แกนอ้างอิง drawing axes แบ่งออกเป็น 3 แกน ด้วยกันคือ

Google SketchUp เป็นโปรแกรมสําหรับสร้างแบบจําลอง 3D (Three-Dimensional) ที่มีความง่ายต่อการใช้งาน และเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่จะถูกนํามาใช้ในงานออกแบบเชิงสถาปัตยกรรม งานออกแบบภายในและภายนอก การออกแบบกลไกการทํางานของเครื่องจักร เฟอร์นิเจอร์ ภูมิประเทศ ผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงงานออกแบบฉาก อาคาร และสิ่งก่อสร้างในเกม หรือจะเป็นการจัดฉากทํา Story Boards ในงานภาพยนต์หรือละครโทรทัศน์ก็สามารถทําได้นอกจากนี้ยังทํางานร่วมกับปลั๊กอิน (Plugin) ต่างๆที่ถูกพัฒนาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานของ Google SketchUP ให้สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปลั๊กอินที่ช่วยให้การสร้างรูปทรงต่างๆสามารถทําได้ง่ายขึ้น ไปจนถึงปลั๊กอินที่ช่วยในการจัดแสงเงาให้ดูสมจริงอย่างเช่น V-Ray หรือ Podium เป็นต้น

ส่วนประกอบต่างๆของโปรแกรม

ในการเปิดโปรแกรม  Google SketchUp  ครั้งแรก (หลังจากการติดตั้งโปรแกรม และเลือกแม่แบบในหน้าต่าง  Welcome  แล้ว) จะพบกับหน้าตาของโปรแกรมโดยมีส่วนประกอบหลักดังนี้


MeasurmentTool (เครื่องมือกําหนดขนาด)

การกําหนดค่าในส่วนของ Model Info

แกนอ้างอิง drawing axes แบ่งออกเป็น 3 แกน ด้วยกันคือ

Title Bar (แถบไตเติล)  

แถบสําหรับแสดงชื่อไฟล์ที่กําลังทํางานอยู่ในขณะนั้น โดยในการเปิดโปรแกรมหรือสร้างงานขึ้นมาใหม่ ชื่อไฟล์บนแถบไตเติ้ลจะแสดงเป็น Untitled จนกว่าจะมีการบันทึกและตั้งชื่อไฟล์

Menu Bar (แถบเมนู)  

        แถบที่รวบรวมคําสั่งต่างๆในการทํางาน โดยจะแบ่งออกเป็น 8 หมวดด้วยกันดังนี้

- File: เป็นกลุ่มคําสั่งสําหรับจัดการกับไฟล์งานเช่น การสร้างไฟล์งาน เปิดไฟล์งาน การบันทึก การนําเข้า/ส่งออก การสั่งพิมพ์ เป็นต้น

                - Edit: เป็นกลุ่มคําสั่งสําหรับปรับแต่งแก้ไขเช่น การคัดลอก ลบ ซ่อน/แสดงวัตถุ สร้าง Group/Componentเป็นต้น

- View: เป็นกลุ่มคําสั่งสําหรับจัดการในส่วนของพื้นที่ทํางานเช่น ซ่อน/แสดงแถบเครื่องมือ เส้นไกด์ แกนอ้างอิง เงาหมอกการแสดงผลของเส้น การแสดงผลในส่วนของการแก้ไข Group/Componentเป็นต้น

- Camera:เป็นกลุ่มคําสั่งสําหรับจัดการในส่วนของมุมมองในการทํางานเช่น การหมุน เลื่อน ย่อ/ขยาย เป็นต้น

- Draw: เป็นกลุ่มคําสั่งสําหรับเรียกใช้เครื่องมือต่างๆในการวาดรูปทรงเช่น กาววาดเส้นตรง เส้นโค้ง สี่เหลี่ยม วงกลมเป็นต้น

- Tools:เป็นกลุ่มคําสั่งสําหรับเรียกใช้เครื่องมือต่างๆในการทํางานเช่น Push/Pull การหมุน/ย้ายวัตถุ การสร้างตัวอักษรสามมิติ การวัดขนาด เป็นต้น

-Window:เป็นกลุ่มคําสั่งเกี่ยวกับการเรียกแสดงหน้าต่างหรือไดอะล็อกบอกซ์ขึ้นมาเพื่อใช้ร่วมในการทํางานและปรับแต่งค่าต่างๆของโปรแกรม

-Help:เป็นกลุ่มคําสั่งเกี่ยวกับคู่มือการแนะนําการใช้งานโปรแกรม ไปจนถึงการลงทะเบียนและการตรวจสอบการอัพเดต

Toolbars (แถบเครื่องมือ)

แถบสําหรับรวบรวมเครื่องมือต่างๆในการทํางาน โดยในขั้นต้นโปรแกรมจะกําหนดแถบเครื่องมือมาให้กลุ่มเดียว (จาก 20 กลุ่ม) คือ Getting Start ซึ่งในการทํางานจริงเครื่องมือเพียงเท่านี้ไม่เพียงพอต่อการทํางาน เราสามารถที่จะเรียกแสดงแถบเครื่องมือกลุ่มต่างๆได้จากเมนู View > Toolbarsแล้วเลือกแถบเครื่องมือที่ต้องการ โดยแถบเครื่องมือที่แสดงอยู่จะมีเครื่องหมายถูกอยู่ที่หน้าคําสั่ง เพื่อความสะดวกในการทํางานแนะนําให้เรียกแสดงแถบเครื่องมือดังภาพตัวอย่าง ซึ่งเป็นกลุ่มเครื่องมือที่มักจะถูกใช้งานเป็นประจําในการสร้างแบบจําลองสามมิติในเบื้องต้น

แกนอ้างอิง drawing axes แบ่งออกเป็น 3 แกน ด้วยกันคือ

Drawing Area(พื้นที่ทํางาน)

เป็นพื้นที่สําหรับทํางานซึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองไปเป็นมุมมองต่างๆ ทั้งในการทํางานในมุมมองแบบ 2D และ 3D โดยมุมมองแบบ 2D นั้นจะแบ่งออกเป็นด้านบน ด้านหน้า ด้านขวา ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านล่าง และมุมมองแบบ 3D จะถูกเรียกว่า Iso (Isometric)

Drawing Axes(แกนอ้างอิง) 

คือเส้นแกนสําหรับอ้างอิงการทํางานเพื่อให้การวาดรูปทรงและการสร้างแบบจําลองในทิศทางต่างๆเป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยํา โดยแกนอ้างอิงจะแบ่งออกเป็น 3 แกนด้วยกันคือ x จะอยู่ในลักษณะของแนวขวาง (แกนสีแดง), y จะอยู่ในลักษณะของแนวลึก (แกนสีเขียว) และ z จะอยู่ในลักษณะของแนวตั้ง (แกนสีน้ําเงิน)จุดตัดกันระหว่างเส้นแกนทั้ง 3 เส้นจะถูกเรียกว่า Original Point หรือจะเรียกว่าจุดศูนย์กลางของพื้นที่ทํางานก็ได้เช่นกัน โดยตําแหน่งของ Original Point จะมีค่า x, y, z เท่ากับ 0 โดยถ้าค่าตัวเลขเป็นบวกจะอยู่ในทิศทางของเส้นทึบ และถ้าค่าเป็นลบจะอยู่ในทิศทางของเส้นจุดไข่ปลา

แกนอ้างอิง drawing axes แบ่งออกเป็น 3 แกน ด้วยกันคือ



Status Bar (แถบสถานะ)

คือแถบแสดงสถานะต่างๆในการทํางาน โดยจะแสดงในส่วนการแนะนําการใช้งานเครื่องมือต่างๆที่จะเปลี่ยนไปตามการทํางานและการใช้เครื่องมือแต่ละชนิด ใน Google SketchUp ตั้งแต่เวอร์ชัน 7 เป็นต้นมาได้มีการเพิ่มไอคอนในส่วนของการทํางานร่วม กับระบบออนไลน์เข้ามาไว้เพื่อให้สะดวกกับการแชร์ผลงานไปยัง Google 3D Warehouse และกําหนดตําแหน่งจริงบนแผ่นดินให้กับแบบจําลองด้วย นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมในส่วนของไอคอน Help ที่จะช่วยเรียกแสดงหน้าต่าง Instructor ขึ้นมาเพื่อแนะนําการใช้งานเครื่องมือต่างๆอีกด้วย

Dialog Boxes(กล่องเครื่องมือ)

Dialog Boxes จะมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อด้วยกันเช่น Window หรือ Panel ขอเรียกรวมๆว่าหน้าต่างเพื่อความกระชับ โดยจะมีลักษณะเป็นหน้าต่างเครื่องมือสําหรับปรับแต่งแก้ไขรายละเอียดในการทํางาน และกําหนดค่าต่างๆของโปรแกรม เช่น หน้าต่าง System Preferences จะเป็นหน้าต่างสําหรับกําหนดค่าต่างๆของโปรแกรม, หน้าต่าง Materials จะเป็นหน้าต่างที่รวบรวมเอาวัสดุต่างๆเพื่อนําไปใส่ให้กับพื้นผิวของโมเดล (นิยมเรียกกันว่าการใส่แมท), หน้าต่าง Shadow Settings จะเป็นส่วนสําหรับการกําหนดทิศทางของแสง/เงาเป็นต้น

การเรียกแสดงหน้าต่างแต่ละชนิดสามารถเรียกได้จากเมนู Window แล้วเลือกเปิดหน้าต่างที่ต้องการ โดยหน้าต่างที่เปิดอยู่จะมีเครื่องหมายถูกกํากับไว้อยู่ที่หน้าคําสั่ง (เฉพาะหน้าต่างที่เกี่ยวกับการปรับแต่งโมเดล) และถ้ามีเครื่องหมายขีดอยู่ด้านหน้าจะหมายถึงหน้าต่างนั้นเปิดอยู่แต่ถูกย่อเอาไว้เหลือเพียงแถบไตเติล

แกนอ้างอิง drawing axes แบ่งออกเป็น 3 แกน ด้วยกันคือ

Measurment มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า VCB (Value Control Box) เป็นเครื่องมือสําหรับกําหนดค่าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความยาว ขนาด องศา ระยะ ให้กับการใช้งานเครื่องมือต่างๆซึ่งจะช่วยให้การสร้างแบบจําลองมีความแม่นยําและได้สัดส่วนที่ถูกต้อง โดยรูปแบบการกําหนดค่าด้วย Measurment นั้นจะใช้วิธีการพิมพ์ตัวเลขลงไปในขณะที่ใช้เครื่องมือแต่ละชนิดอยู่โดยที่ไม่ต้องเอาเม้าส์ไปคลิกที่ช่องกําหนดค่า เช่นเมื่อเราต้องการวาดรูปสี่เหลี่ยมขนาด 5 x 5 เมตร เราจะใช้เครื่องมือ Rectangle วาดรูปสี่เหลี่ยม จากนั้นพิมพ์ค่าลงไปเป็น 5m,5m หรือ 5,5 (ในกรณีที่กําหนดหน่วยวัดเป็นเมตรไม่จําเป็นที่จะต้องใส่หน่วยวัดต่อท้ายตัวเลข) แล้วเคาะ Enter เราก็จะได้รูปสี่เหลี่ยมขนาด 5 x 5 เมตรเป็นต้น

แกนอ้างอิง drawing axes แบ่งออกเป็น 3 แกน ด้วยกันคือ

เครื่องมือสําหรับจัดการมุมมอง

ในการสร้างแบบจําลองสามมิติเราจําเป็นที่จะต้องปรับมุมมองไปในทิศทางต่างๆเพื่อให้สามารถสร้างวัตถุในทิศทางต่างๆได้ โดยเราสามารถที่จะควบคุมและปรับเปลี่ยนมุมมองได้ด้วยการใช้เครื่องมือต่างๆที่โปรแกรมมีมาให้ โดยเครื่องมือหลักๆสําหรับการควบคุมมุมมองจะมีด้วยกันดังนี้

แกนอ้างอิง drawing axes แบ่งออกเป็น 3 แกน ด้วยกันคือ

การเลือกแม่แบบเพื่อใช้งาน

การทํางานในโปรแกรม Google SketchUp ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโปรแกรมขึ้นมาหรือการสร้างงานใหม่ โปรแกรมจะทําการเรียกเอาแม่แบบที่ถูกกําหนดเอาไว้แล้วมาเป็นแม่แบบเริ่มต้นสําหรับการทํางานเราสามารถที่จะเลือกกําหนดแม่แบบเริ่มต้นสําหรับการทํางานได้จากหน้าต่าง System Preferencesในหมวด Templateหรือเลือกจากหน้าต่าง Welcome to SketchUpก็ได้เช่นกัน การเรียกแสดงหน้าต่างWelcome to SketchUpสามารถเลือกได้จากเมูน  Help > Welcome to SketchUp

แกนอ้างอิง drawing axes แบ่งออกเป็น 3 แกน ด้วยกันคือ

Model Infoเป็นส่วนสําหรับกําหนดรายละเอียดต่างๆของไฟล์งานที่กําลังทํางานอยู่ในขณะนั้นเพื่อช่วยให้การทํางานมีความสะดวกและเหมาะสมกับการทํางานในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการกําหนดการแสดงผลของแอนิเมชัน การแก้ไข Component/Groupการกําหนดรายละเอียดของไฟล์ หน่วยวัด รูปแบบตัวอักษร เป็นต้น สามารถเรียกหน้าต่าง Model Info ได้จากเมนู Win-dow > Model Infoหรือคลิกที่ไอคอน     

แกนอ้างอิง drawing axes แบ่งออกเป็น 3 แกน ด้วยกันคือ

แกนอ้างอิง drawing axes แบ่งออกเป็น 3 แกน ด้วยกันคือ

การบันทึกแม่แบบ (Save AsTemplate)

เราสามารถบันทึกไฟล์งานเก็บไว้เป็นแม่แบบสําหรับใช้งานในครั้งต่อไปได้จากเมนู File > Save As Template การบันทึกแม่แบบนั้นจะมีการเก็บค่าต่างๆที่กําหนดเอาไว้ในไฟล์งาน ไม่ว่าจะเป็นการกําหนดค่าต่างๆในModel Infoมุมมอง หรือรูปแบบการแสดงผลเป็นต้น
    - Save As... คือการบันทึกไฟล์งานที่กําลังทํางานอยู่ในขณะนั้นเป็นไฟล์ใหม่ โดยจะมีการตั้งชื่อไฟล์ใหม่และจะทํางาน
   -  Save ACopy As  คือการบันทึกไฟลืงานที่กําลังทํางานอยู่ในขณะนั้นเป็นไฟล์ใหม่ โดยจะมีการตั้งชื่อไฟล์ใหม่แต่จะยังคงทํา
     - Save AsTemplate คือการบันทึกไฟล์งานเป็นแม่แบบเก็บเอาไว้เพื่อใช้เป็นแม่แบบในการสร้างงานในครั้งต่อไป
    -  Save คือลักษณะการบันทึกไฟล์งานแบบปกติทั่วไปต่อกับไฟล์ใหม่งานกับไฟล์งานเดิมอยู่