อาณาจักรอยุธยา ปกครอง ด้วย พระ มหา กษัตริย์ 33 พระองค์ ประกอบด้วย ราชวงศ์ ใด บาง

อาณาจักรอยุธยา ปกครอง ด้วย พระ มหา กษัตริย์ 33 พระองค์ ประกอบด้วย ราชวงศ์ ใด บาง

          หลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงชื่อเมืองสุพรรณภูมิ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๑ คือ จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ.ศ.๑๘๒๖) กล่าวถึงเมือง “สุพรรณภูมิ” อยู่ทางทิศใต้ของกรุงสุโขทัย “....เบื้องหัวนอนรอดคนที พระบาง แพรกสุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว....”

อาณาจักรอยุธยา ปกครอง ด้วย พระ มหา กษัตริย์ 33 พระองค์ ประกอบด้วย ราชวงศ์ ใด บาง

          จารึกลานทองวัดส่องคบ ๑ จังหวัดชัยนาท พ.ศ ๑๙๕๑ (ตรงกับรัชสมัยพระเจ้ารามราชาธิราช พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ราชวงศ์อู่ทอง พ.ศ.๑๙๓๘ – ๑๙๕๒) กล่าวถึง “...แม่นางพัวผู้มีคุณ แม่นางผู้ใจบุญ บุญชาวแม่ทั้งหลายพรรณรายศรัทธาอันโมทนาด้วย ธ เจ้าเมือง แต่ปีชวดนักษัตรสัมฤทธิศก ไพสาขวันอาทตย์ตราเอกาทศเกต จึงพระสงฆ์ทั้งหลาย แต่ ธ เจ้าเมืองประดิษฐานพระศรีรัตนธาตุ แห่งกรุงไชยสถานนาม มาตราหนึ่ง แต่ ธ เจ้าเมืองกระทำกุศลมาแต่กระโน้น ในสุพรรณภูมิ ธ ให้ทานเรียบร้อย ธ กระทำกุฎีพิหารในศรีอโยธยา ให้ข้าสองคนแม่ลูก พระสงฆ์สี่ตนแล้ว...” และในชินกาลมาลีปกรณ์ (พ.ศ. ๒๐๖๐) ได้กล่าวถึง วัตติเดชอำมาตย์ (สันนิษฐานว่า คือ ขุนหลวงพ่องั่ว) ครองเมืองสุพรรณภูมิ //เมืองสุพรรณภูมิเป็นเมืองสำคัญที่อยู่ร่วมสมัยกับกรุงสุโขทัยและนครศรีธรรมราช เป็นเมืองใหญ่ที่มีเจ้าเมืองปกครองสืบเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น มีฐานะเป็นเมืองสำคัญคู่กับราชธานีกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เสด็จสวรรคต ขุนหลวงพ่องั่วซึ่งครองเมืองสุพรรณภูมิได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ และทรงเป็นต้นราชวงศ์สุพรรณภูมิปกครองกรุงศรีอยุธยา โดยมีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติในฐานะพระเชษฐาของพระมเหสีพระเจ้าอู่ทอง
          ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระนครินทราธิราช ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ.๑๙๕๒ – ๑๙๖๗) ทรงรวมเอาเมืองใหญ๋ทั้งสาม คือ สุพรรณบุรี สุโขทัย และอยุธยา ผนวกเข้าด้วยกัน ทำให้กรุงศรีอยุธยามีฐานะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรอยุธยาอย่างแท้จริง
          พระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิเสด็จขึ้นครองราชย์ในกรุงศรีอยุธยา มีทั้งสิ้น ๑๓ พระองค์ ดังนี้
๑. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพ่องั่ว) พ.ศ.๑๙๑๓ – ๑๙๓๑
๒. สมเด็จพระเจ้าทองจันทร์ หรือทองลัน พ.ศ.๑๙๓๑
๓. สมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ ๑ หรือสมเด็จพระนครินทราธิราช พ.ศ.๑๙๕๒ – ๑๙๖๗
๔. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) พ.ศ.๑๙๖๗ – ๑๙๘๑
๕. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ.๑๙๙๑ – ๒๐๓๑
๖. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ พ.ศ.๒๐๓๑ – ๒๐๓๔
๗. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พ.ศ.๒๐๓๔ – ๒๐๗๒
๘. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร)พ.ศ.๒๐๗๒ – ๒๐๗๖
๙. สมเด็จพระรัษฏาธิราช พ.ศ.๒๐๗๖ – ๒๐๗๗
๑๐. สมเด็จพระชัยราชาธิราช พ.ศ.๒๐๗๗ – ๒๐๘๙
๑๑. สมเด็จพระยอดฟ้าหรือพระแก้วฟ้า พ.ศ.๒๐๘๙ – ๒๐๙๑
๑๒. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ.๒๐๙๑ – ๒๑๑๑
๑๓. สมเด็จพระมหินทราธิราช พ.ศ.๒๑๑๑ – ๒๑๑๒

          ในสมัยของสมเด็จพระมหินทราธิราชกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ ๑ ให้แก่พม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัยจึงได้ครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อมา

เรียบเรียงโดย นางสาวเบญจพร สารพรม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี

ข้อมูลอ้างอิง
นิภา สังคนาคินทร์. หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี. หน้า ๒๕, ๒๖, ๖๒ อนงค์ หนูแป้น. หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี. หน้า ๑๔ แสงเทียน ศรัทธาไทย. ราชวงศ์สยาม. หน้า ๑๕๕ – ๑๕๖

ลำดับพระนามพระราชสมภพเริ่มครองราชย์สิ้นรัชกาลสวรรคตรวมปีครองราชย์ราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 1) 1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
(พระเจ้าอู่ทอง) พ.ศ. 1855 พ.ศ. 1893 พ.ศ. 1912 20 ปี 2
(1) สมเด็จพระราเมศวร พ.ศ. 1885 พ.ศ. 1912 พ.ศ. 1913 พ.ศ. 1938 ไม่ถึง 1 ปี ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 1) 3 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1
(ขุนหลวงพะงั่ว) พ.ศ. 1853 พ.ศ. 1913 พ.ศ. 1931 18 ปี 4 สมเด็จพระเจ้าทองลัน
(เจ้าทองจันทร์) พ.ศ. 1917 พ.ศ. 1931 7 วัน ราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 2) 2
(2) สมเด็จพระราเมศวร พ.ศ. 1885 พ.ศ. 1931 พ.ศ. 1938 7 ปี 5 สมเด็จพระรามราชาธิราช พ.ศ. 1899 พ.ศ. 1938 พ.ศ. 1952 ? 15 ปี ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 2) 6 สมเด็จพระอินทราชา
(เจ้านครอินทร์) พ.ศ. 1902 พ.ศ. 1952 พ.ศ. 1967 15 ปี 7 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
(เจ้าสามพระยา) พ.ศ. 1929 พ.ศ. 1967 พ.ศ. 1991 24 ปี 8 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1974 พ.ศ. 1991 พ.ศ. 2031 40 ปี 9 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พ.ศ. 2005 พ.ศ. 2031 พ.ศ. 2034 3 ปี 10 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2015 พ.ศ. 2034 พ.ศ. 2072 38 ปี 11 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
(หน่อพุทธางกูร) พ.ศ. 2040 พ.ศ. 2072 พ.ศ. 2076 4 ปี 12 พระรัษฎาธิราช พ.ศ. 2072 พ.ศ. 2077 5 เดือน 13 สมเด็จพระไชยราชาธิราช พ.ศ. 2045 พ.ศ. 2077 พ.ศ. 2089 12 ปี 14 พระยอดฟ้า
(พระแก้วฟ้า) พ.ศ. 2078 พ.ศ. 2089 พ.ศ. 2091 2 ปี – ขุนวรวงศาธิราช พ.ศ. 2049 พ.ศ. 2091 42 วัน
(ไม่ได้รับการยกย่อง แต่ผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษก) 15 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
(พระเจ้าช้างเผือก) พ.ศ. 2048 พ.ศ. 2091 พ.ศ. 2111 20 ปี 16 สมเด็จพระมหินทราธิราช พ.ศ. 2082 พ.ศ. 2111 7 สิงหาคม พ.ศ. 2112 1 ปี เสียกรุงครั้งที่ 1 ราชวงศ์สุโขทัย 17 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 1) พ.ศ. 2059 พ.ศ. 2112 พ.ศ. 2133 21 ปี 18 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2) พ.ศ. 2098 29 กรกฎาคมพ.ศ. 2133 25 เมษายน พ.ศ. 2148 15 ปี 19 สมเด็จพระเอกาทศรถ
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 3) พ.ศ. 2104 25 เมษายนพ.ศ. 2148 พ.ศ. 2153 5 ปี 20 พระศรีเสาวภาคย์
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 4) ? พ.ศ. 2153 2 เดือน 21 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
(สมเด็จพระบรมราชาที่ 1) พ.ศ. 2125 พ.ศ. 2154 12 ธันวาคม พ.ศ. 2171 17 ปี 22 สมเด็จพระเชษฐาธิราช พ.ศ. 2156 พ.ศ. 2171 พ.ศ. 2173 1 ปี 8 เดือน 23 พระอาทิตยวงศ์ พ.ศ. 2161 พ.ศ. 2173 พ.ศ. 2173 พ.ศ. 2178 36 วัน ราชวงศ์ปราสาททอง 24 สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5) พ.ศ. 2143 พ.ศ. 2173 พ.ศ. 2199 25 ปี 25 สมเด็จเจ้าฟ้าไชย
(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 6) ? พ.ศ. 2199 9 เดือน 26 สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
(พระสรรเพชญ์ที่ 7) ? พ.ศ. 2199 2 เดือน 17 วัน 27 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
(สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3) พ.ศ. 2175 พ.ศ. 2199 พ.ศ. 2231 11 กรกฎาคมพ.ศ. 2231 32 ปี ราชวงศ์บ้านพลูหลวง 28 สมเด็จพระเพทราชา พ.ศ. 2175 พ.ศ. 2231 พ.ศ. 2246 15 ปี 29 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
(สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี)
(พระเจ้าเสือ) พ.ศ. 2204 พ.ศ. 2246 พ.ศ. 2251 5 ปี 30 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
(สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) พ.ศ. 2221 พ.ศ. 2251 พ.ศ. 2275 24 ปี 31 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. 2223 พ.ศ. 2275 พ.ศ. 2301 26 ปี 32 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
(ขุนหลวงหาวัด) พ.ศ. 2265 พ.ศ. 2301 พ.ศ. 2339 2 เดือน 33 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์
(พระเจ้าเอกทัศ) พ.ศ. 2252 พ.ศ. 2301 7 เมษายน พ.ศ. 2310 26 เมษายนพ.ศ. 2311 9 ปี เสียกรุงครั้งที่ 2