หลักทางสายกลางของพระพุทธศาสนา

ตามปฏิทินจันทรคติ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี คำว่า "อาสาฬหบูชา" ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา

เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8 คือ
วันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานาม และอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จนโกณฑัญญะได้บรรลุธรรม ขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรก ในพระพุทธศาสนา

จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี

ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ ทรงแสดงจบลง อัญญาโกณฑัญญะ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า ก็ได้ประทานอุปสมบท ให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้บรรลุธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ

ใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ

1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ ถูกต้อง และเหมาะสม ที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ

- การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค

- การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา
โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า มรรคมีองค์แปด

2. อริยสัจสี่ คือ ความจริง 4 ประการเกี่ยวกับทุกข์ ได้แก่ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์
ทุกข์ คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์

สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง

นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน

มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติ ความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน

ส่วนวันเข้าพรรษานั้น "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย

พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาในหมู่บ้านหรือในเมืองทัน ก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์

โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนจนเปียกปอน ชาวบ้านจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนให้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝน สืบมา

ในช่วงเข้าพรรษา พระสงฆ์อยู่ประจำวัด นาน 3 เดือน บิดามารดาจึงถือโอกาสนี้ จัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง

มัชฌิมาปฏิปทาในทางพุทธศาสนาหมายถึงทางสายกลาง คือ การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 ได้แก่ อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกามในความสบาย ที่ไม่ใช่ทางสายกลาง คือ สักแต่ว่ากลาง โดยเป็นแต่เพียงโวหารไม่ได้กำหนดวิธีที่ถูกต้องไว้เลย แต่พระพุทธองเจ้าได้ทรงกำหนดหลักทางสายกลางนี้ไว้อย่างชัดเจน คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เมื่อย่นย่อแล้ว เรียกว่า “ไตรสิกขา” ได้แก่ศีล สมาธิ ปัญญา

มัชฌิมาปฏิปทาหมายถึงการปฏิบัติสายกลาง ซึ่งเป็นหลักจริยธรรมย่อมต้องคู่กับหลักสัจจธรรมอันเป็นสายกลางเช่นกัน โดยที่หลักสัจจธรรมอันเป็นสายกลางนี้เรียกว่ามัชเฌนธรรม หรือหลักทฤษฎีที่ว่าด้วยความสมดุล (สมตา)ที่มีลักษณะเป็นกฎธรรมชาติสากลของสรรพสิ่ง

มัชฌิมาปฏิปทาใช้ในความหมายถึงความพอเพียง หรือการใช้ชีวิตที่ถูกต้องตามหลัก สัมมาอาชีวะ คือใช้ชีวิตอย่างรู้ประมาณในการบริโภค คือใช้ปัจจัยสี่เท่าที่จำเป็น ไม่ใช่ใช้ตามความต้องการเพื่อสนองความอยาก

มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา มักไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย

มัชฌิมาปฏิปทาในทางจิตวิญญาณหมายถึงสติ สติเป็นความสมดุลทางจิตอย่างหนึ่ง คือสมดุลระหว่างศรัทธาและปัญญา สติจะอยู่ตรงกลางระหว่างอารมณ์และเหตุผล ถ้าความคิดเปรียบเป็นน้ำไหล สมาธิเปรียบเป็นน้ำนิ่ง สติจะเป็นน้ำไหลนิ่ง สติเป็นทางสายกลางทางจิตวิญญาณ

มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง หมายถึง ความสมดุล ความเหมาะสม ความเสมอ ความพอดี ซึ่งเป็นความประสานสอดคล้องกันระหว่างข้อปฏิบัติปลีกย่อยต่างๆ ที่มาประชุมกันร่วมกันทำงาน ข้อปฏิบัติต่างๆ ในพระพุทธศาสนาจะต้องมีสมตาคือความสมดุล ซึ่งเป็นความพอดีชนิดหนึ่ง เป็นชื่อเรียกสติอีกอย่างหนึ่ง เช่นความสมดุลระหว่างวิริยะกับสมาธิ และความพอดีระหว่างศรัทธากับปัญญา โดยมีสติเป็นเครื่องควบคุม

มัชฌิมาปฏิปทา ใช้ในความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า มัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณ หรือรู้จักพอดีในการปฏิบัติต่างๆ โดยทั่วไป หรือรู้จักพอดีที่เป็นหลักกลางๆ เช่น จะรับประทานอาหารก็ต้องมีความรู้จักประมาณ รู้จักพอดีในอาหาร ถ้ารับประทานอาหารไม่พอดีก็เกิดโทษแก่ร่างกาย แทนที่จะได้สุขภาพ แทนที่จะได้กำลัง ก็อาจจะเสียสุขภาพ และอาจจะทอนกำลังทำให้อ่อนแอลงไป หรือเกิดโรค เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนให้มีความรู้จักประมาณในการบริโภค เรียกว่า โภชเนมัตตัญญุตา

จะเห็นว่าหลักพระพุทธศาสนาในทุกระดับมีเรื่องของความพอดี หรือความเป็นสายกลางนี้ ฉะนั้นความเป็นสายกลาง คือ ความพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย และที่จะให้ตรงกับความจริง ไม่ให้ไปสุดโต่ง เอียงสุด ซึ่งจะพลาดจากตัวความจริงไปนั้น จึงเป็นลักษณะทั่วไปอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสายกลางทั้งหลักทฤษฎี(มัชเฌนธรรม) และหลักการปฏิบัติ(มัชฌิมาปฏิปทา)
อีกตัวอย่างหนึ่ง มองกว้างออกไปอีกมัชฌิมาปฏิปทาในแนวคิดที่เป็นกฎธรรมชาติได้แก่หลักมัชเฌนธรรม หรือหลักสมตาความสมดุล ซึ่งเป็นสัจจธรรมอันคู่กับหลักจริยธรรมของมัชฌิมาปฏิปทา ที่กล่าวแสดงไว้ว่าความสมดุลเป็นกฎธรรมชาติ จัดเป็นกฎพีชนิยาม ตามหลักมัชเฌนธรรมความสมดุลเป็นเหตุให้สิ่งต่างๆดำรงอยู่โดยไม่แตกสลายไปตามกฎไตรลักษณ์เร็วนัก และทำให้เกิดการปรับสภาพให้เหมาะสมของสรรพสิ่ง รวมถึงการที่ธรรมชาติมีความสมดุลจนโลกเหมาะสมที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่ได้ ตลอดจนสรรพชีวิตและธรรมชาติมีวัฏจักรสมดุลสัมพันธ์ต่อกันเพราะกฎแห่งความสมดุลนี้ ที่ทำให้เกิดมีกลไกการปรับตัวขึ้น และยังทำให้เกิดความเป็นระเบียบของข้อมูล จึงเกิดมีระบบชีวิต ทำให้มีการดำรงอยู่ อันเป็นเหตุให้เกิดการถ่ายทอดลักษณะ อันเป็นเหตุให้มีสภาวะข้อมูลของสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิต ที่มีข้อมูลต่างๆเพราะการปรับสมดุล เช่นเดียวกับจิตที่เกิดดับตลอดเวลา แต่ก็จะถ่ายเทข้อมูลหรือภวังคจิตอันเป็นเช่นกับพันธุกรรมของจิต สู่จิตดวงใหม่ก่อนจิตดวงเก่าจะดับลง จนเกิดวัฏฏะ(หมุนวนเวียน)มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป กลับไปกลับมา สิ่งมีชีวิตเริ่มต้นถึงที่สุดก็กลับมาตั้งต้นใหม่ การปรับสมดุลที่รักษาข้อมูลหรือพันธุ์กรรมของสิ่งมีชีวิตทำให้เกิดชีวิต

อนิจจังกฎแห่งความไม่แน่นอน(อนิจจังทำให้สิ่งทั้งปวงย่อมต้องเปลี่ยนแปลงสถานะเดิม อย่างธาตุดิน (ของแข็ง) เปลี่ยนเป็นธาตุน้ำ (ของเหลว) เปลี่ยนเป็นธาตุลม (แก๊ส) และเปลี่ยนเป็นธาตุไฟ (แสง ความร้อน พลังงาน) และเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุด แม้จะเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงก็มีขีดจำกัดทำให้เกิดกฎแห่งวัฏจักรหรือวัฏฏะ โลก จักรวาล กาแล็กซี ย่อมหมุนเป็นวงกลม ทำให้เกิดสันตติ การสืบต่อ การถ่ายทอดพันธุกรรมตามกฎพีชนิยามทำให้ลูกมาจากปัจจัยพ่อแม่ของตน ทำให้ลูกเหมือนพ่อแม่ของตน แต่กฎอนิจจังความไม่แน่นอนทำให้สัตว์ พืช อาจไม่เหมือนพ่อแม่ของตนได้นิดหน่อย

ทุกขัง ความบีบคั้นทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยากของสรรพสิ่ง คือสิ่งทั้งปวงหยุดนิ่งมิได้เหมือนจะต้องเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่งอยู่ตลอดเวลา ทำให้ธรรมชาติเกิดการปรับสมดุลได้เอง ความทุกข์เองก็ทำให้เกิดการพัฒนาการในการอยู่รอดของสัตว์ พืช โดยการปรับสมดุลของร่างกายที่จะบริหารหนีทุกข์ของสิ่งมีชีวิต ทำให้เกิดอิริยาบถ(การบริหารกายและจิต)

อนัตตาสิ่งทั้งปวงไม่มีตัวตนเป็น มีตัวตนเพราะอาศัยปัจจัยต่างๆประกอบกันขึ้น ทำให้ดำรงอยู่ได้ สิ่งทั้งปวงย่อมเกี่ยวเนี่องซึ่งกันและกัน เมื่อสิ่งต่างๆมีผลกระทบต่อกันในด้านต่างๆ จำต้องปรับสมดุลเพื่อรักษาระบบทำให้เกิดกฎปัจจยาการหรือกฎแห่งหน้าที่ ทำให้มีความเป็นระเบียบของระบบทำงานของร่างกาย ทำให้เกิดฆนะ ความเป็นก้อน รูปร่าง หรือการเป็นโครงสร้าง และถ้าธาตุทั้งสี่ไม่มีกฎแห่งหน้าที่นี้ ที่เป็นเหตุให้ธาตุประกอบกันเป็นร่างกาย ร่างกายย่อมต้องแตกแยกสลายไป

ทางสายกลางคือหลักธรรมอะไร

ทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง ในพุทธศาสนา หมายถึง การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 ได้แก่อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกามในความ สบาย พระพุทธเจ้าทรงกำหนดหลักทางสายกลางนี้ไว้ชัดเจน คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เมื่อย่นย่อแล้ว เรียก "ไตรสิกขา" ได้แก่ศีล สมาธิปัญญา

ทางสายกลางคือวันอะไร

วันอาสาฬหบูชา ๑. ใจความของปฐมเทศนา ก. ทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา

ทางสายกลางพอเหมาะพอดีคืออะไร

ปฏิปทา ก็คือ ข้อปฏิบัติหรือการปฏิบัติ มัชฌิมา ก็คือ พอดี ที่เราแปลกันว่าทางสายกลาง ก็คือวิธีปฏิบัติที่พอดีนั่นเอง ปฏิบัติอย่างได้สัดได้ส่วนพอเหมาะพอดี ต้องมีองค์ประกอบ ๘ อย่างเข้ามาประสานกันพอเหมาะแล้วจึงจะเกิดเป็นมัชฌิมาปฏิปทา กล่าวคือ

ทางสายกลางคืออะไรและมีลักษณะอย่างไร

ทางสายกลาง” ถือได้ว่าเป็น "อริยมรรค" ซึ่งเป็นหนทางอันประเสริฐที่จะพาคู่ขัดแย้งออกจากกับดักของความรุนแรง และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขดังที่พระพุทธเจ้าทรงเน้นย้ำว่า “ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับทุกข์” ด้วยเหตุ ...