ฟัน คลอน ทํา ไง ดี

ฟันโยก ( Loose Teeth ) เป็นอีกหนึ่งอาการในช่องปาก ที่เราทุกคนล้วนเคยพบเจอ เมื่อตอนเป็นเด็ก แล้วหากมาเกิดตอนโตที่ฟันแท้ขึ้นครบแล้วล่ะ จะอันตรายมากน้อยแค่ไหน แล้วการ จัดฟัน ทำให้เกิด ฟันโยก ( Loose Teeth ) ได้หรือไม่มาดูกันค่ะ

ฟันโยก ( Loose Teeth ) คืออะไร ?

ฟันโยก ( Loose Teeth ) นั้นเกิดจาก การที่ฟันค่อย ๆ หลุดออกจากเหงือก ทีละน้อย จนทำให้ สามารถโยกคลอนได้ ซึ่งเมื่อเกิด ฟันโยก ( Loose Teeth ) ขึ้น ฟันนั้นสามารถ ที่จะหลุดออกมาได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหาร หรือ เพียงสัมผัสเบา ๆ ก็สามารถทำให้หลุดได้ ซึ่งหากพบว่า เริ่มมีอาการ ฟันโยก ( Loose Teeth ) แล้วล่ะก็ สิ่งที่ควรทำ เป็นอันดับแรก ๆ คือ รักษาช่องปากให้สะอาด และ พบทันตแพทย์ เพื่อให้ตรวจวิเคราะห์อาการ ฟันโยก ( Loose Teeth ) ส่วนอาการที่อาจจะเกิด ร่วมกับ ฟันโยก ( Loose Teeth ) ได้ก็คือ มีเลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม เหงือกร่น และ เหงือกมีสีแดงสด ค่ะ

ฟันโยก ( Loose Teeth ) ป้องกันได้อย่างไร ?

1. ใส่ฟันยางครอบ

หลายคนอาจจะมองว่า ฟันยาง เป็นสิ่งที่ไม่ได้มีความจำเป็น อะไรมากมายนัก แต่จริง ๆ แล้ว ฟันยาง นั้นมีประโยชน์มาก ในเรื่องของช่องปาก ที่ห้ามไม่ได้ เหมาะสำหรับใส่ ในขณะนอน ป้องกันการกัดฟัน หรือ ใส่ในขณะเล่นกีฬาต่าง ๆ กันโดนกระแทก นี่ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่ช่วยป้องกัน ฟันโยก ( Loose Teeth ) ที่เกิดจาก สภาพแวดดล้อม เกินควบคุมได้ เป็นอย่างดีวิธีหนึ่ง

2. แปรงฟันให้สะอาด และ ถูกวิธี

เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ถือได้ว่า เป็นการป้องกัน ที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง โดยการแปรงฟัน เป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และ แปรงฟัน อย่างถูกวิธี จะช่วยทำให้ สุขภาพช่องปาก นั้นแข็งแรง ปลอดภัย จากโรคมากมาย ที่เกิดกับฟัน รวมถึงป้องกัน ฟันโยก ( Loose Teeth ) ด้วยเช่นกัน

3. ใช้ไหมขัดฟัน

หลักจากที่ แปรงฟัน บ้วนปาก อย่างถูกต้องแล้ว การใช้ไหมขัดฟัน ในการทำความสะอาด ซอกฟัน ที่แปรงไม่สามารถเข้าถึง ก็เป็นวิธีป้อง กันการเกิดโรคต่าง ๆ ในช่องปาก ได้ดีอย่างมาก

4. พบทันตแพทย์

เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่หลาย ๆ คนละเลย นั่นคือ การพบทันตแพทย์ อย่างน้อย ทุก 6 เดือน เพื่อจะได้ป้องกัน และ ตรวจเช็ค สุขภาพช่องปาก อย่างน้อย ๆ เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดโรค อันตราย อื่น ๆตามมาอีกด้วย

การใส่ เครื่องมือจัดฟัน นานเกินไป ก็สามารถทำให้ ฟันโยก ( Loose Teeth ) ได้

การจัดฟัน โดยทั่วไป จะมีระยะเวลาประมาณ 1 – 4 ปี หรือ มากกว่านั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับ ความยากง่าย ของแต่ละเคส เนื่องจากคนไข้บางคน มีปัญหาในเรื่องขากรรด้วย ก็ต้องแก้ปัญหา ในเรื่องขากรรไกร และ ใช้เทคนิค ของ การจัดฟัน เข้าร่วมด้วย จึงทำให้ การจัดฟัน มีระยะเวลา นานกว่าปกติได้

เพราะฉะนั้น ทุก ๆ ครั้งในการพบทันตแพทย์ เพื่อทำการปรับเครื่องมือ ในแต่ละเดือน ควรสอบถาม ทันตแพทย์ ถึงแนวทาง การรักษา ในแต่ละครั้งด้วย เพื่อทราบ แผนการรักษา ของตนเอง ไม่ใช่เพียง ให้เป็นหน้าที่ ของทันตแพทย์ เพียงอย่างเดียว คนไข้เองยังต้องมีวินัย ในการไปพบทันตแพทย์ ให้ตรงเวลา และ ปฏิบัติตาม คำแนะนำ ของทันตแพทย์ อย่างเคร่งครัด ทำให้การจัดฟันของเรา เป็นไปในระยะเวลา ที่เหมาะสม และ ไม่เป็นการรบกวนเหงือก และ ฟันมากจนเกินไป หากคนไข้ไม่มีวินัย ในการดูแลตนเอง และ ไม่พบทันตแพทย์ ตามนัด การรักษา ก็จะยืดเยื้อออกไปอีก ซึ่งตามเดิม แผนการรักษา อาจจะอยู่ที่ 2 ปี อาจจะเลื่อนไป 3 – 4 ปี ได้ และ ไม่นับรวมกับสุขภาพเหงือก และ ฟันอื่น ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ แล้วจะพบปัญหาอะไรบ้าง หากใส่อุปกรณ์จัดฟัน นานเกิดความจำเป็น

- กระดูกรากฟันละลาย เนื่องจากเครื่องมือ มีส่วนในการทำหน้าที่ ทำให้ฟันเคลื่อนตัว อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้มีผลกระทบ กับกระดูกรากฟัน ที่ทำให้เสื่อมสภาพ

- ฟันโยก ( Loose Teeth ) จากเครื่องมือ ที่รั้งกับฟันมาเป็นเวลานาน หรือ รากฟันอ่อนแอ

- เหงือกร่น / เหงือกอักเสบ จากการทำความสะอาด ที่ไม่ทั่วถึง เป็นสาเหตุ ของการก่อตัว จากแบคทีเรีย และ สร้างหินปูนมากขึ้น ทำให้เหงือก มีอาการอักเสบ หรือ บวมได้

ตอนที่เราเป็นเด็ก ฟันโยกหรือคลอนนั้นหมายความว่า อีกหน่อยเราจะมีฟันแท้ขึ้นมาแล้ว แต่เมื่อเราเป็นผู้ใหญ่ ฟันโยกกลับหมายถึงสัญญาณบ่งบอกว่าฟันและเหงือกของเราเริ่มมีปัญหาและต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วนก่อนที่ฟันนั้นจะหลุดออกไป มีหลายสาเหตุที่ทำให้ฟันของเราโยกคลอนและหลายสาเหตุในจำนวนนั้นเราสามารถป้องกันได้ด้วยตัวเอง

ปัญหาปริทันต์

จากงานวิจัยของสถาบันวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกาด้านทันตกรรม พบว่าปัญหาปริทันต์หรือปัญหารำมะนาดนั้นไม่ได้ทำร้ายเหงือกของคุณเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลเสียต่อเอ็นยึดปริทันต์และกระดูกที่อยู่รอบ ๆ ฟันด้วย ปัญหาปริทันต์เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ฟันโยกที่พบได้มากที่สุด โดยปัญหาปริทันต์นั้นเกิดจากการคราบพลักของแบคทีเรียสะสมตัวขึ้นที่ฟัน บริเวณขอบเหงือกและกลายเป็นคราบแข็งที่เรียกว่า "หินปูน" คราบพลักสะสมมาจากการแปรงฟันที่ไม่สะอาดพอหรือไม่ได้แปรงฟันและขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ และขณะที่คราบหินปูนก่อตัวขึ้น แบคทีเรียก็ยิ่งสะสมตัวบนคราบหินปูนมากขึ้นเพราะพื้นผิวหินปูนมีลักษณะขรุขระ ทำให้แบคทีเรียจับตัวเพิ่มที่ผิวฟันได้ง่าย จากนั้นแบคทีเรียเหล่านี้จะสร้างสารพิษขึ้นมาเพื่อทำลายเนื้อเยื่อเหงือกและทำให้เหงือกอักเสบในที่สุด อาการเหงือกอักเสบคือมีเลือดออกง่ายและร่นออกจากฟัน เหงือกที่ไม่แข็งแรงจะมีร่องลึกปริทันต์ (Periodontal Pocket) ขึ้นรอบ ๆ ฟัน ยิ่งเปิดทางให้เชื้อแบคทีเรียรวมถึงสารพิษที่แบคทีเรียผลิตขึ้นเข้าสู่ร่องลึกปริทันต์ได้จนเข้าทำลายกระดูกและเอ็นยึดปริทันต์ได้ในที่สุด

วิธีที่คุณป้องกันฟันโยกคือ พยายามอย่าให้เป็นปัญหาเหงือก จนมีภาวะเหงือกร่นและเกิดร่องลึกปริทันต์ หมั่นแปรงฟันให้สะอาดและขัดฟันทุกวัน รวมถึงไปพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน สำหรับใครที่กลัวว่าฟันของตัวเองจะโยก ให้ปรึกษาทันตแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาหรือป้องกันได้ ด้วยนวัตกรรมปัจจุบันคุณก็สามารถรักษาฟันโยกของคุณได้หลากหลายวิธีไม่ว่าจะเป็น การทำความสะอาดช่องปากแบบล้ำลึก การผ่าตัดศัลยกรรมปริทันต์ หรือการรักษาด้วยวิธีบำรุงรักษาเหงือก เป็นต้น

ฮอร์โมนเนื่องจากการตั้งครรภ์

ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนที่สูงขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ก็ส่งผลทำให้เอ็นยึดปริทันต์และกระดูกที่อยู่รอบ ๆ ฟันของคุณอ่อนแอลงได้ ทำให้ฟันของคุณโยกได้เช่นกัน แต่กรณีนี้จะเป็นเพียงชั่วคราวและไม่ถึงกับทำให้ฟันของคุณหลุด เว้นแต่คุณมีปัญหาแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ปัญหาปริทันต์หรือปัญหารำมะนาด ดังนั้น ในกรณีที่ตั้งครรภ์ คุณควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูสุขภาพช่องปากพร้อมรับคำแนะนำวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมในช่วงเวลาพิเศษนี้ด้วย

ปัญหากระดูกพรุน

ทั้งหญิงและชายล้วนเป็นปัญหากระดูกพรุนได้ทั้งนั้น หมวยถึงความหนาของมวลกระดูกน้อยลงส่งผลให้กระดูกเปราะบางขึ้น เช่นเดียวกับฟัน เมื่อความหนาของมวลกระดูกรอบ ๆ ฟันน้อยลงแล้ว ฟันของคุณก็จะโยกคลอนได้ง่าย ตามข้อมูลของสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า หญิงที่เป็นปัญหากระดูกพรุนมีแนวโน้มฟันหลุดได้มากกว่าผู้หญิงที่ไม่เป็นปัญหานี้ถึง 3 เท่า

นอกจากนี้ สมาคมทันตกรรมแห่งอเมริกายังแนะนำว่า คุณควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบว่าคุณกำลังรับประทานยารักษาปัญหากระดูกพรุนใดอยู่บ้าง แม้ว่าความเสี่ยงจะมีน้อย แต่ในบางกรณีอาจมีการต้านการออกฤทธิ์ของยาขึ้นได้ และยารักษาปัญหากระดูกพรุนบางตัวอาจขัดขวางการรักษาอาการฟันโยกของคุณได้ หรือยาบางตัวอาจส่งผลถึงขั้น "ภาวะกระดูกตาย" ทำให้ฟันของคุณโยกเพิ่มขึ้น

การบาดเจ็บจากแรงกระแทก

เอ็นยึดปริทันต์และเนื้อเยื่อรอบ ๆ ฟันอาจยืดขยายได้เมื่อถูกแรงดันอย่างแรงที่ฟัน เมื่อเอ็นยึดปริทันต์นี้เกิดการยืดขยายมาก ฟันของคุณก็จะโยกคลอนได้ ตัวอย่างเช่น คนที่นอนกัดฟัน หรือมีฟันที่เรียงตัวไม่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากอุบัติเหตุตกจากที่สูงหรือการบาดเจ็บอื่น ๆ ที่ทำให้เอ็นยึดปริทันต์และกระดูกรอบ ๆ ฟันเสียหาย หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น คุณควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรักษาก่อนที่ฟันของคุณจะหลุดออกมา

ฟันโยกเป็นสัญญาณอันตรายที่คุณควรใส่ใจเพื่อป้องกันการสูญเสียฟัน ไปพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อทราบระดับความรุนแรงของฟันที่โยกนั้นๆ และมีปัญหาอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เพื่อรับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่จะสูญเสียฟันไป

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

ฟันโยกมีโอกาสหายไหม

ฟันโยกเนื่องจากอุบัติเหตุ/ถูกกระทบกระแทก : กรณีที่ฟันโยกไม่มากนักและไม่มีอาการปวดหรือเสียวฟันมากผิดปกติ มักจะหายเป็นปกติเองได้ แต่หากเกิดการกระแทกอย่างแรงและฟันโยกมาก ทันตแพทย์อาจต้องยึดฟันที่โยกไว้กับฟันข้างเคียง ถ้าการกระทบทำให้ฟันเคลื่อนไปจากตำแหน่งปกติ ก็ต้องทำให้ฟันกลับสู่ตำแหน่งเดิมก่อนยึดกับฟันข้างเคียง รวมถึง ...

ฟัน โยก มี กี่ ระดับ

สำหรับในคลินิกปริทันต์จะบันทึกระดับการโยกตามแบบของ Miller (1943) ซึ่งจัดระดับการโยกของฟันเป็น 4 ระดับคือ Grade 0 = Physiologic mobility. Grade I = ฟันเคลื่อนในแนว Facio-lingually ไม่เกิน 1 มม. Grade II = ฟันเคลื่อนในแนว Facio-lingually ไม่เกิน 2 มม.

ฟันโยกจำเป็นต้องถอนไหม

หากฟันที่โยกยังไม่หลุดออกมา ทันตแพทย์อาจใส่เฝือกฟันยึดกับฟันซี่ข้าง ๆ เพื่อช่วยไม่ให้ฟันที่โยกนั้นหลุดออก หากมีอาการฟันโยกรุนแรง อาจต้องถอนฟันซี่นั้นออกแล้วรักษาด้วยการฝังรากฟันเทียม โดยทันตแพทย์จะถอนซี่ที่โยกออกและใส่สะพานฟันมาแทนที่

ฟันโยก ถอนเองได้ไหม

ฟันโยก ถอนฟันเองเลยได้ไหม ไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะเสี่ยงติดเชื้อ รากฟันตกค้าง หรือเลือดอาจไหลไม่หยุด รวมทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากการถอนฟันเอง การไปพบทันตแพทย์และรับการรักษาโดยตรงเป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่า