นักเรียนไม่กล้าแสดงออก สาเหตุ

โดยธรรมชาติแล้ว เด็ก ๆ จะมีความกล้าแสดงออกในตัวอยู่แล้วเป็นทุนเดิม แต่จะมีมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อม และการเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัว และจากการที่บางครอบครัวมีการเลี้ยงดูที่บังคับและเข้มงวดเกินไป ทำให้มีเด็กจำนวนไม่น้อยต้องกลายเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออก และเมื่อบ้านซึ่งถือว่าเป็นสถาบันเริ่มต้นของการใช้ชีวิต กลับทำให้เด็กเป็นคนไม่ชอบการแสดงออก เมื่อมาโรงเรียน ครูอาจจะใช้ระบบบังคับมากกว่าสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน จึงทำให้เด็กไม่กล้าพูด หรือไม่กล้าแม้แต่จะแสดงความคิดเห็น เพราะมองว่าการอยู่เฉยๆ เป็นเรื่องที่ปลอดภัยมากกว่า 6 วิธี สร้างเด็กกล้าแสดงออก จึงเป็นอีกแนวทางที่คุณครูสามารถใช้เสริมสร้างพลังบวกด้านการกล้าแสดงออกของเด็กๆ ได้ มาดูกันเลยว่ามีวิธีอะไรกันบ้าง

1. สร้างแบบอย่างที่ดี

ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของ อัลเบิร์ต แบนดูรา นักจิตวิทยาชาวแคนาดา ที่เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์นั้น เกิดจากการสังเกตผ่านตัวแบบ ซึ่งถ้าเป็นไปตามทฤษฎี คุณครูควรสร้างรูปแบบห้องเรียนให้เด็กๆ มีโอกาส ได้แสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นอย่างสม่ำเสมอ การให้เกียรติและเปิดโอกาสให้เขาได้มีช่วงเวลาเล่าถึงประสบการณ์ต่างๆที่เขาพบเจอ หรือให้นำเสนองานต่างๆในรูปแบบที่เขาคิดขึ้นมาเอง วิธีการนี้จะทำให้เด็กได้มีพื้นที่ในการแสดงออกถึงความสามารถ และยังกลายเป็นแบบอย่างให้กับเด็กคนอื่นๆ อยากลุกขึ้นมามีบทบาทด้วยเช่นกัน

2. ไม่เร่งไม่บังคับ

บ่อยครั้งที่ครูอย่างเรามักจะให้เด็กออกมานำเสนอ หรืออภิปรายหน้าชั้นเรียนในเรื่องต่างๆ โดยการเรียกตามโต๊ะ เรียกตามเลขที่ หรือสุ่มเรียกตามอักษรชื่อ ซึ่งอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีนักในการส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าแสดงออกนั้น คุณครูและผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมช่วยกันสร้างไปพร้อม ๆ กัน คุณครูทุกท่านก็สามารถนำวิธีการต่างๆ นี้ไปปรับใช้ได้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเองได้ ดั่งคำคมที่ว่า “ ไม่มีวิธีใดที่จะสอนเด็กๆ ของเราให้กล้าแสดงออกได้ดีไปกว่าการแสดงให้เขาเห็นว่าต้องทำอย่างไร” ขอเป็นกำลังใจให้กับคุณครูทุกๆ ท่านค่ะ

เด็กขาดความมั่นใจ ลูกไม่กล้าแสดงออก ทำอย่างไรดี?

  1. อ่านบทความ
  2. ครอบครัว
  3. การเลี้ยงลูก
  4. เด็กขาดความมั่นใจ ลูกไม่กล้าแสดงออก ทำอย่างไรดี?

เขียนโดย

พญ. สุดารัตน์ ศุภนิตยานนท์ แพทย์เฉพาะทางด้านกุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม

เด็กขาดความมั่นใจ ลูกไม่กล้าแสดงออก ทำอย่างไรดี?

เด็กขาดความมั่นใจ ลูกไม่กล้าแสดงออก เป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป มาดูวิธีที่จะช่วยให้ลูกมั่นใจมากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการเข้าสังคมและปรับตัวในอนาคต

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

แชร์บทความนี้

นักเรียนไม่กล้าแสดงออก สาเหตุ

เมื่อลูกเข้าโรงเรียน พบเจอกับคนที่ไม่คุ้นเคย ต้องแสดงออกหน้าชั้นเรียน คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจพบว่าลูกขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ไม่กล้าเข้าหาสิ่งใหม่ๆ หรือทำเรื่องที่ท้าทาย

สิ่งเหล่านี้แม้จะเป็นเรื่องปกติที่เจอได้ แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่บางคนก็อาจจะเป็นปัญหาหนักอกหนักใจว่าจะทำอย่างไรให้ลูกมีความมั่นใจมากขึ้น กล้าแสดงออกและกล้าเผชิญกับความท้าทายต่างๆ มากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 25650 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

นักเรียนไม่กล้าแสดงออก สาเหตุ

เด็กขี้อาย ขี้กังวล เป็นเรื่องปกติหรือไม่?

เรื่องของความขี้อายหรือกังวลนั้นเป็นพัฒนาการของเด็กที่เจอได้ตั้งแต่อายุประมาณ 7-9 เดือน โดยเด็กจะเริ่มกังวลและกลัวคนแปลกหน้าที่ไม่ใช้ผู้เลี้ยงดูที่สนิท

เมื่อติดตามไป เด็กส่วนมากมักจะไม่มีความบกพร่องในการปรับตัวเมื่อต้องเจอสถานการณ์ใหม่ๆ

อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาพบว่าหากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวล หรือคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงดูแบบปกป้องลูกมากเกินไป หรือวิตกกังวลกับสิ่งต่างๆ รอบตัวลูก ก็สามารถทำให้เด็กมีความกังวลเพิ่มขึ้นได้

ในเด็กก่อนวัยเรียนมักจะมีความกลัวหรือความกังวลเมื่ออยู่ท่ามกลางความมืด เจอสัตว์บางชนิด หรืออยู่ในสถานการณ์บางอย่างที่เด็กจินตนาการเอง

ในเด็กวัยเข้าเรียนอาจกังวลกับการมีเพื่อนใหม่ๆ ในวัยรุ่นอาจมีความกังวลเรื่องภาพลักษณ์ของตนเอง มุมมองที่คนอื่นจะมองตน และกังวลในศักยภาพของตนเอง

ทำไมเด็กถึงขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก

เด็กที่ขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก มักมาจากสาเหตุต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 25650 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

นักเรียนไม่กล้าแสดงออก สาเหตุ

  1. เป็นลักษณะพื้นอารมณ์ของเด็กที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ประมาณ 20-48% ของประชากรจะมีพื้นฐานอารมณ์ไม่กล้า หรือขี้อายเมื่อเจอสถานการณ์ใหม่ๆ
  2. มีประสบการณ์หรือความทรงจำที่ไม่ดีกับเรื่องนั้นๆ มาก่อน
  3. อยู่ในวัยที่มีความกลัวหรือกังวลต่อสถานการณ์รอบตัว
  4. ขาดทักษะการปรับตัวและจัดการกับสถานการณ์ใหม่ ๆ

หากเด็กขี้อายมากๆ ไม่กล้าแสดงออก จะส่งผลเสียอย่างไร

เด็กที่ขี้อายมากๆ ไม่กล้าแสดงออก จะมีความบกพร่องในการปรับตัวเมื่อเทียบกับเพื่อนในชั้นเรียน

เมื่อต้องแสดงกิจกรรมหน้าชั้นเรียนจะรู้สึกเป็นกังวล ไม่สบายตัว บางคนอาจร้องไห้เพราะกลัว

เมื่ออยู่ในบริเวณสนามเด็กเล่น เด็กที่ขี้อายมากๆ หรือกังวลจะไม่กล้าเข้าไปเล่นกับเพื่อน เพราะกลัวตัวเองเล่นไม่ดี ทำไม่ได้ กลัวเพื่อนว่าหรือล้อ

หากอาการเหล่านี้ยังคงอยู่เรื่อยๆ จะทำให้เด็กปรับตัวได้ยากลำบากยิ่งขึ้น และอาจมีพฤติกรรมหลีกหนี จนเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ จะเข้ากับผู้อื่นยาก มีปัญหาความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น

บางครั้งเด็กที่มีความขี้อายมากๆ ไม่กล้าแสดงออก อาจมีภาวะโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ซ่อนอยู่

เด็กขี้อายจะสามารถกลายเป็นคนที่กล้าแสดงออกได้หรือไม่?

สิ่งสำคัญคือ คุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูต้องมีความเข้าใจและยอมรับตัวตนของลูกว่ามีพื้นอารมณ์หรือลักษณะเฉพาะตนอย่างไร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 25650 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

นักเรียนไม่กล้าแสดงออก สาเหตุ

ไม่บีบบังคับหรือคาดหวังให้ลูกต้องแสดงออกตามที่ใจเราต้องการ ใช้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันเพื่อสร้างความไว้วางใจ และฝึกฝนทักษะการปรับตัวเมื่อต้องเจอกับสิ่งที่ไม่ชอบและสถานการณ์ใหม่ๆ

ในที่สุดลูกจะค่อยๆ ปรับตัวและรู้ว่าในสถานการณ์ต่างๆ นั้นควรทำตัวอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเหลือลูกได้อย่างไร?

การจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลรอบตัวนั้น ต้องอาศัยทักษะหลายด้านประกอบกัน

คุณพ่อคุณแม่ควรจะส่งเสริม ฝึกฝน และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก เพื่อสร้างเสริมความกล้าในใจให้ลูกเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ

โดยสามารถใช้การเล่านิทาน สถานการณ์สมมติ พูดคุย หรือค่อยๆ สอดแทรกในเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มทักษะการจัดการต่างๆ ของลูก เช่น

  • ฝึกทักษะการจัดการความกังวลและความล้มเหลว
  • ฝึกทักษะการจัดการเมื่อถูกปฏิเสธหรือหยอกล้อ
  • ฝึกทักษะการจัดการเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิต
  • สอนลูกให้การจัดการความโกรธ การให้อภัย ให้รู้จักการขอโทษ
  • สอนลูกว่าไม่จำเป็นต้องกล้าในทุกๆ สถานการณ์
  • ให้ลูกได้เลือกทำสิ่งที่ชอบและทำให้รู้สึกสนุกทดแทน
  • ให้ลูกได้ฝึกแสดงความรู้สึกต่อผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงสถานที่หรือสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงอันตราย
  • ฝึกให้ลูกรู้จักการแบ่งปันร่วมกับผู้อื่น
  • ฝึกให้ลูกมีทักษะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
  • อาจแนะนำให้ลูกหาตัวช่วย เวลาต้องเผชิญกับสถานการณ์หรือความกังวล เช่น ให้เวลาค่อยๆ ปรับตัว มีตุ๊กตาตัวเล็กๆ ช่วยเพิ่มพลังใจ มีเพื่อนที่สนิทและกล้าแสดงออกออกไปหน้าชั้นเรียนด้วย
  • ฝึกให้ลูกมีทักษะการขอบคุณคนอื่น
  • ไม่จำเป็นต้องบอกคนอื่นๆ ถึงความกลัวหรือความกังวลของลูก ยิ่งคนรู้น้อยที่สุดยิ่งดี เลือกบอกเฉพาะคนที่จะช่วยเหลือลูกได้
  • ลดความกดดันลูกและกดดันตัวคุณพ่อคุณแม่เอง
  • ชมเชยและให้กำลังใจลูก เมื่อลูกกล้าทำสิ่งต่างๆ มากขึ้น

ลูกขาดความมั่นใจ ไม่กล้าแสดงออกมากแค่ไหน ถึงควรพาไปพบแพทย์?

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ลูกขี้อาย กังวล ไม่มั่นใจ และไม่กล้าแสดงออก เป็นภาวะที่เจอได้ในเด็กปกติทั่วไป

อย่างไรก็ตาม หากความกังวลหรือความขี้อายดังกล่าวเกิดพร้อมๆ กับมีความบกพร่องในการเข้าสังคม ส่งผลกระทบในชีวิตประจำวัน เช่น ไม่ยอมไปโรงเรียน ไม่มีเพื่อน โดนเพื่อนปฏิเสธเข้ากลุ่ม มีภาวะอารมณ์หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง นอนไม่หลับ รู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง มีอาการเหงื่อแตก ใจสั่นร่วมด้วย

หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในครอบครัว เช่น คุณพ่อคุณแม่หย่าร้าง เกิดการสูญเสียหรือเสียชีวิตของคนที่สนิทในครอบครัว

สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณของกลุ่มโรควิตกกังวล (Anxiety disorder)

หากมี คุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุและให้การช่วยเหลือดูแลรักษาต่อไป


3 แหล่งข้อมูล

กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

WebMd, Tips to Parent Your Shy Child (), 28 October 2013.

Nelson Textbook of Pediatrics (20th Edition), Behavioral and psychiatric disorder.

Healthy Children, Shyness in Children (https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Shyness-in-Children.aspx), 2 November 2009.


บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ความไม่มั่นใจในตัวเองเกิดจากอะไร

สาเหตุหลักที่เกิดง่ายที่สุดของความไม่มั่นใจภายในจิตใจของคนเราคือคำพูดและทัศนคติลบ ๆ จากคนอื่น ซึ่งเป็นตัวบั่นทอนชั้นดียิ่งกว่าอะไร สิ่งที่เราทำได้คือฝึกจิตใจตัวเองให้เพิกเฉยต่อคำพูดต่าง ๆ และเปลี่ยนเป็นมองอีกแง่มุม คือมองให้เป็นแรงผลักดัน ให้เรามีกำลังใจและมีพลังมากขึ้น

ทำยังไงให้มีความกล้าแสดงออก

มาทำความรู้จัก 6 วิธีที่จะช่วยเสริมความกล้าของคุณให้แข็งแกร่งกัน!.
1. เปลี่ยนมุมมองเมื่อเผชิญหน้ากับการตัดสินใจ ... .
2. ก้าวออกจากพื้นที่ปลอดภัยของเราทีละนิด ... .
3. เรียนรู้ที่จะจัดการกับความเสี่ยง ... .
4. รู้จักความกลัวของตัวเอง ... .
5. ยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบ ... .
6. เรียนรู้จากความล้มเหลว.

ความกล้าแสดงออก มีอะไรบ้าง

Alberti & Emmons (1982: 19) กล่าวว่า พฤติกรรมการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม มี8 ลักษณะ ดังนี้ 1. มีการแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกของตนเองอย่างชัดเจน 2. มีความซื่อสัตย์ 3. ตรงไปตรงมาและหนักแน่น 4. มีการพัฒนาตนเองและมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วย 5. เคารพสิทธิของผู้อื่น 6. รู้จักกาลเทศะ 7. มีความรับผิดชอบทางสังคม 8. ...