แนวคิดที่มาของโครงงาน ตัวอย่าง

– ใช้ประกอบการอภิปรายผลการศึกษา ตลอดจนเสนอแนะเพื่อนำความรู้และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ค้นพบไปใช้ประโยชน์ต่อไป

การเขียนที่มาและความสำคัญของประเด็นศึกษา คือ การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไม   ต้องทำ ทำแล้วได้อะไร หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายการเขียนเรียงความ ทั่ว ๆ ไป คือ มีคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป

ส่วนที่ 1 คำนำ :

เป็นการบรรยายถึงนโยบาย เกณฑ์ สภาพทั่ว ๆ ไป หรือปัญหาที่มีส่วนสนับสนุนให้ริเริ่มการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้

ส่วนที่ 2 เนื้อเรื่อง :

อธิบายถึงรายละเอียดเชื่อมโยงให้เห็นประโยชน์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยมี หลักการ ทฤษฎีสนับสนุนเรื่องที่ศึกษา หรือการบรรยายผลกระทบ ถ้าไม่ทำประเด็นศึกษานี้

ส่วนที่ 3 สรุป :

สรุปถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินการตามส่วนที่ 2 เพื่อแก้ไขปัญหา ค้นข้อความรู้ใหม่ ค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ให้เป็นไปตามเหตุผลส่วนที่ 1

ตัวอย่างที่มาและความสำคัญ

การทำบัญชีครัวเรือน

ด้วยกระแสพระราชดำรัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต ผู้ปกครองของนักเรียนส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยการทำนาปี และประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมใกล้บ้าน ฐานะส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ยากจน ดังนั้น ผู้จัดทำจึงหาแนวทางจัดทำโครงงาน”การทำบัญชีครัวเรือน” เพื่อปลูกฝังประชาชนในเรื่องการประหยัดอดออมอย่างยั่งยืน

เครื่องพ่นน้ำเอนกประสงค์

ปัจจุบันเครื่องพ่นน้ำที่ใช้กันอยู่ สำหรับใช้พ่นยาหรือพ่นน้ำรดต้นไม้ มักจะมี 2 แบบ คือแบบชนิดใช้เครื่องยนต์ที่มีน้ำหนักมากทำให้ลำบากต่อการใช้ อีกชนิดหนึ่งใช้วิธีสะพายไว้ด้านหลังต้องใช้มือขยับคันโยกที่ถังตลอดเวลาทำให้เกิดแรงดันน้ำพ่นออกมา การใช้เครื่องยนต์ก่อให้เกิดการเผ่าไหม้ของเชื้อเพลิง ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ชนิดที่ต้องใช้แรงงานโดยใช้มือโยกอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดอาการเมื่อยล้ากับผู้ใช้อย่างรวดเร็ว ทำให้งานทำได้น้อย

ดังนั้นคณะผู้จัดทำโครงงานจึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาเครื่องพ่นน้ำ โดยไม่ต้องใช้แรงงานมนุษย์ ไม่เกิดมลพิษทางอากาศ และเสียงรบกวนจากเครื่องยนต์ โดยใช้แบตเตอรี่ มาเป็นตัวช่วยให้ทำงานตามต้องการ

“เครื่องพ่นน้ำเอนกประสงค์” สามารถช่วยลดมลพิษทางอากาศ ช่วยให้การใช้แรงงานมนุษย์ลดดง ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง

http://teema10.blogspot.com/2009_11_01_archive.html

อ่างล้างจานรักษาสิ่งแวดล้อม

น้ำมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านอุปโภคและบริโภคแต่ในปัจจุบันมนุษย์ใช้น้ำอย่างไม่คำนึงถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งมนุษย์ส่วนใหญ่นั้นเห็นแก่ตัว มักง่าย เช่น ใช้ในการชำระล้างร่างกาย และสิ่งของเครื่องใช้แล้วก็ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง โดยไม่มีการกรองหรือการบำบัดก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ  ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ  จากข้อความข้างตนเป็นการยกตัวอย่างบางส่วนของการกระทำของมนุษย์ในปัจจุบันเท่านั้น  จะเห็นได้ว่ามนุษย์นั้นปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง โดยตรงเป็นส่วนใหญ่ซึ่งถ้าไม่มีการกรองน้ำเสียหรือการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง จะก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ทั้งที่อยู่ในน้ำและบนบก ทำให้ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นลดลง สัตว์น้ำขาดออกซิเจนตายแล้วทำให้น้ำเน่าเสีย มนุษย์ก็ต้องรับประทานสัตว์น้ำที่มีสารเคมีเจือปนอยู่ในตัวสัตว์น้ำ เป็นต้น เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงควรช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมทางน้ำ โดยการบำบัดน้ำให้มีคุณภาพดีขึ้นก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์จึงได้คิดประดิษฐ์อ่างล้างจานรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยลดปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดจากความมักง่ายและความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ในสังคมยุคปัจจุบัน และยังรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดำรงไว้

http://www.thaigoodview.com/node/32240

ไข่หวาน

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ไข่เป็นอาหารหลักของคนเรามานาน  ไข่มีมากมายตามท้องตลาดและสามารถทำอาหารได้ง่าย  จึงมีการคิดค้นแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไข่ธรรมดาเปลี่ยนมาเป็นไข่เค็ม  ไข่เยี่ยวม้า  เป็นที่มากมาย แต่ยังไม่มีใครคิดริเริ่มทำไข่หวาน  คณะผู้จัดทำ จึงริเริ่มคิดการทำไข่หวานโดยต่อยอดจากไข่เค็มที่ทำมาจากการดองไข่ให้เค็ม มาเป็นใช้น้ำตาลในการแช่อิ่มแทนและเราคิดว่าถ้าเราได้ใส่น้ำใบเตยเข้าไปก็จะทำให้ไข่ มีรสหวานหอมน่ารับประทานและมีประโยชน์ยิ่งขึ้น เพราะใบเตยหรือน้ำใบเตยมีประโยชน์ในการช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำและยังช่วยบำรุงหัวใจ และคณะผู้จัดทำ ยังได้ออกแบบโลโก้บรรจุภัณฑ์เพื่อผลิตภัณฑ์ของคณะผู้จัดทำ และให้ชื่อว่า “ ไข่หวานเมืองสองแคว เพื่อเป็นที่รู้จักและเป็นของฝากของจังหวัดพิษณุโลกต่อไป

โครงงาน เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องเจอ โดยเฉพาะกับนักเรียนมัธยมปลาย ซึ่งการทำโครงงานนั้นถือได้ว่าเป็นหนึ่งในวิธีการวัดผลการเรียนรู้ที่ทรงประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ผู้เรียนนั้นสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมาของตนเอง มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้มากน้อยแค่ไหน

สำหรับบทความนี้จะขอนำเสนอในส่วนของความหมายและประเภทของโครงงาน เพื่อให้ผู้ทำโครงงานได้มีความรู้ในระดับพื้นฐานก่อนที่จะเริ่มทำจริง อีกทั้งเพื่อให้การทำโครงงานนั้นเป็นไปได้อย่างราบรื่นและประสบผลสำเร็จในการทำอย่างดีที่สุด

สารบัญเนื้อหาเกี่ยวกับโครงงาน
 โครงงาน คือ อะไร ?
 ประเภทของโครงงาน
 ประเภทของโครงงานตามขอบเขตของเนื้อหา
 ประเภทของโครงงานตามวัตถุประสงค์

โครงงาน คือ อะไร ?
"โครงงาน" คือ การศึกษาค้นคว้า หรือ การทดลอง หรือ การทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ผู้ทำต้องการศึกษา ต้องการรู้ สงสัย หรือต้องการแก้ปัญหา ด้วยกระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์จนกระทั่งได้ข้อสรุป หรือ ผลลัพธ์ ซึ่งข้อสรุปหรือผลลัพธ์นี้อาจเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ก็ได้ เพราะโครงงานนั้นเกิดขึ้นจากการที่ผู้ทำไม่เคยรู้มาก่อน ดังนั้นหากผลลัพธ์จะออกมาโดยไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายก็มิใช่ปัญหาของการทำโครงงานแต่อย่างใด

"โครงงานก็เปรียบเสมือนกับการทำงานวิจัยเล็กๆ" เนื่องจากโครงงานนั้นมีรูปแบบ ขั้นตอนและกระบวนการไม่ต่างไปจากงานวิจัยเลย แต่สิ่งที่ต่างออกไป คือ ผู้ทำยังอยู่ในช่วงวัยที่ความสามารถในการทำอาจยังไม่เทียบเท่ากับนักศึกษา นักวิชาการ หรือ นักวิจัย เพียงเท่านั้น อีกอย่างในการทำโครงงานนั้นก็จะไม่เข้มงวดในการทำเท่ากับการทำวิจัย

ประเภทของโครงงาน
ประเภทของโครงงานนั้นได้ถูกแบ่งออกโดยใช้หลักเกณฑ์ 2 อย่างด้วยกัน คือ
1) หลักเกณฑ์ขอบเขตเนื้อหาของโครงงาน
2) หลักเกณฑ์วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นโครงงานใดๆ ก็แล้วแต่ ก็จะอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ทั้ง 2 อย่างนี้ทั้งสิ้น อันเนื่องมาจากในโครงงานนั้นจะต้องมีทั้ง 2 อย่างนี้อยู่ด้วย กล่าวคือ การทำโครงงานต้องมีเนื้อหาที่จะทำ และ จะต้องมีวัตถุประสงค์ในการทำ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับประเภทของโครงงานโดยละเอียดกันเลยดีกว่า ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถทำโครงงานได้อย่างถูกต้อง

ประเภทของโครงงานตามขอบเขตของเนื้อหา
ประเภทของโครงงานตามขอบเขตของเนื้อหานั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วย คือ

 โครงงานตามสาระการเรียนรู้ คือ การทำโครงงานโดยดูจากขอบเขตของเนื้อหาสาระ เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์, โครงงานคอมพิวเตอร์ และ โครงงานประวัติศาสตร์ เป็นต้น

 โครงงานตามความสนใจ คือ การทำโครงงานในเรื่องที่ผู้ทำมีความสนใจ โดยไม่ต้องสนใจว่าโครงงานที่ทำนั้น จะอยู่ภายใต้ขอบเขตเนื้อหาใดๆ หรือไม่

ประเภทของโครงงานตามวัตถุประสงค์
ประเภทของโครงงานตามวัตถุประสงค์นั้นแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ

โครงงานที่เกี่ยวกับการสำรวจรวบรวมข้อมูล อาทิ การสำรวจฐานะทางการเงินของประชากรในจังหวัดกรุงเทพฯ, การสำรวจอาชีพของประชากรในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง และ การสำรวจความคิดเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งของประชากรในพื้นที่ เป็นต้น โครงงานประเภทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการรู้ถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่สามารถทำได้ด้วยการสำรวจและรวบรวมข้อมูล ซึ่งโครงงานประเภทนี้มักจะใช้เครื่องมือในการทำโครงงาน คือ แบบสำรวจ, แบบสอบถาม, แบบสังเกต เป็นต้น

โครงงานที่เกี่ยวกับการทดลอง อาทิ การทดลองปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน, การทดลองปลูกผักไร้สารพิษ, แสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของผัก เป็นต้น โครงงานประเภทนี้มักเป็นโครงงานที่ต้องการทำการเปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง หรือต้องการผลลัพธ์ในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากตัวแปรที่แตกต่างกัน

โครงงานที่เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์หรือการพัฒนา อาทิ การสร้างผลิตภัณฑ์จากกระดาษ, การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชในท้องถิ่น, การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร เป็นต้น โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพหรือผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

โครงงานที่เกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการ อาทิ การเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่, การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ และ การผลิตเชื้อเพลิงจากพืชทางการเกษตร เป็นต้น โครงงานประเภทนี้มักเป็นโครงงานที่ทำกันเพื่อตรวจสอบทฤษฎีและหลักการว่าเป็นไปตามนั้นหรือไม่

แนวคิดของโครงงานคืออะไร

แนวความคิดโครงการ คือ การนำเสนอความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆภายในโครงการโดยเป็นการกำหนดถึงการตอบสนองต่อความต้องการของโครงการที่เป็นไปได้ในการออกแบบ โดยเน้นถึงเหตุผลและความสำคัญที่ได้มาจากข้อเท็จจริง ซึ่งแนวความคิดในการออกแบบโครงการนั้นเป็นการกำหนดทิศทางของโครงการด้วยนามธรรม โดยโครงการหนึ่งๆอาจจะมีหลากหลายแนวความคิด ...

ที่มาของโครงงานเขียนยังไง

การเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน คือ การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไม ต้องทำ ทำแล้วได้อะไร หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายการเขียนเรียงความ ทั่ว ๆ ไป คือ มีคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป ส่วนที่ 1 คำนำ : เป็นการบรรยายถึงนโยบาย เกณฑ์ สภาพทั่ว ๆ ไป หรือปัญหาที่มีส่วนสนับสนุนให้ริเริ่มทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ที่มาของโครงงานเกิดจากอะไร

โครงงาน คือ การศึกษาค้นคว้า หรือ การทดลอง หรือ การทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ผู้ทำต้องการศึกษา ต้องการรู้ สงสัย หรือต้องการแก้ปัญหา ด้วยกระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์จนกระทั่งได้ข้อสรุป หรือ ผลลัพธ์ ซึ่งข้อสรุปหรือผลลัพธ์นี้อาจเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ก็ได้ เพราะโครงงานนั้นเกิดขึ้นจากการที่ผู้ทำไม่เคยรู้มาก่อน ดังนั้นหาก ...

ที่มาและความสําคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์คืออะไร

นอกจากจะมีคุณค่าด้านการฝึกให้นักศึกษามีความรู้ ความชำนาญ และมีความมั่นใจในการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา และยังมีคุณค่าด้านอื่นๆ ซึ่งสรุปได้ดังนี้ การสร้างความสำนึกและรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง ได้ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจได้ลึกซึ้งไปกว่าการเรียนในหลักสูตรปกติ