงนิทรรศการเดี่ยวที่หอศิลป มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลีย

2580 – เป็นตัวแทนศิลปินไทย 1 ใน 10 ไปแสดงงานศิลปะเปิดสถานทูตไทยใหม่ที่นครลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา เป็นศิลปินไทย ตัวแทนคัดเลือกผู้เดียวจากสหประชาชาติ แสดงรูปที่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์ค

2541 – ออกแบบและร่วมมือกับจังหวัดเชียงรายทำตุงทองคำ ขนาดเท่าพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ

2542 – นิทรรศการเดี่ยวครบ 5 รอบ ถวัลย์ ดัชนี ธนาคารกรุงเทพ สาขาผ่านฟ้า บ้านดำ นางแล ไร่แม่ฟ้าหลวง เปิดหอศิลปส่วนตัว ถวัลย์ ดัชนี โดยนักสะสมภาพชาวเยอรมัน ดร.ยอร์กี้ วิกันธ์ ประธานกรรมการ บริษัทแก้ว มึนเช่น เมืองมึนเช่น  (นครมิวนิค) เยอรมนี

2543 – นิทรรศการย้อนถวัลย์ ดัชนี 60 ผลงาน 60 ชิ้น จากอายุ 16 ถึง 60 บ้านดำ นางแล เปิดหอศิลปถวัลย์ ดัชนี 1 ตึกยูคอม กรุงเทพฯ งานแสดงรวมกลุ่มจิตรกรนานาชาติ ลิสบอน พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยโปรตุเกส เป็นตัวแทนจิตรกรเชียงราย  เขียนรูปพลังแผ่นดิน เป็นราชพลีแก่แผ่นดินเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร่วมแสดงในงานสล่าชาวเชียงราย สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงราย

2544 – เป็นตัวแทนจิตรกรไทยร่วมกับ 70 จิตรกร จาก 25 ชาติทั่วโลก แสดงงานศิลปะ และเป็นศิลปินในพำนักที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมาเลเซีย ที่เกาะลังกาวี ประสานงานกับดาโต๊ะอิบราฮิบ ฮุสเซ็น ศิลปินแห่งชาติมาเลเซีย นิทรรศการเดี่ยว พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เมืองฟุกุโอกะ ถวัลย์ ดัชนี ได้รับรางวัลศิลปวัฒนธรรมแห่งอาเชียน จิตรกรคนแรกและคนเดียวในโลกตะวันออกที่ได้รับรางวัลนี้ในฐานะจิตรกร นับตั้งแต่สิบสองปีของรางวัลฟุกุโอกะ นิทรรศการแสดงเดี่ยวพุทธปรัชญาเซ็นปรากฏรูป ในงานศิลปร่วมสมัยต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชินี มากาเรตเต้ เจ้าชายเฮนดริกและมกุฎราชกุมารเฟเดอริดแห่งเดนมาร์ก ที่ไร่แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับเลือกจากองค์การสหประชาชาติ ให้เป็นผู้แทนวัฒนธรรมทางศิลปะภาคตะวันออกไปแสดงผลงานที่นิวยอร์ก ปารีส โรม ลิสบอน แคนเบอร่า และโตเกียว ตามลำดับ

พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับคัดเลือกจาก FUKUOKA ASIAN CULTURE PRIZE COMMITTEE ให้รับรางวัล Arts and Culture Prize

การทำประโยชน์เพื่อสังคม

ถวัลย์ ดัชนี มีโภคทรัพย์อันเกิดจากการวาดรูปค่อนข้างมากในความรู้สึกของคนทั่วไป แต่สำหรับถวัลย์แล้ว เงินไม่ใช่สิ่งสำคัญสูงสุด เงินไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ มากนัก เขายังคงเป็นถวัลย์ ดัชนี ผู้มีชีวิตเรียบง่าย นอบน้อมถ่อมตน ยังคงกินน้อย นอนน้อย ทำงานวาดรูปมากสม่ำเสมออยู่เช่นเดิม ถวัลย์ผันเงินส่วนใหญ่ไปทำประโยชน์แก่วงการศิลปะ ทั้งวงการศึกษาและการสร้างสรรค์ เขายังหวังอยู่ว่าวันหนึ่งสังคมไทยจะให้ความสำคัญแก่ ศิลปะและการสร้างสุนทรียรสให้แก่ผู้ตน เขาทุ่มเทเวลาส่วนมากฟูมฟักศิลปสถาน ที่ชาวบ้านเรียกว่าบ้านดำ นางแล ที่จังหวัดเชียงรายบ้านเกิด ให้กลายเป็นสถานที่ทางการศึกษาศิลปวัฒนธรรมของชาติด้วยการจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้านในเนื้อที่กว่าร้อยไร่ ประกอบด้วยอาคารแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคเหนือกว่า ๔๐ หลัง และอาคารสถาปัตยกรรมท้องถิ่นประยุกต์หลายหลังสำหรับจัดแสดงศิลปะพื้นบ้าน (Folk Art) ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ของช่างท้องถิ่น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นเหล่านี้ถวัลย์ ดัชนีใช้เวลารวบรวมด้วยความตั้งใจมาเป็นเวลานานกว่า ๔๐ ปี ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์บ้านดำ เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมทุกวัน (จันทร์-อาทิตย์) ไม่มีวันหยุด (เวลาเปิดบริการ 9.00 น. - 12.00 น. / 13.00 น.- 17.00 น.)

ตลอดระยะ ๒๕ ปีที่ผ่านมา ถวัลย์ ดัชนี อยู่เบื้องหลังการรวมตัวของช่างผู้รังสรรค์ศิลปะ ทั้งช่างในท้องถิ่นและภาคอื่นๆ ของประเทศไทย เพื่อเคลื่อนไหวจัดกิจกรรมทางศิลปะอย่างเป็นรูปธรรม มีผลงานศิลปะหลากหลายออกสู่สายตาสาธารณชนซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก และยังได้บริจาคเงิน ๑๒ ล้านบาท จัดตั้งมูลนิธิถวัลย์ ดัชนี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ด้วยการใช้ดอกผลจากกองทุนนี้สนับสนุนการศึกษาของสถาบันที่ถวัลย์เคยเกี่ยวข้องได้แก่ โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม โรงเรียนสามัคคีวิทยา จังหวัดเชียงราย วิทยาเขตเพาะช่าง และมหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาที่เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์สถาบันละ ๑๐ ทุน ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ทุนสนับสนุนสอนศิลปะไทย โดย ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ ทุนวิจัยแก่มูลนิธิ ม.ล.มานิจ ชุมสาย ณ อยุธยา ทุนมูลนิธิบ้านอาจารย์ พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มูลนิธิพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎเชียงราย บูรณปฏิสังขรณ์ วังพญาไทกรุงเทพฯ

นอกจากนี้ ถวัลย์ ดัชนี ยังเป็นกรรมการตัดสินงานศิลปกรรมแห่งชาติ รางวัลจิตรกรรมบัวหลวง รางวัลศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทย รางวัลพานาโซนิค ศิลปะร่วมสมัยมาตลอดระยะเวลา ๒๕ ปี เป็นมาสเตอร์เอเชีย อบรมยุวศิลปินทั่วเอเชีย ๑๐ ประเทศ เป็นอาจารย์ในพำนักสอนศิลปะ ปรัชญาทั้งในยุโรป อเมริกา เอเชีย ออสเตรเลีย และหลายมหาวิทยาลัย สถาบันศิลปะหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศให้ทุนวิจัยศิลปินในพำนักที่บ้านดำ นางแล มาตลอด ๒๕ ปี แก่ศิลปินทั่วโลกโดยทุนส่วนตัว ทะนุบำรุงจิตรกร ปฏิมากร คีตกร นาฏกร ทั้งในและต่างประเทศมาตลอดเวลาของชีวิต เขียนบทนำ บทความแนะนำตัวผู้รังสรรค์ศิลปะมาโดยตลอด หลังจากอายุ ๖๐ ปี ร่วมมือกับชาวสล่าเชียงรายทำงานเผยแพร่อนุรักษ์ วิจัยระบบนิเวศวิทยาเชิงศิลปะ และรวบรวมงานศิลปะทางมานุษยวิทยา พัฒนาไปสู่ความร่วมสมัยเป็นประธานและหัวหน้าคณะทำงานจิตวิญญาณตะวันออก ลมหายใจไทย ร่วมมือกับบุญชัย เบญจรงคกุล ดีแทค จัดประกวดงานศิลปะร่วมสมัยขึ้นเป็นปีแรก ใน พ.ศ. ๒๕๔๕ เขียนตำรากายวิภาคคน สัตว์ แมลง สัตว์เลื้อยคลาน และนก จัดพิมพ์โดยสหประชาชาติ ร่วมมือกับ มร.โคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ให้ทุนวิจัยดนตรี กวีและการละเล่นพื้นเมือง ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ทุนแก่ยุวจิตรกรเชียงรายที่เขียนภาพผนังหลายวัดในจังหวัดเชียงราย ร่วมมือกับไร่แม่ฟ้าหลวง สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงราย จัดนิทรรศการหมุนเวียนมาตลอด ๒๕ ปี ให้ทุนสนับสนุนสมาคมศิษย์เก่าเพาะช่าง มหาวิทยาลัยศิลปากรมาโดยตลอด 

ถวัลย์ดัชนีมีผลงานอะไรบ้าง

1.) ถวัลย์ ดัชนี จิตรกรรมไทยสากลวิญญาณตะวันออก (พิมพ์ 3 ภาษา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน) โดยกิลเบิร์ท บราวน์สโตน 2.) ภาพร่างเส้นใยวิญญาณ ถวัลย์ ดัชนี (ภาษาเยอรมัน) โดยอูลลิซ ชาร์คอสสกี้ 3.) งานจิตรกรรม งานแกะไม้ งานภาพลายเส้นของถวัลย์ ดัชนี พิมพ์ที่สหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2509-2512 ยุคปลายสมัยศิลปากร-อัมสเตอร์ดัม

อ.ถวัลย์ ดัชนี ใช้สีอะไร

ภาพลักษณ์ของถวัลย์ ดัชนี ที่ปรากฏต่อสาธารณชนคือ ชายร่างใหญ่ ค่อนข้างเจ้าเนื้อ แต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองเหนือสีครามเข้ม หรือสีกรัก มีเขี้ยวเล็บ กระดูกสัตว์ป่าเป็นเครื่องประดับ นับตั้งแต่อายุ 55 ปี ไม่เคยใส่เครื่องประดับกายชนิดใดเลย รูปลักษณ์ที่ปรากฏแก่คนทั่วไปเช่นนี้เป็นจุดยืนอันเด่นชัดของ ถวัลย์ ดัชนี ที่ไม่ยอมรับแฟชั่น ...

อาจารย์ถวัลย์ดัชนีใช้เทคนิคใดในการสร้างสรรค์ผลงาน

ถวัลย์ ดัชนี เริ่มจากการสนใจลัทธิเซอร์เรียลิสม์ (Surrealism) และรับอิทธิพลของเซอร์เรียลิสม์โดย ตรง เขายอมรับว่าได้อาศัยรูปแบบของศิลปะนี้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์งานของเขา แบ่งออกเป็นช่วง ๆ เริ่มจากเรื่องราวที่เป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ต่อมาก็สร้างชุดจักรวาลและทศชาติด้วย ความสำคัญของวัน

ผลงานชิ้นเอกของ ถวัลย์ ดัชนี เก็บไว้ที่ไหน?

นอกจากการแสดงผลงานแล้ว ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ของการสร้างงานศิลปะ ถวัลย์ ดัชนี ยังมีผลงานติดตั้งแสดงถาวรอยู่ในพิพิธภัณฑ์ศิลปสมัยใหม่ และสถานที่สำคัญๆ หลายแห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้ พ.ศ. 2503 ภาพเขียนสีน้ำมัน 10 ภาพ ซื้อโดยพลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ประดับที่โรงพิมพ์สยามรัฐ