ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย ด้านเศรษฐกิจ

Summary
  • ภูมิภาคอาเซียนสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามภูมิรัฐศาสตร์ คือ กลุ่มที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่ กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม และไทย กับสมุทรรัฐ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
  • จุดยืนที่โดดเด่นเข้มแข็งของอินโดนีเซียต่อวิกฤตการณ์พม่า ตอกย้ำภาพลักษณ์ของอินโดนีเซียให้กลายเป็นผู้นำตัวจริงของอาเซียนขึ้นมาในทันที และสิ่งที่จะทำให้อินโดนีเซียโดดเด่นขึ้นอีก คือการเป็นประธานกลุ่ม G20
  • ด้วยขนาดของ G20 ที่ครอบคลุมมากกว่า ประเด็นและหัวข้อการประชุมที่ทันสถานการณ์กว่า นักสังเกตการณ์ทางการทูตคาดว่า การประชุมสุดยอด G20 ที่อินโดนีเซีย อาจได้รับความสนใจมากกว่า APEC ที่ไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย ด้านเศรษฐกิจ

Author

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี

นักข่าวและนักวิจัย ซึ่งเชี่ยวชาญประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในอาเซียน

  • TAG
  • #อินโดนีเซีย
  • #APEC
  • #G20
  • #ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • #อาเซียน
  • #ประชาคมอาเซียน
  • #การประชุมเอเชีย-ยุโรป
  • #ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี เจ้าพระยา แม่โขง
  • #ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล
  • #ความร่วมมือเอเชีย

เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียชื่นชมความสัมพันธ์ไทยอินโดนีเซียที่ราบรื่นใกล้ชิด และชื่นชมการจัดการโควิด-19 ของไทย

เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียชื่นชมความสัมพันธ์ไทยอินโดนีเซียที่ราบรื่นใกล้ชิด และชื่นชมการจัดการโควิด-19 ของไทย

วันนี้ (18 มิถุนายน 2563) เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายอะฮ์มัด รุซดี (H.E. Mr. Ahmad Rusdi) เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสพ้นจากหน้าที่ สรุปสาระสำคัญการหารือ ดังนี้

  นายกรัฐมนตรียินดีที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซียมีความใกล้ชิดระหว่างกัน และยินดีที่ครบรอบ 70 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปีนี้ เชื่อมั่นว่าทั้งสองประเทศต่างพร้อมที่จะมุ่งสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีขอบคุณเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียฯ ที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริม และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย ในช่วงตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ดำรงตำแหน่งในประเทศไทย และขอให้เชื่อมั่นว่ารัฐบาลไทยพร้อมทำงานร่วมกับเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียฯ คนใหม่ อย่างใกล้ชิด เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

  เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียฯ ชื่นชมความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศที่ราบรื่นมาอย่างยาวนาน และขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนการทำงานของอินโดนีเซียเสมอมา ประทับใจที่ได้ดำรงตำแหน่งในประเทศไทย และมีโอกาสได้เข้าร่วมในพิธีการสำคัญของประเทศไทย นอกจากนี้ อินโดนีเซียพร้อมสนับสนุนความร่วมมือด้านการทหาร และความมั่นคงกับประเทศไทย

  โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีที่การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับอินโดนีเซียมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยขอให้ฝ่ายอินโดนีเซียพิจารณาผ่อนปรนมาตรการควบคุมการนำเข้าพืชสวนของไทย เพื่อจะเป็นอีกโอกาสในการเพิ่มพูนมูลค่าทางการค้ายิ่งขึ้น รวมทั้งยินดีกับความคืบหน้าในการจัดทำร่างแถลงการณ์ร่วมด้านการประมงระหว่างกันเพื่อแก้ไขปัญหา IUU ที่ทั้งสองประเทศให้ความสำคัญ ทั้งนี้ ด้านการศึกษา นายกรัฐมนตรีขอบคุณอินโดนีเซียที่ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาชาวไทยไปศึกษาต่อที่อินโดนีเซียในสาขาต่าง ๆ โดยนักศึกษาไทยจะได้เรียนรู้การดำเนินชีวิตของมุสลิมสายกลางที่อินโดนีเซียเป็นต้นแบบด้วย

  นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือในประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ร่วมกัน โดยเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียฯ ชื่นชมนายกรัฐมนตรีในการควบคุมการแพร่ระบาดในไทยได้เป็นอย่างดี เป็นที่ยอมรับ อินโดนีเซียพร้อมเรียนรู้จากประสบการณ์ มาตรการ และการดำเนินการของไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรีขอบคุณอินโดนีเซียที่ให้สนับสนุนภารกิจช่วยเหลือคนไทยในประเทศอินโดนีเซียให้เดินทางกลับมาประเทศไทย และยินดีร่วมมือกับอินโดนีเซียในด้านสาธารณสุข และการควบคุมโรค พร้อมเชื่อมั่นว่าทั้งสองประเทศจะฟื้นตัวกลับมาอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น

สัมพันธ์ 65ปี “ไทย-อินโดฯ

จับตาอนาคต..คู่ค้ามุสลิมมากที่สุดในโลก

โดย เอกธวัช มูเก็ม

+++++++++++++++++++

            สำนักข่าวอะลามี่  : เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เปิดเผยกับ " สำนักข่าวอะลามี่ " ก่อนหมดวาระการทำงานในประเทศไทย ถึง ความสัมพันธ์ของประเทศไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย  หลังได้สถาปนาทางการทูต และ เป็นมิตรประเทศที่ดีต่อกันมายาวนาน จนถึงวันที่เป็นปีที่  65 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย ด้านเศรษฐกิจ

            นายลุตฟี ราอุฟ  เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย กล่าวถึงความสัมพันธ์ทางการเมือง ประเทศไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2493 (1950) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองดำเนินไปได้ด้วยดี มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งในระดับทวิภาคี และกรอบพหุภาคี

            “ หลังจากที่อินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชในปี 1945 พระมหากษัตริย์ของไทย ได้ให้ความร่วมมือกับอินโดนีเซียในการประกาศความเป็นประเทศเอกราช และยอมรับ อินโดนีเซีย เป็นส่วนหนึ่งในชาติพันธมิตร นี่คือจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของสองประเทศ”

            สำหรับในส่วนของด้านเศรษฐกิจ นั้น ประเทศไทย ถือเป็นประเทศคู่การค้า ที่ใหญ่ที่สุด ของอินโดนีเซีย โดยในปี 2014 ประเทศไทยและอินโดนีเซีย มีมูลค่ากาค้าในการส่งออกถึง 16.8 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ  แม้ว่าตัวเลขนี้จะลดลงจาก ปี 2012 และปี 2013 ก็ตาม แต่ถือว่าสัมพันธ์ทางการค้ายังไปในทิศทางที่ดีเสมอมา

            เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย กล่าวถึงความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวว่า ระหว่างสองประเทศเป็นไปด้วยดี และมีแนวโน้มที่ดีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในอนาคต ซึ่งจากสถิติ นักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซียมาเยือนประเทศไทยมากถึง 508,171 คน แต่ คนไทยไปเที่ยว อินโดนีเซีย เพียงแค่ 125,059 คน นี่เป็นตัวเลขในปี 2014  

            “ แน่นอนที่น้อยเป็นเพราะว่าประเทศเรามีจำนวนประชากรที่มากกว่า แต่นั่นแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซีย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี “

            เขาบอกว่า อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีพลเมืองมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และมองว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดสำเร็จของอาเซียนที่เห็นได้ชัดคือ เศรษฐกิจมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความเสถียรภาพ และนั่นทำให้อินโดนีเซียเป็นที่รู้จักมากขึ้นบนเวทีโลก “ หากคุณต้องการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณจะต้องมีเสถียรภาพทางเมือง หากประเทศไหน ไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจก็ไม่มีทางที่จะพัฒนา”

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย ด้านเศรษฐกิจ

            ทั้งนี้ช่วงปลายปีนี้ นายลุตฟี ราอุฟ  จะหมดวาระการดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เขากล่าวว่า  สิ่งหนึ่งที่ผมมอง หลังจากวันที่ผมหมดวาระการทำงานในประเทศไทย ไปแล้ว ผมคิดว่าจะทำอย่างไร ในการทำให้คนไทยได้รู้ว่า อินโดนีเซียเป็นเพื่อนที่ดีของคนไทย และความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้จะต้องดีและดียิ่งขึ้นไปอีกอย่างแน่นอน

            ประเทศไทยเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2493 โดยเป็นพันธมิตรที่สำคัญของไทยทั้งในกรอบอาเซียน และในเวทีระหว่างประเทศอื่นๆ การที่อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก

            อย่างไรก็ตาม ท่าทีของอินโดนีเซียเกี่ยวกับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ย่อมมีผลต่อท่าทีของประเทศมุสลิม โดยเฉพาะในกรอบองค์การความร่วมมืออิสลาม (Organization of Islamic Cooperation: OIC) ซึ่งที่ผ่านมาอินโดนีเซียสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลและช่วยอธิบายให้ประเทศมุสลิมอื่นๆ เข้าใจปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาโดยตลอด