ข้อมูลที่ได้จาก อินพุต ได้ อะ ล๊ อก เป็นข้อมูลประเภท ใด

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
 โดยหลักการแล้ว ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ทำงานตามหน้าที่ 4 ส่วนด้วยกัน คือ
    1.) ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
    2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
    3.) ส่วนแสดงผล (Output Unit)
    4.) หน่วยความจำ (Memory Unit)
1.) ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
 ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) เป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากคน และส่งต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล(Process Unit) เพื่อทำการประมวลผลต่อไป รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัส ดิจิตอล (หรือเป็นเลข 0 กับ 1) นั่นเอง อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ได้แก่
    - คีย์บอร์ด (keyboard)
    - เมาส์ (mouse)
    - สแกนเนอร์ (scanner)
    - อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ (finger scan)
    - ไมโครโฟน(microphone)
    - กล้องเว็บแคม (webcam)
    อุปกรณ์ใน ส่วนรับข้อมูล ยังมีอีกมากมายและสามารถจะยังมีเพิ่มตามขึ้นไปเรื่อยๆ ตามการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่รับมาจาก ส่วนรับข้อมูล(Input Unit) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
3.) หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์ที่มาจากการประมวลผลข้อมูล ของส่วนประมวลผลข้อมูล โดยปกติรูปแบบของการแสดงผล มีอยู่ 2 แบบ ด้วยกันคือ แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ และแบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้
    - แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และ เครื่องวาด (Plotter)
- แบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ เช่น จอภาพ(Monitor) , เครื่องฉายภาพ(LCD Projector) และ ลำโพง (Speaker)
4.) หน่วยความจำ (Memory Unit)
 หน่วยความจำ (Memory Unit) อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำชั่วคราวและหน่วยความจำถาวร
    - หน่วยความจำชั่วคราว คือ แรม (RAM: Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน ข้อมูลและชุดคำสั่งจะหายไปทุกครั้งที่เราปิดเครื่อง

บทที่ 1 ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
                สำหรับคอมพิวเตอร์นั้น  จะมีส่วนประกอบหลัก ๆ อยู่ 4 ส่วนด้วยกัน คือ
1.        โปรเซสเซอร์ (Processor)
2.        หน่วยความจำ(Memory)
3.        ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output)
4.        สื่อจัดเก็บข้อมูล(Storage)
1.โปรเซสเซอร์ (Processor)
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
     หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 3 ส่วน คือ
1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
     หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้อง กับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฏเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป
2. หน่วยควบคุม (Control Unit)
     หน่วยควบคุมทำหน้าที่คงบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคำสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคำสั่งดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจาก ชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของ คำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่ง สัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์แวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคำสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณและตรรกะก็จะไปทำการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผล ตามคำสั่งแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยคงบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
     คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อบแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล ถ้าเปรียบเทียบกับร่างกายของมนุษย์โพรเซสเซอร์ก็น่าจะเปรียบเทียบเป็นเหมือน สมองของมนุษย์นั่งเอง ซึ่งคอยคิดควบคุมการทำงานส่วนต่างๆของร่างกาย ดังนั้นถ้าจัดระดับความสำคัญแล้วโพรเซสเซอร์ก็น่าจะมีความสำคัญเป็นอันดับ แรก
 2. หน่วยความจำ (Memory)
RAM ย่อมาจาก (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
     1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
     2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
     3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ
     4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสังให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ
หน่วยความจำหรือ RAM เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อคุณคิดจะใช้คอมพิวเตอร์ ดังนั้นการพิจารณา เลือกซื้อคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการ เลือกซื้อชนิดและปริมาณของหน่วยความจำด้วย
ความต้องการหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั้นนับวันก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ก็เนื่องมา จากความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยผู้ที่ไม่คุ้นเคย ก็สามารถทำได้ หรือจะเป็นความต้องการทำงานในแบบมัลติมีเดียซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ความต้องการหน่วยความจำเพิ่มมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ทางผู้ผลิตจึงได้เร่งผลิตหน่วยความจำเข้าสู่ท้องตลาดจนปัจจุบัน ราคาแรมลดลงอย่าง ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน จากเมื่อต้นปีที่แล้วที่ราคาแรมแบบ 72 พินขนาด 8 MB มีราคาประมาณ 5,000 บาท ทุกวันนี้ผู้ใช้สามารถหาซื้อแรมชนิดเดียวกันได้ในราคาเพียงประมาณ 800 บาทเท่านั้น ดังนั้นการเพิ่มหน่วยความจำจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปสำหรับผู้ใช้โดยทั่ว ไป คำถามต่อมาที่ผู้ใช้ สงสัยคือ หน่วยความจำแบบใดจึงจะดีที่สุด
หน่วยความจำที่เป็นที่รู้จักและมีจำหน่ายมากที่สุดคือหน่วยความจำแบบ 72 พิน ส่วนหน่วย ความจำแบบ 30 พินซึ่งมีใช้สำหรับเครื่องรุ่น 80386 นั้นตอนนี้ได้หายไปจากท้องตลาดแล้ว ทั้งนี้ก็เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ตั้งแต่เครื่องแบบ 486 เป็นต้นมาต่างก็ใช้หน่วย ความจำแบบ 72 พินทั้งนั้น สำหรับหน่วยความจำแบบ 72 พินนั้นก็จะมีอยู่ 2 ประเภทที่ผู้ใช้ รู้จักกันดีคือแบบ Fast Page Mode และ EDO ซึ่งแบบแรกนั้นก็เริ่มจะไม่เป็นที่นิยมแล้ว ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาแรมแบบ EDO ที่ทำให้มีความเร็วสูงกว่า ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการ จะซื้อหน่วยความจำก็ควรจะเลือกแบบ EDO หรือที่เร็วกว่าจึงจะเหมาะ ที่สำคัญราคาของ หน่วยความจำแบบ Fast Page Mode นั้นสูงกว่าแบบ EDO แล้วอันเนื่องมาจากปริมาณที่ มีอยู่เพียงเล็กน้อยในตลาด แต่สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์บา งรุ่นซึ่งไม่สามารถใส่แรม แบบ EDO ได้นั้นก็ยังคงต้องใช้แรมแบบ Fast Page Mode ต่อไป ซึ่งเครื่องที่ไม่สนับสนุน แรมแบบ EDO นั้นก็จะเป็นเครื่องรุ่น 486 ส่วนแรมอีกประเภทหนึ่งซึ่งเพิ่งจะมีใช้ไม่นานนัก คือแรมแบบ SDRAM ซึ่งปัจจุบันเป็นแรมที่มีความเร็วสูงที่สุด โดยแรมประเภทนี้จะเป็นแรม แบบ 168 พินซึ่งมีอยู่ในบอร์ดบางรุ่นเท่านั้น สำหรับราคาของแรมประเภทนี้นั้นยังมีราคาสูง อยู่ทั้งนี้ก็เนื่องจากยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่และยังไม่แพร่หลายมากนัก แต่คาดว่าในอนาคต ก็จ ะสามารถเข้ามาครองตลาดได้เหมือนที่ EDO ทำได้มาก่อนหน้านี้แล้ว
วิธีการเลือกซื้อหน่วยความจำนั้น
            ผู้ใช้ต้องคำนึงถึงซ็อกเก็ตใส่หน่วยความจำของบอร์ดว่า มีอยู่เท่าใด โดยปกติบอร์ดในปัจจุบันจะมีซ็อกเก็ตใส่แรม 4 ซ็อกเก็ต โดยเวลาใส่จะต้องใส่ เป็นคู่จึงจะสามารถใช้งานได้ ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการเพิ่มหน่วยความจำจึงต้องซื้อหน่วย ความจำที่มีขนาดความจุเท่ากัน 2 แผง แต่ก็อาจมีบอร์ดบางรุ่นที่มีซ็อกเก็ตแรม 6 หรือ 8 ซ็อกเก็ตซึ่งมีประโยชน์ในกรณีต้องการเพิ่มแรมในอนาคต จะสามารถทำได้อย่างยืดหยุ่นมากกว่า ตัวอย่างเช่น หากแรมในเครื่องผู้ใช้เป็นแบบแผงละ 8 MB 2 แผงแล้วต้องการจะเพิ่มขึ้นไปอีก ผู้ใช้ที่มีซ็อกเก็ตแรมเพียง 4 ซ็อกเก็ตจะมีโอกาสเพิ่มได้เพียงครั้งเดียว ทั้งนี้เพราะช่องแรม ที่เหลืออยู่มีเพียงคู่เดียว ปัญหาก็คือหากผู้ใช้ต้องการเพิ่มหน่วยความจำให้สูง ๆ เช่น ต้องการแรมมากกว่า 32 MB ก็ต้องซื้อแรมแบบ 16 MB 2 แผงซึ่งเป็นการจ่ายเงินจำนวนมาก ในครั้งเดียว แต่ถ้าผู้ใช้มีซ็อกเก็ตแรม 6 ซ็อกเก็ตก็ยังมีโอกาสที่จะเพิ่มได้อีกในภายหลังทำให้ ไม่จำเป็นต้องซื้อแรมแบบ 16 MB ในครั้งแรกนี้ก็ได้ ซึ่งก็จะทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ เพิ่มแรมมากนัก อย่างไรก็ตามก็มีบอร์ดบางรุ่นที่ผู้ใช้สามารถเพิ่มแรมทีละ 1 แผงได้ซึ่งก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ เพราะทำให้ผู้ใช้มีโอกาสเพิ่มแรมได้สะดวกยิ่งขึ้น ส่วนแรมแบบ SDRAM นั้นปัจจุบันบอร์ด ทั่ว ๆ ไปจะมีซ็อกเก็ต SDRAM เพียง 1 ซ็อกเก็ต
  ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการเพิ่มแรมก็จะมีโอกาส เพียงครั้งเดียวเช่นกัน จะมีเพียงบอร์ดบางรุ่นเท่านั้นที่มีซ็อกเก็ตแร มแบบ SDRAM มากกว่า 1 ช่อง ซึ่งที่พบในปัจจุบันนั้นก็จะเป็นแบบ 2 ซ็อกเก็ตสำหรับบอร์ดเพนเทียม และสูงสุดที่พบคือ 4 ซ็อกเก็ตสำหรับเพนเทียมโปร (มีเฉพาะซ็อกเก็ตแรมแบบ SDRAM เท่านั้น) อย่างไรก็ตามบอร์ดที่มีซ็อกเก็ตแรมแบบ SDRAM นี้จะมีซ็อกเก็ตแบบ 72 พินรวมอยู่ด้วยซึ่ง สามารถใช้หน่วยความจำทั้ง 2 ชนิดรวมกันได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบอร์ดด้วยว่าผู้ใช้จะสามารถ ใส่แรมทั้ง 2 แบบรวมกันได้ในลักษณะใดบ้าง เช่น เมื่อผู้ใช้ใส่แร มแบบ SDRAM แล้วจะใช้ ซ็อกเก็ตแรมแบบ 72 พินได้เพียง 1 คู่เท่านั้น หรืออาจใช้ได้ครบทุกซ็อกเก็ต ทั้งนี้ก็อยู่ท ี่เมนบอร์ดแต่ล ะรุ่น ผู้ใช้จึงควรตรวจดูในคู่มือให้แน่ชัดก่อนว่าบอร์ดรุ่นนั้น ๆ สนับสนุนการ ใส่แรมในลักษณะใด ส่วนขนาดของแรมที่เหมาะสมในปัจจุบันนั้น ขั้นต่ำจะอยู่ที่ 32 MB จึงจะ ใช้งานได้อย่างสะดวก แต่แนะนำว่าควรเป็น 64 MB หรือสูงกว่าเพื่อประสิทธิภาพในการ ใช้งานที่สูงขึ้น
ประเภทของแรมรุ่นต่าง ๆ
   DRAM    คือ เมโมรี่แบบธรรมดาที่สุด ซึ่งความเร็วขึ้นอยู่กับค่า Access Time หรือเวลาที่ใช้ในการเอาข้อมูลในตำแหน่งที่เราต้องการออกมาให้ มีค่าอยู่ในระดับนาโนวินาที (ns) ยิ่งน้อยยิ่งดี เช่น ชนิด 60 นาโนวินาที เร็วกว่าชนิด 70 นาโนวินาที เป็นต้น รูปร่างของ DRAM เป็น SIMM 8 บิต (Single-in-line Memory Modules) มี 30 ขา DRAM ย่อมาจาก Dynamic Random Access Memory
   Fast Page DRAM  ปกติแล้วข้อมูลใน DRAM จึงถูกเก็บเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า Page ถ้าเป็น Fast Page DRAM จะเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่าปกติสองเท่าถ้าข้อมูลที่เข้าถึงครั้งที่แล้ว เป็นข้อมูลที่อยู่ใน Page เดียวกัน Fast Page DRAM เป็นเมโมรี่ SIMM 32 บิตมี 72ขา (Pentium มีดาต้าบัสกว้าง 64 บิตดังนั้นจึงต้องใส่ SIMM ทีละสองแถวเสมอ)
   EDO RAM  ไว้ใน Buffer ด้วย เพื่อว่า ถ้าการขอข้อมูลครั้งต่อไป เป็นข้อมูลในไบต์ถัดไป จะให้เราได้ทันที EDO RAM จึงเร็วกว่า Fast Page DRAM ประมาณ 10 % ทั้งที่มี Access Time เท่ากัน เพราะโอกาสที่เราจะเอาข้อมูลติด ๆกัน มีค่อนข้างสูง EDO มีทั้งแบบ SIMM 32 บิตมี 72 ขา และ DIMM 64 บิตมี 144 ขา คำว่า EDO ย่อมาจาก Extended Data Out
   SDRAM  ประมาณ 25 % เพราะสามารถเรียกข้อมูลที่ต้องการขึ้นมาได้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอให้เวลาผ่านไปเท่ากับ Access Time ก่อน หรือเรียกได้ว่า ไม่มี Wait State นั่นเอง ความเร็วของ SDRAM จึงไม่ดูที่ Access Time อีกต่อไป แต่ดูจากสัญญาณนาฬิกาที่ โปรเซสเซอร์ติดต่อกับ Ram เช่น 66, 100 หรือ 133 MHz เป็นต้น SDRAM เป็นแบบ DIMM 64 บิต มี 168 ขา เวลาซึ้อต้องดูด้วยว่า MHz ตรงกับเครื่องที่เราใช้หรือไม่ SDRAM ย่อมาจาก Sychronous DRAM เพราะทำงาน "sync" กับสัญญาณนาฬิกาบนเมนบอร์ด
   SDRAM II (DDR) มีขา 184 ขา มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 2 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 2 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล และมีความเร็วมากกว่า SDRAM เช่น ความเร็ว 133 MHz
   RDRAM  RAMBUS มีขา 184 ขา ทำมาเพื่อให้ใช้กับ Pentium4 โดยเฉพาะ(เคยใช้กับ PentiumIII และ Chipset i820 ของ Intel แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟจึงยกเลิกไป) มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 4 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล เช่น RAM มีความเร็ว BUS = 100 MHz คูณกับ 4 pipline จะเท่ากับ 400 MHz เป็นเมโมรี่แบบใหม่ที่มีความเร็วสูงมาก คิดค้นโดยบริษัท Rambus, Inc. จึงเรียกว่า Rambus DRAM หรือ RDRAM อาศัยช่องทางที่แคบ แต่มีแบนด์วิทด์สูงในการส่งข้อมูลไปยังโปรเซสเซอร์ ทำให้ความเร็วในการทำงานสูงกว่า SDRAM เป็นสิบเท่า RDRAM เป็นทางเลือกทางเดียวสำหรับเมนบอร์ดที่เร็วระดับหลายร้อยเมกกะเฮิร์ดซ์ มีแรมอีกชนิดหนึ่งที่ออกมาแข่งกับ RDRAM มีชื่อว่า Synclink DRAM ที่เพิ่มความเร็วของ SDRAM ด้วยการเพิ่มจำนวน bank เป็น 16 banks แทนที่จะเป็นแค่ 4 banks
 
3.  ส่วนอินพุต/เอาต์พุต(Input/Output)
อุปกรณ์อินพุต (Input device) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ จากโลก ภายนอกได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์
อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่างๆ จากภายนอกเครื่องได้ อันได้แก่ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนสั่งงาน ให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามขั้นตอน และข้อมูลที่ต้องใส่เข้าไปพร้อมกับโปรแกรม เพื่อส่งไปให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ตัวอย่างเช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ จอยสติก จอสัมผัส ปากกาแสง กล้องดิจิตอล สแกนเนอร์ เป็นต้น
อุปกรณ์เอาต์พุต (Output device) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ควบคุมหรือส่งผลออกมาสู่โลกภายนอกได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องเจาะบัตร จอภาพ เครื่องพิมพ์
อุปกรณ์นำข้อมูลออก หรืออุปกรณ์แสดงผล คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ควบคุมหรือส่งผลออกมาสู่ภายนอกตัวเครื่องได้ หลังจากที่คอมพิวเตอร์ได้ทำการประมวลผลแล้ว ก็จะต้องมีวิธีในการนำผลลัพธ์ออกมาแสดง ซึ่งสามารถแบ่งอุปกรณ์แสดงผลนี้ ออกได้เป็น 3 ประเภทคือ อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ชั่วคราว เช่น จอภาพ (Monitor) อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ถาวร เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ถาวรทางด้านกราฟิก เช่น พลอตเตอร์ (Plotter) เป็นต้น
ตัวอย่าง อุปกรณ์ Input
เครื่องอ่านบัตร
ผลิตภัณฑ์ TOP WORLD รุ่น TW-990R (Magnetic Access Controller ) เป็นเครื่องควบคุม (Controller)โดยใชับัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Card) ทำงานโดยมีอุปกรณ์หลัก 2 ส่วนคือส่วนที่เป็นหัวอ่าน
 (Reader) และส่วนควบคุมประมวลผล(Controller) อยู่ในเครื่องเดียวกัน เมื่อมีการเข้า-ออกซึ่งต้องใช้บัตรรูดที่บริเวณหัวอ่าน (Reader) โดยที่หัวอ่านจะอ่านข้อมูลของบัตรแต่ละใบและส่งสัญญาณ ข้อมูลบัตรที่อ่าน ได้ไปยังส่วนควบคุมประมวลผล (Controller)
จากนั้นส่วนควบคุมจะทำการสั่งให้กลอนปลดล็อคออก ผู้เข้าผ่านสามารถเข้าประตูผ่าน ไปได้ หรือใช้สำหรับลงเวลาทำงานของพนักงานก็ได้ สามารถต่อกับระบบเสียงเตือนภัยเพื่อแจ้งเตือนกรณีเปิดประตูค้างทิ้งไว้ หรือมีการงัดประตู เครื่องควบคุม(Controller) สามารถทำการโปรแกรมการตั้งบัตรได้โดยใช้รหัส (Password) ในการเข้าโปรแกรมที่หน้าเครื่องควบคุมหรือที่คอมพิวเตอร์ และสามารถทำงานเป็นอิสระจากกันได้ (Standalone)  โดยไม่จำเป็นต้องเปิดคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา
คีย์บอร์ด
ข้อมูลที่ได้จาก อินพุต ได้ อะ ล๊ อก เป็นข้อมูลประเภท ใด

แหล่งอ้างอิงรูปภาพ : http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-907/pic1.gif
เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจาก การกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์ เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็น รหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ 
เมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทยจึงต้องมีการดัดแปลงแผงแป้น อักขระให้สามารถใช้  งานได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย กลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้นเดียวกับภาษาอังกฤษ แต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยนการพิมพ์ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษภายใต้การควบคุมของซอฟต์แวร์อีกชั้นหนึ่ง 
แผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออามารุ่น แรก ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จะเป็นแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอ็กซ์ที ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่ จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมดียิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอที และในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆ กับการออกเครื่องรุ่น PS/2 โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนเป็นอีก17 แป้นรวมเป็น 101แป้น การเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถใช้ได้ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่
สำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้วไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊ค ขนาดของแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน เพราะผู้ผลิตต้องการพัฒนาให้เครื่องมีขนาดเล็กลงโดยลดจำนวนแป้นลง แล้วใช้แป้นหลายแป้นพร้อมกันเพื่อทำงานได้เหมือนแป้นเดียว
  เมาส์
ข้อมูลที่ได้จาก อินพุต ได้ อะ ล๊ อก เป็นข้อมูลประเภท ใด

แหล่งอ้างอิงรูปภาพ : http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/33/picture/logitech-mouse.jpg
เมาส์ Mouse จัดเป็น Input Device ประเภทหนึ่งซึ่งข้อมูลที่ป้อน เข้าไปจะเป็นตำแหน่งและการ กด Mouse Mouse มีอยู่ด้วยกัน หลายประเภทโดยจะมี 1)Mouse แบบปกติที่พบเห็นทั่วไปอาจจะมี 2 ปุ่ม หรือ 3 ปุ่ม 2) Mouse แบบไร้สาย (WireLess) ซึ่งจะใช้ สัญญาณวิทยุโดย Mouse เป็นตัวส่งสัญญาณ และมีตัวรับสัญญาน ที่ต่อกับเครื่องคอม 3) Mouse แสง (Optical Mouse) เป็น Mouse ที่ไม่มีลูกกลิ้งที่ฐาน Mouse โดยใช้การอ่านค่าจากการ สะท้อนของแสงที่สัมผัสกับพื้นผิว 4) Scroll Mouse เป็น Mouse ที่มี Scroll ไว้เพื่อใช้เลื่อน Scroll Bar ในโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ เช่น Internet Explorer นอกจาก Mouse แล้วยังมีอุปกรณ์อีก ประเภทที่เรียกว่า Track Ball ซึ่งจะมีลักษณะคล้าย Mouse แต่ จะมี Ball อยู่ด้านบนแทนที่จะอยู่ด้านล่าง และเลื่อน Pointer โดยการ ใช้ นิ้วมือกลิ้งไปบน Ball
 สแกนเนอร์
ข้อมูลที่ได้จาก อินพุต ได้ อะ ล๊ อก เป็นข้อมูลประเภท ใด

แหล่งอ้างอิงรูปภาพ : http://www.buycoms.com/buyers-guide/scanner/images/scanner-P-8400F.jpg
Scanner เป็น Input Device ที่รับข้อมูลโดยการ Scan ภาพหรือ เอกสาร ซึ่งปัจจุบันมีการนำFunction ในการส่งเอกสารเพิ่มเข้าไปใน Scanner ซึ่งสามารถส่งภาพที่ Scan โดยกดปุ่มที่ Scanner แทนที่จะต้องไปแนบภาพกับ e-mail แล้วค่อยส่ง คุณสมบัติของ Scanner จะวัดที่ค่า Resolution ว่ามีความละเอียดเท่าไร แสดงได้กี่สี และความเร็วในการ Scan

บทที่ 2 โครงสร้างภายในพีซีคอมพิวเตอร์
 สำหรับบทนี้ จะขอกล่าวรายละเอียดถึงโครงสร้างหลักภายในพีซีคอมพิวเตอร์เป็นสำคัญ ด้วยการอธิบายถึงโครงสร้างหลักภายในพีซีคอมพิวเตอร์ว่าประกอบด้วยส่วนสำคัญ ส่วนใดบ้าง
เมนบอร์ด (Main Board หรือ Mother Board)
ข้อมูลที่ได้จาก อินพุต ได้ อะ ล๊ อก เป็นข้อมูลประเภท ใด

แหล่งอ้างอิงรูปภาพ : http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/728/39728/images/77.jpg
เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลัก ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะเป็นที่อยู่ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สำคัญหลายอย่างเช่น CPU, RAM , CACHE, CHIP SET เมนบอร์ดจะมีอุปกรณ์ที่สำคัญที่จะเป็นตัวควบคุมหรือกำหนดคุณสมบัติ ของเมนบอร์ดคือชิปเซ็ต (CHIP SET) บางครั้งจะมีอุปกรณ์ต่างๆมากมายกว่านี้เพิ่มเข้าไปเช่น การ์ดจอ การ์ดแลน การ์ดเสียงหรือโมเด็ม ซึ่งลักษณะการรวมอุปกรณ์ต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นจึงเรียกว่ามีการ์ด จอออนบอร์ด  ลักษณะของเมนบอร์ดจะเหมือนดังรูป ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมายที่วางอยู่อย่างเป็นระเบียบ รวมทั้งยังมีลายทองแดงเล็กๆ โยงใยเต็มไปหมด ดังนั้น ขณะที่เราถอด หรือใส่อุปกรณ์ เช่น ถอด CPU ต้องระวังเป็นพิเศษอย่าให้ไขควง หรือวัสดุแหลมคมไปโดนแผ่นวงจรที่มีลายทองแดงอยู่ เพราะหากลายทองแดงนี้โดนกระแทกหรือขาด ก็ยากที่จะต่อให้กลับเข้าไปใหม่ได้ เพราะทุกอย่างมันเล็กมาก ดังนั้นเราควรใช้ความระมัดระวังให้มาก ก่อนที่จะลงมือทำอะไรสักอย่าง...ต้องรอบคอบครับ
เราแบ่งประเภทของเมนบอร์ดอย่างไร ?
เราสามารถแบ่งประเภทของเมนบอร์ดได้ตามรุ่น หรือลักษณะรูปร่างของซีพียูก็ได้หรือแบ่งตามประเภทของแหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) รวมทั้ง Case ก็ได้
1. แบ่งตามรุ่นของซีพียู เช่น รุ่น 286,386,486,Pentium, Pentium MMX, Pentium II, Pentium III และ Pentium IV เป็นต้น
2. แบ่งตามลักษณะ/รูปร่างของซีพียู เช่นเป็นแบบ ซ็อกเก็ต (Socket) ซึ่งจะมีทั้ง Socket 3, 4, 5, 6 7,8 หรือ Socket 370 Socket PPGA Socket A หรือ ซีพียู อีกแบบคือ แบบ Slot ซึ่งมีทั้ง Slot 1, Slot A เป็นต้น
3.  แบ่งตามข้อต่อของแหล่งจ่ายไฟที่จ่ายให้กับเมนบอร์ด ซึ่งข้อต่อดังกล่าวมีทั้งแบบ AT และ ATX ปัจจุบันนี้ได้มีการออกแบบเมนบอร์ดและเคสในรูปแบบใหม่ ในชื่อว่า ATX ดังที่คุณจะได้ยินว่าเมนบอร์ดแบบ ATX และเคสแบบ ATX มากขึ้นในอนาคต เพราะมันได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อลบจุดบกพร่องของการออกแบบเคสและ เมนบอร์ดแบบเก่า ซึ่งจะมีการจัดวางตำแหน่งต่างๆ บนเมนบอร์ดและเคสไม่เหมาะสมสำหรับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันสักเท่าไร เนื่องมาจากว่าคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีความเร็วในการทำงานสูง เมื่อความเร็วสูงขึ้นก็จะทำให้เกิด ปัญหา เรื่องความร้อนของพีซียูตามมา และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์มีความเร็วสูง ก็จะต้องมีเมนบอร์ดที่สนับสนุนความเร็วที่ เพิ่มขึ้นมาด้วย ทำให้เป็นจุดกำเนิดของคำว่า ATX ขึ้นมาแต่ก็ยังมีผู้ที่นิยมเมนบอร์ดและเคสแบบ ATX กันไม่มากนักเหตุที่ ราคายังคงแพงกว่าเมนบอร์ดแบบธรรมดาอยู่มาก ซึ่งในอนาคตเมื่อมีผู้นิยมใช้มากขึ้น และมีผู้ผลิตเมนบอร์ดและเคสแบบ ATX มากขึ้น ก็น่าจะทำให้ราคาลดลงได้
เมนบอร์ดยี่ห้อไหนดี?
ปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายยี่ห้อ เช่น ASUS ,GIGABYTE ,MATSONIC ,MSI ,INTEL ,ABIT ,AOPEN, PC-100 AZZA ,ECS ,TYANถ้าจะระบุยี่ห้อไหนดีก็อาจจะลำบากสักหน่อย เพราะปัจจุบันแต่ละยี่ห้อก็ผลิตเมนบอร์ดกันหลายรุ่นและมีข้อดีและข้อเสียแตก ต่างกันไป แต่เมนบอร์ดที่มีชื่อเสียงมานานก็อาจจะได้เปรียบยี่ห้ออื่นบ้างเช่น INTEL, ASUS เป็นต้น
ส่วนประกอบของเมนบอร์ด
1. ชุดชิพเซ็ต
ชุดชิพเซ็ตเป็นเสมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกที่หนึ่งเนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้จะ มีหน้าที่หลักเป็นเหมือนทั้ง อุปกรณ์ แปลภาษา ให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้ และทำหน้าที่ควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ
2. หน่วยความจำรอมไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพ
ไบออส BIOS หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์
3. หน่วยความจำแคชระดับสอง   
หน่วยความจำแคชระดับสองนั้นเป็นอุปกรณ์ ตัวหนึ่งที่ทำหน้าเป็นเสมือนหน่วยความจำ บัฟเฟอร์ให้กับซีพียู โดยใช้หลักการที่ว่า การทำงานร่วมกับอุปกร์ที่ความเร็วสูงกว่า จะทำให้เสียเวลาไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์
ที่มีความเร็วต่ำ ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะซีพียูมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่ซีพียูต้องการข้อมูล
ซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช
4.สล็อต
ขีดความสามารถของเมนบอร์ดขึ้นอยู่กับการมีสล็อต และลักษณะชนิดของสล็อต เพราะหากมีสล็อตหลายสล็อตก็หมายถึงการขยายหรือ
เพิ่มอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อื่นได้ แต่หากมีจำนวนสล็อตมาก ก็หมายถึงราคาของเมนบอร์ดก็สูงขึ้น ชนิดของสล็อตที่มีกับเมนบอร์ดประกอบด้วย
        4.1.PCI เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับเพิ่มฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ เช่น เพิ่มการ์ดเชื่อมต่อแลน การ์ดวิดีโอ การ์ดเสียง จำนวนสล็อต PCI มี   แตกต่างกัน โดยทั่วไปจะมีให้ตั้งแต่ 2 ถึง 6 สล็อต
        4.2.DIMM เป็นช่องใส่หน่วยความจำ ซึ่งปกติใช้ได้กับ DDRAM แต่ในบางเมนบอร์ดจะมีสล็อตที่เป็น SDRAM โดยเฉพาะนั่น   หมายถึง นำ DDRAM มาใช้ไม่ได้ แต่ถ้าเป็น DIMM สล็อตจะใช้ได้ทั้ง SDRAM และ DDRAM โดยปกติจะมีช่องใส่หน่วยความจำ   แบบนี้อยู่ 2 ถึง 4 ช่อง เพราะหน่วยความจำที่ใช้มีความจุต่อการ์ดสูงขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้ช่องมากเหมือนเมื่อก่อน
        4.3.AGP ย่อมาจาก Accerelator Graphic Port เป็นสล็อตสำหรับใส่การ์ดจอภาพแสดงผล ซึ่งเน้นในเรื่องความเร็วของการแสดงผลกราฟิกส์ ปัจจุบันมีผู้ผลิตการ์ดแสดงผลที่ต้องการแสดงผลได้เร็ว โดยเฉพาะพวกเกม 3D เทคโนโลยี AGP จึงต้องทำให้การถ่ายโอนข้อมูลแสดงผลเป็นไปอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ความเร็วสูงขึ้น โดยวัดความเร็วเป็นจำนวนเท่าของมาตรฐานปกติ    เช่น 4x คือ สี่เท่า
        4.4.Ultra DMA/100 DMA ย่อมาจาก Direct Memory Access เป็นช่องทางของการถ่ายโอนหน่วยความจำกับอุปกรณ์อินพุตเอาท์พุตที่มีการโอน ย้ายข้อมูลเป็นบล็อก และต้องการความรวดเร็ว พอร์ตที่ใช้ DMA แบบนี้คือ ฮาร์ดดิสค์ ฟลอปปี้ดิสค์ ซีดีและดีวีดี เป็นต้น ช่องทางนี้
จึงเป็นช่องทางเชื่อมกับฮาร์ดดิสค์หรือซีดีรอม ถ้ามี Ultra DMA สองช่องก็หมายถึงมีสายเชื่อมไปยังฮาร์ดดิสค์ที่จะต่อเข้า        เมนบอร์ดได้สอง
เส้น แต่ละเส้นต่อได้สองไดร์ฟ นั่นหมายถึงใส่ฮาร์ดดิสค์ได้สี่ไดร์ฟ
5.พอร์ตมาตรฐานต่าง ๆ บนเมนบอร์ดจะมีการสร้างพอร์ตมาตรฐานต่าง ๆ เช่น USB พอร์ต ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 1 พอร์ต อาจจะเป็น 2 ถึง 4 พอร์ต พอร์ตขนานต่อเครื่องพิมพ์ พอร์ตอนุกรม (ปกติมีให้ 1-2 พอร์ต) พอร์ต PS/2 เมาส์ พอร์ต PS/2 คีย์บอร์ด พอร์ตมาตรฐานเหล่านี้กำลัง
เพิ่มพอร์ตพิเศษบางชนิดเข้าไปด้วย เช่น พอร์ต Fly wire พอร์ตเชื่อมต่อวิดีโอ ความเร็วสูง IEEE1394 พอร์ต SVideo
ขีดความสามารถเพิ่มเติมพิเศษ  พลังงาน เป็นการพัฒนาร่วมระหว่างไบออสกับฮาร์ดแวร์ให้มีโหมดพิเศษในการจัดการพลังงาน การปิดเปิด ตลอดจนการ Shutdown การเปิดเองตามการปลุกด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น Wake up on lan คือใช้แลนสั่งงานมาจากที่อื่นให้เครื่องเริ่มทำงานให้
การเพิ่มวงจรพิเศษ เพื่อให้ลดค่าใช้จ่ายภาพรวมจึงมีการสร้างวงจรพิเศษที่จำเป็นบางวงจรไว้บนเมน บอร์ดด้วย เช่น วงจรการ์ดเสียง วงจรการ์ดแลน การ์ดโมเด็ม หรืออุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ที่เคยมีเป็นการ์ดแยกต่างหาก ส่งท้าย เท่าที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นการแนะนำให้รู้จักกับลักษณะและคุณสมบัติของเมน บอร์ดโดยทั่วไป ซึ่งผู้สนใจสามารถหาข้อมูลได้   จากบริษัทผู้ผลิตเมนบอร์ดผ่านทางเว็บไซต์ได้ บริษัทผู้ผลิตที่สำคัญได้แก่ ASUSTEK, ABIT, Aopen, FIC, DFI, IWILL, Elite Group, Tyan และ Micronics สำหรับราคามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อมีรุ่นใหม่มารุ่นเก่าก็จะมีราคาลดลงอย่างมาก ผู้สนใจลองเดินดูจากร้านค้าตามไอทีมอลต่าง ๆ จะเห็นความหลากหลายของเมนบอร์ดให้เลือกได้
Case สำหรับคอมพิวเตอร์
Power Supply และ Case สำหรับเมนบอร์ดก็เป็นอีกข้อหนึ่งครับที่ไม่ควรมองข้าง โดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ จะใช้ Case แบบ AT แต่ถ้าหากเป็นรุ่นใหม่ ๆ แล้วจะเป็นแบบ ATX นะครับ ข้อดีของ Case และ Power Supply แบบ ATX คือ การออกแบบให้มีการระบายความร้อนได้ดีกว่า และการใช้ Power Supply แบบใหม่ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานระบบ Power Management ต่าง ๆ ได้เช่นการตั้งเวลา เปิด-ปิด เครื่อง เป็นต้น และนอกจากนี้อย่าลืมว่า เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ เดี๋ยวนี้ก็จะใช้กับ Case และ Power Supply แบบ ATX เป็นส่วนใหญ่หมดแล้วนะครับ สำหรับท่านที่คิดจะทำการ Upgrade เครื่องเดิมที่เป็น Case แบบ ATแต่หาเมนบอร์ดได้ยาก ก็ลองมองดูส่วนของ Case นี้ด้วยนะครับหากเป็นไปได้ก็อาจจะลงทุนซื้อ Case พร้อม Power Supply แบบ ATX ใหม่ไปเลย ราคาก็คงอยู่หลักพันต้น ๆ เท่านั้น ขนาดของ Power Supply รุ่นเก่า ๆ จะเป็น 200 วัตต์ หากเป็น Power Supply รุ่นใหม่ ๆ หน่อยก็จะเป็น 230-300 วัตต์ หรือสูงกว่านี้แล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกขนาดของ Power Supply ขนาดวัตต์สูง ๆ ไว้ก็ดี
แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)
               แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน เพราะถ้าไม่มี แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) แล้วนั้น คอมพิวเตอร์จะทำงานได้อย่างไร   แหล่งจ่ายไฟจะมีรูปทรงและการทำงานที่เป็นไปตามระบบปฏิบัติการของ mainboard เช่นกัน
แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) แบบ ATX นั้นมีการทำงานที่ดีกว่าและเหนือ กว่าการทำงานด้วยแหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) แบบ AT เพราะการปิดเปิดเครื่อง ด้วยระบบ ATX นั้นจะมีการทำงานด้วย Software เป็นตัวกำหนดการทำงานสำหรับการ ปิดเปิดเครื่อง และเคส ATX นั้นจะมีการให้แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) มาให้ที่มาก กว่าแหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) แบบ AT ส่วนมากที่เคสแบบ ATX ให้มานั้นมักจะ อยู่ที่ 250 Watt ถึง 400 Watt ซึ่งเป็นพลังงานที่มากกว่าระบบ AT ทำให้มีความเสถียรภาพมากขึ้นนั่นเอง
โมเด็ม(Modem)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal) ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก โดยเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับช่องทางการสื่อสาร กล่าวคือคอมพิวเตอร์จะประมวลผลลัพธ์ออกมาในรูปของดิจิตัล เมื่อต้องการส่งข้อมูลนี้ไปบนช่องทางการสื่อสาร เช่น ต่อเชื่อมผ่านทางสายโทรศัพท์ โมเด็มจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกเพื่อส่งผ่านไปบน สายโทรศัพท์ ในทางกลับกันเมื่อข้อมูลจากที่อื่นส่งมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา โมเด็มก็จะแปลงสัญญาณแอนะล็อกนั้นมาเป็นสัญญาณดิจิตัล เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าใจได้
โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ โมเด็มที่เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (External Modem) และโมเด็มที่เป็นแผงวงจรต่อพ่วงเข้ากับแผงวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Internal Modem) แต่ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ มักจะมีโมเด็มประกอบรวมกับแผงวงจรหลักภายในเครื่องอยู่แล้ว ผู้ใช้เพียงแต่เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับช่องเสียบด้านหลังของเครื่อง คอมพิวเตอร์ ก็สามารถทำการติดต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตได้
 การ์ดแลน
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมฯเครื่องหนึ่งไปสู่ อีกเครื่องโดยผ่านสายแลน การ์ดแลนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถต่อพ่วงกับพอร์ตแทบทุกชนิดของเครื่อง คอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น ISA, PCI, USB, Parallel, PCMCIA และ Compact Flash ซึ่งที่เห็นใช้กันมากที่สุดก็จะเป็นแบบ PCI เพราะถ้าเทียบราคากับประสิทธิภาพแล้วถือว่าค่อนข้างถูก มีหลายราคา ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพัน ส่วนแบบ USB, Parallel, PCMCIA ส่วนใหญ่จะเห็นใช้กันมากกับเครื่องโน๊ตบุ๊ค เพราะก็อย่างที่ทราบกันอยู่ว่าการติดอุปกรณ์ลงในพอร์ตภายใน ของเครื่องโน๊ตบุ๊คเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงจึงต้องอาศัยพอร์ตภายนอกดังที่กล่าวมา
 
VGA Card หรือ Display Adapter
มีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณ digital ให้เป็นสัญญาณภาพ โดยมี Chip เป็นตัวหลักในการประมวลการแปลงสัญญาณ ส่วนภาพนั้น CPU เป็นผู้ประมวลผล แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีการประมวลผลภาพนั้น VGA card เป็นผู้ประมวลผลเองโดย Chip นั้นได้เปลี่ยนเป็น GPU (Grarphic Processing Unit) ซึ่งจะมีการประมวลภาพในตัว Card เองเลย เทคโนโลยีนี้เป็นที่แพร่หลายมากเนื่องจากราคาเริ่มปรับตัวต่ำลงมาจากเมื่อ ก่อนที่เทคโนโลยีนี้เพิ่งเข้ามาใหม่ๆ โดย GPU ค่าย Nvidia เป็นผู้ริเริ่มการลุยตลาด
Slot เสียบการ์ดแบบต่างๆ
หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร
 แหล่งที่มา http://iconsult.atspace.com/iDocuments/comfix3.htm
              http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20intro2.htm
              http://school.obec.go.th/bandai/caicom/html/aongprakob.htm
              http://www.rmutphysics.com/charud/transparency/4/computer/computer_files/frame.htm#slide0001.htm