ปัจจัยสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับต้นเหตุของโรค ข้อใดถูกต้อง

ปัจจัยสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับต้นเหตุของโรค ข้อใดถูกต้อง

มะเร็งเกิดจากอะไร สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง สัญญาณเตือน รู้ก่อนเพื่อป้องกัน

หากพูดถึงโรคที่เรียกว่าเป็นภัยเงียบ หนึ่งในนั้นต้องมีโรคมะเร็งรวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน ด้วยลักษณะของโรคที่จะเริ่มสร้างความปกติให้ร่างกายอย่างช้า ๆ และกว่าผู้ป่วยจะทราบว่าป่วยเป็นโรคนี้ ก็มักจะสร้างความเสียหายให้กับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายไปมากแล้ว ดังนั้นแนวทางที่ดีที่สุดคือ การเฝ้าระวังสัญญาณเตือนจากภัยเงียบนี้อยู่เสมอ

รู้จักโรคมะเร็ง

มะเร็ง เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรม (DNA) ในเซลล์ของร่างกาย ซึ่งความผิดปกตินี้ทำให้เกิดการแบ่งตัว เพิ่มจำนวนเซลล์อย่างรวดเร็วอย่างไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติขึ้น ก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นสามารถที่จะลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียงหรือแพร่กระจาย (Metastasis) ไปยังอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายได้ อย่างไรก็ตามมะเร็งบางชนิดไม่ได้ทำให้เกิดก้อนเนื้อ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น โดยความผิดปกตินี้สามารถเกิดได้กับเซลล์ตามอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยจะเรียกชื่อมะเร็งตามอวัยวะนั้น ๆ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามวิธีการรักษามะเร็งจะแตกต่างกันไปตามอวัยวะ ระยะของมะเร็ง และสภาพร่างการของผู้ป่วย

ปัจจัยเสี่ยงก่อโรคมะเร็ง

ดังที่กล่าวไปข้างต้น มะเร็งเกิดมาจากความผิดปกติของสารพันธุกรรม ดังนั้นสิ่งที่ส่งผลต่อความผิดปกติของสารพันธุกรรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ

  1. ความผิดพลาดในขั้นตอนการสร้างสารพันธุกรรมของเซลล์ ซึ่งโดยปกติร่างกายมีระบบที่จะตรวจสอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเหล่านี้อยู่แล้ว แต่พบว่าเมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถในการตรวจสอบความผิดพลาดเหล่านี้จะด้อยลง จึงเป็นเหตุผลที่เรามักพบมะเร็งในคนที่อายุเยอะมากกว่าในคนที่อายุน้อย

  1. ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้เกิดความเสียหายของสารพันธุกรรมและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมที่เป็นตัวต้นเหตุของมะเร็ง ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมได้แก่ รังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่มีสารอัลฟาทอกซิน พบได้ในถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ที่ไม่ถูกเก็บรักษาอย่างเหมาะสม

  1. ปัจจัยภายในร่างกายที่ป่วยโดยโรคบางโรค เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ตับอักเสบซี เอชพีวี (HPV) เอชไอวี หรือโรคพยาธิใบไม้ในตับ ก็เพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งในบางอวัยวะ หรือแม้กระทั่งโรงอ้วนก็พบว่าเป็นความเสี่ยงของมะเร็งหลายชนิด นอกจากนี้มะเร็งบางชนิดยังสามารถถ่ายทอดในครอบครัวได้ด้วย

สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง

แม้มะเร็งจะเป็นภัยเงียบก็จริง แต่หากหมั่นสังเกตความปกติแม้เพียงเล็กน้อยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เราจะสามารถเห็นสัญญาณเตือนได้ อาทิ

• มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝ ที่มีขนาดที่โตมากขึ้น

• มีก้อนหรือตุ่มโตอย่างรวดเร็วที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

• มีแผลที่รักษาแล้วแต่ไม่ยอมหาย

• เลือดออกอย่างผิดปกติจากทวารต่าง ๆ (ไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าเป็นแต่โรคมะเร็งเท่านั้น อาจมีโรคอื่น ๆ อยู่ในการวินิจฉัยแยกโรคด้วย)

• มีอาการเสียงแหบหรือไอเรื้อรัง

• กลืนอาหารลำบากหรือมีอาการเสียดแน่นท้องเป็นเวลานาน

• มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่าย อุจจาระและปัสสาวะ

• ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำหรือปัสสาวะเป็นเลือด

อาการข้างต้นเป็นเพียงอาการที่น่าสงสัยของโรคมะเร็ง การจะยืนยันว่าเป็นมะเร็งหรือไม่นั้น จำเป็นต้องมีผลชิ้นเนื้อของส่วนที่ผิดปกติยืนยันอย่างชัดเจนว่าพบเซลล์มะเร็งจริง หลายครั้งที่คนไข้มีอาการเหล่านี้ และกังวลใจอยู่เป็นนาน กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ส่งผลให้สภาพร่างกายและสภาพจิตใจย่ำแย่ไปด้วย แต่เมื่อตรวจยืนยันแล้วพบว่า เป็นโรคอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับมะเร็งโดยสิ้นเชิง ดังนั้นถ้าสงสัยควรไปตรวจให้ชัดเจน อย่าพึ่งกังวลไปก่อน

โรคมะเร็ง รู้ก่อน รักษาได้

แน่นอนว่าก่อนที่เราประสบความสำเร็จในการรักษาโรคมะเร็งตามวลีที่ว่า “โรคมะเร็ง รู้ก่อน รักษาได้” พื้นฐานที่สำคัญที่สุดคือการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สังเกตอาการของตนเอง ตรวจสุขภาพประจำปี และตรวจคัดกรองมะเร็งตามอายุ ที่สามารถบ่งให้ทราบถึงมาเสี่ยงเบื้องต้น และนำไปสู่การตรวจอย่างละเอียดลงไปในบริเวณหรืออวัยวะที่สงสัยว่าจะเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ ซึ่งเมื่อพบว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งแล้ว ก็สามารถเริ่มขั้นตอนการรักษาได้ทันที และด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยในปัจจุบันมีส่วนอย่างมากในการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย และมากกว่านั้นคือ แม้สถิติจำนวนมะเร็งจะเพิ่มขึ้นทุกปีก็จริง แต่จำนวนผู้รอดชีวิตก็เพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน

ตรวจสอบความถูกต้องของบทความโดย พญ. ปฐวี บุญตานนท์ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

แหล่งที่มาของข้อมูล:

• สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธาณสุข

• คลังความรู้สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

• งานสื่อสารองค์กร คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

อาชีวอนามัยคืออะไร?

 หน้าแรก

» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » อาชีวอนามัยคืออะไร? 

ปัจจัยสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับต้นเหตุของโรค ข้อใดถูกต้อง

อาชีวอนามัยคืออะไร?

อาชีวอนามัย (Occupational Health) เป็นการส่งเสริมสุขภาพการทำงานให้คงไว้ซึ่งสุขภาพกาย ใจ และความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม รวมทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการ เบี่ยงเบนด้านสุขภาพที่มีสาเหตุจากการทำงานของคนทำงานในทุกอาชีพ โดยการดูแลสภาพแวดล้อม เครื่องมือ กระบวนการให้เหมาะสมกับสภาพกาย และจิตใจของคนทำงาน โดยการปรับงานแต่ละงานให้เข้ากับคนแต่ละคน

องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ให้นิยามโรคจากการประกอบอาชีพและโรคเนื่องจากงานตามสาเหตุปัจจัยไว้ดังนี้

  1. โรคจากการประกอบอาชีพ (Occupational Diseases) หมายถึง โรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน โดยมีสาเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพในที่ทำงาน ซึ่งอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานหรือหลังจากการทำงานเป็นเวลานาน โรคจากการประกอบอาชีพบางโรคอาจเกิดภายหลังหยุดการทำงานหรือลาออกจากงานนั้นๆแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งคุกตามสุขภาพ รวมทั้งโอกาสหรือ วิธีการที่ได้รับ ตัวอย่างของโรคที่สำคัญ เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคซิลิโคสิส(โรคปอดจากฝุ่นหิน) โรคพิษสารตัวทำละลายต่างๆ (Organic solvent toxicity) เป็นต้น
  2. โรคเนื่องจากงาน (Work-related Diseases) หมายถึง โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน และการทำงานในอาชีพเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค ตัวอย่างเช่น โรคเบาหวานจะมีอาการโรคเส้นเอ็นอักเสบได้ง่าย ดังนั้นลักษณะการท างานในอาชีพ หากมีการ ออกแรงซ้ำๆ หรือมีท่าทางการท างานที่ไม่ถูกต้อง ก็จะแสดงอาการขึ้น เป็นต้น
  3. โรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อม (Environmental Diseases) หมายถึงผลกระทบที่เกิดจากมลพิษปนเปื้อน ในดิน น้ำ อากาศ ทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้เกิดโรคหรือผลกระทบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง

การป้องกันโรค

  1. การรู้สาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่ รู้ว่าโรคปอดที่ทำให้คนงานและผู้อาศัยใกล้เคียงโรงงานโม่หินที่มีฝุ่นหินทรายฟุ้งกระจายนั้นเป็นโรคปอดอักเสบจากฝุ่นซิลิกา การป้องกันคือคนทำงานต้องใส่เครื่องป้องกันฝุ่น และต้องกำจัดฝุ่นหินนั้นไม่ให้คนไปสัมผัส โดยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เป็นต้น

        2.การรู้การกระจายของโรค โดยใช้วิธีการทางระบาดวิทยา เพื่อให้ทราบกลุ่มบุคคลที่เกิดโรค พื้นที่เกิดโรคและเวลาในการเกิดโรค (person, place, time) จะได้ควบคุมป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายได้อย่างทันท่วงที ในขณะเดียวกันต้องมีการอบรมสุขศึกษาและความรู้เรื่องโรคต่างๆให้กับพนักงานเพื่อทราบจะได้ป้องกันตัวเองอย่างถูกวิธีด้วย

  1. การรู้ธรรมชาติของการเกิดโรค เนื่องจากโรคแต่ละโรคและกลุ่มโรคจะมีการดำเนินของโรคที่ต่างกันออกไป ซึ่งมีผลต่อการกำหนดวิธีการป้องกันที่เหมาะสม ได้แก่ การป้องกันระยะที่เริ่มได้รับปัจจัยก่อโรค ระยะสะสมที่ยังไม่แสดงอาการ ระยะปรากฏอาการเริ่ม ระยะโรครุนแรง และระยะหายของโรคที่อาจตายหรือปรากฏความพิการ เป็นต้น

“เมื่อรู้ถึงสาเหตุของโรคแล้วก็จะทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ แต่ที่สำคัญที่สุดคือต้องมีมาตรการการป้องกันที่รอบคอบชัดเจน เพราะการป้องกันที่ดีจะนำมาซึ่งสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย ทำให้คนทำงานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งจะทำให้งานที่ออกมานั้นได้ประสิทธิภาพ เป็นผลดีกับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง”

ปัจจัยสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับต้นเหตุของโรค ข้อใดถูกต้อง