การบริหารความเสี่ยงของบริษัท โตโยต้า

อุบัติเหตุบนท้องถนนในบ้านเราช่วงนี้เกิดขึ้นบ่อยมากทั้งๆ ที่รัฐบาล หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ได้ออกมารณรงค์กันอยู่ไม่ขาด แม้แต่ยักษ์ใหญ่แห่งวงการรถยนต์อย่าง โยโยต้าที่ออกแคมเปญ “โตโยต้าถนนสีขาว” ผ่านสื่อต่างๆ ที่มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ ก็ยังจะเอาไม่อยู่เข้าแล้ว อุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทยจัดอยู่อันดับที่ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และติดอันดับ 3 ของโลก ซึ่งคร่าชีวิตคนไทยปีละนับหมื่นคน และสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจปีละหลายหมื่นล้านบาท ปัญหานี้ยังมองไม่เห็นทางสว่างที่ชัดเจนว่าจะแก้กันอย่างไร เอาล่ะครับเรื่องนี้มันเป็นวาระแห่งชาติเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องแก้ปัญหาเร่งด่วน ผู้มีส่วนรับผิดชอบก็ต้องทำหน้าที่กันต่อไปและเราก็ให้กำลังใจกันครับ

ในฐานะเป็นโรงเรียนสอนขับรถเอกชนแห่งหนึ่งและเป็นสถาบันที่จัดฝึกอบรมหลักสูตร การขับรถอย่างปลอดภัยชั้นสูง ที่ได้รับการยอมรับจากบริษัทเอกชนและหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 450 แห่ง เราจึงมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อเรื่องนี้ด้วยความสมัครใจและด้วยความภาคภูมิใจ แน่นอนครับว่าอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาแต่ผมไม่อยากให้ท่านทั้งหลายไปคิดว่ามันเป็นเรื่องสุดวิสัย เกิดจากความผิดพลาดของผู้อื่นหรือกรรมเวรครับ อุบัติเหตุมันมีมูลเหตุและสาเหตุของมันอยู่ฉะนั้นมันย่อมมีวิธีการป้องกันครับ บทความนี้ผมจะหยิบยกเอาประเด็นความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบางประเด็นที่คณะวิทยากรได้อธิบายอยู่เสมอเมื่อทำการฝึกอบรม มาอธิบายขยายความและเป็นแนวทางให้ท่านผู้อ่านได้ตระหนักและนำไปปรับใช้เพื่อให้การขับขี่ยวดยานพาหนะของท่านปลอดภัยมากขึ้น

ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย ความสูญเปล่าหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบหรือทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย หากเปรียบเทียบกับการขับรถความเสี่ยงก็คือสิ่งที่จะนำพาเราไปสู่อันตรายหรืออุบัติเหตุในที่สุดที่ทำให้เราไม่สามารถไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยตามที่คาดหวังไว้ เพราะฉะนั้นการที่เราจะปลอดภัยได้นั้นเราต้องสามารถรับรู้และบริหารจัดการกับความเสี่ยงนั้นให้ได้

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่จะนำไปสู่อุบัติเหตุในการขับขี่มีอยู่ด้วยกันหลายอย่างแต่ผมจะขอหยิบยกมาบางประเด็นดังนี้ครับ 1) ความเร็วของรถ (Speed) 2) เหตุที่ไม่คาดคิด (Surprise) นั้นคือเมื่อท่านไม่สามารถควบคุมหรือบริหารจัดการปัจจัยทั้งสองนี้ได้ท่านก็จะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นทันที ผู้ขับขี่ที่ขับรถมากในแต่ละวันย่อมมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ขับขี่ที่ขับรถน้อยกว่าและความจริงคือทุกคนมีระดับความเสี่ยงไม่เท่ากันแล้วตัวท่านล่ะมีความเสี่ยงระดับไหน

เอาละครับลองมาดูความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ปัจจัยดังนี้ครับ

ความเสี่ยง (Risk) = ความเร็ว (Speed) x เหตุที่ไม่คาดคิด (Surprise) จากความสัมพันธ์ดังกล่าวจะเห็นว่าความเร็วและเหตุที่ไม่คาดคิด เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงยิ่งถ้าปัจจัยทั้งสองเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูงและเกิดเหตุที่ไม่คาดคิดความเสี่ยงก็จะสูงขึ้นทันที เพราะฉะนั้นหากท่านสามารถลดตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งสองตัวลงได้ความเสี่ยงของท่านก็จะลดลงเช่นกัน แต่การลดความเร็วสำหรับนักขับขี่บ้านเราเห็นจะเป็นเรื่องยากครับแต่อย่างน้อยก็ขอให้ท่านลดปัจจัยที่สองคือเหตุที่ไม่คาดคิด(Surprise) ครับ แล้วปัจจัยนี้จะทำอย่างไรถึงจะลดได้ซึ่งคงไม่ง่ายเหมือนกับลดความเร็วที่เพียงแค่ถอนคันเร่งครับ การบริหารปัจจัยที่ 2 นี้สามารถทำได้ตามหลักการขับรถอย่างปลอดภัยชั้นสูงคือ 1) สังเกตุการณ์โดยกวาดสายตามองให้สม่ำเสมอ 2) แยกแยะสิ่งที่จะเป็นอันตรายหรือ Hazard 3) คาดการณ์จากสิ่งที่เห็นและแยกแยะแล้ว 4) ทำการตัดสินใจล่วงหน้าอย่างน้อย 3-4 วินาทีก่อนเหตุการณ์ 5) ลงมือปฏิบัติเมื่อทำการตัดสินใจแล้วให้ทันเวลา โดยสรุปก็คือว่าให้เราหาให้ได้ว่าความเสี่ยงอยู่ที่ไหน ความเสี่ยงคืออะไรเพื่อที่เราจะหาทางบริหารจัดการกับความเสี่ยงนั้นๆ ได้อย่างถูกวิธีและทันเวลานั่นก็หมายถึงความปลอดภัยที่ตามมา แต่อย่าลืมนะครับว่ากระบวนการทั้ง 5 นี้ต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทรงประสิทธิภาพครับเป็นทักษะแบบ fast thinking ซึ่งถ้ามัวแต่ขบคิดพิจารณากับสิ่งที่เห็นนานๆ แล้วก็จะเป็นอันตรายครับเพราะในการขับรถเวลามีค่ามหาศาลซึ่งเราจะพลาดไม่ได้แม้เพียงวินาทีเดียว ปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่เราจะนำมาควบคุมความเสี่ยงในการขับรถของเราได้คือ ระยะห่าง (Space) ฉะนั้นผมจะขอสรุปการบริหารจัดการความเสี่ยงในมิติของปัจจัยทั้ง 3 ดังนี้ครับ

ความเสี่ยง (Risk) = ความเร็ว (Speed) x เหตุที่ไม่คาดคิด (Surprise)
                                                 ระยะห่าง (Space)

เพราะฉะนั้นความเสี่ยงของท่านก็สามารถบริหารได้แล้วเพียงแค่ลดความเร็ว ใช้หลักการในการขับรถอย่างปลอดภัยชั้นสูง 5 ขั้นตอนและเพิ่มตัวหารหรือระยะห่าง เพียงแค่นี้ท่านก็ลดความเสี่ยงได้แล้วครับ

มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (Intelligent Traffic Information Center Foundation หรือ ITIC) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งโดยนักวิชาการและนักอุตสาหกรรมมาตั้งแต่ปี 2553 เพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลจราจรจากภาครัฐและภาคเอกชนมาประมวลผลและเผยแพร่สู่สาธารณะแบบ Real-time โดยประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ฟรี ผ่านเวบไซต์และแอพพลิเคชั่นของ ITIC เพื่อใช้วางแผนการเดินทาง หลีกเลี่ยงการจราจรติดขัด และเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนด้วยข้อมูลแจ้งเตือนอันตรายหรืออุบัติเหตุทางถนน ซึ่งความสำเร็จตลอด 9 ปีที่ผ่านมาล้วนเกิดจากความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การบริหารความเสี่ยงของบริษัท โตโยต้า

ในปีนี้ นำโดยนายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย และประธานคณะกรรมการ บริษัท  โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมงานสัมมนา “ITIC FORUM 2019: Big Data and AI for Safer Roads” เพื่อเผยแพร่ผลที่ได้จากการทำโครงการวิจัยและพัฒนาข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน ให้เป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนคนไทยอย่างแท้จริง

การบริหารความเสี่ยงของบริษัท โตโยต้า

เมื่อปีที่ผ่านมาได้จัดงานสัมมนา ITIC Forum 2018: Power of Data Sharing ขึ้นเพื่อยกระดับความร่วมมือ และกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญของการแชร์ข้อมูล เพื่อนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง ซึ่งได้รับความสนใจและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ในปีนี้จึงริเริ่ม “โครงการวิจัยและพัฒนาข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน – Big Data and AI for Safer Roads” เพื่อแสดงให้เห็นถึงการแบ่งปันข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ระหว่างหน่วยงานต่างๆ สามารถนำมาประมวลผล และใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุบนท้องถนน เพื่อนำผลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาสำคัญของประเทศชาติอย่างยั่งยืนได้

การบริหารความเสี่ยงของบริษัท โตโยต้า

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอุบัติเหตุบนท้องถนนกลายเป็นสาเหตุสำคัญลำดับต้นๆ ที่ทำให้สูญเสีย เด็ก เยาวชน หัวหน้าครอบครัว ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตอย่างน่าเสียดาย ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์และมีความร่วมมือจากหลายภาคส่วนอย่างจริงจังในเรื่องนี้ แต่จำนวนอุบัติเหตุและอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนของประเทศไทยกลับยังอยู่ในระดับที่สูงมากจนน่ากังวล จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่าในปี 2560 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงถึง 22,491 ราย มากเป็น     อันดับที่ 9 ของโลก และอันดับที่ 1 ในเอเชีย คิดเป็นค่าเฉลี่ยคือมีผู้เสียชีวิตวันละ 60 ราย และยังพบว่าอุบัติเหตุกว่า 50% เกิดขึ้นในกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่ง 90% กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่เพียง 5% ของทั้งกรุงเทพฯ ซึ่งจำนวนผู้เสียชีวิตเหล่านี้ถือเป็นความสูญเสียที่มากเกินกว่าจะประเมินค่าได้ ทั้งนี้ทุกภาคส่วนจึงมีความเห็นตรงกันว่ายังมีโอกาสที่จะแก้ปัญหาได้ โดยควรจะตั้งเป้าหมายในการลดจำนวนอุบัติเหตุให้ได้ 20% ภายในเวลา 2 ปี

การบริหารความเสี่ยงของบริษัท โตโยต้า
การบริหารความเสี่ยงของบริษัท โตโยต้า

โดยโครงการฯ นี้ได้ใช้ฐานข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจากระบบการจัดเก็บข้อมูล 3 ฐาน คือกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติและบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ รวมกับข้อมูลของมูลนิธิฯ ITIC และกรมทางหลวง โดยใส่ข้อมูลอุบัติเหตุดังกล่าวทั้งหมดลงบนแผนที่ดิจิทัล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยง วัน เวลา ตลอดจนสถานที่เสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และนำผลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาในอนาคต โดยหัวใจสำคัญของโครงการนี้ คือการนำเอาเทคโนโลยี AI มาวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุในอดีตและสร้างระบบพยากรณ์อุบัติเหตุล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ซึ่งจากการทดลองกับข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุในอดีต พบว่าระบบดังกล่าวมีความแม่นยำมากถึง 80% และยังพบข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่น่าสนใจมากมาย โดยการจัดงานแถลงข่าวฯ และงานสัมมนาในครั้งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทำโครงการฯ รวมทั้งสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนเพื่อให้เกิดความตระหนักและตื่นตัว ตลอดจนนำผลที่ได้ไปเสนอภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหาต่อไป ในโอกาสนี้ยังได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นมาร่วมแชร์ประสบการณ์การบริหารจัดการความปลอดภัยบนท้องถนนที่ประสบความสำเร็จในการลดจำนวนอุบัติเหตุในเขตไอจิ ประเทศญี่ปุ่นให้ฟังในงานนี้อีกด้วย ซึ่งสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตบนท้องถนนจาก 10,000 ราย เหลือเพียง 5,000 ราย ในปี 2553 และเหลือเพียง 3,500 ราย ในปี 2561 ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่มีค่าและน่าสนใจที่จะนำมาศึกษาเป็นตัวอย่างเพื่อปรับใช้กับประเทศไทยเราต่อไป

การบริหารความเสี่ยงของบริษัท โตโยต้า
การบริหารความเสี่ยงของบริษัท โตโยต้า

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยบนท้องถนน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้ตระหนักถึงการเดินทางอย่างปลอดภัย เคารพกฎวินัยจราจร และแบ่งปันน้ำใจในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน อันจะนำไปสู่การลดอุบัติเหตุและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง “สังคมคนขับรถดี” ผ่านความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายความปลอดภัยทางถนน โดยเราหวังว่าการมีส่วนร่วมของโตโยต้าจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนและสร้างความสุขให้กับคนไทยได้