วิวัฒนาการ ของดนตรีสากล ยุค บา โร ก


3. ยุคบาโรก (The Baroque Period)

ดนตรี ในสมัยนี้จะอยู่ประมาณ ค.ศ. 1600 – 1750 ช่วงระยะเวลานี้ ทวีปยุโรปกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทุกด้านไปในทางที่ดีขึ้น ดนตรีในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสมบูรณ์ ดนตรีศาสนา และดนตรีของชาวบ้านมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกัน โครงสร้างของเพลงมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สีสันในบทเพลงมีมากขึ้นวงดนตรีวงใหญ่ขึ้น มีการนำเครื่องดนตรีมาใช้อย่างหลากหลาย เพลงในยุคนี้จะมีจังหวะสม่ำเสมอมาก ทางด้านการประสานเสียงมีการใช้เสียงหลัก (Tonality) ที่แน่นอน เพลงแต่ละเพลงจะต้องอยู่ในกุญแจหนึ่ง เช่น เริ่มด้วยกุญแจ C ก็ต้องจบด้วยกุญแจ C มีกฎเกณฑ์การใช้คอร์ด นักประพันธ์เพลงในยุคนี้นิยมทำนองสั้นๆ (Motif) มาบรรเลงซ้ำๆ กัน โดยเลียนแบบให้สูงขึ้น หรือต่ำลงเป็นลำดับ หรือไม่ก็ซ้ำอยู่ในระดับเดียวกัน ในด้านจังหวะ ได้ทำให้กระชับขึ้นมาก โดยมีการใช้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature) จุดสุดยอดแห่งการเขียนเพลงแบบนี้คือ เพลงประเภท ฟิวก์ (Fugue) ซึ้งใช้เป็นทั้งเพลงร้องและเพลงบรรเลง เป็นเพลงที่มีหลายทำนองสลับซับซ้อน มีลวดลายมาก นอกจากนี้ การเขียนเพลงแบบโฮโมโฟนี คือ การประสานเสียงที่มีทำนองหลักหนึ่งแนว และมีแนวเสียงอื่นเป็นส่วนประกอบ ได้รับพัฒนาอย่างสมบูรณ์ในยุคนี้ นักประพันธ์เพลงหลายท่าน ได้สร้างผลงานโดยใช้หลักการประสานเสียงแบบโฮโมโฟนี ผู้มีชื่อเสียงมากในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกการประพันธ์เพลงแบบบรรเลงในยุคนี้ คือ วิวาลดี (Antonio Vivaldi ค.ศ. 1676 - 1741) เพลงที่เขาเขียนส่วนใหญ่ เป็นเพลงประเภท คอนแชร์โต (Concerto) ซึ่งเป็นเพลงสำหรับเดี่ยวคนเดียว ส่วนเพลงที่มีเดี่ยว 2 – 4 คน เพลงประเภทหลังนี้เรียกว่า คอนแชร์โต กรอสโซ (Concerto Grosso) ยุคนี้เป็นยุคที่ริเริ่มเขียนอุปรากร (Opera) ขึ้น ผู้ที่มีชื่อเสียงยิ่งใหญ่ทางด้านอุปรากร (Opera) คือ มอนทิเวอร์ดี (Claudio Monteverdi ค.ศ. 1567 - 1643)

นัก ประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนี้เป็นชาวเยอรมัน คือ เจ. เอส. บาค (Johann Sebastian Bach ค.ศ. 1685 - 1750) และ แฮนเดล (George Frideric Handel ค.ศ. 1685 - 1759) สำหรับบาคนั้น ได้แต่งเพลงต่างๆ ไว้เป็นจำนวนหลายร้อยเพลง และยังได้วางรากฐานทางดนตรีไว้มากจนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของดนตรีสากล” และส่วนแฮนเดลนั้น ใช้ชีวิตอยู่ในอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เขาได้แต่งเพลงร้องและเพลงบรรเลงไว้เป็นจำนวนมากเช่นกัน เพลงร้องที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกเพลงหนึ่ง คือ Messiah (ไทยออกเสียงว่า มิซซา) เป็นเพลงบรรยายถึงประวัติของพระเยซู เพลงนี้ใช้แสดงกันในฤดูคริสต์มาสทั่วทุกมุมโลก สำหรับเพลงบรรเลงนั้นได้เขียน คอนแชร์โต กรอสโซ (Concerto Grosso) ซึ่งเพลงไพเราะมาก ทั้งหมด 12 เพลง ที่วงดนตรีนิยมบรรเลงกันจนกระทั่งทุกวันนี้มี 2 เพลง คือ Water Music และ Fireworks Music

วิวัฒนาการ ของดนตรีสากล ยุค บา โร ก

โน้ตเพลง

วิวัฒนาการ ของดนตรีสากล ยุค บา โร ก

ฮาร์ปซิคอร์ด
เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ในยุคบาโรค ประเภทเครื่องดีด โดยมีการพัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทพิณ
และกีตาร์

วงออร์เคสตราสมัยบาโรก (Baroque Orchestra)

วิวัฒนาการ ของดนตรีสากล ยุค บา โร ก

เป็นวงออร์เคสตราสมัยแรก ๆ ของดนตรีประเภทคลาสสิก มาตรฐานของการจัดวงไม่มี ความแน่นอนนัก ลักษณะการจัดวงโดยทั่วไปจะให้ไวโอลินหนึ่ง (First Violins) อยู่ทางซ้ายมือ ของผู้อำนวยเพลง (Conductor) และให้ไวโอลินที่สอง (Second Violins) อยู่ทางขวามือ วิโอลา และเชลโลอยู่ตรงกลางส่วนดับเบิลเบสอยู่แถวหลังสุดของวง สำหรับเครื่องเป่าลมไม้ (Woodwinds Instruments) อยู่หลังกลุ่มไวโอลินที่หนึ่ง เครื่องเป่าทองเหลือง (Brass Instruments) อยู่ด้านหลังขวา เครื่องประกอบจังหวะ (Percussion) อยู่หลังสุดของวง นอกจากนี้ อาจจะมีฮาร์ปสิคอร์ดเล่นเป็นแนวเบส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการผู้ประพันธ์เพลงและสถานที่ ที่ใช้ในการแสดงโดยทั่วไปมักมีจำนวนผู้เล่นประมาณ 20-30 คน

ดนตรีสมัยบาโรก หรือบางแห่งเรียกว่า ดนตรีบาโรก (อังกฤษ:Baroque music) เป็นลักษณะดนตรียุโรปคลาสสิก ราว ค.ศ. 1600-1750 เกิดขึ้นหลังดนตรีสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และเกิดก่อนดนตรีสมัยคลาสสิก มีคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคคือ โยฮัน เซบัสทีอัน บัค, อันโตนีโอ วีวัลดี, ฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลี, จอร์จ ฟริดริก แฮนเดิล, อาร์คันเจโล คอเรลลี, คลอดิโอ มอนเทแวร์ดี, ฌ็อง-ฟีลิป ราโม, เฮนรี เพอร์เซล ในยุคนี้ผู้ประพันธ์เพลงและผู้แสดงจะใช้องค์ประกอบทางด้านดนตรีที่ซับซ้อนมากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องระบบเสียงและได้พัฒนาการเล่นเครื่องดนตรีแบบใหม่ ดนตรีสมัยบาโรกได้ขยับขยายขนาด ความกว้าง ความซับซ้อนของการแสดงเครื่องดนตรี

เนื้อหา

  • 1ที่มาของคำ
  • 2ลักษณะ
  • 3คีตกวี
  • 4อ้างอิง

ทางด้านดนตรี คำว่า "บาโรก" มีความหมายแนวทางที่กว้างจากภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง โดยมากในยุโรป เป็นงานดนตรีที่ประพันธ์ในช่วง 160 ปีก่อน การใช้คำว่า "บาโรก" อย่างมีระบบทางด้านดนตรี เพิ่งมีการพัฒนาไม่นานนี้ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1919 เมื่อควร์ท ซัคส์ พยายามที่จะประยุกต์ลักษณะ 5 ประการของทฤษฎีดนตรีที่มีระบบของไฮน์ริช เวิล์ฟลิน ในภาษาอังกฤษ คำนี้เกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1940 ในงานเขียนของแลงและบูคอฟเซอร์ ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ยังคงถือว่ายังมีการโต้เถียงกันในวงการศึกษาอยู่ โดยเฉพาะในฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ถึงแม้กระนั้นก็ได้รวมเพลงที่มีความหลากหลายในลักษณะดนตรีของจาโกโป เปรี, โดเมนีโก สการ์ลัตตี และโยฮัน คริสทีอัน บัค รวมเข้าใช้เป็นคำเดียว คือ "ดนตรีสมัยบาโรก" (Baroque music) ขณะนี้คำนี้กลายเป็นคำที่ใช้แพร่หลายและยอมรับในแนวเพลงที่กว้างเช่นนี้ และยังมีประโยชน์ในการจำแนกแนวเพลงก่อนหน้านี้ (สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา) และหลังจากนี้ (คลาสสิก) ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ดนตรี

ในสมัยบาโรก เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีหรือเสียงร้องเล่นประชันกัน เช่น เสียงร้องประชันกับเครื่องดนตรี หรือการเดี่ยวประชันเครื่องดนตรีบ้าง ซึ่งเรียกกันว่า Stile Concertante มีการใช้ บัสโซกอนตีนูโว (Basso Continuo) คือการที่เสียงเบส (เสียงต่ำ) เคลื่อนที่ตลอดเวลา โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวเลขบอกถึงการเคลื่อนที่ไปของเบส รวมถึงเสียงแนวอื่น ๆ ด้วย ทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นบาสโซคอนตินิวโออาจเป็นคีย์บอร์ด เช่น ออร์แกน ฮาร์ปซิคอร์ด หรือเป็นกลุ่มของเครื่องดนตรี เช่น วิโอลา เชลโล บาสซูน

มีการใช้บันไดเสียงเมเจอร์ และบันไดเสียงไมเนอร์แทนโหมด (Mode) รูปพรรณของเพลงเป็นแบบสอดประสานทำนอง ที่เรียกว่า Contrapuntal เริ่มมีการใช้การประสานเสียงแบบโฮโมโฟนี (Homophony) คือ การเน้นความสำคัญของทำนองหลักโดยมีเสียงอื่นเล่นเสียงประสานคลอประกอบ มีการด้นสด (Improvisation) ของนักดนตรี โดยนักดนตรีจะแต่งเติมบทเพลง เริ่มมีการกำหนดความเร็วจังหวะของเพลง และความหนักเบาของเพลงลงในผลงานการประพันธ์ เช่น Adagio Andante และAllegro

รูปแบบของเพลงบางประเภทมีการพัฒนาจนมีแบบแผนแน่นอน ได้แก่ ฟิวก์ ลักษณะของเพลงร้องของดนตรีสมัยบาโรก ได้แก่ โอเปร่า คันตาตา และออราทอริโอ ส่วนลักษณะรูปแบบ (Form) ของเพลงบรรเลง ได้แก่ โซนาตา คอนแชร์โต และเพลงชุด (Suite) ซึ่งเพลงชุดเป็นการนำเพลงจังหวะเต้นรำที่มีหลายลักษณะมาบรรเลงต่อกันเป็นท่อน ๆ เพลงจังหวะเต้นรำแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเพลงชุด ได้แก่ Allemande, Courante, Sarabande, Gavotte, Bourree, Minuet และGigue เป็นต้น

เพลงโบสถ์ยังเป็นที่นิยมในการประพันธ์ เพลงที่ประพันธ์กันในยุคนี้ คือ เพลงแมส โมเท็ต คันตาตา ออราทอริโอ และแพสชั่น (Passion) คือเพลงที่บรรยายเกี่ยวกับพระเยซูถูกตรึงกางเขน เป็นต้น

เครื่องดนตรีของดนตรีแนวนี้ คือการใช้เครื่องสายตระกูลวิโอลค่อย ๆ ลดความนิยมในการใช้ลง คงหลงเหลืออยู่เพียงการพัฒนาที่กลายมาเป็นดับเบิลเบสในปัจจุบัน เครื่องสายที่เข้ามาแทนที่คือ ตระกูลไวโอลิน ซึ่งประกอบด้วย ไวโอลิน วิโอล่า และเชลโล ออร์แกนได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น และเริ่มมีการพัฒนาเปียโน เครื่องดนตรีเครื่องเป่าที่ใช้ในยุคนี้ คือ โอโบ บาสซูน และฟลูต เครื่องดนตรีที่ใช้ในการผสมวงของวงออร์เคสตรายังไม่มีการกำหนดเป็นที่แน่นอน

การบันทึกตัวโน้ตได้รับการพัฒนาจนเป็นลักษณะการบันทึกโน้ตที่ใช้กันในปัจจุบัน คือ การใช้บรรทัดห้าเส้น การใช้กุญแจโซ (G Clef) กุญแจฟา (F Clef) กุญแจอัลโต และกุญแจเทเนอร์ (C Clef) มีการใช้ตัวโน้ตและตัวหยุดแทนค่าความยาวโน้ต และตำแหน่งของตัวโน้ตบนบรรทัดห้าเส้นแทนระดับเสียง และยังมีตัวเลขบอกอัตราจังหวะ มีเส้นกั้นห้อง และสัญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อใช้บันทึกลักษณะของเสียงดนตรี

  • ดีเทอริช บุคส์เทอฮูเดอ (Dieterich Buxtehude)
  • โยฮัน พัคเค็ลเบิล (Johann Pachelbel)
  • อาเลสซันโดร สการ์ลัตตี (Alessando Scarlatti)
  • อันโตนีโอ วีวัลดี (Antonio Vivaldi)
  • โยฮัน เซบัสทีอัน บัค (Johann Sebastian Bach)
  • จอร์จ ฟริดริก แฮนเดิล (Georg Friedrich Händel)
  • ฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลี (Jean Baptist Lully)
  • ฌ็อง-ฟีลิป ราโม (Jean-Philippe Rameau)
  • เกออร์ค ฟิลลิพ เทเลอมัน (Georg Phillip Telemann)
  • เฮนรี เพอร์เซลล์ (Henry Purcell)

  1. Palisca, Grove online
  2. Sachs 1919.
  3. Palisca, Grove Online
  4. Palisca, Grove online

  • Palisca, Claude. "Baroque", Grove Music Online, ed. L. Macy (Accessed August 21, 2007),
  • Sachs, Curt. 1919. "‘Barokmusik". Jahrbuch der Musikbibliothek Peters 1919, 7–15.
  • คมสันต์ วงค์วรรณ์. ดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551
  • ณรุทธ์ สุทธจิตต์. สังคีตนิยม ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2548

วิวัฒนาการ ของดนตรีสากล ยุค บา โร ก

ดนตร, สม, ยบาโรก, ภาษาอ, เฝ, าด, แก, ไข, เปล, ยนทางจาก, ดนตร, บาโรก, หร, อบางแห, งเร, ยกว, ดนตร, บาโรก, งกฤษ, baroque, music, เป, นล, กษณะดนตร, โรปคลาสส, ราว, 1600, 1750, เก, ดข, นหล, งดนตร, สม, ยฟ, นฟ, ลปว, ทยา, และเก, ดก, อนดนตร, สม, ยคลาสส, ตกว, งใหญ, ดในย,. dntrismybaork phasaxun efadu aekikh epliynthangcak dntribaork dntrismybaork hruxbangaehngeriykwa dntribaork xngkvs Baroque music epnlksnadntriyuorpkhlassik raw kh s 1600 1750 1 ekidkhunhlngdntrismyfunfusilpwithya aelaekidkxndntrismykhlassik mikhitkwithiyingihythisudinyukhkhux oyhn esbsthixn bkh xnotniox wiwldi chxng batist luwli cxrc fridrik aehnedil xarkhnecol khxerlli khlxdiox mxnethaewrdi chxng filip raom ehnri ephxresl inyukhniphupraphnthephlngaelaphuaesdngcaichxngkhprakxbthangdandntrithisbsxnmakkhun ekidkarepliynaeplngeruxngrabbesiyngaelaidphthnakarelnekhruxngdntriaebbihm dntrismybaorkidkhybkhyaykhnad khwamkwang khwamsbsxnkhxngkaraesdngekhruxngdntri enuxha 1 thimakhxngkha 2 lksna 3 khitkwi 4 xangxingthimakhxngkha aekikhthangdandntri khawa baork mikhwamhmayaenwthangthikwangcakphumisastrthikwangkhwang odymakinyuorp epnngandntrithipraphnthinchwng 160 pikxn karichkhawa baork xyangmirabbthangdandntri ephingmikarphthnaimnanni ekidkhuninpi kh s 1919 emuxkhwrth skhs phyayamthicaprayuktlksna 5 prakarkhxngthvsdidntrithimirabbkhxngihnrich ewilflin 2 inphasaxngkvs khaniekidkhuninkhristthswrrs 1940 innganekhiynkhxngaelngaelabukhxfesxr 3 inchwngplaykhristthswrrs 1960 yngkhngthuxwayngmikarotethiyngkninwngkarsuksaxyu odyechphaainfrngessaelashrachxanackr thungaemkrannkidrwmephlngthimikhwamhlakhlayinlksnadntrikhxngcaokop epri odemniok skarltti aelaoyhn khristhixn bkh rwmekhaichepnkhaediyw khux dntrismybaork Baroque music khnanikhaniklayepnkhathiichaephrhlayaelayxmrbinaenwephlngthikwangechnni 4 aelayngmipraoychninkarcaaenkaenwephlngkxnhnani smyfunfusilpwithya aelahlngcakni khlassik inchwngewlaprawtisastrdntrilksna aekikhinsmybaork erimmikarichekhruxngdntrihruxesiyngrxngelnprachnkn echn esiyngrxngprachnkbekhruxngdntri hruxkarediywprachnekhruxngdntribang sungeriykknwa Stile Concertante mikarich bsoskxntinuow Basso Continuo khuxkarthiesiyngebs esiyngta ekhluxnthitlxdewla odyichsylksnepntwelkhbxkthungkarekhluxnthiipkhxngebs rwmthungesiyngaenwxun dwy thaihekidkhxrdkhunma ekhruxngdntrithiichelnbasoskhxntiniwoxxacepnkhiybxrd echn xxraekn harpsikhxrd hruxepnklumkhxngekhruxngdntri echn wioxla echlol bassun mikarichbnidesiyngemecxr aelabnidesiyngimenxraethnohmd Mode rupphrrnkhxngephlngepnaebbsxdprasanthanxng thieriykwa Contrapuntal erimmikarichkarprasanesiyngaebbohomofni Homophony khux karennkhwamsakhykhxngthanxnghlkodymiesiyngxunelnesiyngprasankhlxprakxb mikardnsd Improvisation khxngnkdntri odynkdntricaaetngetimbthephlng erimmikarkahndkhwamerwcnghwakhxngephlng aelakhwamhnkebakhxngephlnglnginphlngankarpraphnth echn Adagio Andante aelaAllegro rupaebbkhxngephlngbangpraephthmikarphthnacnmiaebbaephnaennxn idaek fiwk lksnakhxngephlngrxngkhxngdntrismybaork idaek oxepra khntata aelaxxrathxriox swnlksnarupaebb Form khxngephlngbrrelng idaek osnata khxnaechrot aelaephlngchud Suite sungephlngchudepnkarnaephlngcnghwaetnrathimihlaylksnamabrrelngtxknepnthxn ephlngcnghwaetnraaebbtang thimixyuinephlngchud idaek Allemande Courante Sarabande Gavotte Bourree Minuet aelaGigue epntn ephlngobsthyngepnthiniyminkarpraphnth ephlngthipraphnthkninyukhni khux ephlngaems ometht khntata xxrathxriox aelaaephschn Passion khuxephlngthibrryayekiywkbphraeysuthuktrungkangekhn epntn ekhruxngdntrikhxngdntriaenwni khuxkarichekhruxngsaytrakulwioxlkhxy ldkhwamniyminkarichlng khnghlngehluxxyuephiyngkarphthnathiklaymaepndbebilebsinpccubn ekhruxngsaythiekhamaaethnthikhux trakuliwoxlin sungprakxbdwy iwoxlin wioxla aelaechlol xxraeknidrbkarphthnaihdikhun aelaerimmikarphthnaepiyon ekhruxngdntriekhruxngepathiichinyukhni khux oxob bassun aelaflut ekhruxngdntrithiichinkarphsmwngkhxngwngxxrekhstrayngimmikarkahndepnthiaennxn karbnthuktwontidrbkarphthnacnepnlksnakarbnthukontthiichkninpccubn khux karichbrrthdhaesn karichkuyaecos G Clef kuyaecfa F Clef kuyaecxlot aelakuyaecethenxr C Clef mikarichtwontaelatwhyudaethnkhakhwamyawont aelataaehnngkhxngtwontbnbrrthdhaesnaethnradbesiyng aelayngmitwelkhbxkxtracnghwa miesnknhxng aelasylksnxun ephuxichbnthuklksnakhxngesiyngdntrikhitkwi aekikhdiethxrich bukhsethxhuedx Dieterich Buxtehude oyhn phkhekhlebil Johann Pachelbel xaelssnodr skarltti Alessando Scarlatti xnotniox wiwldi Antonio Vivaldi oyhn esbsthixn bkh Johann Sebastian Bach cxrc fridrik aehnedil Georg Friedrich Handel chxng batist luwli Jean Baptist Lully chxng filip raom Jean Philippe Rameau ekxxrkh filliph ethelxmn Georg Phillip Telemann ehnri ephxresll Henry Purcell xangxing aekikh Palisca Grove online Sachs 1919 Palisca Grove Online Palisca Grove online Palisca Claude Baroque Grove Music Online ed L Macy Accessed August 21 2007 subscription access Sachs Curt 1919 Barokmusik Jahrbuch der Musikbibliothek Peters 1919 7 15 khmsnt wngkhwrrn dntritawntk krungethph sankphimphaehngculalngkrnmhawithyaly 2551 nruthth suththcitt sngkhitniym khwamsabsungindntritawntk krungethph sankphimphaehngculalngkrnmhawithyaly 2548ekhathungcak https th wikipedia org w index php title dntrismybaork amp oldid 9514191, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม

ยุคบาโรก ดนตรีมีการพัฒนาอย่างไร

ในสมัยบาโรก เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีหรือเสียงร้องเล่นประชันกัน เช่น เสียงร้องประชันกับเครื่องดนตรี หรือการเดี่ยวประชันเครื่องดนตรีบ้าง ซึ่งเรียกกันว่า Stile Concertante มีการใช้ บัสโซอนตีนูโว (Basso Continuo) คือการที่เสียงเบส (เสียงต่ำ) เคลื่อนที่ตลอดเวลา โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวเลขบอกถึงการเคลื่อนที่ไปของเบส รวมถึง ...

วิวัฒนาการด้านดนตรีในยุคคลาสสิกมีการเปลี่ยนแปลงไปจากยุคบาโรกอย่างไร

ลักษณะของดนตรีในสมัยคลาสสิกที่เปลี่ยนไปจากสมัยบาโรกที่เห็นได้ชัด คือ การไม่นิยม การสอดประสานของทำนองที่เรียกว่าเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) หันมานิยมการเน้นทำนอง หลักเพียงทำนองเดียวโดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะขึ้น คือการใส่เสียงประสาน ลักษณะของบาสโซ คอนตินูโอเลิกใช้ไปพร้อม ๆ กับการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น

ต้นกำเนิดของดนตรีสากลมีวิวัฒนาการมาจากสิ่งใด

ดนตรีสากล หมายถึง ดนตรี เครื่องดนตรี และแนวดนตรีที่นิยมแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นที่แพร่หลายจนเป็นมาตรฐานเดียวกัน ดนตรีสากลมีที่มาจากเพลงศาสนา ต่อมาชาวยุโรปได้มีการบันทึกทำนองเพลงที่เป็นแบบแผนเดียวกันโดยใช้สัญลักษณะที่เรียกว่า "โน้ตสากล" และใช้กับเครื่องดนตรีสากลที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ...

นักประพันธ์ดนตรีสากลท่านใดอยู่ในยุคบาโรก *

นักประพันธ์เ พลงที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนี้เป็นชาวเยอรมัน คือ เจ. เอส. บาค (Johann Sebastian Bach ค.ศ. 1685 - 1750) และ แฮนเดล (George Frideric Handel ค.ศ. 1685 - 1759) สำหรับบาคนั้น ได้แต่งเพลงต่างๆ ไว้เป็นจำนวนหลายร้อยเพลง และยังได้วางรากฐานทางดนตรีไว้มากจนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของดนตรีสากล” และส่วนแฮน ...