รูปแบบการสอน ภาษาอังกฤษคือ

บริการ ติดโพย (PopThai) เป็นบริการเปิดพจนานุกรมอัตโนมัติ โดยผู้ใช้สามารถป้อนข้อความ ทีละประโยค หรือ เป็นหน้าเลยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทีละคำสองคำ ระบบจะทำการแนบความหมายของคำหรือวลีภาษาต่างประเทศ (ปัจจุบันสนับสนุน ภาษาอังกฤษ, ญี่ปุ่นและเยอรมัน) ติดกับเนื้อหานั้นๆ และจะแสดงผลความหมายเมื่อเอาเมาส์ไปวางเหนือคำหนึ่งๆ ช่วยให้สามารถเข้าใจเนื้อหาของเวบภาษาต่างประเทศได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ความหมายของคำจะปรากฏขึ้นมาเมื่อท่านเอาเมาส์ไปวางบนคำหรือวลีที่มีอยู่ในพจนานุกรม โดยไม่จำเป็นต้องกดปุ่มใดๆ ดังตัวอย่างในรูปข้างล่างนี้

รูปแบบการสอน ภาษาอังกฤษคือ

คุณสมบัติ / Features

  • แสดงความหมายของคำโดยอัตโนมัติ เพียงวางเมาส์ไว้บนคำที่ต้องการทราบความหมาย
  • สนับสนุนเวบหลากภาษา (ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น และเยอรมัน)
  • ค้นหาความหมายจากพจนานุกรมหลายชุดพร้อมๆกัน ในฐานข้อมูลของ Longdo ได้แก่ Lexitron2, Hope, Nontri, Longdo อังกฤษ-ไทย, Longdo เยอรมัน-ไทย เป็นต้น
  • แสดงได้ทั้งความหมายของคำเดี่ยว และคำผสม ได้อย่างถูกต้อง เช่น Secretary of State=รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ (ในภาพตัวอย่าง), High school=โรงเรียนมัธยมปลาย
  • แสดงความหมายของคำที่แปรรูปจากคำในพจนานุกรมได้ เช่น เมื่อวางเมาส์ไว้บนคำว่า executed/abusing ซึ่งไม่มีในพจนานุกรม เครื่องจะแสดงความหมายของคำว่า execute/abuse ให้โดยอัตโนมัติ
  • เรียกใช้งานได้ง่ายเพียงกดปุ่ม PopThai บน Longdo Toolbar เพื่อแนบความหมายหน้าจอที่เปิดชมอยู่ในขณะนั้น
  • แก้ไข Link ในหน้าที่แสดง เพื่อให้สามารถเปิดชม Link เหล่านั้นผ่านบริการ PopThai ได้ทันทีเช่นเดียวกัน
  • สนับสนุนบราวเซอร์ชั้นนำทั่วไป เช่น Internet Explorer, Firefox, Chrome, Safari, Konqueror, etc.
  • แสดง Link ให้ผู้ใช้ช่วยป้อนความหมายสำหรับคำที่ยังไม่มีอยู่ในพจนานุกรม
  • ใหม่: บริการ Vocabulary แสดงสรุปรายการคำศัพท์พร้อมความหมาย สำหรับพิมพ์ออกมาอ่านได้สะดวก วิธีใช้งาน ให้เลือกตรงตัวเลือกบริการด้านบน ให้เป็น Vocabulary แทน PopThai. (PopThai ในโหมดปกติ จะเหมาะกับการใช้งาน on-line หน้าจอคอมพิวเตอร็ ส่วนบริการ Vocabulary เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการพิมพ์รายการคำศัพท์และความหมายออกมาบนกระดาษไว้อ่าน off-line)
  • ใหม่: บริการ Pronunciation Guide แสดงคำอ่านของคำใน เว็บ หรือ text ที่ป้อนให้ ข้างบนคำนั้นๆ, นอกเหนือไป จากการแสดง pop-up ความหมาย. วิธีใช้งาน ให้เลือกตรงตัวเลือกบริการด้านบน ให้เป็น Pronunciation. ขณะนี้ใช้ได้กับภาษาอังกฤษ (แสดงคำอ่านภาษาอังกฤษ) และภาษาญี่ปุ่น (แสดง hiragana เหนือคันจิ). บริการนี้ ใช้ extension ของ browser ที่ชื่อ Ruby ปัจจุบันมีแค่ IE browser ที่สนับสนุน ถ้าเป็น browser อื่นๆ จะเห็นคำอ่านปรากฎในวงเล็บแทน

วิธีใช้

ท่านสามารถป้อนเนื้อหาหรือ URL ของเว็บไซต์ที่ต้องการให้แนบความหมายนี้ ในช่องใส่ข้อความค้นหาปกติ

หลังจากนั้นเลือกบริการที่ต้องการ (เช่น ถ้าป้อนข้อความ ให้เลือก PopThai (text) ถ้าป้อน URL ให้เลือก PopThai (URL)) ถ้าท่านไม่เลือกบริการ ระบบจะเดาบริการที่ท่านต้องการ จากข้อความที่ท่านใส่เข้ามา (ว่าเป็นข้อความหรือเป็น URL) โดยอัตโนมัติ, จากนั้นกด Submit เป็นอันเสร็จ

ในกรณีที่ท่านใส่ URL ระบบจะไปทำการดาวน์โหลดเนื้อหาของหน้านั้นๆ มาและแนบความหมาย พร้อมแก้ไขลิงค์ต่างๆ ให้เป็นผ่านบริการ PopThai เ พื่อที่ว่าเมื่อท่านกดที่ลิงค์ใดๆ ต่อไปจากเพจนั้นๆ ก็จะมีการแนบความหมายมาให้ด้วยในทันที

เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้ท่านสามารถใช้ PopThai ผ่าน Longdo Toolbar โดยเมื่อท่านเปิดดูเว็บไซต์ใดๆ อยู่ตามปกติ และต้องการใช้บริการ PopThai สำหรับ หน้านั้นๆ สามารถทำได้ทันที โดยคลิกที่ปุ่ม PopThai บน Toolbar รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดอ่านที่ Longdo Toolbar

คำเตือน ในกรณีของ URL นี้ ถึงแม้ทางผู้ดูแลระบบลองดูจะได้ทำการทดสอบกับหลายเว็บไซต์ แล้วก็ตาม ยังมีบางเว็บไซต์ที่ข้อมูลเวลาที่ระบบไปโหลดมาจะแตกต่างจากที่ท่านเปิดดูโดยใช้ browser โดยตรง โปรดระวังด้วย และไม่ควรใช้กับหน้าเว็บไซต์ที่ ต้องการความถูกต้องสูง)

Problems & TODO

  • inflected word support (German)
  • support HTTP POST
  • other foreign language support (Japanese, French)

รูปแบบการสอน ภาษาอังกฤษคือ

เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

1. วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล (Grammar Translation ) เป็นวิธีการสอนที่ เน้นกฎไวยากรณ์และใช้การแปลเป็นสื่อให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน ครูจะบอกและอธิบายกฎเกณฑ์ตลอดจนข้อยกเว้นต่าง ๆ นักเรียนจะต้องท่องจำกฎเกณฑ์ตลอดจนชื่อเฉพาะต่าง ๆ ทางไวยากรณ์ และทำแบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับเกณฑ์ไวยากรณ์นั้น ๆ ในด้านการสอนคำศัพท์ ครูก็จะสอนครั้งละหลาย ๆ คำ โดยบอกคำแปลภาษาไทย แต่จะไม่ได้ฝึกให้นักเรียนนำคำศัพท์เหล่านั้นมาใช้ในรูปประโยค ต่าง ๆ จากนั้นก็จะให้นักเรียนจดลงในสมุดศัพท์เป็นคำ ๆ ไป บอกความหมายของคำศัพท์ และบางครั้งก็มีการเขียนคำอ่านไว้ด้วย ในการสอนครูจะเน้นทักษะการอ่าน และการเขียน และเวลาวัดผลก็จะเน้นความรู้ ความจำ คำศัพท์ กฎเกณฑ์ และความสามารถในการแปลเป็นหลัก วิธีการสอนแบบนี้ครูจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญมาก นักเรียนเป็นเพียงผู้รับฟัง

2. วิธีสอนแบบตรง เป็นวิธีการสอนที่เน้นทักษะการฟัง และพูดให้เกิดความเข้าใจ แล้วจึงฝึกทักษะการอ่านและการเขียน โดยมีความเชื่อว่า เมื่อนักเรียนสามารถฟังและพูดได้แล้ว ก็สามารถอ่านและเขียนได้ง่าย และเร็วขึ้น ดั่งนั้นบทเรียนส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยกิจกรรมที่เป็นบทสนทนา เปิดโอกาสให้ได้ใช้ภาษาเต็มที่ ครูจะมีหน้าที่คอยกระตุ้นให้นักเรียนได้พูดโต้ตอบ และสร้างสภาพแวดล้อมหรือใช้สื่อประสอบการสอนที่เอื้อต่อบรรยากาศการเรียนการสอน รูปแบบการจัดการเรียนแบบนี้จะไม่เน้นไวยากรณ์ หรือกฎเกณฑ์มากหนัก การสอนศัพท์ก็จะใช้การอธิบายคำศัพท์นั้น ๆ เป็นภาษาอังกฤษ โดยอาจจะใช้สื่อหรือของจริงมาประกอบ การวัดผลจึงเน้นที่การฟังและพูด เช่น การปฏิบัติตามคำสั่ง การสนทนาเป็นคู่ การเขียนตามคำบอก เป็นต้น

3. วิธีสอนแบบฟัง-พูด (Audio – Lingual Method) เป็นวิธีการสอนตามหลัก ภาษาศาสตร์ และวิธีสอนตามแนวโครงสร้าง เป็นการสอนตามหลักธรรมชาติ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน สอนครบองค์ประกอบลำดับจากง่ายไปหายาก ผู้เรียนจะต้องฝึกภาษาที่เรียนซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นนิสัย สามารถพูดได้อย่างอัตโนมัติ ผู้สอนจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาที่เรียนให้แก่ผู้เรียนในการเลียนแบบ ผู้เรียนเป็นผู้ลอกเลียบแบบ และปฏิบัติตามผู้สอนจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก โดยครูจะจัดนำคำศัพท์และประโยคมาสร้างเป็นรูปประโยคให้นักเรียนพูดตามตนซ้ำ ๆ กัน ในรูปแบบต่าง ๆ กัน เน้นการฝึกที่มุ่งเรื่องการฝึกรูปประโยคมากกว่าประโยชน์ ดั่งนั้นจึงเห็นได้ว่าการสอนตามวิธีนี้เป็นการสอนที่มิใช่เพื่อการสื่อความหมายในชีวิตจริงแต่เป็นเพียงการเรียนภาษาในห้องเรียนเท่านั้น

4. วิธีการสอนตามทฤษฏีการเรียนแบบความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Code Learning theory) วิธีการสอนแบบนี้ยึดแนวคิดที่ว่าภาษาเป็นระบบที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ความเข้าใจ และการแสดงออก ทางภาษาขึ้นอยู่กับความเข้าใจ กฎเกณฑ์ เมื่อผู้เรียนมีความเข้าใจรูปแบบของภาษาและความหมายแล้ว ก็จะสามารถใช้ภาษาได้ การสอนจึงมุ่งฝึกทักษะทุกด้านตั้งแต่เริ่มสอน โดยไม่จำเป็นต้องฝึกฟังและพูดให้ดีก่อน แล้วจึงอ่านและเขียนตามวิธีสอนแบบฟัง-พูด (Audio – Lingual Method) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการที่แตกต่างของผู้เรียน ถ้าผู้เรียน ต้องการฝึกทักษะการอ่านมากกว่าทักษะอื่น ทักษะนี้ก็มาก่อนได้ เป็นการสอนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนใช้ความคิด สติปัญญา และมีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ใช้ภาษาไทยช่วยอธิบาย เพื่อให้นักเรียนเข้าใจได้รวดเร็ว การสอนแบบนี้จะคล้ายกับวิธีสอนไวยากรณ์และการแปลตรงที่เน้นความเข้าใจและกฎเกณฑ์ไวยากรณ์ แต่ต่างกันที่ให้ความสำคัญของการฟัง-พูด การวัดและประเมินผลในด้านภาษาของนักเรียนนั้น คือ ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาแต่ละขั้นตอน

5. วิธีสอนตามเอกัตภาพ (Individualized Instruction) จากวิวัฒนาการสอน ภาษาอังกฤษ จะเห็นว่า ผู้เรียนเริ่มมีบทบาทจากการเป็นผู้รับเพียงฝ่ายเดียวมาเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการสอนมากขึ้นเป็นลำดับ การสอนเปลี่ยนจากยึดครูเป็นศูนย์กลางมาเป็นยึดผู้เรียนเป็นหลัก ผู้สอนพยายามให้ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคลให้ได้มากที่สุด โดยครูผู้สอนจะเตรียมสื่อการเรียนการสอนไว้ให้ การเรียนด้วยตนเองนั้นครูอาจจะเตรียมเอกสารแนะแนวทางซึ่งผู้สอนจะเฉลยคำตอบไว้ให้ หรือให้ผู้เรียนหาคำตอบได้ด้วยตนเอง บทเรียนแบบโปรแกรม ชุดการเรียนการสอนรายบุคคล คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนโทรทัศน์ นอกจากนั้นอาจจะใช้สื่อการเรียนการสอนให้นักเรียนทดลองเรียนด้วยตนเอง เช่นการเรียนคำศัพท์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้เรียน เป็นต้น

6. วิธีสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง (Total Physical Response Method) แนวการสอนแบบนี้ ให้ความสำคัญต่อการฟังเพื่อความเข้าใจ เมื่อผู้ฟังเข้าใจเรื่องที่ฟังอยู่และสามารถปฏิบัติตามได้ก็จะช่วยให้จำได้ดี ในระยะแรกของการเรียนการสอน ผู้เรียนไม่ต้องพูด แต่เป็นเพียงพูฟังและทำตามผู้สอน ผู้สอนเป็นผู้กำกับพฤติกรรมของผู้เรียนทั้งหมด และเมื่อเรียนไปได้ระยะหนึ่ง และพร้อมที่จะพูดก็จะเป็นผู้ออกคำสั่งเอง แล้วเรียนอ่านและเขียนต่อไปภาษาที่นำมาใช้ในการสอนเน้นที่ภาษาพูด เรียนเรื่องโครงสร้างทางไวยากรณ์ และคำศัพท์มากกว่าด้านอื่น ๆ โดย อิงอยู่กับประโยคคำสั่ง ผู้เรียนจะเข้าใจความหมายได้อย่างชัดเจนจากการแสดงท่าทางและผู้สอนทราบได้ทันทีว่าผู้เรียนเข้าใจหรือไม่ จากกการสังเกตการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้เรียน ดั่งนั่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการสอบแบบนี้ ในขั้นตอนแรก ๆ ผู้สอนต้องปฏิบัติไปพร้อม ๆ กับผู้เรียนด้วย ต่อมาจึงจะสั่งผู้เรียนเท่านั่น และรู้จักเรียบเรียงจัดลำดับคำสั่งจากง่ายไปหายาก และไม่ควรให้คำสั่งใหม่เร็วเกินไป ควรให้คำสั่งใหม่ครั้งละ 3 คำสั่ง และเมื่อผู้เรียนเข้าใจแล้ว จึงให้คำสั่งใหม่อีกครั้งละ 3 คำสั่ง เช่น Walk to the door. Touch the door. Go back to your seat. คำสั่งที่ยากขึ้น เช่น Pam, go to the window แล้วพูดกับนักเรียนทั้งห้องว่า If Pam goes to the window, class stand up, please. Take out the book. Read the book. เป็นต้น

7. วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion Method) เป็นวิธีการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียน รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม รวมพลังความคิดเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหา หาข้อเท็จจริง ฝึกให้ผู้เรียนกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าพูด อย่างมีเหตุผล ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี ฝึกให้เป็นคนมีระเบียบวินัย และอดทนที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น ครูสร้างสถานการณ์ว่า สมมุตินักเรียนจะเข้าค่ายพักแรมเป็นเวลา 5 วัน นักเรียนจะต้องเตรียมเครื่องใช้อะไรไปบ้าง ช่วยกันอภิปราย และสรุปผลออกมาเป็นรายงานส่งครู เป็นต้น

8. วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method) เป็นวิธีที่สอนให้ผู้เรียนทำกิจกรรม ใดกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เรียนสนใจ หรือตามที่ครูมอบหมายให้ทำ ผู้เรียนจะดำเนินการอย่างอิสระ ผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะช่วยเหลือและติดตามผลงานของผู้เรียนว่าดำเนินการไปอย่างไร ผลงานก้าวหน้าเพียงใด หรือมีอุปสรรหรือไม่ และประเมินผลงานนั้น ๆ การสอนแบบนี้ผู้เรียนจะมีอิสระในการใช้ภาษาได้อย่างเต็มที่ และช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางภาษาได้เป็นอย่างดี

9. วิธีสอนภาษาแบบกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) วิธีการ สอนแบบนี้มีแนวคิดที่ต่างไปจากแนวคิดอื่น คือแนวการสอนแบบนี้จะยึดผู้เรียนเป็นหลัก เน้นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ผู้เรียนแต่ละคนร่วมกิจกรรม ส่วนผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านภาษาเท่านั้น ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เน้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สิ่งที่นำมาเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย การฝึกให้ผู้เรียนใช้โครงสร้างประโยค คำศัพท์และเสียง ตามวิธีการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ ผู้เรียนรู้ภาษาโดยไม่ต้องต่อต้าน ผู้เรียนและผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันตลอดเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน และผู้เรียนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การประเมินผลการเรียนนั้นจะเป็นการทดสอบแบบบูรณาการโดยให้ผู้เรียนประเมินตนเอง ดูจากการเรียนรู้ของตนเอง และความก้าวหน้าของตน ถ้าผู้เรียนมีที่ผิด ผู้สอนจะพยายามแก้ไข โดยไม่ใช้วิธีคุกคาม ผู้สอนอาจจะแก้ไขสิ่งที่ผิด ๆ โดยให้ฝึกทำซ้ำ ๆ กัน

10. วิธีสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Approach) จากข้อเท็จจริงพบว่า ถึงแม้ผู้เรียน จะเรียนรู้โครงสร้างของภาษามาแล้วเป็นอย่างดี แต่ก็ยังไม่สามารถพูดได้หรือสื่อสารได้ดีนัก ด้วยเหตุผลนี้นักภาษาศาสตร์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนภาษาต่างประเทศ ได้เสนอแนวการสอนแบบใหม่ คือ การสอนเพื่อการสื่อสาร โดยมีความเชื่อว่าภาษาไม่ได้เป็นเพียงระบบไวยากรณ์ที่ประกอบด้วยเสียง ศัพท์ และโครงสร้างเท่านั้น แต่ภาษาคือ ระบบที่ใช้ในการสื่อสาร ดังนั้นการสอนจึงควรให้ผู้เรียนสามารถนำภาษาไปใช้ในการสื่อสารได้ ไม่ควรสอนให้รู้เฉพาะรูปแบบหรือโครงสร้างของภาษาเท่านั้น ทั้งนี้เพราะเราใช้ภาษาเป็นสื่อเพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนกัน และจะต้องใช้ภาให้เหมาะสมตามสภาพสังคมด้วย ทักษะการสอน ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

1. ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน ในการดำเนินการสอนนั้น ก่อนที่ครูจะสอนเรื่องต่อไป ครูควร จะได้เร้าความสนใจของผู้เรียนก่อน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเตรียมพร้อมที่จะเรียนในเรื่องต่อไป การนำเข้าสู่บทเรียนมีวิธีการการต่าง ๆกัน เช่น วิธีสนทนาซักถาม การทบทวนบทเรียนเดิมให้สัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ การเล่านิทาน การทายปัญหา การสร้างสถานการณ์จริงหรือจำลอง การใช้สื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพหรือของจริง การร้องเพลง เป็นต้น รวมทั้งมีข้อแม้ว่าคำศัพท์และรูปประโยคที่นำเสนอนั้น ควรเป็นคำศัพท์และรูปประโยคที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน และผู้เรียนเคยเรียนมาบ้างแล้ว เพื่อช่วยให้สามารถเข้าใจเรื่องที่ฟังได้เร็ว จากนั้นผู้สอนตรวจสอบดูว่าผู้เรียนเข้าใจเรื่องที่ฟังหรือไม้ด้วย การสนทนาโต้ตอบคำถามต่าง ๆ ถ้าผู้เรียนตอบได้ก็จะได้ไม่ต้องเสียเวลานานเกินไปสามารถดำเนินการสอนในเรื่องต่อไปได้เลย ถ้าผู้เรียนตอบได้บ้างไม่ได้บ้าง ผู้สอนจำเป็นต้องเสนอขั้นนำ ให้ง่ายกว่าเดิมลงไปอีก

2. ทักษะการตั้งคำถาม จัดเป็นทักษะที่สำคัญของการสอนภาษาต่างประเทศ เพราะผู้สอนและ ผู้เรียนจำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน ในการโต้ตอบ พูดคุย สื่อสารกันตลอดเวลา เพื่อให้มั่นใจว่ามีความเข้าใจตรงกัน คำถามที่ใช้ถามต้องกะทัดรัดไม่ยาวหรือซับซ้อนจนเกินไป ผู้เรียนสามารถโต้ตอบได้ตรงประเด็น คำถามที่ดีจะต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า การถามอย่างเดียวไม่พอ ผู้สอนความสนใจฟังคำตอบของนักเรียน ถ้าเขาตอบไม่ถูก ผู้สอนควรจะใช้คำถามให้ง่ายขึ้น หรือช่วยแก้ไขข้อบกพร่อง

3. ทักษะการยกตัวอย่าง จะต้องยกตัวอย่างที่สามารถให้คำศัพท์ และโครงสร้างที่จะนำไปใช้ ในชีวิตประจำวันได้อย่างชัดเจน เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าในเรื่องที่เรียน คำนึงถึงความถูกต้อง และความนิยมของเจ้าของภาษา มิได้คำนึงถึงความถูกต้องตามกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์เพียงอย่างเดียว

4. ทักษะฝึกใช้ภาษา ผู้สอนจะต้องเป็นผู้นำในการฝึก เช่น การเริ่มต้นจากการฝึกแบบควบคุม ให้ผู้เรียนได้จดจำรูปแบบของภาษาได้ เน้นความถูกต้องของภาษาเป็นหลัก ต่อจากนั้นจะมีการฝึกใช้การภาษาเพื่อการสื่อสาร ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้ภาษาในชั้นเรียน กับการนำภาษาไปใช้จริง โดยทั่วไปแล้วจะมีการให้ผู้เรียนลองใช้สถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทางเท่านั้น การฝึกใช้ภาษาในลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนรู้ว่า ผู้เรียนเข้าใจภาษาได้มากน้อยเพียงใด

5. ทักษะการสรุปบทเรียน การสรุปบทเรียนเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในการสอน เพราะครูจะ ได้ทราบว่าผู้เรียนสามารถรวบรวมความรู้ ความคิด ความเข้าใจถูกต้องหรือไม่ หลังจากเรียนจบแล้ว การสรุปบทเรียนสามารถทำได้ต่าง ๆ กัน เช่น ตั้งคำถามให้นักเรียนตอบ สรุปให้นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมตามสถานการณ์ที่ครูสร้างขึ้น สรุปเขียนเป็นรายงาน กรอกแบบฟอร์มหรือให้นักเรียนร้องเพลง เป็นต้น

6. ทักษะการใช้สื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่จะช่วยให้การเรียนการ สอนดำเนินไปด้วยดี ครูจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม ปัจจุบันมีสื่อการเรียนการสอนหลายอย่าง ครูควรศึกษาให้ถ่องแท้ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สื่อควรหาได้จากท้องถิ่น สามารถประดิษฐ์เอง ไม่แพง ใช้งานง่าย

7. ทักษะแรงจูงใจ ผู้เรียนจะเรียนได้ดีก็ต้องมีแรงจูงใจ แรงจูงใจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ นักเรียนสามารถ ตอบคำถามหรือทำในสิ่งที่ยาก ๆ ได้สำเร็จในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายให้ทำ และเป็นที่ยอมรับของครู และเพื่อน ๆ เช่น การทำงานได้ดี ถูกต้อง สะอาดเรียบร้อย อาจจะใช้คำชม เป็นต้น หรือให้เห็นประโยชน์คุณค่าจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ เช่น เรื่องแล้วสามารถนำสิ่งที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง หรือการใช้สื่อการสอนที่สนใจเอง ก็สามารถทำให้เกิดแรงจูงใจได้

8. ทักษะการเสริมกำลังใจ การเสริมกำลังใจ เป็นสิ่งสำคัญ เช่นกันในเรื่องการเรียนการสอน ครูผู้สอนควรจะให้การเสริมกำลังใจขณะที่ผู้เรียนกำลังเรียนอยู่ด้วยการกล่าวคำชม หรือแสดงอาการชื่นชม ยกย่อง เพื่อสร้างความภูมิใจ กำลังใจ และแรงจูงใจตามมา อย่างไรก็ตามหากผู้เรียนทำไม่ถูกก็ความพูดให้กำลังใจในการพยายามทำให้ถูก ครูไม่ควรแสดงอาการว่าไม่พอใจอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ผู้เรียนขาดกำลังใจ ไม่อยากเรียน

รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ มีอะไรบ้าง

แนวคิดในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ.
หลักสูตรภาษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Lerner – Centered Language Curriculum).
แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching).
การสอนภาษาเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Language for Specific Purposes).
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning).

การสอนภาษาอังกฤษมีกี่ขั้นตอน

. เทคนิคการสอนแบบ CLT ในห้องเรียนภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้เรียน กล้าที่จะสื่อสาร ครูสามารถสอนได้ เพียง 5 ขั้นตอนนี้ ..
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ... .
ขั้นการใช้ภาษา ... .
ขั้นฝึก ... .
ขั้นให้ความรู้/การนำเสนอให้กับผู้เรียน ... .
ขั้นสรุป.

การสอนภาษาอังกฤษควรเป็นแบบไหน

1) ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากที่สุด 2) ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน 3) ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นกระบวนการควบคู่กับความรู้ 4) เน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

รูปแบบ ในภาษาอังกฤษคือคำใด

(n) format, Syn. แบบ, รูปร่าง, โครง, แบบอย่าง, ต้นแบบ, Example: วิธีการเก็บข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์นั้น จำเป็นต้องมีรูปแบบและระบบการจัดเก็บที่เป็นระเบียบ รูปแบบมาตรฐาน (n) standard form, See also: standard pattern.