คำว่า “ค่าทำงานในวันหยุด” คือ เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างในข้อใด

  • หน้าแรก

  • สารพันสาระน่ารู้

  • การประกันสังคม

  • กฎหมายแรงงานน่ารู้

Q: ที่โรงงาน ทำไมพนักงานรายวันทำ OT วันหยุดได้ 2 แรง ทำไมพนักงานรายเดือนได้ OT แค่เท่าเดียว? ไหนกฎหมายบอก OT ต้อง 1.5 เท่าไง?

A: ปัญหามันอยู่ที่วิธีการเรียกนั่นแหละครับ เพราะเวลาที่ทำงานนอกเหนือเวลาทำงานปกติ พวกเราเรียกเป็น OT กันหมดเลย แต่ในทางกฎหมายมันไม่ใช่อะไรแบบนั้นครับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 (3) ได้นิยามไอ้ที่เราเรียกว่า OT เหมือนๆ กัน ไว้เป็น 3 แบบนะครับ คือ

“ค่าล่วงเวลา” หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน

“ค่าทำงานในวันหยุด” หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในวันหยุด

“ค่าล่วงเวลาในวันหยุด” หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด

ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ ดีกว่า สมมติว่า นาย ก. เป็นพนักงานในโรงงานแห่งหนึ่ง ซึ่งเวลาทำงานปกติที่ประกาศไว้คือ จันทร์ – เสาร์ เวลา 08:00 – 17:00 น. (ซึ่งเป็นเรื่องปกติของโรงงานทั่วไป) ฉะนั้น

  • การทำงานหลังเวลา 17:00 น. ในวันจันทร์ – เสาร์ จะถือว่าเป็นการทำล่วงเวลา และจะต้องได้ค่าล่วงเวลา คิดเป็น 1.5 เท่าของค่าแรง
  • การทำงานในวันอาทิตย์ วันหยุดประจำปี หรือ วันหยุดนักขัตฤกษ์ต่างๆ ถือว่าเป็นการทำงานในวันหยุด และจะได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นค่าทำงานในวันหยุด ซึ่งพนักงานรายวันและรายเดือนจะได้แตกต่างกัน  เพราะ
    • พนักงานรายเดือน ปกติแล้วเพื่อจะได้คิดค่าล่วงเวลาง่ายๆ ค่าจ้างจะถูกกำหนดไว้เป็น [เงินเดือน/30 วัน] เช่น เงินเดือน 30,000 บาท ก็เท่ากับ 1,000/วัน เป็นต้น ดังนั้นเวลามาทำงานในวันหยุดแบบนี้ กฎหมายเลยถือว่าเป็นลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด (มาตรา 62 (1)) ดังนั้นนายจ้างก็แค่จ่ายค่าจ้างพิ่มขึ้นจากค่าจ้างไม่น้อยกว่า 1 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ เช่น ถ้าทำเต็มๆ 8 ชั่วโมง ก็จ่ายเพิ่มอีก 1,000 บาท พอ
    • พนักงานรายวัน ปกติแล้วถ้าไม่มาทำงานก็ไม่ได้ค่าจ้าง (แน่นอน หมายความว่าวันหยุดก็จะไม่ได้ค่าจ้าง) ก็เลยถือเป็นลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิรับค่าจ้างในวันหยุด (มาตรา 62 (2)) ดังนั้น นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่า 2 เท่าของอัตราจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ดังนั้นถ้าพนักงานรายวันมีค่าแรง 300 บาท/วัน เวลามาทำงานวันหยุด 8 ชั่วโมง ก็จะได้ค่าแรง 300 x 2 = 600 บาท/วัน ครับ
  • การทำงานหลังเวลา 17:00 น. ในวันอาทิตย์ วันหยุดประจำปี หรือ วันหยุดนักขัตฤกษ์ต่างๆ ถือเป็นการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด นายจ้างต้องจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่า 3 เท่าของค่าทำงานในวันทำงานปกติ (มาตรา 63) ทั้งพนักงานรายวัน และ รายเดือน

กฎหมายแรงงานว่าด้วยเรื่อง ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด

สำหรับงานที่จำเป็นต้องทำต่อเนื่องเพราะอาจทำให้เสียหายต่อนายจ้าง หรืองานฉุกเฉิน  นายจ้างสามารถจัดให้ลูกจ้างทำค่าล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นได้ และในกรณีที่การทำงานล่วงเวลามากกว่าสองชั่วโมง นายจ้างจะต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักอย่างน้อยยี่สิบนาที แต่ถ้าหากเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่องหรืองานฉุกเฉินก็สามารถทำต่อไปได้ โดยต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

คำว่า ค่าทำงานในวันหยุด” คือ เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างในข้อใด

ค่าตอบแทนกรณีทำล่วงเวลาในวันทำงานปกติ

กรณีพนักงานทำงานเกินกว่าชั่วโมงงานปกติของวันทำงาน เช่น เวลางานปกติกำหนดให้พนักงานมาทำงานเวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. แต่พนักงานอาจจำเป็นต้องทำงานให้แล้วเสร็จจึงทำงานจนถึงเวลา 20.00 น. ลักษณะแบบนี้ก็เข้าข่ายที่นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงให้กับพนักงานครับ

ตัวอย่างการคำนวณค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติกรณีพนักงานรายเดือน

นาย ก. ได้รับค่าจ้าง  10,000 บาทต่อเดือน ทำค่าล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันทำงานจำนวน 3 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ    = (ค่าจ้างต่อเดือน หาร สามสิบ หาร ชั่วโมงงานปกติ) คูณ 1.5เท่า คูณ จำนวนชั่วโมงที่ทำโอที

วิธีการคำนวณ      =(10,000 / 30 / 8)*1.5*3

สรุป นาย ก. ได้รับเงินค่าล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันทำงานจำนวน 187.50 บาท

ตัวอย่างการคำนวณค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติกรณีพนักงานรายวัน

นาย ข. ค่าจ้าง  350 บาทต่อวัน ทำค่าล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันทำงานจำนวน 3 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ    = (ค่าจ้างต่อวัน หาร ชั่วโมงงานปกติ) คูณ 1.5 เท่า คูณ ชั่วโมงที่ทำโอที

วิธีการคำนวณ      =(350 / 8)*1.5*3

สรุป นาย ข. ได้รับเงินค่าล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันทำงานจำนวน 196.87 บาท

ค่าตอบแทนกรณีทำล่วงเวลาในวันหยุด

กรณีพนักงานทำงานเกินกว่าชั่วโมงงานปกติในวันหยุด เช่น เวลางานปกติในวันหยุดกำหนดให้พนักงานมาทำงานเวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. แต่พนักงานอาจจำเป็นต้องทำงานให้แล้วเสร็จจึงทำงานจนถึงเวลา 20.00 น. ลักษณะแบบนี้ก็เข้าข่ายที่นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงให้กับพนักงานครับ(วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น)

ตัวอย่างการคำนวณค่าล่วงเวลาในวันหยุดกรณีพนักงานรายเดือน

นาย ก. ค่าจ้าง  10,000 บาทต่อเดือน ทำล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันหยุดจำนวน 3 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ    = (ค่าจ้างต่อเดือน หาร สามสิบ หาร ชั่วโมงงานปกติ) คูณ 3 เท่า คูณ ชั่วโมงที่ทำโอที

วิธีการคำนวณ      =(10,000 / 30 / 8)*3*3

สรุปนาย ก. ได้รับเงินค่าล่วงเวลาในวันหยุดจำนวน 375 บาท

ตัวอย่างการคำนวณค่าล่วงเวลาในวันหยุดกรณีพนักงานรายวัน

นาย ข. ค่าจ้าง  350 บาทต่อวัน ทำล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันหยุดจำนวน 3 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ    = (ค่าจ้างต่อวัน หาร ชั่วโมงงานปกติ) คูณ 3 เท่า คูณ ชั่วโมงที่ทำโอที

วิธีการคำนวณ      =(350 / 8)*3*3

สรุป นาย ข. ได้รับเงินค่าล่วงเวลาในวันหยุดจำนวน 393.75 บาท

ค่าตอบแทนกรณีทำงานในวันหยุด

กรณีพนักงานมาทำงานตามเวลางานปกติในวันหยุด เช่น เวลางานปกติในวันหยุดกำหนดให้พนักงานมาทำงานเวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. กรณีเช่นนี้พนักงานมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด (วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น) โดยอัตราการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้

1. สำหรับลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด เช่น พนักงานรายเดือน จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่า

2. สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด เช่น พนักงานรายวัน จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า

ตัวอย่างการคำนวณค่าทำงานในวันหยุดกรณีพนักงานรายเดือน

นาย ก. ค่าจ้าง  10,000 บาทต่อเดือน ทำงานตามเวลางานปกติในวันหยุดจำนวน 8 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ    = (ค่าจ้างต่อเดือน หาร สามสิบ หาร ชั่วโมงงานปกติ) คูณ 1 เท่า คูณ ชั่วโมงที่ทำโอที

วิธีการคำนวณ      =(10,000 / 30 / 8)*1*8

สรุปนาย ก. ได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุดจำนวน 333.33 บาท

ตัวอย่างการคำนวณค่าทำงานในวันหยุดกรณีพนักงานรายวัน

นาย ข. ค่าจ้าง  350 บาทต่อวัน ทำงานตามเวลางานปกติในวันหยุดจำนวน 8 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ    = (ค่าจ้างต่อวัน หาร ชั่วโมงงานปกติ) คูณ 2 เท่า คูณ ชั่วโมงที่ทำโอที

วิธีการคำนวณ      =(350 / 8)*2*8

สรุปนาย ข. ได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุดจำนวน 700 บาท

เรียบเรียงโดย : บริษัท เอมซัคเซส จำกัด

ขอบคุณข้อมูล : กระทรวงแรงงาน

ที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างในข้อใดเรียกว่าค่าจ้าง

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 บัญญัติว่าค่าจ้าง” หมายความว่า เงินที่นายจ้าง และลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำ งานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวม ...

การทำงานล่วงเวลาในวันหยุดหมายถึงอะไร

"การทำงานล่วงเวลา" หมายความว่าการทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติหรือเกินชั่วโมงทำงานในแต่ละวันที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกันตามมาตรา๒๓ในวันทำงานหรือวันหยุดแล้วแต่กรณี "ค่าล่วงเวลา" หมายความว่าเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน

ข้อใดเป็นสิ่งที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงาน

-บรรดาเงินสวัสดิการต่างๆที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างเพื่อจูงใจในการทำงานของลูกจ้าง เช่น เงินค่าที่พัก เบี้ยขยัน ค่าเช่าบ้าน (มีระเบียบการจ่ายชัดเจน) เงินเพิ่มจูงใจที่จะได้เมื่อทำยอดขายได้ตามเป้า เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าอาหารกลางวัน โบนัส เบี้ยประชุมกรรมการ เป็นต้น และ

ข้อใดเป็นอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างควรได้รับเมื่อนายจ้างให้ลูกจ้างมาทำงานล่วงเวลาในวันหยุด

ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด 2. ถ้าทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย