อุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดในโลก

ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในเยอรมนีและเบลเยียมรวมกันอย่างน้อย 122 รายแล้ว หลังสำนักข่าวบีบีซีรายงานว่าทางเยอรมนีว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 ราย ขณะที่เบลเยียม 22 ราย ด้านเนเธอร์แลนด์, สวิตเซอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์กได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งนี้อย่างรุนแรงเช่นกัน

เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้นับว่าเป็นภัยพิบัติที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งของเยอรมนี โดยมันเกิดขึ้นหลังฝนที่ตกหนักตลอดหลายวัน และหลังจากที่ประเทศในสหภาพยุโรปลงนามร่วมกันในข้อตกลงที่จะทำให้ประเทศในสหภาพยุโรปลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกลงร้อยละ 50 ภายในปี 2030 และกลายเป็นภูมิภาคไร้คาร์บอนภายในปี 2050

ในเยอรมนีมีการรายงานว่าในรัฐ Rhineland-Palatinate และ North Rhine-Westphalia จมอยู่ในน้ำท่วมขังที่วัดได้ถึง 148 ลิตรต่อตารางเมตร ภายในระยะเวลาแค่ 48 ชั่วโมง ซึ่งโดยปกติตลอดเดือนกรกฎาคมจะมีน้ำเพียง 80 ลิตรต่อตารางเมตรเท่านั้น

ทางตะวันตกของเยอรมนี ในเขต Ahrweiler มีรายงานว่าสัญญาณโทรศัพท์ไม่สามารถใช้การได้ และประชาชนมากกว่า 1,300 รายหายสาบสูญ ทางด้าน Schuld หมู่บ้านที่มีประชากรราว 700 ราย ถูกน้ำซัดบ้านเรือนจนพังพินาศเกือบทั้งหมด ขณะที่ในเมือง Sinzig มีรายงานว่าผู้พิการที่อาศัยอยู่ในบ้านพักดูแลอย่างน้อย 12 ราย เสียชีวิตหลังจากน้ำเข้ามาในตึกระหว่างที่พวกเขาหลับ และยังมีรายงานความเสียหายและสูญเสียอีกมาก

อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีขณะนี้กำลังอยู่ในกรุงวอชิงตัน เพื่อพบปะกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบโดน ได้ออกแถลงกับสื่อว่า “ฉันขอส่งความเห็นใจให้แก่ครอบครัวที่มีผู้เสียชีวิตและสูญหาย และหัวใจฉันขอขอบคุณสำหรับเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ทำงานกันอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย”

อย่างไรก็ดี แมร์เคิลกล่าวว่า “ฉันกลัวว่าในเร็ววันนี้ เราจะได้เห็นความเสียหายทั้งหมดจากภัยพิบัติครั้งนี้” ขณะที่ยังมีการคาดการณ์ในวันข้างหน้าว่า บางพื้นที่ของเยอรมนีจะยังคงมีฝนตกเพิ่ม

ทางการเยอรมนีส่งกองทัพ ตำรวจ และหน่วยกู้ภัยกว่า 1,000 นาย เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่แล้ว โดยนำเฮลิคอปเตอร์เข้าไปรับผู้ประสบภัยบางส่วนที่ติดอยู่บนหลังคาบ้าน เช่นเดียวกับในเบลเยียมที่ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยเช่นกัน ด้านประเทศอื่นในสหภาพยุโรปกำลังประสานงานกันเพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยเหลือในพื้นที่ภัยพิบัติ

ผู้ช่วยชาญและนักวิทยาศาสตร์หลายคนมองตรงกันว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งนี้เกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน และเป็นไปได้ที่ในอนาคตจะเกิดถี่ขึ้น หากทุกประเทศไม่หันหน้าร่วมมือกันมากขึ้น

Hannah Cloke นักอุทกวิทยากล่าวกับ Politico ว่า ระบบการเตือนภัยน้ำท่วมของสหภาพยุโรป (European Flood Awareness System: EFAS) ล้มเหลวอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีการเตือนแล้วว่าอาจเกิดอุทกภัยที่รุนแรงในสัปดาห์นี้

DWD หน่วยงานด้านอากาศวิทยาของเยอรมนีกล่าวว่า พวกเขาเตือนหน่วยงานท้องถิ่นแล้วถึงอุทกภัยและให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ ด้านรัฐมนตรีมหาดไทยของเยอรมนี Horst Seehofer กล่าวว่า “(เยอรมนี) ต้องเตรียมพร้อมให้ดีกว่านี้ในอนาคต” ก่อนทิ้งท้ายว่า “นี่คือผลลัพธ์จากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2564 ภูเขาไฟเซเมรู ในจังหวัดชวาตะวันออก ของอินโดนีเซีย ปะทุขึ้นมาหลังจากโดมลาวาบริเวณยอดเขาพังทลาย ทำให้ลาวาและคลื่นโคลนร้อนไหลเข้าใส่หลายหมู่บ้านเบื้องล่าง สังหารชาวบ้านแล้วอย่างน้อย 57 ศพ บาดเจ็บ 104 ราย สูญหายอีก 23 คน และกว่า 10,650 คนต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่น

มีรายงานด้วยว่า ชาวบ้านไม่ได้รับแจ้งจากทางการว่าภูเขาไฟกำลังจะปะทุ ทำให้พวกเขาหลบหนีไม่ทัน จนมีผู้บาดเจ็บล้มตายดังกล่าว ขณะที่มีอาคารบ้านเรือนถูกทำลายหรือเสียหายถึง 5,205 หลัง และจนถึงตอนนี้ ภูเขาไฟเซเมรูก็ยังคงมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีทีท่าจะสงบลง

อุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดในโลก
เมืองในรัฐเคนทักกี เสียหายอย่างหนักเพราะพายุทอร์นาโด

9. ทอร์นาโด 35 ลูกถล่ม 5 รัฐในสหรัฐฯ

ในช่วงวันที่ 10 และ 11 ธันวาคม เกิดทอร์นาโดอย่างน้อย 35 ลูกพัดถล่มพื้นที่ต่างๆ ใน 5 รัฐของสหรัฐฯ โดยเคนทักกีเป็นรัฐที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด มีผู้เสียชีวิตถึง 78 ศพ ตามด้วยรัฐ อิลลินอยส์ 6 ศพ, เทนเนสซี 5 ศพ และอาร์คันซอกับมิสซูรี ที่ละ 2 ศพ รวมทั้งหมดเป็น 93 ศพ ขณะที่บ้านเรือนถูกทำลายกว่า 1,000 หลัง

จำนวนผู้เสียชีวิตดังกล่าวทำให้นี่เป็นเหตุพายุทอร์นาโดถล่มครั้งรุนแรงที่สุดในสหรัฐฯ นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 และเป็นเหตุพายุทอร์นาโดที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐเคนทักกี มีผู้เสียชีวิตมากกว่าหายนะเมื่อปี 2432 ซึ่งมีผู้เคราะห์ร้าย 76 ราย

อุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดในโลก
เฮอริเคนไอดา

8. เฮอริเคนไอดาถล่มสหรัฐฯ

ไอดา เป็นพายุเฮอริเคนเขตร้อนความรุนแรงระดับ 4 ขึ้นฝั่งเมืองท่า พอร์ต โฟร์ชอน ของรัฐลุยเซียนาในวันที่ 29 ส.ค. ซึ่งเป็นวันครบรอบ 16 ปีหายนะเฮอริเคนแคทรินาพอดี และสร้างความเสียหายแก่รัฐทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศทั้งหมด โดยเฉพาะที่ลุยเซียนากับนิวเจอร์ซีย์ เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างกระทบประชาชนหลายแสนคน มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 115 ศพ

เฮอริเคนลูกนี้ยังทำให้เกิดฝนตกระดับทุบสถิติกับน้ำท่วมสูงในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ ด้วย รวมมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่น้อยกว่า กว่า 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ นับเป็นพายุที่สร้างความเสียหายมากที่สุดอันดับ 6 ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ

อุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดในโลก
ไซโคลนเตาะแต่พัดถล่มภาคตะวันตกของอินเดีย

7. ไซโคลนเตาะแต่ เล่นงานอินเดีย

ก่อนที่ไซโคลนเตาะแต่จะขึ้นฝั่งรัฐคุชราต ทางตะวันตกของอินเดีย ในวันที่ 17 พ.ค. อิทธิพลของมันก็ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 6 ศพ หลังจากขึ้นฝั่ง พายุลูกนี้ก็ทำให้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วม บริเวณชายฝั่งรัฐเกรละ, หมู่เกาะลักษทวีป, รัฐกัว, รัฐกรณาฏกะ และรัฐมหาราษฏระ ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 169 ศพ สูญหายอีก 81 คน มีรายงานผู้เคราะห์ร้ายในปากีสถานด้วย 5 ศพ

ไซโคลนเตาะแต่ยังทำให้ประชาชนกว่า 200,000 คน ในรัฐคุชราตต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่น สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานกับการเกษตรบริเวณชายฝั่งตะวันตก เกิดไฟฟ้าดับ บ้านเรือนเสียหายจำนวนมาก คิดเป็นมูลค่าถึง 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดในโลก
เหตุน้ำท่วมในรัฐอุตตระประเทศ ของอินเดีย

6. น้ำท่วมฉับพลันในอินเดีย-เนปาล

ยังอยู่ที่ประเทศอินเดีย แต่คราวนี้เป็นเดือนตุลาคม ในสัปดาห์ของวันที่ 18 เกิดฝนตกอย่างหนักที่รัฐเกรละกับอุตตราขัณฑ์ และที่ประเทศเนปาล อันเป็นผลจากความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวในภาคเหนือของแดนภารตะ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง และดินถล่มหลายจุด

เหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 201 ศพ โดย 104 ศพในจำนวนนี้อยู่ที่เนปาล และ 70 ศพอยู่ที่รัฐอุตตราขัณฑ์

อุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดในโลก
ความเสียหายจากน้ำท่วมใน รัฐไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ ของเยอรมนี

ในช่วงเดือนกรกฎาคม หลายประเทศในยุโรปเผชิญน้ำท่วมรุนแรง เริ่มต้นที่สหราชอาณาจักร สร้างความเสียหายจำนวนหนึ่ง ก่อนที่น้ำท่วมจะเริ่มส่งผลกระทบแม่น้ำสายต่างๆ ในยุโรป ทั้งในออสเตรีย, เบลเยียม, โครเอเชีย, เยอรมนี, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, เนเธอร์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์

น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 242 ศพ โดยเยอรมนีมีผู้เคราะห์ร้ายมากที่สุด 196 ราย ตามด้วยเบลเยียม 42 ราย โดยหลายเขตของเยอรมนีเผชิญฝนตกหนักที่สุดในรอบกว่า 100 ปี หรืออาจจะมากกว่า 1,000 ปี รวมความเสียหายทั้งหมดมากกว่า 11.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดในโลก
หมู่บ้านบนเกาะ อีสต์ ฟลอเรส ทางตะวันออกของอินโดนีเซีย เสียหายเพราะไซโคลน เซโรจา

4. ไซโคลนเซโรจา ถล่ม 3 ประเทศ

ไซโคลนเซโรจา ก่อตัวขึ้นในทะเลเซวู เมื่อ 3 เม.ย. ก่อนจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งในภาคตะวันออกของอินโดนีเซีย และเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศติมอร์ตะวันออก ทำให้เกิดลมกระโชกแรง, ฝนตกหนัก และน้ำท่วมฉับพลัน ก่อนที่มันจะไปดูดกลืนไซโคลนอีกลูกที่อ่อนกำลังลง ทำให้มันเปลี่ยนทิศทางมุ่งขึ้นฝั่งรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ของออสเตรเลีย ในวันที่ 11 เม.ย.

พายุลูกนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 272 ศพ โดย 183 ศพอยู่ในอินโดนีเซีย, 42 ศพอยู่ในติมอร์เลสเต และอีก 1 ศพที่ออสเตรเลีย ยังมีผู้สูญหายจนถึงตอนนี้กว่า 100 คน บ้านเรือนในจังหวัดนูซาเตงการาตะวันออก ของอินโดนีเซีย เสียหายมากกว่า 20,000 หลัง ขณะที่ติมอร์ มีบ้านถูกน้ำท่วมนับหมื่นหลัง ส่วนที่ออสเตรเลีย อาคารกว่า 70% ของเมือง คัลบาร์รี และเมืองนอร์ทแธมตัน ถูกทำลาย รวมความเสียหายกว่า 490.7 ล้านดอลลาร์

อุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดในโลก
น้ำท่วมใหญ่ในมณฑลเหอหนาน

3. ฝนพันปี น้ำท่วมใหญ่จีน

มณฑลเหอหนานของจีนได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเหตุน้ำท่วมตลอดเดือนกรกฎาคม เป็นผลจากฝนที่ตกต่อเนื่องยาวนาน จนคาดว่าเป็นฝนที่ตกหนักที่สุดในรอบ 1,000 ปี ทำให้ต้องอพยพประชาชนกว่า 815,000 แสนคน พบผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 302 ศพ เกือบทั้งหมดอยู่ที่เมืองเจิ้งโจว และยังมีผู้สูญหายอีก 50 ราย

สำหรับความเสียหายจากเหตุน้ำท่วมครั้งนี้ มีการประเมินไว้ที่ราว 8.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไม่มีการเปิดเผยแน่ชัดว่ามีอาคารบ้านเรือนเสียหายกี่หลัง แต่บริษัทประกันในจีนเผยว่า ที่เมืองเจิ้งโจวมีรถยนต์เสียหายเพราะน้ำท่วมมากกว่า 400,000 คน และมีการเรียกเคลมประกันมูลค่าถึง 6.4 พันล้านหยวน

อุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดในโลก
ความเสียหายบนเกาะเซียร์เกา ประเทศฟิลิปปินส์

2. ซุปเปอร์ไต้ฝุ่น ราอี ถล่มฟิลิปปินส์

ไต้ฝุ่นราอี เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์ บริเวณเกาะเซียร์เกา ในวันที่ 16 ธ.ค. ในฐานะพายุระดับ 5 ก่อนจะเคลื่อนตัวผ่านเกาะ บีซายาส ลงทะเลซูลู ก่อนจะขึ้นฝั่งอีกครั้งที่ เกาะปาลาวัน ทำให้เกิดฝนตกหนัก ลมกระโชกแรก ในทุกพื้นที่ที่มันเคลื่อนตัวผ่าน จากนั้นจึงสลายตัวไปในวันที่ 22 ธ.ค.

พายุลูกนี้ทำให้ประชาชนกว่า 100,000 คนต้องอพยพขึ้นที่สูง หลายพื้นที่บนเกาะบีซายาสและเกาะมินดาเนา ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ อาคารบ้านเรือนเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะที่จังหวัดโบโฮล รวมมูลค่าทั้งหมดกว่า 794.72 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และพบผู้เสียชีวิตจนถึงตอนนี้ที่ 408 ศพ อีก 83 คนยังสูญหาย

อุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดในโลก
ความเสียหายจากแผ่นดินไหวในเฮติ

เมื่อวันที่ 14 ส.ค. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.2 แมกนิจูด เขย่าแหลมทิบูรอน ทางตอนใต้ของประเทศเฮติ จุดศูนย์กลางมีความลึกเพียง 10 กม. ห่างจากเมืองหลวงกรุง ปอร์โตแปรงซ์ ราว 150 กม. ทำให้อาคารบ้านเรือนกว่า 137,500 หลังถูกทำลายหรือได้รับความเสียหาย มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2,248 ศพ บาดเจ็บมากก่า 12,200 ราย และคนอีกราว 650,000 คน ต้องการความช่วยเหลือ

เหตุการณ์นี้ถือเป็นแผ่นดินไหว และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในปี 2564 และยังเป็นหายนะครั้งเลวร้ายที่สุดของเฮติ นับตั้งแต่แผ่นดินไหวเมื่อปี 2553 มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ หรือ 10% ของจีดีพีของเฮติ ทั้งยังเกิดขึ้นเพียงเดือนเดียวหลังเหตุลอบสังหารประธานาธิบดีโมอิสด้วย