คู่มือความ ปลอดภัย ในการขนส่ง

สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก (สนภ.)กรมการขนส่งทางบก

คู่มือความ ปลอดภัย ในการขนส่ง

ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักสูตร ระยะเวลา และหลักเกณฑ์การอบรมผู้ขับรถที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ.2560

คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตรความปลอดภัยสำหรับพนักงานขับรถขนส่ง

ไฟล์แนบ

คู่มือความปลอดภัย

ในการปฏิบัติงาน
ด้านการขนส่งทางบก

สารบัญ

หน้า

บทนำ 1
อันตรายในงานขนส่งทางบก
2
- Physical Hazard 4
6
- Chemical Hazard 7
7
- Biological Hazard 8
9
- Psycho - Social Hazard 12
27
- Ergonomics Hazard
29
- Safety Hazard 32

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อปฏิบัติในงานขนส่งทางบก
อุปกรณ์ความปลอดภัยประจำรถ
แผนการรับมือเหตุฉุกเฉิน

- การเดินทางด้วยยานพาหนะส่วนบุคคล
- การเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ

1

บทนำ

งานอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นงานในที่ที่มีความร้อน งานในที่สูง งานในที่
อับอากาศ งานขุดเจาะ งานรังสี งานในห้องปฏิบัติการ งานเคลื่อนย้ายโดย
เครื่องจักร หรือแม้แต่งานขนส่ง ความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง
เสมอ การระมัดระวังและการป้องกันจะทำให้เราสามารถลดการบาดเจ็บและ
การสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินลงได้

เนื่องด้วยทางคณะผู้จัดทำมีความสนใจในงานขนส่งทางบกจึงได้จัด
ทำคู่มือความปลอดภัยเกี่ยวกับงานขนส่งทางบกฉบับนี้ขึ้นมา โดยคู่มือ
ความปลอดภัยเกี่ยวกับงานขนส่งทางบกนี้ ได้มาจากการศึกษา ค้นคว้า และ
วิเคราะห์ในเรื่องของอันตรายที่เกิดขึ้นได้ในงาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องในงาน
ข้อปฏิบัติในการทำงานที่ปลอดภัย อุปกรณ์ความปลอดภัยประจำรถ และ
แผนการรับมือเหตุฉุกเฉิน แล้วทำการรวบรวมข้อมูลและจัดทำเป็นคู่มือขึ้น
โดยมีจุดประสงค์เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เป็นคู่มือสำหรับพนักงาน
ในด้านความปลอดภัย เพื่อให้เป็นสิ่งหนึ่งที่เสริมสร้างในด้านความปลอดภัย
ให้แก่พนักงานให้ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยและปฏิบัติงานอย่างระมัด
ระวัง อันเป็นการสร้างความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นในงานได้
อย่างสมบูรณ์

ความปลอดภัยจะเกิดขึ้นได้ พนักงานต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ความ
ปลอดภัยต้องเริ่มจากการปฏิบัติ เรียนรู้ และทำความเข้าใจ ซึ่งในการปฏิบัติ
นั้น ควรจะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอย่างถูกต้องและตลอดเวลาในการทำงาน
ก็จะนำมาซึ่งความปลอดภัยของตัวพนักงานเอง

2

อันตรายในงานขนส่งทางบก

Physical Hazard

ความร้อน

การขนส่งบนท้องถนนนั้นจะเกิดความร้อน
จากเครื่องยนต์ในขณะที่รถวิ่ง รวมไปถึงความร้อน
จากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว ยิ่งทำให้อากาศ
ภายในรถร้อนมากยิ่งขึ้น ผลกระทบต่อสุขภาพที่
เกิดขึ้นได้ เช่น ผดผื่น (Heat Rash), ลมแดด
(Heat Syncope), ตะคริวจากความร้อน (Heat
Cramps), อ่อนเพลีย (Heat Exhaustion) และ
โรคลมร้อน (Heat Stroke) ถ้าหากอยู่ในสภาพ
แวดล้อมที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 38 ̊C จะ
ทำให้มีโอกาสเกิดผลกระทบต่อสุขภาพเหล่านี้ได้

อันตรายในงานขนส่งทางบก 3

เสียงดัง (Noise)

พนักงานขับรถมีโอกาสสัมผัสเสียงดังจากสิ่ง
แวดล้อมทั้งภายนอกและภายในรถ เช่น เสียง
เครื่องยนต์ และเสียงจากสภาพการจราจร การสัมผัส
เสียงที่มีระดับความดังเกิน 85 เดซิเบลเอ มากกว่าวัน
ละ 8 ชั่วโมง มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคประสาทหูเสื่อม
จากเสียงดัง (Noise Induced Hearing Loss) ซึ่ง
เป็นภาวะการสูญเสียการได้ยินถาวรโดยระดับเสียงที่
เสียงดังมาก ๆ จะทำลายเซลล์ในหูชั้นในแบบไม่สามารถ
หายกลับคืนได้ และยิ่งระยะเวลาการสัมผัสเสียงยิ่งนาน
เท่าใดเซลล์ก็จะถูกทำลายมากขึ้นเท่านั้น

ความสั่นสะเทือน (Vibration)

ความสั่นสะเทือนในรถเป็นความสั่นสะเทือนทั้งร่างกาย
(Whole Body Vibration) และความสั่นสะเทือนเฉพาะส่วนหรือ
กลุ่มอาการที่เรียกว่า Hand-Arm Vibration Syndrome ซึ่ง
พนักงานขับรถนั้นจะสัมผัสความสั่นสะเทือนทั้งสองแบบนี้
โดยเฉพาะในเวลาเร่งเครื่องเพื่อทำความเร็ว

ผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นได้ เช่น อาการเสียว ชา ปวด
และร้อนบริเวณมือ และหากสัมผัสเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดผล
เสียต่อกระดูกสันหลังและเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคปวดหลัง
ส่วนล่างได้

4

อันตรายในงานขนส่งทางบก

Chemical Hazard

ฝุ่นละออง (Dust)

พนักงานขับรถจะสัมผัสฝุ่นละอองผ่านทางหน้าต่างเมื่อ
เปิดหน้าต่างรถทำให้ฝุ่นละอองภายนอกเข้ามาด้านในของ
ตัวรถ ยิ่งในสภาพการจราจรแออัดยิ่งทำให้พนักงานขับรถ
สัมผัสฝุ่นละอองเป็นจำนวนมาก ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่
กว่า 10 ไมครอนนั้น อาจทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดิน
หายใจส่วนบน แต่เนื่องจากขนาดที่ใหญ่จึงทำให้ไม่สามารถ
ผ่านเข้าไปสู่หลอดลมได้ ส่วนฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า
10 ไมครอน จะสามารถเล็ดลอดผ่านเข้าไปถึงระบบทางเดิน
หายใจส่วนล่างและถุงลมในปอด ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดโรคใน
ระบบทางเดินหายใจและโรคปอดได้

สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย
(Volatile Organic Compounds: VOC)

พนักงานขับรถมีโอกาสสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยง่าย เช่น เบนซีน
MTBE โทลูอีน ซึ่งเป็นสารปนเปื้ อนในอุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ
และปิโตรเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะการจราจรที่หนาแน่น ยิ่งทำให้
พนักงานขับรถต้องสัมผัสสารเหล่านี้มากขึ้น พนักงานขับรถมีโอกาสรับ
สัมผัสสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายผ่านทางระบบทางเดินหายใจและดูด
ซึมผ่านผิวหนัง ทำให้เกิดอาการมึนงง ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
อ่อนเพลีย หมดสติ ระคายเคืองทางเดินหายใจ หากสัมผัสเรื้อรังก็อาจมี
อาการผิวหนังอักเสบ อาการทางระบบจิตประสาท เช่น ปวดศีรษะ
อารมณ์แปรปรวน โดยเฉพาะเบนซีนนั้นมีผลต่อไขกระดูกและอาจกลาย
เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้

5

อันตรายในงานขนส่งทางบก

Chemical Hazard

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)

ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ถูกปล่อยออกมาสู่บรรยากาศจากหลายแหล่ง
ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงจากการสันดาปภายในเครื่องยนต์ โดย
เฉพาะในเมืองใหญ่ที่มีการจราจรหนาแน่น พนักงานขับรถจึงสามารถสัมผัสก๊าซเข้าสู่
ร่างกายทางการหายใจแล้วถูกดูดซึมเข้าไปจับกับ Hemoglobin, Myoglobin และ
Cytochrome oxidase ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ลดลง เกิดการ
ขาดออกซิเจนของเนื้อเยื่อ ทำให้มีอาการตาพร่ามัว ปวดศีรษะ การเต้นของหัวใจผิดปกติ
การสัมผัสในปริมาณมากทำให้เสียชีวิตได้ การวัดระดับ CO-Hb ในเลือดเป็นการตรวจ
ภาวะพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ ระดับ CO-Hb ค่าปกติอยู่ที่ 0.5% และไม่ควรเกิน 10%
ในระดับ 30-40% จะเริ่มมีอาการปวดหัว ใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน และถ้าเกิน 50%
อาจทำให้มีอาการสับสน ชักเกร็ง หมดสติไปจนถึงขั้นเสียชีวิต

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)

ก๊าซที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้และกระบวนการเผาผลาญอาหารใน
ร่าง กายโดยขับออกทางลมหายใจประมาณ 200 มิลลิลิตรต่อนาที ดังนั้น
แหล่งกำเนิดจึงมาจากผู้อาศัยในอาคารบ้านเรือนที่เป็นสภาพแวดล้อมแบบ
ปิด นอกจากนี้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง
ได้เช่นกัน พนักงานขับรถจึงมีโอกาสสัมผัสก๊าซโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรถ
แบบปรับอากาศ เนื่องมาจากภายในรถมีสภาพแวดล้อมแบบปิดคล้ายใน
อาคาร ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก่อโรคได้โดยการแทนที่ออกซิเจน ทำให้
ออกซิเจนในอากาศมีไม่พอจึงเกิดพิษจากภาวะขาดออกซิเจนขึ้นได้ การที่มี
คาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือดมากไม่ว่าจะจากการขาดออกซิเจนหรือได้รับ
คาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปมากก็ตามจะทำให้เลือดเป็นกรด เกิดการขยายตัว
ของหลอดเลือด กระตุ้นระบบหายใจให้ หายใจเร็วขึ้น ทำให้หัวใจเต้นเร็ว และ
เกิดอาการง่วงนอน

อันตรายในงานขนส่งทางบก 6

Biological Hazard

ในรถแบบปรับอากาศที่มีความอับชื้นและอุณหภูมิที่
พอเหมาะเป็นปัจจัยที่ทำให้จุลชีพมีการเจริญเติบโตได้
ได้แก่ เชื้อราสะสมอยู่ในอากาศ เบาะที่นั่ง และบริเวณ
เครื่องปรับอากาศ ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัม
ผัสสปอร์เชื้อราหรือชิ้นส่วนของเชื้อราซึ่งเป็นสารก่อ
ภูมิแพ้ สปอร์เชื้อราจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการหอบ
หืด และทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ขึ้น ถ้ามีอาการหอบหืด
อยู่แล้วสปอร์เชื้อราจะเป็นตัวกระตุ้นให้มีอาการรุนแรง
มากขึ้น การที่ได้รับสปอร์เชื้อราหรือชิ้นส่วนของเชื้อรา
ทางการหายใจยังอาจทำให้เกิดอาการเยื่อจมูกอักเสบ
จากภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบจากภูมิแพ้ โรคหอบหืด และโรค
ปอดอักเสบจากภาวะภูมิไวเกิน

อันตรายในงานขนส่งทางบก 7

Psycho - Social Hazard

สิ่งคุกคามสุขภาพด้านจิตสังคม เนื่องจากลักษณะงาน
ขับรถอาจมีการทำงานติดต่อกันยาวนานกว่า 8 ชั่วโมง ใน
บางครั้งอาจไม่ได้พักเมื่อถึงปลายทาง หรือไม่ได้พักทาน
อาหาร รวมไปถึงสภาพการจราจรที่ติดขัดนั้น ส่งผลกระ
ทบต่อร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและ
ความง่วงจากการทำงาน ซึ่งอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการ
เกิดอุบัติเหตุตามมาได้

Ergonomics Hazard

สิ่งคุกคามสุขภาพด้านการยศาสตร์ ท่าทางในการ
ทำงานของพนักงานขับรถเป็นลักษณะการทำงาน
ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างจำกัด มีท่าทางที่ไม่
เหมาะสมเวลาทำงาน เช่น การนั่งโน้มตัวไปด้านหน้า นั่ง
หลังค่อม ไม่ได้ปรับที่นั่งให้พอดีกับตัว และอยู่ในท่านั่ง
ทำงานเป็นเวลานานโดยไม่ได้ลุกจากที่นั่ง ทำให้เกิด
อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือความผิดปกติของกล้าม
เนื้อ และกระดูกโครงร่าง (Musculoskeletal
Disorders, MSDs) โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหลัง
ส่วนล่างและคอ

8

อันตรายในงานขนส่งทางบก
Safety Hazard

สิ่งคุกคามสุขภาพด้านความปลอดภัย อันตรายจากอุบัติเหตุ
(Accident and Injury) จากการทำงานบนท้องถนนตลอดเวลา
ทำให้พนักงานขับรถมีความเสี่ยงด้านอุบัติเหตุและความปลอดภัย
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุในผู้ขับขี่ได้แก่ อายุผู้ขับ การขับ
รถในช่วงกลางคืน ระยะเวลาหรือระยะทาง ความคุ้นชินของ
พนักงานขับรถกับรถ ความชำนาญเส้นทาง ภาวะเหนื่อยล้า และ
ความเร็วในการขับ จึงอาจเป็นสาเหตุในการเกิดอุบัติเหตุการบาด
เจ็บไปจนถึงการสูญเสียได้

9

กฎหมายที่
เกี่ยวข้องในงาน

10

กฎหมายที่
เกี่ยวข้องในงาน

11

กฎหมายที่
เกี่ยวข้องในงาน

12

ข้อปฏิบัต
ิในงาน
ขนส่งทางบก

1.การจัดการรถ

รถเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเกิดขึ้นจากความ
บกพร่องของระบบการทำงานของรถ การตรวจสอบและดูแลบำรุง
รักษารถ และเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุและ
ทำให้ท่านใช้รถอย่างคุ้มค่า ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ประหยัดค่าใช้จ่าย
ในการซ่อม ยืดอายุการใช้งาน ถูกต้องตามกฎหมาย

ขั้นตอนง่าย ๆ ในการจัดการรถ ได้แก่
1) การจัดให้มีแผนการบํารุงรักษารถตามกําหนดรอบระยะทาง

หรือระยะเวลาในการใช้รถ
2) การตรวจสอบสภาพและความพร้อมของรถเป็นประจําตาม

แผนที่กําหนด รวมถึงการตรวจเครื่องอุปกรณ์ ส่วนควบของรถ
อุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ที่จําเป็นที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย
ประจํารถ

13

ข้อปฏิบัติในงาน
ขนส่งทางบก

1.การจัดการรถ

ขั้นตอนง่าย ๆ ในการจัดการรถ (ต่อ)
3) การตรวจสภาพรถก่อนใช้งานแบบ BE-WAGON
- B (Brake) หมายถึง ตรวจดูน้ำมันเบรก และน้ำมันคลัตช์ ว่า

มีรอยรั่วซึมของน้ำมันหรือไม่
- E (Electricity) หมายถึง ระบบไฟฟ้าของรถยนต์ ได้แก่

แบตเตอรี่ สายไฟ ไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเลี้ยว และแตร
- W (Water) หมายถึง การตรวจน้ำในหม้อน้ำ น้ำฉีดกระจก

และใบปัดน้ำฝน
- A (Air) หมายถึง การตรวจลมยางทุกเส้นรวมถึงยางอะไหล่

พร้อมตรวจดูดอกยาง และ สภาพยาง
- G (Gasoline) หมายถึง การตรวจระดับน้ำมันเชื้อเพลิงในถัง

รอยรั่วซึม กลิ่นน้ำมัน
- O (Oil) หมายถึง การตรวจน้ำมันหล่อลื่นทุกชนิด ได้แก่

น้ำมันเครื่อง น้ำมันพวงมาลัย เพาเวอร์ น้ำมันเกียร์ และอื่น ๆ
- N (Noise) หมายถึง การตรวจเสียงที่ดังมาจากเครื่องยนต์

หรือตัวถังว่ามีเสียงผิดปกติหรือไม่

14

ข้อปฏิบัติในงาน
ขนส่งทางบก

ตัวอย่างเอกสารการตรวจสภาพรถก่อนนำไปใช้งาน

15

ข้อปฏิบัติในงาน
ขนส่งทางบก

2.การจัดการผู้ขับรถ

• การกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขับรถ

• การกําหนดแผนปฏิบัติการของผู้ขับรถเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ขับรถ
ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ

• การตรวจสอบสภาพและความพร้อมของผู้ขับรถก่อนออกเดิน
ทาง โดยการสัมภาษณ์พูดคุย และ/หรือสังเกตกริยาท่าทางและการ
ตอบสนองต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

• การตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์และการสุ่มตรวจสารเสพติดใน
ร่างกายเป็นประจําตามแผนที่กําหนดโดยใช้เครื่องมือที่ได้รับการ
ยอมรับในการตรวจวัด

• การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะของผู้ขับรถ
การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขับรถอย่างเป็นระบบ เช่น ประวัติส่วนบุคคล
ประวัติการขับรถ ประวัติการฝึกอบรม ประวัติการทํางาน ประวัติการ
กระทําผิด ซึ่งรวมถึงประวัติการขับรถเกิดอุบัติเหตุ

16

ข้อปฏิบัติในงาน
ขนส่งทางบก

3.การจัดการการเดินรถ

• การเตรียมพร้อมก่อนการออกรถ 8 ขั้นตอน หรือที่เรียกว่า
บัญญัติ 8 ประการ ได้แก่

1) กระจก หน้าต่าง ต้องใสสะอาดทั้งด้านในและด้านนอก
2) ตรวจสอบให้แน่ใจว่าประตูทุกบานปิดสนิท และล็อคทุกบาน
3) ปรับเบาะที่นั่งให้สะดวกสบายในการขับ
4) ปรับกระจกส่องหลังและกระจกข้าง ต้องอยู่ในตำแหน่งถูก
ต้องและใสสะอาด
5) คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งจนเป็นอุปนิสัย
6) ก่อนสตาร์ทให้ขึ้นเบรกมือ ปลดตำแหน่งเกียร์ว่าง ปิด
อุปกรณ์ไฟฟ้า เหยียบคลัตช์ และ สตาร์ทเครื่องยนต์
7) ตรวจสอบสัญญาณไฟที่แผงหน้าหน้าปัดรถ ตลอดถึงระดับ
น้ำมันเชื้อเพลิง
8) เคลื่อนรถและทดสอบระบบเบรกเท้าเพื่อความแน่ใจ

17

ข้อปฏิบัติในงาน
ขนส่งทางบก

3.การจัดการการเดินรถ

• การกําหนดเส้นทางที่เหมาะสมในการขนส่ง โดยคํานึงถึงประเภท
และชนิดของรถและความชํานาญเส้นทางของผู้ขับรถ

•การกําหนดแผนปฏิบัติการเดินรถและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการ
เดินรถ เช่น การแจ้งเตือนจุดเสี่ยงหรือจุดอันตราย หรือการกําหนด
จุดพักรถระหว่างทางที่เหมาะสม

• การตรวจสอบข้อมูลระหว่างการเดินทาง เช่น การใช้ความเร็ว
ระยะเวลาการขับรถต่อเนื่อง การหยุดพักระหว่างการเดินทาง

• การจัดเก็บข้อมูลการดําเนินการขนส่ง ได้แก่ ข้อมูลเส้นทางและ
การเดินทาง การใช้ความเร็วของรถ ระยะเวลาการขับรถ การหยุดพัก
ระหว่างการเดินทาง และข้อมูลอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อนํามาวิเคราะห์
และประเมินผลการจัดการความปลอดภัยในการขนส่ง

18

ข้อปฏิบัติในงาน
ขนส่งทางบก

3.การจัดการการเดินรถ

• การจอดและหยุดรถ วิธีการจอดรถและหยุดรถที่ถูกต้อง สามารถ
ช่วยลดอุบัติเหตุได้อีกทางหนึ่ง เช่น การหยุดรถเมื่อติดสัญญาณไฟแดง
การหยุดรถระหว่างการจราจรบนทางราบนานเกิน 10 วินาที ควรขึ้นเบรก
มือแล้วปลดเกียร์ว่างทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย เพราะขณะรถหยุดอยู่
หากมีรถอื่นพลาดพลั้งมาชนท้ายรถ การใส่เบรกมือไว้จะช่วยบรรเทาความ
รุนแรงจากอุบัติเหตุดังกล่าว ให้ได้รับความบาดเจ็บน้อยลง แล้วยังช่วยไม่
ให้รถ เลื่อนไหลไปชนท้ายรถคันหน้าได้อีกด้วย

ระยะหยุดรถ ระยะหยุด = ระยะคิด + ระยะเบรก ระยะทางที่รถวิ่งไป
ตั้งแต่ผู้ขับขี่สังเกตเห็น ถอนเท้าจากคันเร่งไปแตะเบรก และเหยียบเบรก
จนรถหยุดนิ่ง

- ระยะคิด ระยะทางที่รถวิ่งไปตั้งแต่ผู้ขับขี่สังเกตเห็น และถอนเท้า
จากคันเร่งไปแตะเบรก ขึ้นอยู่กับ ความสามารถทางสมองของผู้ขับขี่แต่ละ
คน เร็วช้าไม่เท่ากัน แม้ว่าคนเดียวกัน แต่ต่างเวลา ต่างอารมณ์ ไม่เท่ากัน

- ระยะเบรก ระยะทางที่รถวิ่งไปตั้งแต่เริ่มเหยียบเบรกจนกระทั่งรถ
หยุดนิ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของรถ สภาพยาง ระบบช่วงล่าง
และสภาพถนน

19

ข้อปฏิบัติในงาน
ขนส่งทางบก

ระยะหยุดรถ Stopping Distance

อ้างอิง : คู่มือการอบรม หลักสูตรการอบรมด้านความปลอดภัยในการ ขนส่งสำหรับพนักงาน
ขับรถขนส่ง จัดทำโดย สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก ปี 2560

20

ข้อปฏิบัติในงาน
ขนส่งทางบก

ระยะหยุดรถ (Stopping Distance)

อ้างอิง : คู่มือการอบรม หลักสูตรการอบรมด้านความปลอดภัยในการ ขนส่งสำหรับพนักงาน
ขับรถขนส่ง จัดทำโดย สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก ปี 2560

21

ข้อปฏิบัติในงาน
ขนส่งทางบก

4.การจัดการการบรรทุกและโดยสาร

• การกำหนดรูปแบบและแนวทางในการบรรทุกคนโดยสารและ
สัมภาระ การกำหนดรูปแบบและแนวทางในการบรรทุกสัตว์หรือ
สิ่งของ โดยมีวิธีการปฏิบัติงานขนส่งที่เหมาะสมแก่การบรรทุกแต่ละ
ประเภท

• การตรวจสอบความปลอดภัยในการบรรทุกคนโดยสาร สัตว์ หรือ
สิ่งของ ทั้งในด้านจำนวน ปริมาณ ขนาด รวมถึงการใช้อุปกรณ์เพื่อ
ความปลอดภัยต่าง ๆ อาทิเช่น

การตรวจสอบแรงดันลมยาง
- ถ้าแรงดันน้อยเกินไป เกิดความฝืดระหว่างยางกับผิวถนนมาก
ทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง เกิดความร้อนสูง แก้มยางฉีกขาดจากแรง
กระแทก และทำให้ดอกยางบริเวณขอบทั้งสองด้านสึกหรือเร็วกว่า
ปกติ
- ถ้าแรงดันมากเกินไป ทำให้เกิดการลื่นไถลได้ง่าย ความสามารถ
ในการยึดเกาะน้อยลง และดอก ยางตรงกลางสึกหรือเร็วกว่าปกติ

22

ข้อปฏิบัติในงาน
ขนส่งทางบก

ความหมายของขนาดและสัญลักษณ์ของยางเรเดียล

ความหมายของขนาดและสัญลักษณ์ของยางเรเดียลรถบรรทุก

อ้างอิง : คู่มือการอบรม หลักสูตรการอบรมด้านความปลอดภัยในการขนส่งสำหรับพนักงาน
ขับรถขนส่ง จัดทำโดย สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก ปี 2560

23

ข้อปฏิบัติในงาน
ขนส่งทางบก

ดัชนีการรับน้ำหนักบรรทุกและสัญลักษณ์ความเร็วยาง

วันที่ผลิตยาง

อ้างอิง : คู่มือการอบรม หลักสูตรการอบรมด้านความปลอดภัยในการขนส่งสำหรับพนักงาน
ขับรถขนส่ง จัดทำโดย สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก ปี 2560

24

ข้อปฏิบัติในงาน
ขนส่งทางบก

5.การวิเคราะห์และประเมินผล การบริหารจัดการ

• การวิเคราะห์และประเมินผลการจัดการความปลอดภัยในการ
ขนส่ง เพื่อดำเนินการปรับปรุงแผนรับมือเหตุฉุกเฉินและกำหนด
มาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุขึ้นอีกใน
อนาคต

• การกำหนดรูปแบบและแนวทางการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน
โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการ ข้อมูลการติดต่อสื่อสารกับ
หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง และวิธีจัดการเหตุที่เหมาะสม อาทิเช่น

- การขับรถขณะฝนตกหนัก มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
1) ใช้อัตราความเร็วที่ปลอดภัย สามารถหยุดได้ทัน และ
สามารถควบคุมรถได้
2) ทิ้งช่วงห่างจากรถคันหน้า เผื่อไว้มาก ๆ เพราะเนื่องจาก
เมื่อผ้าเบรกเปียกน้ำ ระยะเบรกจะยาวขึ้น
3) เทคนิคการใช้เบรก ควรเบรกให้นุ่มนวล 3 จังหวะ
4) ทดสอบเบรกเมื่อพ้นน้ำ

25

ข้อปฏิบัติในงาน
ขนส่งทางบก

5.การบริหารจัดการ การวิเคราะห์และประเมินผล

- การขับรถเวลากลางคืน การขับรถในเวลากลางคืนมีความ
เสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุสูงกว่ากลางวัน เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่
ก่อให้เกิดอันตรายเพิ่มขึ้น เช่น สภาพร่างกาย ความเหนื่อยล้าของ
สายตา ทัศนวิสัยในการมองเห็นไม่ดี ดังนั้น ถ้าไม่จำเป็นควรหลีก
เลี่ยงการขับในเวลากลางคืน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ควรใช้เทคนิคการ
มอง 3 จุด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายต่าง ๆ

เทคนิคการมองกวาดสายตา 3 จุด
จุดที่ 1 ให้มองขอบทางด้านซ้าย สังเกตรถที่จอดอยู่ คนรอ
ข้ามถนน ขอบไหล่ทาง
จุดที่ 2 ให้มองเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนในกรณีรถวิ่งสวนกัน
เพื่อหลีกเลี่ยงการมองแสงไฟรถที่วิ่งสวนมา เพราะจะทำให้ตาพร่า
ชั่วขณะ
จุดที่ 3 ให้มองจุดกึ่งกลางทางด้านหน้า สังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่
อาจปรากฏข้างหน้า สังเกตพื้นผิวถนน หลุม บ่อ ทางก่อสร้าง

26

ข้อปฏิบัติในงาน
ขนส่งทางบก

5.การบริหารจัดการ การวิเคราะห์และประเมินผล

• การเตรียมความพร้อมในการรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน มีการดำเนินการ
และประสานงานกับหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถแก้ไข
สถานการณ์หรือบรรเทาเหตุความเสียหายจากเหตุฉุกเฉินนั้นได้อย่าง
ทันท่วงที อาทิเช่น

- การแก้ไขสถานการณ์เมื่อรถเกิดเบรกแตก
1) ควบคุมสติให้ดี อย่าตกใจ มือทั้งสองจะต้องจับพวงมาลัย

อย่างมั่นคง
2) ให้ย้ำเบรกแรง ๆ และบ่อย ๆ เพราะอาจทำให้เบรกมีกำลังดีขึ้น

ถ้าเบรกเสียและข้างหน้าไม่มรถขวาง ให้ลดความเร็วโดยใช้เกียร์ช่วย
เช่น ลดจากเกียร์ 4 มาเกียร์ 3 เกียร์ 2 และเกียร์ 1 ตามลำดับ

3) ค่อย ๆ ดึงเบรกมือเพื่อหยุดรถ อย่าดึงแรงเกินไป เพราะจะ
ทำให้รถหมุน

4) ควรใช้แตรหรือสัญญาณฉุกเฉินเตือนรถคันอื่น เพื่อให้ทราบ
ว่ารถของท่านกำลังผิดปกติ ถ้าเบรกแตกเกิดขึ้นในขณะขึ้นเขาหรือลง
เขา ให้ใช้สิ่งกีดขวางข้างทางเพื่อหยุดรถ

27

อุปกรณ์ความปลอดภัย
ประจำรถ

ถังดับเพลิง (Fire Extinguisher)
ถังดับเพลิงที่เหมาะสำหรับพกติดในรถ ควรเป็นชนิดที่

มีฉลากสัญลักษณ์ A และ B ติดอยู่ ซึ่งมีข้อดีก็คือ เมื่อดับ
เพลิงเสร็จแล้วจะไม่ทิ้งคราบสกปรกไว้บนถังดับเพลิง

Class A: จะเป็นเพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง ไม้
กระดาษ พลาสติก ยาง สามารถใช้ถังดับเพลิงประเภท
สเปรย์โฟม, ผงเคมีแห้ง, สารเหลวระเหย และเคมีสูตรน้ำ

Class B: เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม สามารถ
ใช้ถังดับเพลิงประเภท สเปร์ยโฟม (แบบจำกัด), ผงเคมี
แห้ง, สารเหลวระเหย และเคมีสูตรน้ำ

ค้อนทุบกระจก
ค้อนทุบกระจกมีไว้ในรถเพื่อความปลอดภัย ไว้ใช้ทุบ

กระจกรถยนต์ในยามฉุกเฉิน เช่น ในกรณีที่รถตกน้ำ
หรือในกรณีที่รถเกิดอุบัติเหตุอื่น ๆ แล้วทำให้ระบบ
กระจกไฟฟ้าหรือประตูไม่สามารถเปิดทำงานได้

28

อุปกรณ์ความปลอดภัย
ประจำรถ

เข็มขัดนิรภัย (Seat Belt)
ช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

รถยนต์ ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุ จะช่วยรั้งผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร
ให้ติดกับเบาะที่นั่ง ไม่กระเด็นออกนอกตัวรถหรือไป
กระแทกกับส่วนของรถยนต์ สำหรับในประเทศไทยได้มีการ
ประกาศใช้กฎหมายที่บังคับให้ผู้ขับขี่รถยนต์ และผู้โดยสาร
ที่นั่งตอนหน้าทุกคน จะต้องคาดเข็มขัดนิรภัย เพื่อป้องกัน
การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

ระบบ GPS Tracking
GPS tracking คือ การระบุตำแหนง่ ของวัตถุบนพื้น

โลก ใช้เพื่อติดตามและระบุตำแหน่งของวัตถุนั้น ๆซึ่ง
ระบบนี้ได้นำมาใช้กับยานพาหนะเพื่อติดตามยานพาหนะ

ถุงลมนิรภัย (Airbag)
สิง่ ประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นเพื่อความปลอดภัยของยาน

พาหนะ ทำหน้าที่เหมือนหมอนนุ่มเพื่อป้องกันการกระ
แทกกับวัสดุภายในรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุการชน โดยถุงลม
นิรภัยจะขยายตัวอย่างรวดเร็วออกมาจากอุปกรณ์ที่เก็บ
มันไว้ เช่น ในพวงมาลัยของรถยนต์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ

29

แผกนารกเดินาทรางรดั้วบยยมาืนอพาเหหนะตสุ่วนฉบุุคกคลเฉิน

กรณีไฟหน้าขัดข้อง
ในกรณีที่ไฟหน้าขัดข้อง อาจเกิดจากแบตเตอรี่อ่อน หรือสายไฟขัดข้องทำให้

ไฟหน้ารถยนต์ทำงานไม่เป็นปกติ ส่งผลให้การขับขี่โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
หรือ ในสถาพถนนที่มีทัศนวิสัยไม่ดีเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ดังนั้น ก่อนออกเดิน
ทางควรตรวจสอบว่าไฟหน้ารถยังทำงานได้เป็นปกติ ในขณะขับขี่ควรหมั่นสังเกต
ว่าไฟหน้ายังทำงานอยู่เป็นปกติหรือไม่ หากพบว่ามีการทำงานขัดข้องให้ผู้ขับขี่ลด
ความเร็วลง มองหาจุดปลอดภัยเพื่อจอดเทียบและขอความช่วยเหลือจากหน่วย
บริการฉุกเฉิน

กรณีกระจกหน้ารถแตก
ในกรณีที่กระจกหน้ารถแตก ซึ่งอาจเกิดจากการที่ต้องขับขี่บนถนนที่ผิวทาง

ชำรุดมีเศษหินหรือของแข็ง ดังนั้น ผู้ขับขี่ควรเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าเพื่อ
ป้องกันเศษหินหรือของแข็งกระเด็นมาโดนกระจกหน้ารถ แต่หากเกิดเหตุการณ์
เช่นนี้ผู้ขับขี่ต้องอย่าตกใจ ให้ตั้งสติแล้วลดความเร็วลง มองหาจุดปลอดภัยเพื่อ
จอดเทียบและขอความช่วยเหลือจากหน่วยบริการฉุกเฉิน

แผกนารกเดินาทรางรดั้วบยยมาืนอพาเหหนะตสุ่วนฉบุุคกคลเฉิน 30

กรณียางแตก
ผู้ขับขี่ควรตรวจสอบให้ยางรถอยู่ในสภาพพร้อมใช้ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง

ในกรณีที่ยางแตกจะทำให้ยานพาหนะของผู้ขับขี่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ดังนั้น
ไม่ควรเหยียบเบรกแบบทันทีทันใด ให้ค่อย ๆ แตะเบรกเป็นระยะเพื่อลดความเร็ว
ลงอย่างช้า ๆ จับพวงมาลัยให้แน่นเพื่อประคองทิศทางและนำรถจอดเทียบข้าง
ทาง หลังจากนั้นประเมินเหตุการณ์ว่า สามารถเปลี่ยนยางอะไหล่ใส่แทนได้หรือไม่
ในกรณีที่ท่านไม่มียางอะไหล่ให้ขอความช่วยเหลือจากหน่วยบริการฉุกเฉิน

กรณีเครื่องยนต์ขัดข้อง
เครื่องยนต์ขัดข้องสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้น ผู้ขับขี่ควรนำรถ

เข้าตรวจสอบที่ศูนย์ให้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด ในกรณีที่เครื่องยนต์
ขัดข้องในขณะขับขี่ให้เปิดไฟฉุกเฉิน แล้วเหยียบเบรกเป็นระยะ ๆ เพื่อเป็นสัญญาณ
บอกให้กับผู้ขับขี่ท่านอื่นทราบว่ารถของท่านกำลังมีปัญหา แล้วให้พยายามนำรถ
จอดเทียบข้างทางเพื่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยบริการฉุกเฉิน

แผกนารกเดินาทรางรดั้วบยยมาืนอพาเหหนะตสุ่วนฉบุุคกคลเฉิน 31

กรณีระบบเบรกขัดข้อง
ผู้ขับขี่ควรใช้ความเร็วที่เหมาะสมในขณะขับขี่และตรวจสอบว่าเบรกยังทำงานได้

เป็นปกติทุกครั้งก่อนออกเดินทาง เมื่อเกิดเหตุการณ์เบรกขัดข้องให้บีบแตรเป็น
ระยะเพื่ อเป็นการส่งสัญญาณให้ผู้สัญจรหรือผู้ขับขี่ท่านอื่ นทราบว่าเบรกของท่าน
กำลังมีปัญหา จากนั้นค่อย ๆ ลดความเร็วลงเพื่อนำรถจอดเทียบข้างทาง และขอ
ความช่วยเหลือจากหน่วยบริการฉุกเฉิน

กรณีคันเร่งค้าง
ในกรณีที่คันเร่งค้างให้เปลี่ยนเป็นเกียร์ว่างทันที ค่อย ๆ แตะเบรก เพื่อนำรถจอด

เข้าข้างทาง และทันทีที่นำรถออกพ้นทางแล้วจึงดับเครื่องยนต์ เพื่อป้องกัน
เครื่องยนต์ชำรุด และให้ขอความช่วยเหลือจากหน่วยบริการฉุกเฉิน

32

แผนกการาเดิรนทราังบด้วมยืขอนสเ่งหสาตธุาฉรณุกะ เฉิน

กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับคนขับรถ
รถบัสส่วนหนึ่งได้มีการติดตงั้ ระบบรับมือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับคน

ขับรถไว้รองรับสถานการณ์ที่คนขับรถไม่สามารถขับรถได้เนื่องจากเกิดป่วย
กระทันหัน โดยสามารถทำให้รถบัสจอดด้วยการกดสวิตช์เบรกฉุกเฉิน เบรก
ฉุกเฉินจะทำงาน ความเร็วจะค่อย ๆ ลดลงจนรถจอดสนิทในที่สุด

ประตูฉุกเฉิน
ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ตั้งสติและมองหาประตูฉุกเฉินแล้วค่อย ๆ เคลื่อน

ตัวไปหาประตูฉุกเฉินเพื่อใช้เป็นทางออกจากตัวรถโดยสาร

จัดทำโดย

นางสาวประภัสสร ไม้หอม 6208068 เลขที่ 12
นางสาวกมลนัทธ์ ก๋งเล็ก 6208162 เลขที่ 16
นางสาวกฤษณา มิตรพมา 6208166 เลขที่ 19
นายกองทัพ คูณมา 6208167 เลขที่ 20
นางสาวณัฐฌา แก่นจำปา 6208182 เลขที่ 34
นางสาวนฤภร อินทร์ศวร 6208195 เลขที่ 44
นางสาวนัทธพร พลอยหิน 6208197 เลขที่ 46
นางสาวนัทธมน คงวงศ์สุภัค 6208198 เลขที่ 47
นางสาวอารยา อวยพร 6208232 เลขที่ 75