สัญญาก่อสร้างตาม tfrs for npaes คือ

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ -- ขอบเขต -- กรอบแนวคิด -- การนำเสนองบการเงิน -- การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด -- เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด -- ลูกหนี้ -- สินค้าคงเหลือ -- เงินลงทุน -- ที่ดิน อาหารและอุปกรณ์ -- สินทรัพย์ไม่มีตัวตน -- อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน -- ต้นทุนการกู้ยืม -- สัญญาเช่า -- ภาษีเงินได้ -- ประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น -- เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน -- รายได้ -- การรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ -- สัญญาก่อสร้าง -- ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ -- การถือปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลงและวันถือปฏิบัติ -- สรุปมาตรฐานการรายงานทางการเงิน -- การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน

LOCATIONCALL#STATUSChula Business School Library657.3 น619ค 2554CHECK SHELVES
Chula Business School Library657.3 น619ค 2554CHECK SHELVES
Chula Business School Library657.3 น619ค 2554CHECK SHELVES
Chula Business School Library657.3 น619ค 2554CHECK SHELVES
Chula Business School Library657.3 น619ค 2554CHECK SHELVES

การเปลี่ยนแปลงการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศ ซึ่งแนวทางในการรับรู้รายได้ตามแนวทางใหม่นี้จะมีกรอบขั้นตอนที่กำหนดไว้จำนวน 5 ข้อ รายละเอียดจะเป็นอย่างไรติดตามกันได้เลยครับ

ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 6/2561 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า  ซึ่งมีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา โดยมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ แม้ว่าจะเป็นมาตรฐานการบัญชีสำหรับผู้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน (PAE) ก็ตาม แต่ในหลักคิดหรือแนวทางการพิจารณาเงื่อนไขการรับรู้รายได้นั้น นักบัญชีที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAE) สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากเนื้อหาสาระส่วนใหญ่ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กำหนดแนวทางสำหรับการรับรู้รายได้จากเงื่อนไขและกรณีต่างๆ เพื่อให้สามารถระบุจุดหรือภาระงานใดๆ ก็ตามที่มีการกำหนดให้ปฏิบัติให้เสร็จสิ้นตามข้อตกลงที่ทำไว้กับลูกค้าเป็นหลัก  ซึ่งหากพิจารณาเทียบเคียงและประกอบกับมาตรฐานชุด NPAE จะเป็นเรื่องของการพิจารณาขยายความให้ชัดเจนขึ้นถึงสถานการณ์หรือเหตุการณ์แวดล้อมที่ทำให้เชื่อได้ว่าสามารถระบุจุดที่สามารถรับรู้รายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชีดังกล่าวเป็นการยกเลิกมาตรฐานการบัญชีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้รายได้หลายฉบับและมีผลกระทบต่อธุรกิจในวงกว้าง ซึ่งแนวทางในการรับรู้รายได้ตามแนวทางใหม่นี้จะมีกรอบขั้นตอนที่กำหนดไว้จำนวน 5 ข้อ ประกอบด้วย

  1. การระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า พิจารณาจากประวัติของกิจการและในอุตสาหกรรมว่ามีความจำเป็นต้องมีสัญญาหรือไม่ ซึ่งข้อตกลงมีเป็นจำนวนมากหรือรายละเอียดมีความซับซ้อน ควรกำหนดเป็นสัญญา เพื่อให้สามารถอ้างอิงได้
  2. การระบุภาระที่ต้องปฏิบัติตตามสัญญา ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ต้องทราบว่ามีข้อตกลงอะไรกับลูกค้าบ้าง ซึ่งจำเป็นต้องระบุเหตุการณ์หรือกิจกรรมนั้นให้ได้เป็นรูปธรรมชัดเจน โดยปกติต้องอ้างอิงจากเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ซึ่งควรรวมถึงการลงนามในเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมวันที่ด้วย
  3. กำหนดราคาของรายการ ฝ่ายจัดการและฝ่ายขายควรกำหนดให้มีตารางราคาขายหรือเอกสารอื่น เช่น Price List ที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือมีการอนุมัติราคาขายกลางล่วงหน้า ซึ่งควรมีข้อกำหนดของส่วนลดหรือวิธีการให้ส่วนลดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้เข้าใจถึงการพิจารณาราคาขายในรูปแบบการขายหรือให้บริการในรูปแบบต่างๆ
  4. การปันส่วนราคาของรายการให้กับแต่ละภาระที่ต้องปฏิบัติแล้วเสร็จ ในบางกรณี เมื่อมีการต่อรองจากลูกค้าจำเป็นต้องคำนึงถึงการปรับปรุงเพิ่มลดราคาและข้อกำหนดที่อาจมีขึ้นในการเจรจาต่อรองนั้นๆ ซึ่งฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องอนุมัติเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามนโยบายการขายหรือให้บริการ และจะปิดการขายด้วยการกำหนดว่าจะมีเงื่อนไขที่อาจมีขึ้นอย่างไร ข้อตกลงหรือเงื่อนไขดังกล่าวนี้เป็นเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติให้แล้วเสร็จซึ่งจะควบคู่ไปกับราคาขายขั้นสุดท้าย
  5. การรับรู้รายได้เมื่อกิจการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติแล้วเสร็จ ในข้อนี้ถือเป็นแนวทางที่ทำได้ง่ายที่สุด คือ การสรุปว่าภารกิจที่ปฏิบัติตามภาระนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นหรือไม่ เพียงแต่ต้องแน่ใจให้ได้ว่ามีการรวบรวมหลักฐานเพื่อประกอบการรับรู้รายได้อย่างครบถ้วนเพียงพอ

ที่มา : บางส่วนจากบทความ “5 เทคนิครับรู้รายได้ตามมาตรฐานใหม่ สำหรับ PAE และ NPAE”  โดย : สุรพล ถวัลยวิชชจิต วารสาร CPD & Account ปีที่ 16 ฉบับที่ 190 เดือนตุลาคม 2562 สมัครสมาชิก คลิก