คุณค่าเรื่องขุนช้างขุนแผน

  บทบาทของพระมหากษัตริย์ต่อประชาชนในสังคมไทย สมเด็จพระพันวษานั้นถ้าพิจารณาวิเคราะห์อย่าง ละเอียดก็จะเห็นว่า  แม้จะทรงเป็นเจ้าชีวิต  มีพระราชอำนาจอันล้นพ้น แต่ก็มิได้ทรงใช้พระราชอำนาจ อย่างปราศจากเหตุผล หรือ ด้วยอารมณ์ หากได้ทรงปฏิบัติพระองค์ อย่างเหมาะสมและทรงเมตตาครอบครัวขุนแผน  เพราะเห็นแก่ความดีความชอบ ที่เคยสร้างไว้ให้แก่บ้านเมือง นอกจากนี้ทรงดำรงพระองค์อยู่ ในฐานะ ของกษัตริย์ ปกครองประเทศ ซึ่งจะต้องแก้ปัญหา ระดับประเทศแล้วยังต้อง แก้ ปัญหา ระดับ ครอบครัวของ ไพร่ฟ้าข้า แผ่นดินอีกด้วย  ทรงเปรียบเสมือน พ่อ หรือ ผู้ใหญ่ในครอบครัว เวลาคนในครอบครัวมีเรื่องเดือดร้อนหรือเกิดการณ์วุ่นวายมาฟ้องร้องพระองค์ทรงมีหน้าที่ตัดสินคลี่คลายปัญหา เช่น  ในกรณีที่ขุนช้างมาถวายฎีกา  ครั้งนี้แม้ทรงกริ้ว ด้วยทรงรู้สึกว่า ขุนช้างก่อเรื่องวุ่นวายไม่จบสิ้น แต่ก็มิได้ทรงละเลย ทรงนำมาพิจารณา

ในทางตรงกันข้าม  ค่านิยมเกี่ยวกับการมีภรรยาหลายคนในเวลาเดียวกัน  กลับปรากฎในหมู่คนชั้นสูง  โดยฌฉพาะ  ผู้มียศฐาบรรดาศักดิ์ของไทย  แต่สังคมไม่รังเกียจ  กลับนิยมยกย่อง  เพราะค่านิยมกำหนดว่าลักษระเช่นนี้เป็นเครื่องเสริมบารมีและความเป็นบุรุษอาชาไนยให้มากยิ่งขึ้น

คุณค่าวรรณคดีไทยว่าด้วยเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน

ผู้แต่ง

  • กรนิษฐ์ ชายป่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พิงพร ศรีแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ศิวพร จติกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

ขุนช้างขุนแผน, คุณค่าวรรณคดี, วรรณคดีไทย

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อสารข้อเท็จจริง วิเคราะห์คุณค่าและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งเป็นวรรณคดีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้สังคมได้รับคุณค่าและคุณประโยชน์ต่อไป การศึกษานี้เป็นการนำเนื้อหาข้อมูลจริงมาสำรวจและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

          ผลการศึกษา พบว่า เสภาขุนช้างขุนแผนมีคุณค่าซึ่งจำแนกได้ ดังนี้ 1. ทางด้านวรรณศิลป์ ได้แก่ การใช้ภาษาคำเจรจา การใช้ภาษาที่ทำให้เกิดภาพพจน์ การใช้คำให้เกิดจินตภาพ การใช้ภาษาที่รวบรัดของกวี 2. คุณค่าทางด้านวัฒนธรรม จำแนกได้ดังนี้ 2.1 ขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีกรรม ได้แก่ การเกิด การโกนจุก การบวชเรียน การแต่งงาน การทำศพ ประเพณีการทำบุญในวันสงกรานต์ ประเพณีการฟังเทศน์มหาชาติ ความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ ความเชื่อในเรื่องความฝัน 2.2 ความเป็นอยู่ค่านิยม จำแนกเป็นลักษณะบ้านเรือน ลักษณะครอบครัว การต้อนรับ หลักความสามัคคี คุณค่าที่กล่าวมาเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องรักษาวรรณคดีให้ทรงคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ในฐานะเป็นตำราไทยคดีศึกษา เพราะประกอบด้วยความรู้ในทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้งยังคงความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมคู่กับชาติตลอดไป ส่วนองค์ความรู้ใหม่มี ดังนี้ ประการแรก การเป็นศาสตร์และศิลป์ของบรรพชน ประการที่สอง การบูรณาการความเชื่อด้านศาสนาและวัฒนธรรมอย่างลงตัว และประการที่สาม ความร่วมสมัยของเนื้อหา

Downloads

Download data is not yet available.

References

กุสุมา รักษ์มณี. (2531). ลักษณะเฉพาะของวรรณคดีสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 200 ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บรรเทา กิตติศักดิ์ และกัมพุชนาฎ เปรมกลม. (2524). วรรณคดีมรดก. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

มิ่งขวัญ ทองพรหมราช. (2546). ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วบวชเณร. กรุงเทพมหานคร: ทองพูลการพิมพ์จำกัด.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2545). มิใช่เป็นเพียง “นางเอก”. กรุงเทพมหานคร: ประพันธ์ สาส์น.

สายสมร ยุวนิมิ. (2539). คุณค่าของเสภาขุนช้างขุนแผน. สารสถาบันภาษาไทย. 3 (1), 97-103.

สำนักหอสมุดแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2562, จาก https://vajirayana.org/ขุนช้างขุนแผน-ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ

เรื่องขุนช้างขุนแผนมีคุณค่าดีที่สุดในด้านใด

ผลการศึกษา พบว่า เสภาขุนช้างขุนแผนมีคุณค่าซึ่งจำแนกได้ ดังนี้ 1. ทางด้านวรรณศิลป์ ได้แก่ การใช้ภาษาคำเจรจา การใช้ภาษาที่ทำให้เกิดภาพพจน์ การใช้คำให้เกิดจินตภาพ การใช้ภาษาที่รวบรัดของกวี 2. คุณค่าทางด้านวัฒนธรรม จำแนกได้ดังนี้ 2.1 ขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีกรรม ได้แก่ การเกิด การโกนจุก การบวชเรียน การแต่งงาน การทำศพ ...

ค่านิยมในเรื่องขุนช้างขุนแผนคืออะไร

สะท้อนค่านิยมของคนในสังคม เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน สะท้อน ค่านิยมของสังคม ไทยหลายประการ เช่น ค่านิยมเกี่ยวกับการมีสัมมาคารวะ พลายงามรู้จัก แสดงความเคารพ นบน้อมมีสัมมาคารวะ แม้จะอยู่ใน สถานการณ์ที่ทำให้ ขุ่นเคืองใจ แต่เมื่อมา เห็นมารดาก็ยังระลึกถึง พระคุณเข้า ไปกราบไหว้

ข้อคิดที่ได้จากเรื่องขุนช้างขุนแผนคืออะไร

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ๑. ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี เราจึงควรมีความกตัญญูต่อบิดามารดาผู้ที่ให้ กำเนิดเรามา ๒. การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญสมัยก่อนเด็กผู้ชายจะเรียนหนังสือที่วัด ๓. วัดเป็นสถานที่ผูกพันกับชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน

ขุนช้างขุนแผน สะท้อนอะไร

วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนสะท้อนสภาพการด าเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมทุกด้านของชาวไทยในประวัติศาสตร์ ทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยา และ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไว้อย่างแจ่มแจ้ง ดังนี้ -ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต -วิถีชีวิตที่สะท้อนวัฒนธรรมไทยในเสภาขุนช้างขุนแผน