ผล กระทบ จาก การ เปลี่ยนแปลง ประชากร ด้าน เศรษฐกิจ คือ

องค์ประกอบประชากรที่สงผลต่อการเปลี่ยนแปลงประชากร 3 ประการคือ

1. การเกิดหรือภาวะเจริญพันธุ์

2. การตาย

3. การย้ายถิ่น

การเกิดหรือภาวะเจริญพันธุ์(Births or Fertility)

การเกิดเป็นกรรมวิธีที่ทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1. การเกิดมีชีพ (Live-Birth) เป็นการคลอดของทารกที่คลอดออกจากครรภ์มารดาไม่ว่าจะครบกำหนดหรือไม่ แต่ถ้าคลอดออกมาแล้วอยู่รอดเพียง 1 วันก็ถือว่าการเกิดมีชีพทั้งนั้น

2. การเกิดไร้ชีพ (Still-Birth) เป็นการตายของทารกก่อนคลอดหรือระหว่างคลอด โดยที่เป็นการคลอดหลังจากสตรีตั้งครรภ์ได้ 5 เดือนไปแล้ว และทารกนั้นตายก่อนหรือตายในขณะคลอดปกติ  สตรีแต่ละคนมีความสามารถในการให้กำเนิดบุตรไม่เท่ากัน วิสัยสามารถของสตรีที่จะมีบุตรได้ตลอดวัยเจริญพันธุ์เรียกว่า ความสามารถในการมีบุตร จำนวนบุตรที่เกิดขึ้นจากบุคคลหนึ่งหรืบุคคลใดเรียกว่าภาวะเจริญพันธุ์ การศึกษาภาวะเจริญพันธุ์ใช้มาตรการวัดหลายมาตรการ ที่นิยมใช้มากได้แก่

        1. อัตราการเกิดหรืออัตราการเกิดอย่างหยาบ ( Crude Birth Rate )  คือจำนวนคนเกิดในแต่ละปีต่อประชากรในวันกลางปี 1000 คน มีประโยชน์ในการชี้ให้เห็นผลกระทบของภาวะเจริญพันธุ์

        2. อัตราการเจริญพันธ์ทั่วไป ( General  Fertility Rate) คืออัตราที่หาได้จากจำนวนคนเกิดใน 1 ปีต่อสตรีในวัยเจริญพันธุ์

        3. อัตราการเจริญพันธุ์ตามหมวดอายุของสตรี ( Age Specific  fertility Rate)  คือจำนวนเด็กที่เกิดจากสตรีในแต่ละหมวดอายุในวันเจริญพันธุ์ใน1 ปีต่อสตรี 1000 คนในหมวดอายุเดียวกัน

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญพันธุ์

1.อายุแรกสมรส

2. ระยะเวลาที่อยู่ร่วมกัน

3. ความพอใจในบุตรที่เป็นเพศชาย

4. ที่อยู่อาศัยที่อยู่ในเมืองและชนบท

5. การเข้าร่วมแรงงานและประเภทอาชีพของสตรี

6. ระดับค่าครองชีพและค่าใช้จ่าย

7. ค่านิยมเรื่องขนาดของครอบครัว

8. ขนบธรรมธรรมเนียมและศาสนา

9. ทัศนคติและการปฏิบัติตนในการคุมกำเนิด

10. นโยบายของรัฐ

การตาย (Death)

         การตายคือการสูญสิ้นอย่างถาวรของหลักฐานทั้งมวลเกี่ยวกับการมีชีวิตขณะใดขณะหนึ่ง  ภายหลังการเกิด  การตายทำให้ประชากรมีขนาดเล็กลงและทำให้ประชากรเปลี่ยนแปลงในด้านองค์ประกอบและการกระจายตัวเชิงพื้นที่

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะ การตาย

1. ภัยธรรมชาติและการขาดแคลนอาหาร

2. โรคระบาด

3. ภาวะทางเศรษฐกิจ

4. ภาวะทางสังคม

5. การแพทย์และสาธารณสุข

6. ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

7. อุบัติเหตุจากการคมนาคม

8. สงคราม

 การย้ายถิ่น( Migration)

        การย้ายถิ่นหมายถึงการเคลื่อนย้ายทางพื้นที่ ( SpatialMobility) หรือการย้ายเชิงภูมิศาสตร์ สำหรับการย้ายถิ่นนั้นเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสถานที่อยู่ปกติ เราเรียกหน่วยการปกครองที่ผู้ย้ายถิ่นจากมาว่า ถิ่นฐานเดิมและสถานที่ที่ผู้ย้ายไปอยู่ใหม่ว่าถิ่นฐานปลายทาง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่นฐาน

1. ปัจจัยที่เป็นแรงผลักดัน

2. ปัจจัยที่เป็นแรงดึง (Pull  Factor )

ปัจจัยใหญ่ ๆ ที่เป็นไปได้ทั้งผลักดันและดึงดูด

1. ประชากร (ขนาด ความหนาแน่น ฯลฯ)

2.เศรษฐกิจ

3. ประเพณี วัฒนธรรม สังคม และความปลอดภัยการเมืองสาธารณูปโภค

4. การคมนาคม และสื่อสารสิ่งแวดล้อม

5. อื่น ๆ

ปัจจัยที่มีส่วนผลักดันให้เกิดการย้ายถิ่นออก  (สำหรับประเทศไทย)

1.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

2. ความกดดันจากการเพิ่มพลเมือง

3. ภาวะดินฟ้าอากาศและการขาดแคลนน้ำ

4. ที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์

5. ขนาดที่ถือครองเล็กลง

6. การสงวนป่าไม้

7. ความบกพร่องของการตลาดการ

8. ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมในท้องถิ่นชนบท

9. การคมนาคมไม่ดี

10. ภัยจากโจร

ปัจจัยที่มีส่วนดึงดูดให้เกิดการย้ายถิ่นเข้า (สำหรับประเทศไทย)

1. การได้รับคำชวนจากญาติฟี่น้องหรือเพื่อนฝูง

2. ค่าจ้างมีอัตราสูง

3. ต้องการเปลี่ยนอาชีพมีนายหน้าหางานให้ทำ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินและอำนวยความสะดวกในด้านอื่น ๆ

4. ความต้องการเครื่องอุปโภคที่ดีกว่าในชุมชนของตน

5. ความอยากรู่อยากเห็นความเป็นอยู่ในเมืองหลวง

ประเภทของการย้ายถิ่น

การย้ายถิ่นเข้า คือการย้ายถิ่นจากที่หนึ่งสู่อีกที่หนึ่ง  ซึ่งมีทั้งการย้ายถิ่นเข้าอย่างชั่วคราวและถาวร

การย้ายถิ่นออก  เป็นการย้ายถิ่นออกจากที่ตนเองอาศัยอยู่ไปยังที่อื่น ซึ่งตนต้องการจะตั้งถิ่นฐานอยู่  มีทั้งการย้ายถิ่นออกอย่างถาวรและชั่วคราว